หัวใจนักประพันธ์


พิชิตรางวัลวรรณกรรม

จากบทความเรื่อ  ลักษณะของกาพย์กลอนแห่งชนชาติไทย-ลาว  อ่านแล้วสรุปว่า  ใครเป็นผู้ศึกษา  ศึกษาอะไร  ใช้ระเบียบวิธีวิจัยอย่างไร  และมีข้อค้นพบอะไร

                จากบทความเรื่อง  ลักษณะของกาพย์กลอนแห่งชนชาติไทย-ลาว  ผู้ศึกษาคือ  จิตร  ภูมิศักดิ์  โดยศึกษาลักษณะของกาพย์กลอนแห่งชนชาติไทย-ลาว  ซึ่งเป็นลักษณะคำประพันธ์ดั้งเดิมของลาว-ลาวอีสาน  เพื่อที่จะอธิบายลักษณะของโคลงห้า  อันเป็นโคลงของชนชาติลาวในอดีต

                การศึกษาครั้งนี้ผู้ศึกษาใช้ระเบียบวิธีวิจัยในเรื่องของการศึกษาจากเอกสารและทฤษฎีทางวรรณคดี  ผู้เขียนบทความศึกษาข้อมูลจากตัวบทที่เป็นเอกสารทั้งสิ้น  ไม่มีการลงพื้นที่เก็บข้อมูลหรือใช้ข้อมูลอื่น  เห็นได้จากการที่ผู้เขียนระบุไว้อย่างชัดเจนว่าตนอยู่ในระหว่างการจองจำในคุกของทางการ  จากการศึกษาพบว่าผู้เขียนได้ใช้ทฤษฏีโครงสร้างเป็นหลัก  คือ  การเน้นไปที่รูปแบบ  โดยเฉพาะรูปแบบของวรรณคดีร้อยกรองที่ทราบกันดีว่า  ฉันทลักษณ์ และการศึกษาในครั้งนี้ได้ใช้มิติของการเปรียบเทียบเข้ามาเกี่ยวข้อง  โดยการเปลี่ยบเทียบให้เห็นลักษณะร่วมและลักษณะแตกต่างทางฉันทลักษณ์  และยังได้เปรียบเทียบฉันทลักษณะของแต่ละประเภทเปรียบเทียบกันอีกด้วย  เช่น  โคลง  ร่าย  กาพย์  กลอน  ทำให้เห็นลักษณะร่วมและลักษณะต่างของร้อยกรองต่างชนิดกัน  ทำให้เกิดข้อค้นพบใหม่หลายประการ  เช่น  ร้อยกรองต่างชนิดกันของไทยและของลาวบางชนิดมีลักษณะเหมือนกันหากวิเคราะห์ในเชิงลึก  เป็นต้น

                การศึกษาลักษณะของฉันทลักษณ์ร่วมและแตกต่าง  เน้นการศึกษาในขอบเขตของวรรณคดีไทย-ลาวเป็นหลัก  แต่ก็ไม่ได้ปฏิเสธที่จะนำเสนอหรือดูลักษณะของฉันทลักษณ์ต่างประเทศประกอบบ้าง  เพราะผู้เขียนได้กล่าวถึงลักษณะฉันทลักษณ์ของอังกฤษ-ฝรั่งเศส  และมีการกล่าวถึงฉันทลักษณ์ของบาลี-สันสกฤต  ซึ่งก็ไม่ได้ให้รายละเอียดอะไรมาก  เพียงเพื่อให้เห็นลักษณะที่เป็นอยู่

                ในการศึกษาครั้งนี้พบว่า  ลักษณะใหญ่ๆ  ของฉันทลักษณ์กาพย์กลอนไทย-ลาว    ลักษณะใหญ่ๆ  คือ  กลอนประเภทที่ถือสัมผัสเป็นหลักและประเภทที่ถือจังหวะเป็นหลัก  ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

                ๑.  ประเภทที่ถือลักษณะเป็นสำคัญ  คือ  บทประพันธ์ที่มีการใช้ถ้อยคำหรือวลีที่มีลักษณะคล้องจองกัน  หรือสัมผัสกัน  ลักษณะการสัมผัสอาจจะเป็นคู่สอง  คู่สาม  คู่สี่  คู่ห้า  คู่แปด  ซึ่งลักษณะดังกล่าวนอกจากจะพบในบทประพันธ์แล้วยังพบว่า  ในการสนทนาในชีวิตประจำวันของมนุษย์ยังใช้ลักษณะของคำคล้องจองในการสนทนา  การส่งสัมผัสดังกล่าวมีทั้งที่ส่งสัมผัสท้ายวรรคและในระหว่างบรรทัดที่เราเรียกว่า  สัมผัสนอก (สัมผัสบังคับ)  สัมผัสใน  โดยเฉพาะลักษณะฉันทลักษณ์ถูกมองว่าเป็นกาพย์กลอนของประชาชน  ทำให้ในประเทศทางตะวันตกไม่เป็นที่นิยม 

                ลักษณะดังที่กล่าวมาข้างต้น  นอกกจากที่กว่ามาแล้วยังสามารถพบได้ในวรรณกรรมประเภทบทเพลง  เช่น  เพลงฉ่อย  เพลงโคราช  และโดยเฉพาะภาษาตระกูลไทย-ลาว  แต่ผู้ศึกษาให้ความสำคัญกับสัมผัสอย่างร่ายและการส่งสัมผัสข้ามวรรค  อันเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลมากในภาษาไทย-ลาว  เพื่อที่จะนำไปสู่ความเข้าใจของโคลงห้า  อันเป็นโคลงดั้งเดิมของลาว

          ๒.  ประเภทถือจังหวะน้ำหนักและระดับของเสียงเป็นหลัก  การกำหนดน้ำหนักเสียงคือการดูในเรื่องคำหนักคำเบา  อย่างที่เราเข้าใจว่า  คำครุ  คำลหุ    หรือเรื่องของระดับคือ  เรื่องของวรรณยุกต์ที่เราเข้าใจกัน  เราเคยได้ศึกษามาแล้วในฉัทลักษณ์ของโคลงสี่สุภาพ  ที่มีการบังคับในเรื่องของวรรณยุกต์เอก  วรรณยุกต์โท  แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่ว่า  ในภาษาอังกฤษและฝรั่งเศสได้ใช้กฎเกณฑ์เรื่องของน้ำหนังเสียงพัฒนาไปสู่การสร้างกฎบังคับในเรื่องของการสัมผัส  ประเด็นนี้ทำให้เห็นความมีอิทธิพลต่อกันของประเภททั้งสอง  และลักษณะในประเภทที่สองนี้จะมีความสำคัญในเฉพาะภาษาที่มีวรรณยุกต์เท่านั้น  เนื่องมาจากภาษาที่มีวรรณยุกต์เมื่อคำที่มีน้ำหนักเสียงต่างกัน  ความหมายก็จะเปลี่ยนไปด้วย

                ลักษณะฉันทลักษณ์ที่สำคัญไม่ว่าจะเป็นร้อยกรองประเภทใดก็ตาม  สิ่งที่สำคัญที่สุดที่ถือเป็นหัวใจของร้อยกรองคือ  สัมผัสและการใช้น้ำหนักระดับของเสียง  สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้บทประพันธ์ดังกล่าวมีความไพเราะมากยิ่งขึ้นกว่าและมีลักษณะที่เด่นกว่าบทประพันธ์อื่น

หมายเลขบันทึก: 269511เขียนเมื่อ 20 มิถุนายน 2009 16:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 09:16 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

เป็นลักษณะเขียนบทความ ให้คนมาเรียนรู้ บอกแล้วอย่ายาว ตัวหนังสืออย่าเล็ก ตาลายขี้เกียจอ่าน

จะมีคนเข้ามาตรวจหรือคะ ถึงเขียนเป็นเรื่องเป็นราว

เข้ามาเยี่ยมคะ กลับไปเยี่ยมคืนบ้างนะคะ และหัดเยี่ยมคนอื่น หรือว่า เป็นนักศึกษาไม่ค่อยมีเวลา  ก็แล้วไปคะ

สวัสดีครับ คุณสุ-มหาวิทยาลัยชีวิต ที่ไม่มีวันปิดทำการ ยินดีที่ได้รู้จักและขอบคุณที่ให้คำแนะนำ ขออภัยด้วยเนื่องจากติดกรอบของความยาวในการส่งงานอาจารย์ เวลานำเสนอจึงไม่ได้ปรับใหม่ จะนำคำแนะนำมาปรับปรุงนะครับ ยินดีเสมอกับคำแนะนำที่สร้างสรรค์

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท