การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเยาวชนของประเทศไทย/


การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเยาวชนของประเทศไทย/

พรรคการเมืองกับการทำประโยชน์เพื่อประเทศชาติ

 

การบริหารและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และเยาวชนของประเทศไทย เป็นบทความของ ผศ.ดร.นพรัฐพล  ศรีบุนนาค  ได้วิเคราะห์สภาพปัญหาความด้อยคุณภาพของทรัพยากรมนุษย์ของประเทศไทย  ต้องเผชิญปัญหาและความเสี่ยงไปตามยถากรรม                ประชาชนทั่วไป  ยากจน  ด้อยการศึกษา  ด้อยโอกาส  ขาดหลักประกันความมั่นคงของชีวิต  คุณภาพชีวิตไม่ได้มาตรฐาน  ถูกมอมเมาจากสิ่งต่างๆ                 เยาวชน   ไม่เข้มแข็ง  ไม่กล้าแสดงความคิดสร้างสรรค์  ถูกกดดันจากผู้มีอำนาจ  ถูกมอมเมาจากสื่อต่างๆ                 ครอบครัว  ขาดความรู้และความเข้าใจจิตวิทยาครอบครัวและสังคม  ไม่รับฟังความเห็นลูกหลาน  ขาดภูมิคุ้มกัน               หน่วยงานของรัฐ  องค์กรพัฒนาเอกชน  ขาดการดำเนินงานที่ต่อเนื่อง  ไม่มีทิศทาง  ไม่เป็นเอกภาพ  เพราะขาดกำลังคน งบประมาณ  และการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ                 เห็นด้วยกับบทความในมุมมองของ ดร.นพรัฐพล  ว่าเยาวชนไม่เข้มแข็ง   อยากแสดงความคิดเห็นเพิ่มว่า การแก้ปัญหารัฐบาลทุกชุดที่ผ่านมาไม่มุ่งเน้น จริงจังกับการพัฒนาเยาวชน   มีแต่นโยบาย การปฏิบัติไม่จริงจัง   โดยการนำเทคนิคการการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  ซึ่งมีเครื่องมือหรือวิธีการในการพัฒนา 4 Approaches ได้แก่

       Education = การศึกษา

       Focused on a Future job for the learner =ผู้เรียนยังไม่ได้ทำงาน ไม่ได้เจาะจงเนื้อหา

       เป็นเรื่องกว้างๆ เพื่อเตรียมพร้อม

       Training = การฝึกอบรม

       Focused on the Present job of the learner = มักจะจัดโดยองค์การเอง

เนื้อหาตางกับการปฏิบัติงานการบริหารทรัพยากรมนุษย์  การพัฒนาองค์การ  ประเทศชาติก็เปรียบเสมือนองค์การหนึ่ง  ประชาชนก็คือทรัพยากรบุคคลในองค์การ  ประเทศชาติหรือองค์การจะพัฒนาได้  ก็ต้องพัฒนาทรัพยากรบุคคลในองค์การหรือประชาชนในประเทศให้มีความพร้อม                ตามหลักแนวคิดมนุษย์นิยม  เน้นคนเป็นสิ่งสำคัญที่สุดของการพัฒนา  เมื่อคนมีศักยภาพมากขึ้น  ก็ย่อมสามารถสร้างผลผลิตหรือปฏิบัติตามทิศทางที่องค์การต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล                การเพิ่มพูนสิ่งต่างๆ ให้กับทรัพยากรมนุษย์ ทั้งในด้าน

ความรู้(Knowledge),

ทักษะ(Skill),

ทัศนคติ(Attitude),

พฤติกรรม(Behavior)  โดยใช้วิธีการต่างๆ คือ

 การศึกษา(Education),

การฝึกอบรม(Training),

การพัฒนา(development) 

ก็จะเพิ่มขีดความสามารถในการสร้างผลผลิตให้กับองค์การคือประเทศชาติได้            ผู้บริหารประเทศหรือรัฐบาล  จะต้องมีวิสัยทัศน์ในเรื่องนี้  เป็นเจ้าภาพในการจัดการกับปัญหานี้  โดยผ่านกลไกของรัฐ  หน่วยงานราชการ  และประสานความร่วมมือกับองค์กรเอกชน  ตลอดจนสร้างจิตสำนึกให้กับประชาชน ครอบครัว  ให้ตระหนักถึงปัญหาและความสำคัญ  รับรู้ปัญหาร่วมกัน  ให้ความร่วมมืออย่างจริงจัง  น่าจะทำให้ปัญหาการบริหารทรัพยากรมนุษย์บรรเทาเบาบางลง  และหมดสิ้นไปในอนาคต ปัญหาความด้อยการพัฒนาของทรัพยากรมนุษย์ในประเทศเป็นปัญหาที่ใหญ่  การแก้ไขจะอาศัยแต่เพียงรัฐบาลหรือกลไกของรัฐเพียงอย่างย่อมไม่สำเร็จ  ต้องได้รับความร่วมมือจากองค์กรเอกชน  ที่สำคัญประชาชนและครอบครัวจะต้องตระหนักถึงปัญหา  ยอมรับปัญหา  และรู้สึกมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา  จึงจะทำให้การแก้ไขปัญหานี้มีผลสำเร็จที่น่าพอใจได้

 

หมายเลขบันทึก: 271388เขียนเมื่อ 27 มิถุนายน 2009 08:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นบทความที่มีประโยชน์ให้แนวคิดในการบริหารทรัพยากรมนุษย์โดยเฉพาะเยาวชนไทย ชอบมาคะ

น้องนางพี่มาอ่านแล้วนะเก่งมากเลย ว่างๆ สอนพี่ด้วย

เนื้อหาสมบูรณ์แบบสามารถนำไปใช้ประโยชน์กับองค์กรได้อย่างมีประสิทธิผล

มาเยี่ยมให้กำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท