ข้อมูลครั้งที่ 10 : สรุปการสัมมนาเรื่อง การฟื้นฟูวิกฤตเศรษฐกิจและแรงงาน ประสบการณ์จากภูมิภาค


ผลกระทบที่เกิดต่อตลาดแรงงาน คือ การจ้างงานในภาคเศรษฐกิจในระบบลดลง ขณะที่การจ้างงานในภาคเศรษฐกิจนอกระบบขยายตัวมากขึ้น แรงงานส่วนหนึ่งเคลื่อนย้ายกลับถิ่นเดิม และการว่างงานมีมากขึ้นแม้อัตราว่างงานยังต่ำอยู่ อย่างไรก็ตาม ตลาดแรงงานเป็นส่วนที่ปรับตัวช้ากว่าภาคการผลิต และมีผู้ใช้แรงงานบางกลุ่มอยู่ในฐานะที่เสียเปรียบกว่ากลุ่มอื่นๆ ได้แก่ แรงงานเยาวชน แรงงานหญิง และแรงงาน ข้ามชาติ สภาพดังกล่าวทำให้มีแนวโน้มว่าคนจนจะเพิ่มมากขึ้น และมีความเสี่ยงที่จะเกิดการถดถอยของตลาดแรงงานและวิกฤตทางสังคมที่ยาวนาน จึงจำเป็นจะต้องจัดการคุ้มครองทางสังคมให้แก่คนที่เดือดร้อน แต่เมื่อพิจารณาค่าใช้จ่ายด้านการคุ้มครองทางสังคมของประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิค พบว่า มีสัดส่วนต่อ GDP ต่ำสุด คือ ประมาณ ร้อยละ 2.2 ของ GDP ซึ่งน้อยกว่าทุกภูมิภาค แม้กระทั่งอัฟริกา

สรุปการสัมมนา เรื่อง

การฟื้นฟูวิกฤตเศรษฐกิจและแรงงาน- ประสบการณ์จากภูมิภาค

วันพุธที่ 27 พฤษภาคม 2552

โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ ถ. รัชดาภิเษก กทม.

จัดโดย

กระทรวงแรงงาน และ มูลนิธิฟรีดริค เอแบร์ท

 

จากสถานการณ์วิกฤตเศรษฐกิจและการเงินระดับโลกที่ยังดำเนินอยู่อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ผู้ใช้แรงงานจำนวนมากถูกเลิกจ้าง ประเทศที่ได้รับผลกระทบต่างกำหนดนโยบายที่หลากหลาย เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ

 

จากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจและแรงงาน เห็นว่า นโยบายด้านตลาดแรงงานและด้านสังคม ควรได้รับความห่วงใยเป็นพิเศษ เพราะวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้กำลังกลายเป็นวิกฤตของการจ้างงาน และอาจกลายเป็นวิกฤตด้านสังคมได้ ถ้าไม่มีมาตรการแก้ไขที่ให้ความสำคัญกับคนอย่างเพียงพอ

 

นอกจากนี้ นโยบายด้านตลาดแรงงานและด้านสังคมยังเป็นพื้นฐานที่ดีสำหรับการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และสอดคล้องกับหลักการ การจ้างงานที่มีคุณค่าซึ่งส่งเสริมการมีงานทำ การคุ้มครองทางสังคม และการเจรจาทางสังคม

 

ประเทศในภูมิภาคเอเชียล้วนได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจคล้ายคลึงกัน นโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจในส่วนที่เกี่ยวกับตลาดแรงงานและด้านสังคมของแต่ละประเทศ อาจแตกต่างกันตามสถานการณ์ อย่างไรก็ตาม มุมมองและมาตรการบางอย่างจากประเทศเหล่านี้อาจเป็น ตัวอย่างที่ดีในการริเริ่ม พัฒนาและประยุกต์ใช้ต่อไป

 

ประเทศไทยได้กำหนดมาตรการแก้ไขและฟื้นฟูวิกฤตเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วและกระตือรือร้น ในสถานการณ์ที่มีแนวโน้มว่าอัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจจะลดต่ำกว่าที่เคยประมาณการไว้ รวมทั้งอัตราการว่างงานที่อาจจะสูงกว่าที่คาด การศึกษาข้อมูลที่เป็นตัวอย่างที่ดีจากประสบการณ์ของประเทศอื่นที่ประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน รวมทั้งวิเคราะห์การนำหลักการการจ้างงานที่มีคุณค่ามาใช้ในการกำหนดมาตรการต่างๆ น่าจะเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

วัตถุประสงค์

 

1.         ศึกษาแลกเปลี่ยนข้อมูลว่าด้วยแบบอย่างที่ดีของประเทศต่างๆ ในภูมิภาค ว่าด้วยมาตรการฟื้นฟูเศรษฐกิจ รวมทั้งความสำคัญของการผสมผสานหลักการ การจ้างงานที่มีคุณค่า

 

2.         แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและวิเคราะห์ว่ามาตรการที่มีอยู่ของประเทศไทยได้ใช้หลักการ การจ้างงานที่มีคุณค่ามากน้อยแค่ไหน รวมทั้งความเป็นไปได้ในการนำหลักการและตัวอย่างจากภูมิภาคมาประยุกต์ใช้ในบริบทของประเทศไทย

 

3.         ระดมความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย รวมทั้งแผนการติดตามความก้าวหน้า

 

โดยมีการอภิปรายใน 2 เรื่องหลัก คือ

 

(1) การฟื้นฟูเศรษฐกิจ- ตัวอย่างที่ดีจากต่างประเทศตามหลักการจ้างงานที่มีคุณค่า

ผู้อภิปราย         

Dr. Gyorgy Sziraczki    นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส องค์การแรงงานระหว่างประเทศ

Dr. A Prasetyantoko     มหาวิทยาลัย Atma Jaya Catholic ประเทศ อินโดนีเซีย

 

 

(2) ประสบการณ์และมุมมองของไทย ความเป็นไปได้ในการประยุกต์ใช้แนวคิดและประสบการณ์จากภูมิภาค

ผู้นำการเสวนา

ดร. วีระชัย ถาวรทนต์      ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน

คุณวิไลวรรณ แซ่เตีย       ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย  ดร.วรวิทย์ เจริญเลิศ  คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

สามารถอ่านสรุปสัมมนาทั้งหมดได้ที่นี่ : click ดาวน์โหลด

 

หมายเลขบันทึก: 266679เขียนเมื่อ 8 มิถุนายน 2009 16:33 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 19:25 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

อยาก รุ เรื่อง นี้ ง่ะ เพราะ ครู ให้ ทาม ราย งาน เบื่อ มาก ราย งาน นี้ ขี้ เกลียด จัง เบื่อ ๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท