การวางแผนดูแลครอบครัวผู้ป่วยในชุมชน


คุณอรพรรณ เบ็ญโกบ ได้นำเสนอกรณีศึกษาการวางแผนการดูแลแต่ละครอบครัว ให้เพื่อนๆใน คลินิคเวชปฏิบัติครอบครัว กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลหาดใหญ่ ในบ่ายวิชาการคะ

ชื่อผู้ป่วย:  นางว.    อายุ 86 ปี  

 การเจ็บป่วย: โรคหอบหืดมานานประมาณ 10 ปี, โรคหัวใจและโรคความดันโลหิตสูงมาประมาณ 1 ปี ตาเป็นต้อกระจกและหูทั้งสองข้างฟังไม่ชัด
ชื่อผู้ป่วย: นาย ก. ซึ่งเป็นหลานชาย อายุ 34 ปี

 

 

การเจ็บป่วย: มีปัญหาความพิการปัญญาอ่อนระดับปานกลาง ทางสติปัญญา/การเรียนรู้ระดับ 4 ตั้งแต่แรกเกิดและมีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงมา 3 ปี

 

 

           ข้อมูลสมาชิกครอบครัวและผังเครือญาติ
 
 
 
Øครอบครัวของนางว.ลูกๆ ไม่ค่อยช่วยเหลือด้านการเงินจะมีเพียงบุตรสาวที่ให้เงินนางว. 2-3 เดือนต่อครั้ง ครั้งละ 300-500 บาท
Øค่าใช้จ่ายส่วนตัวและค่าใช้จ่ายในบ้าน นางว.จะเป็นผู้รับผิดชอบโดยอาศัยเงินจากชาวบ้านที่ให้ในทุกวันเฉลี่ยวันละ 100 บาทและเงินช่วยค่าน้ำ ค่าไฟจากผู้ที่มาอาศัยอยู่ชั้น 2 เดือนละ 300-400 บาท
Øนางว.ยังมีผู้บริจาคชะกาต (ทาน) ให้ทุกวันพฤหัสบดีสัปดาห์ละ 50 บาทและทุกปีจะได้รับบริจาคชะกาต (ทาน) จากร้านสลามะ จำนวน 4,000 บาท
Øนางว.มีเพื่อนสนิทอายุรุ่นเดียวกันในชุมชนคือ นาง น.ซึ่งจากการถามญาติผู้ดูแลนาง น.พบว่า ส่วนใหญ่นาง น.จะให้เงินและอาหารกับนางว.ทุกครั้งที่มาหาที่บ้าน
Øนางว.เล่าให้ฟังว่า ลูกๆ ไม่ค่อยมาหาเพราะอยู่ไกล เรื่องของกินส่วนใหญ่คนอื่นให้กินไม่ได้ไปขอหรอกนะเค้าให้เองเงินก็เหมือนกัน
Øส่วนการรักษาพยาบาลของตนเองและหลานไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเนื่องจากใช้บัตรทองผู้สูงอายุและผู้พิการ หากมีปัญหาเจ็บป่วยหรือปัญหาในโรคที่เป็นอยู่จะไปรับบริการที่ศูนย์บริการสาธารณสุข 27 จันทร์ฉิมไพบูลย์ตลอด แต่ขณะนี้นางว.ขาดผู้ดูแล โดยนางว.เจ็บป่วยเป็นโรคหอบหืดที่ต้องใช้พ่นยาซึ่งปัญหาก็คือผู้ป่วยใช้ยาพ่นไม่เป็นจึงไม่เคยใช้เมื่อมีอาการเหนื่อยเลย

 

 

 

หากมีปัญหาเรื่องการเงินจะไม่เคยพึ่งผู้อื่นเนื่องจากคิดว่าปัจจุบันคนอื่นก็ให้เงินตนใช้อยู่แล้ว จึงใช้จ่ายเฉพาะที่จำเป็น ไม่ยืมเงินผู้อื่นเพราะผู้ป่วยบอกว่า ยืมแล้วคงไม่มีปัญญาใช้คืนเขา นางว.บอกว่า ไม่เคยได้รับเงินสวัสดิการผู้สูงอายุเลยและนายก.ก็ไม่เคยได้รับเงินช่วยเหลือผู้พิการเช่นกัน

ตัวอย่าง การวางแผนแต่ละครอบครัว

ครอบครัว นาง ว. นาย ก.

Needs คนไข้และครอบครัว

needs ที่ 1  นางว. ต้องการพ่นยาได้อย่างถูกต้องและต้องการทราบถึงปัจจัยที่ทำให้อาการหอบหืดกำเริบ

ข้อมูลสนับสนุน

Subject data

ผู้ป่วยบอกว่า

·    ยาพ่นมีเยอะเลยแต่ใช้ไม่เป็น

·    ไม่เคยใช้เลยได้มาทุกครั้งที่ไปหาหมอ

·    ทำไม่เป็นหรอก เวลาหอบก็ดมยาเอา นี่ไงยาดมเต็มเลย

·    ถึงเวลามันจะหอบมันก็หอบ ไม่รู้ทำไง หอบมากตอนทำอะไรๆ

·    จะหอบมากหากเดิน ล้างจานใบเดียวบางทีก็หอบแล้ว

พยาบาลที่ศูนย์ฯ 27 บอกว่า

·    ยายเค้ามาเอายาตลอดนะแต่พอสอน ยายเค้าก็ไม่เข้าใจเพราะแกฟังไม่ได้ยิน แกใช้ยาพ่นไม่เป็นหรอก

 

Object data

 

·    จากการสังเกตพบว่ายาพ่นที่ได้รับมาจากศูนย์ฯ 27 อยู่เต็มหลอดทุกอัน

·    เมื่อพยาบาลส่งยาพ่นให้ผู้ป่วยทดลองใช้ผู้ป่วยหยิบไปดูและส่ายหน้า

·  จากการสังเกตครั้งแรกที่เข้าบ้าน (6/7/50) ผู้ป่วยนั่งกินขนมใกล้กับแมวซึ่งเป็นปัจจัยทำให้หอบมากขึ้นแต่ผู้ป่วยไม่เลี่ยงและเมื่อลุกเดินมาเพื่อรับพยาบาลหน้าบ้าน ผู้ป่วยจะหอบมากแต่กลับหยิบยาดมขึ้นมาดมแทนการใช้ยาพ่น

·  จากการใช้แบบประเมินการควบคุมโรคหืด (ACTTM) ของสมาคมสภาองค์กรโรคหืดแห่งประเทศไทย ผู้ป่วยได้คะแนนรวม 14 คะแนนซึ่งแปลผลได้ว่าควบคุมโรคหืดได้ไม่ดีนัก

Outcomes และเกณฑ์

1.                ผู้ป่วยพ่นยาด้วยตนเองได้อย่างถูกต้อง

2.                ผู้ป่วยทราบถึงปัจจัยที่ทำให้อาการหอบหืดกำเริบ

 เกณฑ์

1.                ผู้ป่วยสามารถสาธิตย้อนกลับวิธีการพ่นยาที่ถูกต้องได้

2.                ผู้ป่วยบอกว่า ทุกครั้งที่หายใจหอบจะพ่นยาแทนการดมยาหลอด

3.                สังเกตพบว่าปริมาณยาพ่นที่ผู้ป่วยมีลดลงสอดคล้องกับจำนวนวันที่ใช้ไป

4.                ผู้ป่วยพกยาพ่นติดตัวตลอดเวลาแทนการพกยาดมหลอด

5.ผู้ป่วยบอกได้ว่าอะไรที่ทำให้อาการหอบกำเริบขึ้นไม่น้อยกว่า 3 ชนิด

กิจกรรมการพยาบาล

1.                สร้างสัมพันธภาพพร้อมแนะนำตัวทุกครั้งที่เข้าเยี่ยมผู้ป่วยเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความคุ้นเคย กล้าซักถามข้อสงสัย

2.                บอกวัตถุประสงค์ในการเข้าเยี่ยมครั้งนี้

3.        แนะนำให้ผู้ป่วยทดลองซ้อมการหายใจเข้าและออกแบบธรรมดา ไม่ต้องรีบ จากนั้นให้ผู้ป่วยทดลองหายใจเข้าให้ลึกที่สุดเท่าที่จะทำได้ ประมาณ 3-4 รอบและสุดท้ายให้ผู้ป่วยฝึกการกลั้นหายใจ

4.                แนะนำวิธีการถือหลอดยาพ่นและประโยชน์ของยา

Ø  นำยาพ่นที่ผู้ป่วยมีอยู่ในบ้านมาวางไว้หน้าผู้ป่วยจากนั้นพยาบาลถือท่าที่ถูกต้องไว้ 1 อันและให้ผู้ป่วยถือหลอดยาตามพยาบาลด้วยมือด้านที่ถนัดไว้ 1 อันและเพื่อให้ผู้ป่วยเกิดความคุ้นชินกับการถือหลอดพ่นยา

บอกผู้ป่วยว่ายาที่กำลังถืออยู่นี้เป็นยาสำหรับพ่นเพื่อบรรเทาอาการหอบเหนื่อยของผู้ป่วยหยิบยาดมหลอดที่ผู้ป่วยพกติดตัวตลอดเวลาขึ้นมาพร้อมกับบอกผู้ป่วยว่ายาดมอันนี้แก้คัดจมูก, แก้

Ø   เวียนหัวแต่ไม่ได้ช่วยให้อาหารหอบเหนื่อยลดลง

หมายเลขบันทึก: 271255เขียนเมื่อ 26 มิถุนายน 2009 16:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

โปรดติดตามตอนต่อไปคะ ยังมีการประเมินอีกหลายด้าน รวมทั้ง การเขียน need และ

Clinical path

จากการวางแผนการดูแลมีการพูดถึงแบบประเมินอยู่ 2 ชุด ซึ่งดูได้จาก Link คะ

Link แบบประเมินภาวะหอบหืด

http://gotoknow.org/file/pcunurse/Asthma.assess.pdf

Link แบประเมินเท้าhttp://gotoknow.org/file/pcunurse/foot.asess.pdf

เก่งจังเพื่อนเรา เป็นกำลังใจให้ จากเพื่อนเวชปฏิบัติ มหิดล

ปอรีบเข้ามาทักเพื่อนเร็วเข้า แต่ไม่ยักแสดงตนเดาเอาเองก็แล้วกันนะคะว่าใคร

แบบประเมินเท้าเบาหวาน ของเดิมมีข้อผิดพลาดเลยทำซ้ำอีกทีคะ

http://gotoknow.org/file/pcunurse/foot.asess.pdf

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท