ช่องว่างระหว่างความรู้กับการกระทำ


ผู้ทำหน้าที่จัดการความรู้จะต้องมีวิธีการทำให้ความรู้ไปสู่การกระทำ

การมีความรู้ กับการใช้ความรู้เป็นคนละสิ่ง และไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันเสมอไป ดังคำกล่าวล้อเลียนว่า การประชุมหรือองค์การเป็น NATO ซึ่งหมายถึง No action, talk only ผู้ทำหน้าที่จัดการความรู้จะต้องมีวิธีการทำให้ความรู้ไปสู่การกระทำ วัดผลสำเร็จที่การประยุกต์ใช้ความรู้ และผลกระทบอันเกิดจากการประยุกต์ใช้ความรู้ ตัวอย่างของแนวทางลดช่องว่า ได้แก่

  • ส่งเสริมการเรียนรู้จากการกระทำ ไม่ใช่เรียนรู้จากการฟังหรืออ่าน การเรียนรู้จากการกระทำร่วมกัน เป็นเครื่องมือสร้าง "ชุมชนแห่งการเรียนรู้"  (เช่น CoPs ใน Gotoknow) ไปในตัว และทำให้เกิดการเรียนรู้ที่รู้ลึกและรู้จริงกว่าการเรียนดดยการฟังหรืออ่าน
  • รับถ่ายทอดความรู้จากภายนอกโดยมีเป้าหมายการใช้งานโดยตรงและใช้ทันที
  • สร้างวัฒนธรรมยอมรับความผิดพลาดหรือล้มเหลว ถ้าความผิดพลาดหรือล้มเหลวจะทำให้คนไม่กลัวความล้มเหลว และกล้าทดลองหาแนวทางใหม่ๆ ใช้ความรู้เพื่อทำสิ่งใหม่ๆ วิธีการใหม่ๆ
  • ขจัดความกลัวอำนาจหรือผู้มีอำนาจ โดยการแสดงให้เห็นว่าสิ่งสำคัญที่สุดขององค์การคือ คน และสร้างบรรยากาศภายในองค์การให้เป็นบรรยาการแนวราบหรือเครือข่าย ไม่ใช่บรรยากาศของการควบคุมสั่งการ
  • ส่งเสริมความร่วมมือ ไม่ใช่การแข่งขัน ภายในองค์การ
  • วัดช่องว่างระหว่างความรู้กับการกระทำ
  • สร้างวัฒนธรรมองค์การที่เห็นคุณค่าของความรู้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำความรู้มาประยุกต์ใช้ในองค์การ
หมายเลขบันทึก: 27158เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2006 10:47 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 14:52 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท