การจัดการความรู้กับ อบต.


การจัดการความรู้กับ อบต.

วิจารณ์  พานิช

31 พ.ค.48

          ผมไปบรรยายเรื่อง อบต. กับการสร้างสรรค์ตำบลแห่งการเรียนรู้   ที่มหาวิทยาลัยศิลปากร   วิทยาเขตเพชรบุรี     เมื่อวันที่ 13 กับ 20 พ.ค.48     จึงขอนำเรื่องการจัดการความรู้กับ อบต. (องค์การบริหารส่วนตำบล) มาเล่าสู่กันฟัง

          ผมมีข้อเสนอว่า   อบต. จะต้องทำหน้าที่ขับเคลื่อนตำบลไปเป็นตำบลแห่งการเรียนรู้     คนในตำบลมีการรวมตัวกันสร้างความรู้จากการทำงานหรือประกอบอาชีพ   และยกระดับความรู้ในการประกอบอาชีพสูงขึ้นเรื่อย ๆ     โดย อบต. จ้าง คุณอำนวย (Knowledge Facilitator) ทำหน้าที่เอื้ออำนวยความสะดวกในการเรียนรู้   สร้างความรู้   ใช้ความรู้   และยกระดับความรู้ของชาวบ้าน

          ผมได้เอากรณีนักเรียนโรงเรียนชาวนา   ต.วัดดาว  อ.บางปลาม้า  จ.สุพรรณบุรี   ที่เล่าไว้โดย คุณอำนวย”– ณรงค์  อ่วมทรัพย์     ไปเล่าต่อ

          ในระหว่างนั่งรอพิธีเปิด     ผมนั่งติดกับ พอ. (พิเศษ) เรื่องศักดิ์  สุวรรณาคร   ผู้บังคับการกรมพิทักษ์ทรัพยากรที่ 3 (ซึ่งเป็นหน่วยงานตั้งใหม่ของกองทัพบก   คือกองพลพัฒนาและพิทักษ์ทรัพยากร     ซึ่งกำลังก่อสร้างอาคารสถานที่ตั้งที่จังหวัดนราธิวาส)  ท่านเล่าเรื่องหน่วยงานตั้งใหม่นี้     และบอกว่าจะต้องลงไปอยู่ในนราธิวาสในไม่ช้า     และทำงานเน้นด้านการพัฒนา     ผมได้เรียนเสนอว่า   ต้องเน้นแนวทางใหม่   อย่าไปตกหลุมแนวทางเก่าที่ได้ผลน้อย     แนวทางเก่าคือ training หรือ technology  transfer     ส่วนแนวทางใหม่คือ learning   เน้นการเรียนรู้ของชาวบ้าน     ชาวบ้านเป็นผู้ดำเนินการ     ตรงกันข้ามกับ training ซึ่งเราเป็นผู้ดำเนินการ

          กลับมาที่ อบต.     คุณทรงพล  เจตนาวณิชย์   แห่งโครงการ สรส.     จะดำเนินการต่อยอดการสร้าง นักจัดการความรู้ท้องถิ่น     ต่อยอดจากโครงการ สรส. ภาคกลาง     ซึ่งได้สร้างนักจัดการความรู้ท้องถิ่นรุ่นแรกไปแล้ว 23 คน     โดยในโครงการใหม่นี้เน้นความร่วมมือกับ อบต.,   องค์กรปกครองท้องถิ่นอื่น ๆ,   และสหกรณ์     เน้นสร้างนักจัดการความรู้เข้าไปทำงานเอื้ออำนวยการเรียนรู้ในชุมชน     อบต. ไหนสนใจติดต่อคุณทรงพลได้ที่ [email protected]   หรือโทรศัพท์  01-874-4054

          กลับมาที่ พอ. เรืองศักดิ์     เนื่องจากท่านต้องการเรียนรู้วิธีการใหม่ ๆ ที่จะนำไปทดลองใช้ดำเนินการแก้ปัญหา 3 จังหวัดภาคใต้     ท่านจึงสนใจเรื่องการเรียนรู้ของชาวบ้าน   กรณีโรงเรียนชาวนา     ผมจึงได้แนะนำให้ไปดูงาน     ให้นักเรียนโรงเรียนชาวนาเป็นผู้นำชมของจริง     โดยติดต่อที่มูลนิธิข้าวขวัญ   โทร 035-597-193   หรือที่คุณจันทนา  หงษา   ผู้จัดการมูลนิธิข้าวขวัญ   โทรมือถือ   04-646-5903

          เป้าหมายสำคัญคือ   เราจะต้องช่วยกันผลักดันให้ทุกอณูของสังคมไทยมีการสร้างความรู้ขึ้นใช้ในการทำงานหรือในการประกอบอาชีพของตนเอง     ในลักษณะที่มีการรวมตัวกัน   เรียนรู้ร่วมกันผ่านการปฏิบัติ   

          สคส. มี Narrated PowerPoint การบรรยาย 2 ครั้งนี้จำหน่ายในราคา 100 บาท

                                                                                                วิจารณ์   พานิช

                                                                                                   20 พ.ค.48

หมายเลขบันทึก: 21เขียนเมื่อ 31 พฤษภาคม 2005 02:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:39 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

เรียน ศ.นพ.วิจารณ พานิช

ขอร่วมทดลองใช้ blog ใหม่ด้วยค่ะ ข้อคิดของอาจารย์เรื่องการพัฒนาชาวบ้านข้างต้น ดิฉันเห็นด้วยและคิดว่าสามารถนำมาใช้้กับการพัฒนา
บุคลากรด้านสาธารณสุขได้ เพราะวิชาชีพด้านนี้เป็นวิชาชีพที่เน้นการปฏิบัติ
การพัฒนาบุคลากรที่เป็นอยู่ในทุกวันนี้ยังเน้นเรื่องของ training หรือ technology transfer อยู่มาก และเมื่อพูดถึงการนำความรู้มาใช้ในการปฏิบัติ ก็จะเน้นการใช้ความรู้จากงานวิจัย (และพูดโดยนักวิชาการที่มักจะไม่ได้ปฏิบัติงานอยู่จริง) เสมือนผู้ปฏิบัติทุกวันนี้ไม่มีความรู้ที่มีคุณค่าอะไร
จริงๆ แล้วผู้ปฏิบัติมีและใช้ความรู้จากการปฏิบัติอยู่ตลอดเวลา แต่ไม่รู้วิธีที่จะดึงความรู้ตรงนั้นออกมา

การมองไม่เห็นคุณค่าของความรู้จากการทำงาน ทำให้คนหันไปทำงานวิจัยเพื่อเพิ่มคุณค่าให้กับตนเอง จากจำนวนชิ้นงานวิจัย ทั้งๆ ที่งานวิจัยที่ทำส่วนใหญ่นั้นเป็นงานที่ไม่มี impact ต่อการปฏิบัติเลย บางคนทำงานวิจัยสะเปะสะปะไม่ได้ต่อยอดความรู้อะไรด้วยซ้ำ

วัลลา ตันตโยทัย

วัลลา ตันตโยทัย

หนูเป็นคนหนึ่งที่อ่านบทความของอาจารย์ และสนใจบทความที่อาจารย์ได้เสาะหาให้อ่าน และทำความเข้าใจกับบทความทั้งหมด 

หนูพยายามที่จะหาความรู้และจัดการความรู้ในทุกเรื่องเพื่อให้คนในองค์กรมีความรู้ที่หลากหลาย พยายามแสดงให้ทุกคนรู้ว่า ความจริงแล้วความรู้ไม่จำเป็นจำเป็นต้องเป็นเรื่องที่ทำงานในองค์กรเท่านั้น เป็นเรื่องที่อยู่รอบกายเรา ซึ่งมีทั้งวิธีการปฏิบัติ คำแนะนำ และข้อคำถามที่สามารถเป็นความรู้กับเราได้ดี

หนูเห็นความสำคัญของการจัดการความรู้ จนเหมือนเป็ดแล้วค่ะ  ได้แต่รู้แต่ไม่ลึกซึ้ง ไม่สามารถนำไปปฏิบัติได้หมด แต่มีสุภาษิตที่ว่า ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น" 

 

คุณปุ้ยลองโฟกัสจัดการความรู้เฉพาะเกี่ยวกับงานหลักของตนเองดูสัก ๒ - ๓ เดือน แล้วประเมินว่าพบการเปลี่ยนแปลงในตนเองอย่างไร    แต่ในหลักการ KM ต้องแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนร่วมงานด้วย จึงจะเป็น KM    ถ้าทำคนเดียว ไม่ใช่ KM ครับ

วิจารณ์ 

ลองเล่นบล๊อกใหม่ด้วยคนครับ

forklift

[IMG]http://i285.photobucket.com/albums/ll50/water_torsak/Fueldispenser.jpg[/IMG]
 
จำหน่ายปั๊มน้ำมันขนาดเล็กถึงใหญ่,ปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ
ปั๊มน้ำมันในหมู่บ้าน,ตู้น้ำมันหยอดเหรียญ,ปั้มน้ำมันหยอดเหรียญ,,
 
เป็นธุรกิจที่เรียกว่า " หลับก็ได้เงินหมื่นตื่นมาก็รับเงินแสน" และเป็นธุรกิจที่ยังไงก็จำเป็นที่จะต้องใช้ในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันและอนาคต และสามารถใช้ได้ทั้งเบนซิน ดีเซล แก๊สโซฮอล์ LPG/NGV และพลังงานทดแทนต่างๆ...
ราคาถูกในการลงทุน สำหรับโครงการหมู่บ้าน,ชุมชน,หรือโครงการของรัฐบาลเช่นโครงการพอเพียง,กองทุนหมู่บ้าน,วิสาหกิจชุมชน,สหกรณ์ และธุรกิจส่วนตัวเช่นเกษตรกร,นักธุรกิจ,เจ้าของร้านค้า...ที่ต้องการปั๊มน้ำมันที่มีราคาไม่แพงมาก…..เพราะว่าเครื่องขายน้ำมันจะถูกหรือแพงก็สามารถจ่ายน้ำมันได้เหมือนกันถ้าน้ำมันนั้นๆ มาจากแหล่งเดียวกัน….และที่สำคัญเป็นธุรกิจที่ลงทุนไม่สูง,ไม่เหนื่อยมากเพราะเครื่องจะทำงานให้ตลอด 24 ชั่วโมง สำหรับปั๊มน้ำมันหยอดเหรียญ และเป็นสิ่งจำเป็นที่ทุกคนจะต้องใช้ เพียงแต่มีทำเลที่ตั้งเครื่องดีๆเท่านั้น
 
สายด่วนที่ 084 3508437 ในกรณีติดต่อรายละเอียดของสินค้า โดยส่ง e-mail: 
 
[email protected]
 
ทางเราจะส่งข้อมูลในการทำธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จไปให้ครับ… สามารถ click ดูรูปภาพได้ที่..
 
http://i285.photobucket.com/albums/ll50/water_torsak/Fueldispenser.jpg

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท