ทำไมพม่าสร้างอุโมงค์ด้านใกล้ไทย(วิดีโอ)


 

...

เร็วๆ นี้ TV7 ได้เผยแพร่ข่าวเรื่องอุโมงค์พม่าหลายสิบแห่ง มีข้อสังเกตว่า ทำไมต้องสร้างไว้ใกล้ชายแดนไทย

อุโมงค์ดังกล่าวมีขนาดกว้างใหญ่พอที่รถบรรทุกจะเข้าไปได้ มีระบบระบายอากาศ มีการเชื่อมต่อผ่านอินเตอร์เน็ตเพียบ

...

มีความเป็นไปได้ที่อุโมงค์จำเป็นต้องเรียงรายไว้ใกล้ชายแดนไทยดังต่อไปนี้คือ

  • (1). เป็น 'war room' หรือศูนย์วางแผนยามฉุกเฉิน หรือเป็นที่หลบภัยหากถูกโจมตี หรือปิดล้อมจากประเทศตะวันตก จากการแย่งชิงอำนาจกันเอง หรือจากการประท้วงที่ยืดเยื้อเรื้อรัง
  • (2). เตรียมไว้เป็นคลังอาวุธฉุกเฉิน เช่น อาวุธต่างๆ, รถขับเคลื่อน 4 ล้อ (เตรียมไว้หนี), จรวดต่อต้านอากาศยาน (เป็นไปได้ค่อนข้างมาก) ฯลฯ

...

  • (3). ขีปนาวุธ (เป็นไปได้ค่อนข้างต่ำใน 5 ปีนับจากนี้) เนื่องจากการย้ายของขนาดใหญ่ผ่านถนนขนาดเล็กในพม่า ทำได้ยาก และน่าจะมีข่าวออกมาจากภาพถ่ายผ่านดาวเทียม ถ้าไทยไม่รู้...สหรัฐฯ หรือสิงคโปร์ก็คงจะรู้ดีแล้ว และขนาดอุโมงค์ยังเล็กเกินไป (ถ้าจะใช้เก็บจรวดขนาดสกั๊ดแบบที่อิรักซื้อไป)
  • (4). แนวชายแดนไทยเป็นแนวที่ "หนี" ได้ง่ายที่สุด (ค่ายใหญ่สุดของกะเหรี่ยงก็แตกแล้ว ทำให้ปลอดภัยมากขึ้น)... พอถึงถ้ำแล้วอาบน้ำอาบท่า นุ่งโสร่งให้ลมโกรก กินหมาก พับโสร่ง นุ่งกางเกง นั่งรถขับเคลื่อน 4 ล้อหนีเข้าไทย (รถขับเคลื่อน 4 ล้อที่หายจากไทย มีขายในพม่าเพียบเลย) บินไปสิงคโปร์ ซึ่งมีบัญชีเงินฝากเตรียมไว้เพียบได้สบาย

 ...

เหตุผลที่ต้องสร้างใกล้ชายแดนไทยอาจมีดังต่อไปนี้

  • (1). ถ้าสร้างไว้ใกล้ทะเลอาจถูกประเทศตะวันตกตามจับ;
  • (2). ถ้าสร้างไว้ใกล้บังคลาเทศ พม่าเพิ่งมีเรื่องแย่งแก๊สธรรมชาติกับบังคลาเทศ และธรรมชาติของพม่าไม่ไว้ใจ "กลา" หรือ "แขก" จะหนีได้ยาก และถูกจับกุมส่งประเทศตะวันตกแลกเงินค่านำจับ หรือรางวัลพิเศษได้ง่าย บังคลาเทศเองก็ไม่ค่อยพอใจเรื่องโรฮิงยาที่มีเชื้อสายบังคลาเทศ และย้ายไปอยู่พม่ามานานแล้ว

...

  • (3). ถ้าสร้างไว้ใกล้จีน (แม้จะมีความสัมพันธ์ดีต่อกันมาก) พม่าเองก็ไม่ไว้ใจชนกลุ่มน้อยหลายกลุ่มในรัฐฉาน (ไทยใหญ่);
  • (4). ตั้งตามแนวชายแดนไทยนี่ละ หนีไปพี่ไทยก็อาจจะไม่รู้ หรือรู้ก็อาจจะทำเป็นไม่รู้ไม่เห็นได้ ถึงอย่างไร... ไทยก็ใจดีกว่าชนกลุ่มน้อยในพม่า หรือแขก "บังคลาเทศ-อินเดีย" ในยามคับขัน

 ...

มติสหประชาชาติที่ให้ตรวจจับ หรือค้นเรือเกาหลีเหนือได้มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยปลอดภัยมากขึ้น เพราะมตินี้จะทำให้การขนอาวุธขนาดใหญ่ เช่น จรวดสกั๊ด ฯลฯ เข้าพม่าทำได้ยากขึ้น

ถึงไม่ค้น แต่ถ้าตรวจพิกัดตามเรือ และรถขนอาวุธไปเรื่อยๆ จะทำให้หาพิกัดตำแหน่งคลังแสง และอุโมงค์ผ่านดาวเทียมได้

... 

อุโมงค์ที่ตรวจพบพิกัดแล้วไม่น่ากลัว... อุโมงค์ที่น่ากลัว คือ อุโมงค์ที่ไม่รู้พิกัดทางอากาศ

คนไทยไม่ควรตกอกตกใจจนเกินไป เนื่องจากทุกวันนี้เทคโนโลยีในการ "ทำลายอุโมงค์" ก้าวไปไกลมากกว่าเทคโนโลยีในการ "สร้างอุโมงค์" แถมผนังอุโมงค์ในภาพเป็นแบบ "อย่างบาง" (หนาประมาณ 2-3 เท่าของผนังบ้านจัดสรรในไทย) ไม่ใช่ "อย่างหนา" แบบในอิรัก (หนาเป็นเมตร)

...

ตัวอย่างเช่น ฝ่ายต่อต้านอุโมงค์อาจสืบค้นพิกัด ล็อคตำแหน่ง (เช่น ใช้เลเซอร์ผ่านเครื่องบิน ฯลฯ) แล้วถล่มอุโมงค์ซ้ำๆ กันได้ ประตูหนากี่เมตรก็ทะลุทั้งนั้น

ขออย่าให้มีเหตุการณ์เช่นนี้ (ฆ่ากัน-รบกันในอุโมงค์) เกิดขึ้นเลย ขอให้ถ้ำเหล่านี้ได้ใช้สอยเป็นพิพิธภัณฑ์ บันทึกความทรงจำ หรือสถานที่ท่องเที่ยวในอนาคตจะดีกว่า

...

ประเทศที่ครั้งหนึ่งประกาศว่า ได้ขุดอุโมงค์ไว้มากที่สุด มีจรวดสกั๊ดเพียบ คือ อิรัก... ชะตากรรมของท่านซัดดัม ฮุสเซน คือ ถูกญาติขายความลับให้สหรัฐฯ ไปจับตัวในอุโมงค์

อุโมงค์ที่ว่า อยู่หลังบ้านญาติ ทางลงมีลักษณะเป็นท่อระบายน้ำ ลงไปมีห้องๆ เดียว ไม่มีห้องน้ำ-ห้องส้วม  

...

ประวัติศาสตร์สอนเราว่า ชะตากรรม "มักจะซ้ำรอย" เสมอ

คนไทยไม่ควรตกอกตกใจจนเกินไป... การที่พม่าสร้างอุโมงค์ใกล้ไทยอาจจะหมายถึงนิมิตหมายอันดี แสดงให้เห็นว่า ยามคับขันขึ้นมา... หนีไปทางไทยก็ยังปลอดภัยกว่าชายแดนด้านอื่นทั้งหมด

...

ขณะเดียวกันก็ไม่ควรประมาท ต้องหาพิกัดอุโมงค์ทั้งหมดไว้ให้ได้

พม่าเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่ดีกับไทยมาก ไม่ว่าจะเป็นการค้าขาย การท่องเที่ยว หรือการพึ่งพาอาศัยกันด้านพลังงาน และพละกำลัง (คนไทยมีลูกน้อย แรงงานตามโรงงานมีไม่พอ; พม่าเก่ง ลูกดก ทำให้มีแรงงานมาก) คนไทยควรมองพม่าในแง่ดี และไม่ควรมองพม่าในแง่ร้าย

...

เรียนเสนอให้แวะไปชมให้ได้ครับ ที่นี่... [ Click - Click ]

...

หมายเลขบันทึก: 271773เขียนเมื่อ 28 มิถุนายน 2009 18:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 พฤษภาคม 2012 11:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท