วิเคราะห์โครงสร้างระบบบริหารและอัตรากำลัง กศน. ที่ต้องรอการพัฒนา


               สืบเนื่องจากผมได้ร่วมเป็นคณะทำงานจัดทำข้อเสนอแผนพัฒนาบุคลากรการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ของกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการได้มอบหมายให้ ดร.สมบัติ สุวรรณพิทักษ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นหัวหน้าคณะทำงาน และ ผอ.กลุ่มการเจ้าหน้าที่ กศน.เป็นเลขานุการ ในการทำงานให้เป็นเอกสารผมได้รับมอบงานให้ทำหน้าที่สรุปให้เห็นภาพการคิดในเบื้องต้นเพื่อจะดั้นด้นค้นหาข้อสรุปเป็นแผนพัฒนา และข้อเสนอแก่รัฐบาลต่อไป ในการนี้ได้รวมรวมข้อมูลที่มีจากกลุ่มการเจ้าหน้าที่และเขียนเชื่อมโยงให้มีประเด็นที่จะใช้เป็นข้อมูลในการทำแผนพัฒนาบุคลากรให้สมบูรณ์ต่อไป ท่านใดอ่านแล้วมีความเห็นหรือข้อเสนอแนะอย่างไรขอให้ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้วยครับ

วิเคราะห์โครงสร้างระบบบริหารและอัตรากำลัง

 

การจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย มีโครงสร้างระบบบริหารจากชุมชน โดยมีศูนย์การเรียนชุมชน เป็นสถานีบริการจุดแรกที่เปรียบเสมือนห้องเรียนที่จัดการความรู้ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งมีศูนย์การเรียนชุมชนประจำตำบลประสานงานโครงข่ายการเรียนรู้เชื่อมโยงสู่ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอที่เป็นสถานศึกษา ทำหน้าที่จัดส่งเสริมประสานการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในระดับอำเภอ ภายใต้การส่งเสริม สนับสนุนและกำกับของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด เพื่อแปลงนโยบายจากสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในส่วนกลางสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาและบริหารจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในจังหวัด เพื่อสนองความต้องการของประชาชนและสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการสนับสนุนให้เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ สำหรับบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานและสถานศึกษาที่เกี่ยวข้องได้แก่

 

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

เป็นสำนักงานหนึ่งในสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

1.   เป็นหน่วยงานกลางในการส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย และรับผิดชอบงานธุรการของคณะกรรมการ

2.   จัดทำข้อเสนอแนะ นโยบาย ยุทธศาสตร์ แผน และมาตรฐานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยต่อคณะกรรมการ

3.   ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการพัฒนาคุณภาพทางวิชาการ การวิจัย            การพัฒนาหลักสูตรและนวัตกรรมทางการศึกษา บุคลากร และระบบข้อมูลสารสนเทศที่เกี่ยวข้องกับการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

4.   ส่งเสริมและสนับสนุนการดำเนินการเทียบโอนผลการเรียน การเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ และการเทียบระดับการศึกษา

5.   ส่งเสริม สนับสนุน และประสานงานให้บุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และองค์กรอื่น รวมตัวกันเป็นภาคีเครือข่าย เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งในการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

6.    จัดทำข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการใช้ประโยชน์เครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา วิทยุชุมชน ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษา ห้องสมุดประชาชน พิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนชุมชน และแหล่งเรียนรู้อื่น เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างต่อเนื่องของประชาชน

7.    ดำเนินการเกี่ยวกับการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

8.    ปฏิบัติงานอื่นใดตามพระราชบัญญัตินี้ หรือกฎหมายอื่นที่บัญญัติให้เป็นอำนาจหน้าที่ของสำนักงาน หรือตามที่รัฐมนตรีมอบหมาย

 

สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด

มีสถานภาพเป็นหน่วยงานในสังกัดของสำนักงาน เป็นหน่วยงานการศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ทำหน้าที่เป็นหน่วยงานธุรการของคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยจังหวัด/กรุงเทพมหานคร และมีอำนาจหน้าที่บริหารจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยภายในจังหวัด

 

ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ

มีสถานภาพเป็นสถานศึกษาทำหน้าที่ส่งเสริม สนับสนุน ประสานงานและจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยร่วมกับภาคีเครือข่าย โดยการดำเนินงานของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยอำเภอ อาจจัดให้มีศูนย์การเยนชุมชนเป็นหน่วยจัดกิจกรรมและสร้างกระบวนการเรียนรู้ชุมชนได้

 

ศูนย์การเรียนชุมชน

เป็นศูนย์กลางการจัดกิจกรรมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในชุมชนเพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้ การถ่ายทอดและเป็นเวทีแลกเปลี่ยนประสบการณ์ วิทยากร ตลอดจนภูมิปัญญาของชุมชน โดยมีศูนย์การเรียนชุมชนที่ได้รับการคัดเลือกให้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการประสานงานกับศูนย์การเรียนชุมชนและหน่วยงานหรือองค์กรหรือกลุ่มต่างๆ ในชุมชนในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัยในตำบล

 

 

อัตรากำลัง

ในภาพรวมของอัตรากำลังของสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ซึ่งประกอบด้วยข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ลูกจ้างประจำ พนักงานราชการและครูศูนย์การเรียนชุมชน มีทั้งสิ้น 16,778 อัตรา ซึ่งสามารถจัดกลุ่มข้อมูล แสดงเป็นสารสนเทศได้ดังตารางและแผนภูมิต่อไปนี้

 

 

อัตรากำลังข้าราชการพลเรือน/ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและ

ลูกจ้างประจำ/พนักงานราชการ/ครู ศรช.

 

ประเภท

จำนวน (อัตรา)

ข้าราชการพลเรือน

408

ข้าราชการครูและบุคลากรฯ

2,841

ลูกจ้างประจำ

1,304

พนักงานราชการ

5,192

ครู ศรช.

7,033

รวม

16,778

 

 อัตรากำลังข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา

 

ตำแหน่ง

จำนวน (อัตรา)

ผู้บริหารการศึกษา

 

- ผู้อำนวยการ

76

- รองผู้อำนวยการ

76

ผู้บริหารสถานศึกษา

 

- ผู้อำนวยการ

964

- รองผู้อำนวยการ

24

ครู

1,669

ศึกษานิเทศก์

32

บรรณารักษ์

383

เจ้าพนักงานห้องสมุด

11

นักจัดการงานทั่วไป

1

เจ้าพนักงานธุรการ

1

รวม

3,237

 


อัตรากำลังพนักงานราชการ

 

ตำแหน่ง

จำนวน (อัตรา)

ครูอาสาสมัครการศึกษาฯ

5,018

ตำแหน่งอื่นๆ

174

รวม

5,192

 (มีต่อ บันทึกถัดไป)  http://gotoknow.org/blog/disakul/269800

หมายเลขบันทึก: 269798เขียนเมื่อ 21 มิถุนายน 2009 16:41 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 16:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (8)

เรียนถาท่านผอ.คะ 
จะมีการเริ่มทกแผนพัฒนาบุคลากรกศน.เมื่อไรคะและถือว่าเป็นสิ่งที่ดีคะ  เหมือนสิ่งที่พูดว่า
 หน่วยงานที่ดี         ต้องมีการพัฒนา
 หน่วยงานที่ล่าช้า    ต้องคำนวณถึงสิ่งใด
 หน่วยงานที่รวดเร็ว  ต้องรับใช้บริการ....

Pแผนพัฒนาจะเสร็จภายในเดือนหน้าครับ ซึ่งต้องเสนอผ่านให้ รมต.ศธ . พิจารณาพื่อขอรับการสนับสนุนทรัพยากรที่รัฐบาลพึงสนับสนุนได้อีกทีครับ อย่างเช่นที่รัฐบาลต้องการให้มีศูนย์การศึกษาตลอดชีวิตในพื้นที่นั้น เราก็เสนอว่าต้องการกำลังคนเพิ่มในการจัดการ ทั้งนี้ก็ต้องรอดูกันต่อไปครั บ

ขอเรียนถามผอ.ด้วยคนค่ะ..พนักงานราชการที่สอบขึ้นบัญชีไว้..มีโอกาสได้รับบรรจุเป็นข้าราชการไหมคะ...

จะนำแจ้งกับบุคลากรกศน.พนัสนิคมต่อไปค่ะ

Pยังจะเรียกบรรจุจากพนักงานราชการส่วนหนึ่งครับ และโอนจากบรรณารักษ์เป็นครูอีกส่วนหนึ่ง แต่ยังไม่ทราบจำนวนครับ

ถ้าแผนพัฒนาผ่านด้วยดี ก็คงต้องมุ่งความสำคัญไปที่ ศูนย์การเรียนชุมชนแหละครับ การมีครู ศรช.เพียงคนเดียวจะพอเพียงกับภาระกิจในท้องที่หรือไม่ ตำบลหนึ่งคงมี ครู ศรช.เพียงคนเดียวไม่ได้ หากต้องการผลงานที่ดี ครูอาสาก็คงเป็นตัวประสานอีกระดับหนึ่ง เอาไว้แผนผ่านก่อนแล้วค่อยมาวิเคราะฆ์เส้นทางเดินอีกที เพราะดูอัตรากำลัง ครูแล้ว เฉลี่ยอำเภอละ 2 คนเท่านั้นเองนะ จะพอกับโครงสร้างหรือเปล่าหนอ เพราะส่วนใหญ่จะไปพอกอยู่กับอำเภอใหญ่ๆ แสดงว่าอำเภอเล็กๆไม่มี ครูอยู่เลยมั๊ง ดูไม่สอดคล้องกับโครงสร้าง ศูนย์อำเภอเลย

ขออนุญาตเห็นด้วยกับท่านผอ.อนันต์ครับผม

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท