อหิวาตกโรค


การควบคุมการระบาดของโรคติดต่อ

อัลฮาดิษ
"อหิวาตโรคนั้น เป็นส่วนหนึ่งของการลงโทษในกลุ่มพวกบานีอิสรออีล (ในอดีต) เมื่อไหร่ที่มีการระบาดของโรค (อิหวาตกโรค) ในที่ที่ท่านอาศัยอยู่ ห้ามออกจากพื้นที่นั้นหรือย้ายออกจากพื้นที่นั้น และหากที่ใดมีการระบาดของโรคอหิวาตกโรค ห้ามเข้าไป ณ ที่แห่งนั้น" ... รอวาฮู อะซัยคอน

คำสอนที่ท่านศาสดามูฮัมหมัด (ซ.ล) ได้สอนให้พี่น้องมุสลิม ในสมัย เมื่อ 1,400 กว่าปี ยังสามารถ นำมาใช้ ในวิทยาการทางการแพทย์และสาธารณสุข ในการควบคุมการระบาดของโรคติดต่ออื่นๆ อีกในยุคปัจจุบัน ไม่ว่า จะเป็นโรค ไข้หวัดนก ไข้หวัดหมู่ ฯลฯ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรค.........

อหิวาตกโรค

(อ้างจากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)

อหิวาตกโรค
(Cholera)
ภาพจากกล้องจุลทรรศน์แบบส่องผ่านของเชื้อ วิบริโอ คอเลรี (Vibrio cholerae)
การจำแนกประเภทโรค และแหล่งข้อมูลอื่น
   

อหิวาตกโรค (Cholera) คือโรคระบาดชนิดหนึ่ง มีอาการท้องร่วง อาเจียน ร่างกายจะขับน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก

   

เนื้อหา

[ซ่อน]

สาเหตุ

เกิดจากแบคทีเรียที่มีชื่อว่า วิบริโอ คอเลอเร (Vibrio chlolera) sero group O1, หรือ O139, biotypes Classical และ เอลเทอร์ (EL Tor) วิบริโอ El Tor แต่ละ biotype มี serotypes inaba, Ogawa และ Hikojima (พบน้อยมาก)

สมมติฐานของโรค

อหิวาตกโรค คือ โรคติดต่อโดยเส้นทาง feacal-Oral vibrios (โดยการกิน-ดื่ม) ไวต่อกรดและส่วนมากในกระเพาะอาหาร และที่มีชีวิตรอดก็จะเกาะและก็จะไปตั้งฐิ่นฐานในลำไส้เล็กแล้วจะปล่อย cholerae enterotoxin ที่แข็งแรงมีพลัง (CT เรียกว่า "choleragon") ชีวพิษนี้ก็จะติดที่ผังผืดพลาสมาของเซลล์ผิวด้านนอกของลำไส้เล็ก และปล่อย emzyme หน่วยย่อยที่ว่องไวทำให้เกิดวัฏจักรในการผลิตให้เกิด adenocine 51 - monophosphate (cAMP) cAMP ภายในเซลล์สูงเกิดอยู่ที่ลำไส้เล็กระดับการเกิด อิเล็กโตรไลต์ และน้ำ (electrolytes and water)

การถ่ายทอดโรค

โดยการกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรค หรือพิษของเชื้ออหิวาตกโรคปะปนอยู่ เช่น อาหารที่มีแมลงวันตอม อาหารสุกๆ ดิบๆ ซึ่งเกิดจากการจากอุจจาระหรืออาเจียนของผู้ป่วย แพร่กระจายอยู่ในอาหารและน้ำดื่ม โดยมีแมลงวันเป็นพาหะนำโรค

ระยะเวลาฟักตัว

ผู้ที่ได้รับเชื้อ จะเกิดอาการได้ตั้งแต่ 24 ชั่วโมง ถึง 5 วัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะเกิดอาการภายใน 1 - 2 วัน

อาการ

  1. เป็นอย่างไม่รุนแรง พวกนี้มักหายภายใน 1 วัน หรืออย่างช้า 5 วัน มีอาการถ่ายอุจจาระเหลวเป็นน้ำ วันละหลายครั้ง แต่จำนวนอุจจาระไม่เกินวันละ 1 ลิตร ในผู้ใหญ่อาจมีปวดท้องหรือ คลื่นไส้อาเจียนได้
  2. เป็นอย่างรุนแรง อาการระยะแรก มีท้องเดิน มีเนื้ออุจจาระมาก ต่อมามีลักษณะเป็นน้ำซาวข้าว เพราะว่ามีมูกมาก มีกลิ่นเหม็นคาว ถ่ายอุจจาระได้โดยไม่มีอาการปวดท้อง บางครั้งไหลพุ่งออกมาโดยไม่รู้สึกตัว มีอาเจียนโดยไม่คลื่นไส้ อุจจาระออกมากถึง 1 ลิตร ต่อชั่วโมง และจะหยุดเองใน 1 - 6 วัน ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ชดเชยอย่างเพียงพอ แต่ถ้าได้น้ำและเกลือแร่ทดแทนไม่ทันกับที่เสียไป จะมีอาการขาดน้ำอย่างมาก ลุกนั่งไม่ไหว ปัสสาวะน้อย หรือไม่มีเลย อาจมีอาการเป็นลม หน้ามืด จนถึงช็อค ซึ่งเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

ข้อควรปฏิบัติเมื่อเกิดอาการท้องเสีย

  1. งดอาหารที่มีรสจัดหรือเผ็ดร้อน หรือ ของหมักดอง
  2. ดื่มน้ำชาแก่แทนน้ำ บางรายต้องงดอาหารชั่วคราว เพื่อลดการระคายเคืองในลำไส้
  3. ดื่มน้ำเกลือผง สลับกับน้ำต้มสุก ถ้าเป็นเด็กเล็กควรปรึกษาแพทย์
  4. ถ้าท้องเสียอย่างรุนแรง ต้องรีบนำส่งแพทย์ด่วน

การป้องกัน

  1. รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ และดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก ภาชนะที่ใส่อาหารควรล้างสะอาด ทุกครั้งก่อนใช้ หลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง สุกๆ ดิบๆ อาหารที่ปรุงทิ้งไว้นานๆ อาหารที่มีแมลงวันตอม
  2. ล้างมือฟอกสบู่ให้สะอาดทุกครั้งก่อนกินอาหาร หรือก่อนปรุงอาหาร และหลังเข้าส้วม
  3. ไม่เทอุจจาระ ปัสสาวะและสิ่งปฏิกูลลงในแม่น้ำลำคลอง หรือทิ้งเรื่ยราด ต้องถ่ายลงในส้วมที่ถูกสุขลักษณะ และกำจัดสิ่งปฏิกูลโดยการเผาหรือฝังดิน เพื่อป้องกันการแพร่ของเชื้อโรค
  4. ระวังไม่ให้น้ำเข้าปาก เมื่อลงเล่นหรืออาบน้ำในลำคลอง
  5. หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยที่เป็นอหิวาตกโรค
  6. สำหรับผู้ที่สัมผัสโรคนี้
    1. ควรฉีดวัคซีนทุกวันหลังอาหาร
    2. ห้ามออกนอกบ้าน 3 วัน
    3. รับประทานยาที่แพทย์ให้จนครบ
หมายเลขบันทึก: 266438เขียนเมื่อ 7 มิถุนายน 2009 07:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 15:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท