เรื่องของหมอและหนอน


หนอนบำบัด (Maggot Therapy)

จดหมายรักจากคุณณัฐนันท์ (สมร)

 

ดิฉันให้เจ้าหน้าที่พยายามเขียนสิ่งที่ตัวเองรู้เกี่ยวกับการใช้หนอนในการรักษาแผล เพื่อเตรียมให้ สคส. มาจับภาพ คุณณัฐนันท์พูดเสนอเป็น Slide ได้แต่ไม่สามารถเขียนเป็นเอกสารได้

คุณณัฐนันท์ไปเอาเอกสารรายละเอียดหลายๆ หน้ากระดาษมาให้ดิฉันอ่าน ดิฉันไม่ยอมอ่านแต่ขอร้องให้ คุณณัฐนันท์เขียนย่อๆ ตามความเข้าใจ ด้วยความเกรงใจคุณณัฐนันท์ก็ยอมสรุปย่อๆ มาให้พร้อมจดหมายที่แนบมา หากใครสนใจเชิญไปสอบถามได้ที่ PCT ศัลยกรรมค่ะ

คุณณัฐนันท์สรุปมาให้ดังนี้คะ

หนอนบำบัด คือ การใช้หนอนแมลงวัน (Maggot) ในการทำความสะอาดแผลหนองหรือแผลเน่าติดเชื้อ เริ่มมีในยุโรปและอเมริกา และนิยมไปทั่วโลกกว่า 1000 ปี สมัยก่อนใช้รักษาทหารที่บาดเจ็บในระหว่างสงคราม

ปัจจุบันมีคำถามพื้นฐานเกิดขึ้นว่า ในการบำบัดด้วยหนอนจะรู้สึกขยะแขยงหรือไม่ บุคลากรทางการแพทย์ พยาบาล ผู้ป่วยและญาติ จะมีความหวาดกลัวหรือไม่

แนวคิดหลัก : คือ การให้ความรู้ การทำความเข้าใจ โดยนำหลักการมาอธิบายดังนี้

การใช้ "หนอน" ทำลายเนื้อตาย (Necrosis) คือ หนอนจะหลั่งน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อย Necrosisให้เป็นของเหลว หลังจากนั้นก็จะดูดกิน Necrosis ที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกาย เพื่อเป็นอาหารให้กับตัวมันเอง นอกจากนี้ยังพบว่า เอนไซม์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ Bacteria ในบาดแผลและทำให้แผลสะอาด ลดกลิ่นไม่พึ่งประสงค์ กระตุ้นให้เกิดการสร้างเสริมเซลล์เนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ (Granulation Tissue)

ข้อบ่งชี้ให้กับแผลต่างๆ ดังนี้

  • Diabetic ulcers
  • Decubitus ulcers
  • Ulcer cruris
  • MRSA and other wound infection แผลติดเชื้อจาก Staphylococcus aureus
  • Necrotizing tumor wounds
  • Necrotizing fasciitis
  • Burn
  • Thrombangitis obiterans
  • Bacterial soft tissue infections

ประโยชน์ในการใช้ "หนอนบำบัด"

  • ลดจำนวนเนื้อเยื่อที่ตายแล้วอย่างรวดเร็ว
  • เพิ่มจำนวนเนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นใหม่
  • ลดจำนวนของเหลวและกลิ่นเหม็นจากแผล
  • ลดความเจ็บปวด
  • ลดระยะเวลาในการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
  • หลีกเลี่ยงการผ่าตัด
  • ลดการใช้ Antibiotic

Maggot Therapy เข้ามาในสถาบันบำราศนราดูรโดยนายแพทย์บัญชร  ศิริพงศ์ปรีดา เริ่มใช้ที่ตึก 7/3 กับ Case HIV+ĉ Bed-sore ต่อมานำมาใช้ที่ตึกศัลยกรรม ICU (ผู้ป่วยที่ on ET tube นานๆ มี Bed-sore) แรกๆ พยาบาลรู้สึกขยะแขยงและหวาดกลัว ไม่กล้าเข้า Case Debridement และ Dressing ต่อมามีการ Conference กันมากขึ้น จนถึงปัจจุบัน นำมาใช้อย่างกว้างขวาง

โดย ณัฐนันท์  หาญณรงค์

หมายเลขบันทึก: 26677เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2006 15:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)
เรื่องหนอนบำบัดนี้ เคยเห็นในทีวีครั้งหนึ่ง แล้วต่อมาได้รู้จากพี่ณัฐนันท์ว่าที่ตึกศัลยกรรมมีการใช้หนอนในการรักษาแผลกดทับของคนไข้ ทำให้ได้ทราบถึงการพัฒนาทางด้านการแพทย์ที่มุ่งจะหาหนทางในการรักษาให้ผู้ป่วยได้หายเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งอาจจะมีบางคนที่ไม่เห็นด้วยก็ได้ ถึงอย่างไรโดยส่วนมากจะได้รับความยินยอมจากคนไข้และญาติเสมอ ถ้าหากนำมาใช้ในสถาบันฯอย่างแพร่หลาย ราคาน่าจะถูกลงกว่านี้นะคะ

เคยเห็นเคสที่ตึกศัลย์ น่าทึ่งมากๆ...ส่งกำลังใจให้ทั้งหมอและหนอนด้วย...พี่จิ๋มหนอน เอ้ย! พี่จิ๋มณัฐณันท์สู้ๆ ^๐^

อ่านแล้วได้ความรู้ดีนะคะ ถ้ามีโอกาสคงต้องขอไปดูของจริงที่ตึกน้องจิ๋มด้วย ขอบคุณค่ะ

คุณหมอบัญชร น่าจะได้รับการเสนอชื่อรับรางวัลพัฒนาคุณภาพบริการดีเด่น ท่านมีความคิดเป็นเลิศในการนำสิ่งนี้มาทดลองใช้ เคยพบการบรรยายของ นายแพทย์บุรินทร์ หวังจิรนิรันดร์
วันพุธที่ 29 มิถุนายน 2548 ณ ห้องประชุมเบญจกูล กรมพัฒน์ฯ ซึ่งผู้สนใจอ่านได้ที่ http://www.dtam.moph.go.th/

 บอกว่า BioMaggot จะมี Biobag ขนาด 5x6 cm ซึ่งมีตัวอ่อนของ Maggot (หนอนสายพันธุ์จากประเทศเยอรมนี)ประมาณ 200 ตัว วิธีการเก็บรักษา เก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องและห้ามโดนแสงแดด หากไม่ได้ใช้ทันทีให้เก็บไว้ที่อุณหภูมิ 8-10 องศาเซลเซียสและให้ใช้ BioMaggot .ภายใน 24 ชั่วโมงนับจากวันผลิต
คำเตือน : ห้ามใช้ BioMaggot กับแผลที่ทายาด้วย Antiseptic เด็ดขาดแต่สามารถใช้ได้กับแผลที่ผู้ป่วยได้รับยา Antibiotic
การรักษา บาดแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก โดย maggot
ในระยะ การดูบาดแผล คุณสมบัติที่ดีของ การรักษาโดยการใช้หนอน คือ สามารถกำจัดเนื้อตายได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องดมยาสลบ หรือ ทำในห้องผ่าตัด แต่มีข้อจำกัด ในกรณีบาดแผลมีความลึกมาก รวมถึงข้อจำกัดในแง่ทัศนคติ

เคยได้ดูเรื่องนี้ในสารคดีทาง TV เป็นการทำวิจัยของต่างประเทศ ไม่คิดว่าจะเอามาใช้งานกันจริงๆ ที่บ้านเรานี้เอง เฮ้อ..ใกล้เกลือกินด่าง จริงๆเลย บุคลากรของสถาบันเรานี่เก่งจริงๆ น่าภูมิใจแทนท่านผู้อำนวยการ

สงสัย ผอ.คงต้องยกให้ คุณหมอบัญชร เป็นน้องรักอีกคนแล้วล่ะ

เอ่อ แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าหนอนกินอิ่มแล้วยัง แล้วมันจะไม่กินเนื้อดีด้วย 

หมอบัญชรช่วยด้วยค่ะ   

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท