องค์รวมในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์


การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่เป็นระบบ นำความคุ้มค่า มาสู่องค์การเป็นอย่างยิ่ง

การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในภาพองค์รวมได้แก่

1. การพัฒนาบุคคล  ID ( Individual Development )  ช่วยให้บุคลากรในองค์การเห็นถึงจุดแข็ง จุดอ่อนของตนเอง   มีการเสริมจุดแข็ง และพัฒนาจุดอ่อน โดยใช้ศักยภาพทั้งหมดเพื่อสร้างประสิทธิภาพองค์การขณะเดียวกันก็บรรลุเป้าหมายส่วนบุคคลด้วย  ID เป็นการพัฒนาบุคคลที่เกิดจากการผ่านทักษะงานหลายตำแหน่ง เช่นผู้วิเคราะห์  วางแผน  สร้างโปรแกรม บรรยาย  เป็นต้น เพื่อมุ่งพัฒนาความรู้ทัศนคติ  ทักษะใหม่ ๆ และพฤติกรรมให้ดีขึ้น  เพื่อที่จะทำให้ผลการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นและดีขึ้น  อาจกระทำผ่านแผนงานที่เป็นทางการหรือไม่เป็นทางการ หรือการอบรมขณะปฏิบัติงานก็ได้

2. การพัฒนาวิชาชีพ CD ( Career Development )  เน้นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบความสนใจ ค่านิยม ความรู้ความสามารถกิจกรรม และการมอบหมายงานให้บุคคลเพื่อพัฒนา ทักษะสำหรับการปฏิบัติงานในอนาคต การพัฒนาอาชีพนั้นทั้งบุคลากร และองค์การ ต่างต้องมีกิจกรรมที่จะต้องปฏิบัติทั้ง 2 ฝ่าย ทางฝ่ายบุคลากร จะต้องมีการวางแผนอาชีพ  ตระหนักในอาชีพตน ใช้ประโยชน์จากศูนย์พัฒนาอาชีพในหน่วยงานตนให้มากที่สุด ส่วนกิจกรรมองค์การครองคลุม ระบบการให้คำปรึกษาจัด  workshop  สัมมนา การวางแผนทรัพยากรมนุษย์ การประเมินผล การปฏิบัติงาน แผนงานเส้นทางอาชีพ

3. การพัฒนาองค์การ OD ( Organization Development ) มุ่งพัฒนาวิธีการแก้ปัญหาองค์การด้วยวิธีการใหม่ๆ ให้กลมกลืนกัน  สามารถทำให้องค์การปรับตัวได้ดวยตนเอง และมองเห็นปัญหาและความอ่อนแอของตนแล้วนำมาแก้ไข เคยมีผู้กล่าวว่า การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นสิ่งฟุ่มเฟือย แต่ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า การพัฒนาแรงงาน ( Work Force ) ไม่ใช่สิ่งฟุ่มเฟือยอีกต่อไป  การอบรมและการพัฒนา เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อความอยู่รอดและการปฏิบัติงานขององค์การ และช่วยส่งเสริมในการสร้างเป้าหมายชีวิตที่สมบูรณ์ ให้กับทุกคน ไม่เพียงในองค์การธุรกิจ แต่ในความสัมพันธ์กับครอบครัว  ศาสนาและชุมชนด้วย

แนวคิด หากมีพัฒนาอย่างเป็นระบบ พร้อมด้วยการประเมินทั้งในระหว่างปฏิบัติงานและหลังปฏิบัติงาน เพื่อนำมาปรับปรุงและพัฒนาองค์การนั้น  นับว่าเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็นยิ่ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคโลกาภิวัฒน์ที่มีการแข่งขันสูง  จึงเห็นด้วยว่าการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างเป็นระบบมีความคุ้มค่าควรแก่การธำรงไว้ ซึ่งกระบวนการและแนวคิดค้นทฤษฎีใหม่ ๆ ที่จะจรรโลงองค์การให้บรรลุวัตถุประสงค์และ        เป้าหมายต่อไป

 

คำสำคัญ (Tags): #เรื่องทั่วไป
หมายเลขบันทึก: 270300เขียนเมื่อ 23 มิถุนายน 2009 12:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

แล้ววัฒนธรรมองค์กร (Organization Culture) ถือเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เป็นไปในทิศทางที่เป็นระบบ ลักษณะคล้าย ๆ กับว่า คนเข้ามาอยู่ในวัฒนธรรมสภาพแวดล้อมที่ดีเป็นระบบ ก็จะทำให้คนพัฒนาอย่างเป็นระบบเช่นกัน ตรงนี้ขอความคิดเห็นเพิ่มเติมด้วยนะครับ ถือเป็นการแลกเปลี่ยนกันแล้วกันนะครับ

ขอบคุณที่ร่วมให้ข้อคิดเห็น ถือว่าเป็นการเติมเต็มที่มีประโยชน์คะ

ศัตรูของการพัฒนาคือความเฉื่อยชา ท้อถอย สิ้นหวัง แวะมาเยี่ยมครับ

เห็นด้วยกับคุณ กรุง สุวรรณ์ และการเรียนป.โท นี่ท้าทายดีนะ .....มาเรียนเอาตอนนี้ นับว่าช้าไปนิด ด้วยปัจจัยความไม่พร้อมหลายตัว เมือ 10 กว่าปีที่ผ่านมา( เดิมตั้งใจมากที่จะเรียนตอนนั้น ) เพิ่งจะมาพร้อมตอนนี้ ...ก็ยังดีกว่าหยุดอยู่กับที่ ... จะ สู้ ..สู้ ค่ะ

พี่เอกคะ บทความของพี่ตรงกับที่อาจารย์สอนเลยค่ะ มีประโยชน์มาก ขอให้นำบทความและแนวความคิดดีๆมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอีกนะคะ

มาเยี่ยมให้กำลังใจในการสร้างสรรค์ผลงานครับ

ได้ความรู้มากเลยค่ะกำลังจะสอบวิชานี้อยู่พอดีเลย

แต่ถ้าบุคคลในองค์กรเล็ก ๆ ไม่สนใจที่จะใฝ่รู้ พัฒนาตนเอง

ให้ดีขึ้นจะมีวิธีแก้ไขยังไงค่ะ

กับประคนประเภท ไม่รู้ ไม่เอา ไม่ทำ ใครจะยังไงก็ช่าง

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท