คุณถอดแว่นออกหรือยัง..


...ความสุข สงบเกิดขึ้นภายใน ไม่ใช่ภายนอก...

ผมได้มีโอกาสไปพักใจสงบๆ ที่สถานที่แห่งหนึ่งก่อนจะต้องกลับมาทำงานต่อ ได้มีโอกาสมองกลับเข้ามาดูใจตัวเองอีกเยอะมากครับ ยังมีอะไรอีกเยอะที่เราต้องแก้ไขครับ ระหว่างการเรียนรู้ของผมผมได้มีโอกาสไปศึกษาหลักการใช้ชีวิตข้อหนึ่ง(มหาปราชญ์โบราณที่ยิ่งใหญ่ท่านหนึ่งนั้นคิดเมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีมาแล้ว) ในเรื่องของการใช้ชีวิตโดยไม่ทุกข์มากนัก...

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าชีวิตของเรามีทั้งสุขและทุกข์

แต่ปุถุชนคนธรรมดาชอบความสุขมากกว่าความทุกข์ครับ (ผมก็เป็นคนหนึ่ง ครับ ๕๕๕ ก็ยังเป็นคนธรรมดานี่นา)

และเราก็พยายามอยากสุขมากๆ และหนีทุกข์

ราชอบบอกว่าทุกข์ทั้งหลายไม่ได้เกิดจากเรา โดยเฉพาะความทุกข์ใจ มักจะเกิดจากผู้อื่นหรือสาเหตุอื่น

จริงๆ แล้ว มันเป็นเช่นนั้นหรือไม่ ?

วิทยากรท่านให้เรานั่งบนพื้นครับ ท่าใดก็ได้ นั่งให้สุภาพและสบายที่สุด แต่มีข้อแม้ว่าห้ามเปลี่ยนท่าเลย ตลอดหนึ่งชั่วโมง คือต้องนั่งแข็งเป็นหุ่นแหละครับ

จากท่าที่นั่งแล้วดูว่าสบายนั้นพอผ่านไปประมาณ20นาที หรืออน้อยกว่านั้นเราก็เริ่มเมื่อยๆและ อยากจะขยับแล้วครับ แต่ก็ไม่สามารถทำได้ ก็เริ่มมีอาการเหน็บกินที่หลังบ้าน คันแขนบ้าง คันหัวบ้าง พอใกล้ครบ 1 ชั่วโมงที่ขาและเท้าครับปวดมาก แต่ที่อื่นๆ  ไม่ว่าความคัน ความเมื่อยครับ บางส่วนมันคันสุดๆ แล้วก็หายคัน ความเมื่อยมัยเมื่อยสุดๆ แล้วก็หายเมื่อย เช่นที่หลัง ที่ต้องนั้งตัวตรงตลอด แต่ที่ขาก็เรียกว่าเหน็บกินไปข้างหนึ่งและครับแถมไม่ยอมหายด้วย

แล้ววิทยากรท่านก็สรุปให้ฟังครับว่า ทุกอย่างในโลกนี้อะไรก็ตามที่มีวันเกิดก็ต้องมีวันเปลี่ยนแปลงและดับไปครับ บางอย่างใช้เวลานานก่อนที่จะจบลง บางอย่างชั่วระยะเวลาไม่นานก็จบลงครับ หลายคนคงถึงบางอ้อแล้วครับ หลัการไตรลักษณ์ของพระพุทธเจ้าไงครับ

แล้วเวลาคนเรารู้สึกไม่ดี ทุกข์ใจ ไม่ว่าจะเป็น

ทุกข์ใจเพราะความโกรธ (โทสะ)

ทุกข์ใจเพราะความอยาก(โลภะ)

ทุกข์ใจเพราะความหลวง(โมหะ)

มันจะมีสัญญาณออกมาที่ร่างกายเสมอครับ เช่น รู้สึกร้อนที่ใบหน้า หัวใจเต้นเร็ว หายใจถี่ ฯลฯ

แต่ไม่ใช่เฉพาะเวลาทุกข์ใจเท่านั้นครับ เพราะเวลาดีใจก็จะมีสัญญาณออกมาที่ร่างกายเหมือนกันครับ (อันนี้ต้องสังเกตกันครับ ผมก็ไม่รู้ว่าอะไรบ้างครับ)

แต่สัญญาณที่ออกมาทางกายนั้นก็จะจบลงในระยะเวลาไม่นานนัก ถ้าเราดูดีๆ  อย่างมาก ก็1 ชั่วโมงบ้าง 2-3ชั่วโมงหรือกว่านั้นบ้าง ครับ

และถ้าเราดูดีๆด้วยใจเป็นกลางจริงๆ ไม่รู้สึกเจ็บหรือดีใจเกินไป เราก็จะเห็นว่า ทุกๆอย่างล้วนเกิดขึ้นและดับไปครับ นี่เป็นหลักธรรมชาติครับ เพราะธรรมะ คือธรรมชาติ ดังนั้นเวลาเราทุกใจสุดๆ แทนที่เราจะมาคิดมากท่านก็ให้เปลี่ยนมาดูสัญญาณทางกายเหล่านี้แทนครับ เพราะ

1. เมื่อเราเบนความสนใจจากความทุกข์มาดูสัญญานที่เร่างกายแสดงออกมา เราก็จะไม่รูสึกทุกข์มาก แม้จะยังทุกข์บ้าง เช่นเวลาเราเซงๆ และเราไปดูหนังมันก็ ทำให้เราลืมความทุกข์ไปได้ชั่วขณะครับ เพราะสมาธิของเรามันย้ายจากสิ่งหนึ่งไปยังอีกสิ่งหนึ่งครับ เหมือนกับที่บางคนเวลาทุกข์จัดๆมักจะสวดมนต์ หรือพึมพำชื่อเพราะเจ้าที่ตนนับถือแหละครับ ก็คลายทุกข์ได้ระดับหนึ่ง แต่พอ เราเลิกความสนใจนั้นกับมาที่ความทุกข์ของเราเราก็จะทุกข์อีก (ก็แน่นอนครับ ปัญหายังไม่หายนี่ครับ)

2. แต่ถ้าจะให้ใจสบาย เป็นปกติ กลางๆ เลย ก็ต้องทำข้อสองนี้ให้ได้ครับ สำคัญมาก สำคัญกว่าข้อที่ 1 อีก คือเมื่อเรามองสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น เราต้องมองด้วยใจเป็นกลางครับ เราก็จะรู้สึกว่าสิ่งต่างๆทั้งสุขและทุกข์มันก็มีการเกิดและดับอยู่เหมือนๆกันครับ และเมื่อมันมีวันจบสิ้น และเราเข้าใจกฎข้อนี้ของธรรมชาติ จริงๆ ใจเราก็จะไม่ทุกข์หรือสุขมากไปโดย อัตตโนมัติครับ เพราะเราจะรู้ว่าทุกอย่างมีวันสิ้นสุดลง ใจแบบนี้เราเรียกว่าใจที่เป็นอุเบกขาครับ

แต่ในชีวิตจริงมันต่างออกไปนี่ครับ เราคงไม่มีเวลามามองดูและคิดได้ขนาดนี้

แน่นอนครับ เรื่องนี้ทำยาก แต่ก็ไม่ใช่ว่าทำไม่ได้เลย

แต่ ถ้าไม่ลองทำดู แน่นอนครับ ไม่มีวันทำได้หลอกครับ

3. อย่าลืมนะครับ สองข้อที่ผ่านมาแค่เป็นการแก้ใจนะครับยังไม่ได้แก่ปัญหา มีคำถามว่าทำไมเราต้องแก้ใจก่อน เหตุผลคือ ในภาวะที่ใจสับสน ทุกข์ร้อน เราแก้อะไรไม่ได้หรอกครับ แก้แล้วก็ออกมาไม่ดี หรือ แก้ไปก็ทุกข์ใจไป แต่ถ้าเราทำข้อ2 ได้เราจะไม่ทุกข์มากครับ หลังจากนั้น เราจึงเริ่มแก้ปัญหาครับ แล้วแก้ให้ดีที่สุดครับ ถ้าแก้ได้ก็ไม่มีประโยชน์ที่ใจจะทุกข์ใช่ไหมครับ แล้วถ้าแก้ไม่ได้จริงๆ ยังไงก็แก้ไม่ได้ ความทุกข์ก็ไม่ได้ช่วยให้ปัญหาดีขึ้นนี่ครับ ก็ต้องยอมรับว่าแก้มันไม่ได้ครับ

4. การมองปัญหาที่จะแก้ หรือสิ่งต่างๆที่เกิดนั้นต้องมองด้วยใจเป็นกลางจริงๆ นะครับ ไม่ใช่เอาความเห็นส่วนตัวเราตัดสินจากมุมมองของเราคนเดียว วิทยากรท่านเปรียบไว้อย่างน่าฟังว่า สิ่งเดียวกันนั้น คนเรามองด้วยมุมที่ต่างกันเพราะเราใส่แว่นกันคนละสี ดังนั้น ครับจะทำอะไร แก้อะไร ให้ถอดแว่นออกก่อนนะครับ คือเราต้องเอาความเห็นส่วนตัวออกก่อน  "มองมันอย่างที่มันเป็น ไม่ใช่มองอย่างที่เรานึกอยากให้เป็น" ครับ 

- ปัญหามันเกิดเพราะความคิดของเราที่เฝ้าแต่คิดซ้ำๆ ถึงเรื่องทุกข์ใจจนทำให้เรารู้สึกว่าปัญหามันใหญ่มากๆ เกินที่เราจะรับได้ หรือเปล่า หรือ

-จริงๆ ปัญหามันจบไปแล้ว แต่เรายังไม่จบความรู้สึก เพราะความคิดของเราหรือเปล่า หรือ

-ปัญหามันก็เป็นปัญหาที่พยายามเท่าไหร่ก็แก้ไม่ได้ แต่ก็ยังฝืนเฝ้าคิดถึงมันอยู่หรือเปล่า ซึ่งคิดเท่าไหร่ก็คิดไม่ออกหลอกครับ แหมก็มีปัญหาอีกตั้งร้อยแปดในโลกที่ยังหาคำตอบกันไม่เจอเลยนี่ครับ ขนาดคนฉลาดๆ ก็ยังแก้ไม่ได้เลย แล้วเราจะแก้ได้ยังไง(แต่จะมาถึงคำตอบในใจนี้ได้เราต้องพยายามทำ/ แก้ปัญหาให้ดีที่สุดก่อนนะครับ)

แต่นี่ครับเป็นสาระที่สำคัญของบทความนี้

 "คุณถอดแว่นออกหรือยังครับ ?..."

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 266537เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2009 18:04 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 23:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ทุกข์ สุข อยู่ที่เรา และทั้งทุกข์และสุข ไม่ได้อยู่กับเราตลอดไป จริงไหมคะ

สรุปง่ายอย่างที่ท่านอาจารย์บอกครับ และที่สำคัญ อยู่ที่การปรับความเห็นครับ ถ้าปรับความเห็นได้ตรงตามความเป็นจริงเมื่อใดก็จะลดทุกข์ได้มากโขอยู่ครับ ผมก็กำลังพยายามเริ่มเดินบนทางสายนี้เหมือนกันครับ

 

ขอบคุณครับ

เคยอยากไปเข้าร่วมกิจกรรมดีๆแบบนี้เหมือนกันค่ะ แต่เวลาไม่เอื้อเลย เพราะว่าต้องไปหลายวัน ขอบคุณสำหรับบทความดีนะค่ะ เคยตอนอยู่มหาวิทยาลัยเค้าจัดกิจกรรมให้นั่งสมาธิ นานเหมือนกัน เหน็ยบกิน ขาแข็ง ยกไม่ขึ้น อิอิ พอเหน็บคลายจั๊กจี่สุดๆเลยค่ะ 555 จิตสงบกายเป็นสุข

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท