มุ่งประเด็น การส่งเสริมสุขภาพ ใน นสส.3 จากท่านรองฯ บวร (2)


เรื่องต่างๆ เหล่านี้ครอบคลุมทั้งในเรื่อง การพัฒนาตน พัฒนาคน และพัฒนาการทำงาน เป็นอย่างดีทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำอย่างไรให้เข้าถึงลูกค้า ... ซึ่งก็ก้าวเข้ามาเป็นบทบาทของข้าราชการยุคใหม่แล้ว

 

ตอนนี้เป็นตอนต่อจาก การมุ่งประเด็นลูกค้าเป็นศูนย์กลาง ซึ่งก็คือ ประเด็นการส่งเสริมสุขภาพ ที่ชาวกรมอนามัยต้องทำเป็นตัวแบบ

เรื่องของการส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัยทำงานทั้งเรื่องอนามัยสิ่งแวดล้อม หรืองานส่งเสริมสุขภาพ เป็นเรื่องการส่งเสริมสุขภาพโดยรวม โดยมี definition ไว้ว่า การส่งเสริมสุขภาพ คือ กระบวนการ (Process) ที่ทำให้คน หรือกลุ่มคนนั้นรู้จัก หรือรู้วิธีที่จะหลีกหนี Risk factors ขณะเดียวกันก็รู้จักที่จะ promote ทำให้สุขภาพของตนดี คือ หลีกหนีปัจจัยเสี่ยง สร้างปัจจัยเสริม เพื่อให้สุขภาพในทุกขณะมีสุขภาพดีสูงสุด ฉะนั้น เรื่องสุขภาพจริงๆ ไม่ใช่ Goal ของคน แต่การมีสุขภาพดีเป็นต้นทุนของคน เพราะฉะนั้นต้องทำให้สุขภาพดีตลอด การส่งเสริมสุขภาพจึงมีเป้าหมาย คือ ทุกอายุ เราต้องทำให้มีสุขภาพดี สิ่งที่มีสุขภาพก็คือ กระบวนการที่จะหลีกหนีปัจจัยเสี่ยง ขณะเดียวกันก็เป็นสร้างปัจจัยเสริม ยกตัวอย่างง่ายๆ คือ เราจะได้จำสั้นๆ เวลาทำงานจะได้มีหลักการ คือ มีปัจจัยเสี่ยงเช่น เราไปกินข้าวมันไก่ทุกวัน แบบนี้คือ มีปัจจัยเสี่ยง ไม่ได้หลีกหนีปัจจัยเสี่ยง ก็ทำให้เกิดโรคได้ ปัจจัยเสริมเช่น การออกกำลังกาย เป็นปัจจัยเสริม ถ้าเราทำปัจจัยเสริมและหลีกปัจจัยเสี่ยงก็จะทำให้สุขภาพดี ปัจจัยเสี่ยงอีกตัวหนึ่ง เช่น การมีเพศสัมพันธ์กับคนไม่รู้จัก และไม่ใส่ถุงยางอนามัย ก็มีโอกาสที่จะติดโรค

ถ้าพูดถึงเรื่องกระบวนการ ที่จะทำให้รู้จักหลีกหนีปัจจัยเสี่ยง และเพิ่มการพัฒนาสุขภาพเข้าไปก็ ต้องมีปัจจัยพื้นฐานที่ดี ต้องดูทั้งประเทศ เราจะเห็นว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่เหมาะในการส่งเสริมสุขภาพมากที่สุด เมื่อเทียบกับเขมร ลาว เพราะว่าปัจจัยพื้นฐานนี้จะแตกต่างกัน เรื่องชาติที่มีการรบกันอยู่ เช่น กระเหรี่ยงต้องอพยพเข้ามา เพราะว่าพม่าเกณฑ์ไปสร้างเมืองใหม่ หรือไม่มีสันติภาพ ก็จะทำให้ต้องหนีตาย แทนทีจะมาหลีกหนีเรื่องสุขภาพ หรือการศึกษา เช่น ถ้าประชาชนของเรามีการศึกษา (Literacy rate เกือบ 100) แต่ว่าประเทศข้างเคียงของเรา literacy rate น้อยมาก จะเห็นว่า ในเรื่องที่เราจะแจก brochure และเขาอ่านไม่ออก เราจะต้องมาอธิบายกันอย่างเดียว เขาไปอ่านแผ่นพับที่บ้าน หรืออธิบายเสร็จแจกแผ่นพับไป ก็ไปอ่านไม่ออกอีก นี่ก็เป็นเรื่องของการทำ Health promotion ก็ยังทำยาก เพราะว่า หลักสำคัญของ Health promotion อันหนึ่งก็คือ ให้ความรู้ความเข้าใจ เรื่องรายได้ทั้งหลาย ถ้ารายได้ไม่ดี เรื่องทำ Health promotion ก็ทำไม่ได้ดี เรื่องที่อยู่อาศัยที่ยังไม่เรียบร้อย แล้วใครจะมาทำ Health promotion นี่ก็เป็นตัวอย่าง พวกเราคงต้องไปคิดต่อในส่วนอื่นอีกที

ถ้าจะดูให้ครบประเด็นใน Ottawa Charter จะประกอบด้วย

  1. ปัจจัยพื้นฐาน
  2. กลยุทธ
    Advocacy คือการที่จะต้องเหมือนตีฆ้องร้องป่าว ให้ผู้มีอำนาจตัดสินใจให้ใครต่อใครเข้ามาให้ความร่วมมือ เพราะว่าถึงแม้จะเป็นเรื่องสุขภาพ แต่ว่าเราจะให้กระทรวงสาธารณสุขทำงานเพียงกระทรวงคงไม่สำเร็จ เพราะไม่ใช่งานรักษา แต่เป็นการทำให้คนเรามีสุขภาพดี เช่น งานป้องกันโรค ไข้หวัดนก จำเป็นต้องใช้ความร่วมมือจากหลายๆ ส่วน จึงต้องตีฆ้องร้องป่าว
    Mediate คือ ช่วยกันทำ แบ่งงานกันทำ ก็คือ อบจ. บ้าง อบต. บ้าง แม่แต่กรมตำรวจ กระทรวงคมนาคม ก็ต้องช่วยทำ เช่น เรื่องอุบัติเหตุ งานสงกรานต์ทั้งหลาย เราเห็นว่า ถนนบางเส้นบางจุดจะมีอุบัติเหตุบ่อย สาธารณสุขจะไปทำอะไรได้ ถึงแม้ว่าเราจะไปบอกว่าให้เขาระวัง แต่ก็ต้องมีบางจุด มันเป็นจุดที่เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย ก็ต้องช่วยกันทำ
    Enable คือ การสร้างปัจจัยเอื้อ เช่น ประเทศไทยเขาบอกว่ามีระบบสาธารณสุขที่ดีมากๆ เพราะว่าเรามีระดับทุกระดับตั้งแต่ จังหวัด อำเภอ ตำบล ซึ่งเรามีเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ระดับหมู่บ้านเรายังมี อสม. ถามว่า ... ถ้าในหมู่บ้านเรามีสถานีอนามัยแล้วไม่มี อสม. งานตอนนี้จะเป็นยังไง ก็คงไม่ดีเท่า อสม. แสดงว่า อสม. เป็นปัจจัยเอื้อ หรือคนที่อยู่ข้าง รพ. ได้เปรียบกว่าคนที่ไกล รพ. เช่น แถวชายแดนก็ต้องเดินทางข้ามเขาลำบาก ตรงนี้ไม่ใช่ปัจจัยเอื้อแล้ว มันเป็นอุปสรรค ตรงนี้เราจึงต้องพยายามสร้างปัจจัย อันจะทำให้การส่งเสริมสุขภาพดีขึ้น
  3. กลวิธี ต้องมีในเรื่องต่างๆ คือ
    - การสร้างนโยบายสาธารณะ เรามีเรื่องตลาด เรื่องส้วม ที่เป็นนโยบายสาธารณะ เรื่องการสร้างสิ่งแวดล้อม เพราะสิ่งแวดล้อมเป็นปัจจัยหนึ่ง ถ้าเราถามว่า ปัจจัยที่ทำให้เกิดโรคนั้นมีปัจจัยใหญ่ๆ อยู่กี่ปัจจัย ที่ทำให้เกิดโรคมี 3 ปัจจัย คือ ปัจจัยเชิงพฤติกรรม ประมาณ 50 กว่า% ที่ทำให้เกิดโรค ปัจจัยสิ่งแวดล้อมมีประมาณ 20 กว่า% ที่ทำให้เกิดโรค และปัจจัยที่เหลือ คือ ปัจจัยพันธุกรรมที่ทำให้เกิดโรค ฉะนั้น ถ้าสิ่งแวดล้อมไม่ดี ไม่เอื้อต่อสุขภาพก็ทำให้เกิดโรค
    - การสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ประชาชนมีแนวโน้มการรวมตัวกันเป็นกลุ่ม เช่น ในผู้สูงอายุมีแนวโน้มที่จะรวมตัวกันเป็นกลุ่ม จะทำอย่างไรให้เขารวมกลุ่มแล้ว เราไปสร้างความเข้มแข็งให้กับเขา
    พัฒนาทักษะส่วนบุคคล นี่ก็คือ ส่วนใหญ่เราก็จะสอนเป็นคนๆ หรือการให้สุขศึกษาเป็นกลุ่ม ซึ่งพวกเราคุ้นเคย
    - การสื่อระบบทั้งระบบ ก็คือ เปลี่ยนระบบบริการสุขภาพ เราจะเห็นว่า ขณะนี้เราต้องทำ รพ. ของเราทุกแห่งให้เป็น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เพราะว่าไม่ได้เน้นที่จะรักษาอย่างเดียว เราจะทำให้เป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ เพราะว่าโรงพยาบาลของเรามีคนที่มีความรู้เรื่องสุขภาพที่ดีที่สุดในอำเภอนั้นๆ ถ้าเรามัวแต่รักษา เราจะรับไม่ไหว เพราะฉะนั้น เราต้องทำให้โรคที่จะเกิดขึ้นนั้นน้อยลง ทั้งหมดนี้ คือ กระบวนการที่จะทำให้เกิดคน รู้จักหลีกหนีปัจจัยเสี่ยง และสร้างปัจจัยเสริม ตอนนี้ลองสังเกตว่า พวกเราทำงานสักพักหนึ่ง หรือมองย้อนหลังดูสิว่า สิ่งที่เราทำไปนั้น มันหนีพวกนี้ไปหรือไม่ มันจะต้องตกไปใน category ใด category หนึ่ง เพียงแต่ว่าเราไม่ได้นำมาจัดเป็นระบบ

หน้าที่ของกรมอนามัยอีกสิ่งที่สำคัญ คือ การประชาสัมพันธ์เรื่อง Bangkok Charter for Health Promotion ในการประชุมเรื่องการส่งเสริมสุขภาพมีมา 6 ครั้ง แต่ทุกครั้งยกเว้นอันแรก (เพราะประกาศเป็น Charter มีความหนักแน่นไปอีกหน่อย คือ เป็นคัมภีร์ที่ทำให้คนปฏิบัติตาม) เป็นแค่คำประกาศ ครั้งนี้ได้ข้อสรุปว่า Ottawa Charter ยังต้องใช้อยู่ แต่ Bangkok Charter มาเสริมให้ความเสมอ อุดส่วนขาด ที่โลกได้รับการพัฒนามาแล้ว เพราะว่า Ottawa Charter เกิดเมื่อปี 1986 แต่นี่ประเมิน 20 ปีมาแล้ว สิ่งต่างๆ เกิดโลกาภิวัตน์ เมื่อก่อนไม่มีมือถือ หรือไม่การขนขยะเป็นพิษมายังประเทศไทย เหล่านี้เป็นต้น ด้วยโลกาภิวัฒน์หลายๆ อย่าง ทุกอย่างมันเคลื่อนเร็ว เช่น ซาร์ ถ้าเป็นเมื่อสัก 40 ปีก่อน มันคงไม่ระบาดเร็วอย่างนี้ แต่พอมีเครื่องบินเดินทางได้เร็ว มันก็เดินทางมาประเทศนี้นี้ได้เร็ว ดังนั้น ด้วยโลกาภิวัตน์จึงมีความจำเป็นต้องมีอะไรเกิดขึ้นมาใหม่ จึงเกิดเป็น Bangkok Charter

เราจึงมายึดใน Bangkok Charter ว่า การส่งเสริมสุขภาพคืออะไร แล้วเราก็มี Ottawa Charter เป็นหลัก แต่ทั้งหมดนี้เป็นส่วนที่เรียกว่า Bangkok Charter และ Bangkok Charter มีลักษณะคล้ายๆ กับ Ottawa Charter แต่ตอนนี้ไม่ใช่ปัจจัยพื้นฐานแล้ว แต่ว่าเป็นยุทธศาสตร์ (PIRAB) มี 5 ประการ คือ 1) Partners ภาคี ตอนนี้เราจะพูดกันเรื่อง ภาคีเครือข่ายกันมากขึ้น 2) การลงทุน (Invest) เพราะว่าไม่ลงทุนก็ไม่ได้ เช่น ขณะนี้เราจะเห็นว่า เงินที่มีอยู่ใน อบจ. จะน้อย อบจ. แต่ละจังหวัดมีเงินไม่ต่ำกว่า 100 ล้าน บาง อบจ. มีถึง 200 ล้าน แต่ทำอย่างไรเขาจะเอาไปทำได้ ถ้าเราไม่ได้พูดคุยกับเขา เขาก็ไม่รู้จะใช้เงินอย่างไร ตรงนี้ก็คือมีเงินลงทุน เพียงแต่ว่า เรายังไม่ได้ไปเชื่อมกับเขา ถ้ามีศูนย์ไหนไปเชื่อมกับเขาได้ ก็จะทำให้เราไปใช้ของเขาได้ ตอนนี้ อบต. ทั้งประเทศรวมๆ กันมีอยู่ประมาณ 7,000 แห่ง 7,000 แห่งนี้ ขอเงินเข้ามาช่วย Health Promotion ของกรมแสนหนึ่ง มันก็เท่ากับ 700 ล้าน ถามว่า 700 ล้านคือเงินเท่าไรของกรม กรมเรามีเงิน 1,200 ล้าน เป็นค่าจ้างเกือบ 60% ในปีที่ผ่านมาเราเหลือเงินทำงานจริงๆ ไม่ถึง 200 ล้าน นอกนั้นต้องไปใช้กับโครงการกำหนดตายตัว เช่น ซื้อนมเอดส์ และที่เรามานั่งประชุมโครงการทั้งหลายเท่าไร เราจึงต้องพยายามหาแหล่งเงินอุดหนุน 3) Regulations คือ เรื่องการใช้ตัวบทกฎหมาย 4) เรื่องตีฆ้องร้องป่าว ต้องทำให้มากขึ้น (Advocacy) และ 5) Building capacity เรื่องการฝึกอบรม ภาคีเครือข่ายที่มากขึ้น ทั้งหมดนี้จำง่ายๆ ว่า PIRAB เป็นยุทธศาสตร์

ส่วนกลวิธี ตอนเป็น Ottawa Charter คล้ายๆ กับพูดลอย เราจะเห็นจุดอ่อนของ Ottawa Charter ตรงนี้ ก็ไม่ทำให้เกิดอะไรที่ชัดเจน ในการคุยกันเราจะเน้นว่า เราต้องมุ่งพวกนี้ออกมา เพราะว่า การทำ Charter ทำในนามของทั่วโลก แต่ว่าหลายประเทศยังล้าหลัง ถามว่า ประเทศไทยทำหรือไม่ ส่วนใหญ่เราทำ ตรงนี้จึงไม่ใหม่สำหรับเรา แต่บางประเทศเป็นเรื่องใหม่สำหรับเขา เพราะเขาไม่มี process การทำงานแบบของเรา

ในเรื่องที่เราจะต้องทำให้เกิดความเป็นจริงเป็นจัง จะต้องว่า 1) เรื่อง Health Promotion ประชาชนทุกคนต้องมีส่วนร่วม และ 2) ทุกองค์กร เพราะว่าขณะนี้ประชาชนไม่ได้เป็นเพียง Community อย่างเดียว ประเทศที่เจริญมักอยู่เป็น settings เป็นโรงงาน บริษัท เพราะฉะนั้น ทุกองค์กรต้องทำเรื่อง Health Promotion เหมือนกับที่เราทำสถานที่ทำงานน่าอยู่น่าทำงาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ หรือเมืองน่าอยู่ ถ้ามองในภาพรวมทั้งเมือง 3) อีกอันหนึ่งเขาเน้นว่า รัฐบาลต้องถือว่างานส่งเสริมสุขภาพเป็นงานหลัก รัฐบาลต้องให้ความสนใจ และ 4) ที่ใหม่ขึ้นมาคือ ต้องเป็นภาระของการพัฒนาโลกทั้งโลก เพราะว่าโลกมีการติดต่อกันหมดในปัจจุบัน ผลของการเกิดที่หนึ่งอาจไปเกิดกับอีกที่หนึ่ง เช่น ไฟไหม้ป่าที่อินโดนีเซียก็มาถึงประเทศไทยได้เหมือนกัน เพราะฉะนั้น จึงต้องเป็นวาระของประเทศต่างๆ ทั้งโลก การดำเนินการจึงต้องคิดถึงความร่วมมือ และเรื่องความยั่งยืนเป็นหลัก ไม่ใช่ทำไปประเดี๋ยวประด๋าว และต้องคิดถึงเรื่องประสิทธิภาพ

ทั้งหมดนี้ก็เป็นเรื่องของ Bangkok Charter ซึ่งผมอยากให้พวกเราแม่นใน 2 อันนี้ เพราะว่าจะเป็นหลักในการทำงานของกรมอนามัย เราจำ 2 อันนี้ไว้ก็จะทำให้เราทำงานได้ต่อเนื่องอย่างดี

Bangkok Charter 2005

ดิฉันคิดว่า ข้อสรุปของท่านรองอธิบดีกรมอนามัยทั้ง 3 ท่าน ที่ได้เล่ามาให้ เรา-ท่าน ได้ฟังกัน ณ gotoknow แห่งนี้ เป็นประเด็นที่จะจุดประกาย ต่อยอดการทำงานของเราชาวกรมอนามัยได้ดี หลังจากที่เราผ่านการอบรม นสส. ไปแล้ว เพราะถ้าดูให้ดีดี เรื่องต่างๆ เหล่านี้ครอบคลุมทั้งในเรื่อง การพัฒนาตน พัฒนาคน และพัฒนาการทำงาน เป็นอย่างดีทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำอย่างไรให้เข้าถึงลูกค้า ... ซึ่งก็ก้าวเข้ามาเป็นบทบาทของข้าราชการยุคใหม่แล้วนะคะ

อ่านเรื่องราวของ แนวคิดจากท่านรองอธิบดีกรมอนามัย สู่ นสส.3/2549

รองอธิบดีกรมอนามัย น.พ.โสภณ เมฆธน
รองอธิบดีกรมอนามัย น.พ.ประเสริฐ หลุยเจริญ
รองอธิบดีกรมอนามัย น.พ.บวร งามศิริอุดม (1) และ
รองอธิบดีกรมอนามัย น.พ.บวร งามศิริอุดม (2)

กฎบัตรกรุงเทพเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ (Thai)

กฎบัตรกรุงเทพเพื่อการส่งเสริมสุขภาพ ในโลกยุคโลกาภิวัฒน์ (English)

 

หมายเลขบันทึก: 27127เขียนเมื่อ 6 พฤษภาคม 2006 18:02 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท