ใช้ KM ทำ Knowledge Capture
วิจารณ์ พานิช
1 มิ.ย.48
ท่านที่สนใจที่มาที่ไปของเรื่องนี้โปรดกลับไปอ่านบันทึกเมื่อวันที่ 29 เม.ย.48
วันนี้ขอบันทึกความสำเร็จในการทำ KM Workshop เพื่อทำ Knowledge Capture เป็นครั้งแรกของ สคส. – สสส. – สรส. โดยมีคุณทรงพล เจตนาวณิชย์ แห่งโครงการสถาบันพัฒนาการจัดการความรู้ชุมชนเป็นวิทยากรหลักร่วมกับคุณอุรพิณ ชูเกาะทวด ผมเป็นกองหนุน และคุณสุภาภรณ์ ธาตรีโรจน์ เป็นตากล้องวีดีโอ
เป็นประสบการณ์ระทึกใจในช่วงแรก เพราะคุณทรงพล ต้องใช้ความใจเย็น พูดคุยทำความตกลงกับ Group Facilitator 6 คน และ Note Taker 7 คน จนถึงตี 2 ของคืนวันที่ 27 พ.ค.48 ก่อนจะถึงตัว Workshop ในวันที่ 28 – 29 พ.ค. ที่ Botanic Resort อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
เราได้ความรู้กลับมาเพียบ พอจะสรุปได้ดังนี้
1. สสส. ได้ขุมความรู้ (Knowledge Assets) และแก่นความรู้ (Core Competence) ในการดำเนินการส่งเสริมกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพแบบบูรณาการโดยให้พื้นที่เป็นสำคัญ ซึ่งความรู้นี้ได้จากการสกัดออกมาจากเรื่องเล่าความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพของ 6 โครงการ คุณไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม ประธานคณะกรรมการประสานแผนคณะที่ 3 ของ สสส. กล่าวว่าพอใจมากต่อผลของการประชุม เพราะทำให้ได้รับความรู้ที่ “สด” จาก “ผู้ทำมากับมือ” จริง ๆ
2. สคส. และพันธมิตรได้รับบทเรียนหรือการเรียนรู้ว่า ใช้ KM ทำ Knowledge Capture ได้จริง ๆ
3. คณะ Group Facilitator 6 คน กับ Note Taker 7 คน ได้เรียนรู้วิธีจัดการประชุมแบบที่เดินเรื่องด้วยเรื่องเล่า (storytelling) นำความสำเร็จมาเล่าและชื่นชม สกัดความรู้จากการปฏิบัติออกมา การเรียนรู้ของ 13 ท่านนี้เป็นการเรียนจากการปฏิบัติกันสด ๆ แบบไม่รู้ทฤษฎีมาก่อน จึงขอบันทึกชื่อของ 13 ท่านนี้ไว้
Group Facilitator
(1) นายนเรศ สงเคราะห์สุข เครือข่ายองค์กรบ้านจุ้มเมืองเย็น (01-882-8341)
(2) นายประหยัด จตุรพรพิทักษ์สถาบันส่งเสริมการเรียนรู้เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
(01-882-6864)
(3) นายสวิง ตันอุด วิทยาลัยการจัดการทางสังคม (01-783-7737)
(4) นายตุลวัตร พานิชเจริญ โครงการเครือข่ายระดับจังหวัด (01-883-4624)
(5) ดร. สมคิด แก้วทิพย์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ (09-854-1626)
(6) ผศ. ดร. สมพงษ์ บุญเลิศ มรภ. เชียงใหม่
Note Taker
(1) นส. อุ่นใจ เจียมบูรณะกุล นักวิชาการ คณะสังคมศาสตร์ มช.
(2) นส. อัจฉรา สุขธรรม
(3) นส. อาภา พงศ์คีรีแสน สกว. สำนักงานภาค เชียงใหม่ (01-806-2460)
(4) นส. เกศสุดา สิทธิสันติกุล สกว. สำนักงานภาค เชียงใหม่
(5) นส. อังคณา ทาลัดชัย
(6) นส. นิตยา โปธาวงศ์
(7) นส. ผการัตน์ ทิพย์สุวรรณ
4. เราได้ประสบการณ์การจัด Workshop แบบที่จำนวนผู้สังเกตการณ์มีจำนวนมาก (ประมาณ 40 คน เท่า ๆ กับสมาชิกกลุ่ม) ว่าจะต้องมีการเตือนกันไว้ให้ชัดเจนว่าผู้สังเกตการณ์ขอให้อยู่วงนอก สังเกตอยู่ห่าง ๆ อย่าเข้าไปร่วมแจมมากเกินไป
5. สคส. ได้วีดีโอการประชุมกลุ่ม และการนำเสนอผลการประชุมกลุ่ม เป็นตัวอย่างของการประชุมและการนำเสนอที่ดีที่สุดครั้งหนึ่งที่ผมเคยเห็น ท่านที่สนใจติดต่อซื้อได้ที่ สคส. ครับ
วิจารณ์ พานิช
29 พ.ค.48
Botanic Resort, เชียงใหม่
การสร้างโครงข่ายการเรียนรู้ไปสู่กลุ่มองค์กรชุมชนและเครือข่ายโดยผ่าน http://gotoknow.org ถือเป็นช่องทางหนึ่งในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ที่มีความหมาย เพราะผู้สนจหรือเครือข่ายเข้าถึงองค์ความรู้ที่ตนเองสนใจและนำเอาองค์ความรู้ไปหระยุกต์ใช้ มีการทดลองปรับปรุงพัฒนาจนเกิดเป็นองค์ความรู้ชัดแจ้ง (Explicit Knowledge)ส่งผลถึงความภาคภูมิใจฝนความสำเร็จ มีศักดิ์ของความเป็นตน ถือเป็นการส่งเสริมการศึกษาตามอัธยาศัยให้กลุ่ม สมาชิกองค์กรชุมชนได้เรียนรู้ ปรับตัวเป็นการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องเกิดความยั่งยืนต่อไป ในส่วนของกระผมได้ลงภาคสนามแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2542 จนถึงปัจจุบัน มีความเชื่อมั่นว่ากลุ่มองค์กรชุมชน คือ ช่องหนึ่งของคนไทยที่จะมีการสร่สงองค์ความรู้จริงและอิงอยู่ในบริบทของสังคมไทย เกิดเอกล้กษณ์ชุมชนที่น่าภาคภูมิใจ มีผู้นำในการเปลี่ยนแปลงในระดับรากหญ้า รู้จักตนเอง รู้จักทรัพยากรและสามารถจัดการทรัพยากรในลักษณะเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการสร้างงานสร้างรายได้จริง
การสร้าง Knowledge Capture ถือว่ามีความจำเป็น เพราะมื่อกลุ่มองค์กรชุมชนและเครือข่าย มีองค์ความรู้ตามประเด็นของข่าย มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้และยกระดับความ มีการวิจัยและพัฒนางานของตนให้ดีขึ้นกว่าที่เป็นอยู่อย่างหลากหลายในลักษณะ การบริหารจัดการความรู้ในบริบทของสังคมไทย ในลกษณะพึ่งพาตนเอง มีแผนชีวิตที่จะเดินไปข้างหน้าไม่ต้องรอคนข้างนอก จำเป็นจะต้องบริหารจัดการความรู้ทั้งในส่วนของการสร้าง การจำแนก การจัดเก็บ การในความรู้ไปใช้ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การประเมินผลและการปรับปรุงความรู้ ลงในลักษณะฐานข้อมูลที่จะเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับภายนอกนั้น จำเป็นจะต้องสร้างคลังความรู้ร่วมในลักษณะ Blog :ปัจจุบันพัฒนาเป็น gotoknow นั้นเป็นสิ่งสำคัญและควรส่งเสริมให้แต่ละจังหวัดเป็นเครือข่ายของ สคส.และ Blog หลักของจังหวัดนั้นด้วย เพราะหากทำสำเร็จถือเป็นส่งเสริมการสร้างความรู้ การนำความรู้ไปใช้ เพื่อยกระดับและพัฒนาองค์ความรู้ให้ดีขึ้นและสอดคล้องกับสภาพการณ์ที่เปลี่ยนไปและรู้เท่าทันด้วย
ผมมีความรู้ในเรื่องการเพาะเลี้ยงเห็ดฟาง แต่ไม่รู้วิธีการเผยแพร่ ในKnowledge Capture และไม่มีโปรแกรมด้วย ใครช่วยได้ ช่วยกรุณาหน่อยครับ