จิบชาหอมกรุ่น...แลริ้วละอองฝนปราย


อากาศครึ้มติดพันมาตั้งแต่เมื่อวานเย็น สายๆฝนโปรยปราย ครึ้มและอากาศนิ่ง สลับกับแดดออกช่วงสั้นๆ รู้สึกอึดอัด เลยจัดการชงชาดื่ม

มีชาให้เลือกหลายอย่างเชียวค่ะ ทั้งไทย ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น จีน

แต่เพิ่งกลับจากจีน ได้ชาใหม่ของดีจากเมืองหังโจว มาสองชนิด คือ “ชาหลงจิ่ง” และ “ชาดอกกุ้ยฮัว” บรรยากาศอย่างนี้อยากได้ชาที่มีกลิ่นหอมดอกไม้ เลยจัดการชง “ชาดอกกุ้ยฮัว” แสนหอมหวาน

แม้ไม่ได้จิบชาด้วยกันแต่ก็อยากแบ่งปันความสุขกับมวลมิตรด้วยเรื่องราวของสิ่งพิเศษที่ได้มา

·         ชาหลงจิ่ง

·         ชาดอกกุ้ยฮัว

 

ชาสองชนิดนี้ได้มาจากร้านพื้นบ้าน มั่นใจได้ว่าเป็นของแท้ วันนี้จะเล่าถึงชาสองชนิดนี้ค่ะ

 

กลับจากเมืองจีนตั้งนานก็ยังไม่ได้เล่าถึงสิ่งดีๆ วัฒนธรรมและสถานที่อันประทับใจ ก็ทริปญี่ปุ่นตั้งครึ่งค่อนปีก็ยังเล่าไม่เสร็จเลยค่ะ แต่ก็อีกไม่กี่ตอนก็จบ เลยขอนำสิ่งที่พบจากจีนเป็นเรื่องๆมาเล่าก่อน ไม่ได้เน้นเล่าการเดินทาง ท่องเที่ยว ค่ะ

 

ประกอบกับไปได้หนังสือ ท่องเที่ยวประเทศจีน เขียนโดย คล่อง ศิรประภาธรรม เป็นถึงบุคคลดีเด่นแห่งประเทศจีน ผู้ได้รับรางวัล “ไกด์ป้ายทองคำ” และผู้คนในวงการท่องเที่ยวขนานนามว่า “เหล่าซือ ผู้รอบรู้” เสียดายที่มาพบหนังสือนี้ก็เมื่อกลับจากเมืองจีนแล้ว ในหนังสือยังมีข้อมูลเกี่ยวกับชาจีนซึ่งผู้เขียนไม่เคยทราบมาก่อน น่าสนใจมากค่ะ

 

ไปเยือนเมืองหังโจว ครั้งนี้เป็นครั้งที่สามก็ได้ไปที่ วัดหลิงอิ่น (Lingyin) อีก(วัดนี้น่าสนใจมากวันหลังค่อยเล่าค่ะ) ได้ซื้อชาก็ตอนขาออกจากวัด  

ทางไปวัดรถต้องผ่านทะเลสาบWest Lake หรือ ทะเลสาบซีหู อันเลื่องชื่อ ลัดเลาะไหล่เขาขึ้นไปไม่ไกลมากนัก ไกด์สาวจีนเมื่อผู้เขียนไปเยือนหังโจวครั้งที่สองเคยบอกว่า พื้นที่ระหว่างเขาและทะเลสาบนี้เป็นที่ที่มีอากาศและดินดีมากเหมาะแก่การปลูกชาชนิดพิเศษที่สุด แต่พื้นที่นั้นมีไม่ถึงร้อยตารางกิโลเมตร จึงมีชาวบ้านดั้งเดิมแค่ราวห้าสิบครอบครัวที่ปลูกชานี้ ในหมู่บ้านยังมีบ่อน้ำพิเศษเป็นตาน้ำพุผุดขึ้นมา บ่อมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2 เมตร

หนังสือท่องเที่ยวประเทศจีน อธิบายไว้ว่า ....ไม่ว่าหน้าแล้งหรือหน้าฝนน้ำในบ่อจะไม่มีการแห้งหนือล้น น้ำจะอยู่ระดับเดิมเสมอ เมื่อเอาไม้ไปกวนให้น้ำในบ่อวนจนเป็นหลุมรูปกรวย จะเห็นผิวน้ำแยกออกเป็นสองชั้นอย่างชัดเจน และ เป็นขอบก่อนที่น้ำจะเข้าสู่สภาพปกติ ชาวบ้านจึงเรียกปรากฏการณ์เช่นนี้ว่ามังกร และ บ่อนี้ก็เรียกว่า “หลงจิ่ง” คือ “บ่อมังกร” นั่นเอง

ทางธรณีวิทยาสันนิษฐานว่าบ่อนี้เป็นเขตแบ่งน้ำบาดาลและน้ำที่ซึมซับลงมาจากผิวดิน ซึ่งมีลักษณะ น้ำหนัก ของน้ำที่แตกต่างกัน จึงเกิดปรากฏการณ์เช่นนี้ และ หมู่บ้านที่ตั้งอยู่ในบริเวณบ่อหลงจิ่ง นี้ก็ได้ชื่อว่า หมู่บ้านหลงจิ่ง เป็นหมู่บ้านที่ปลูกชาเขียวหลงจิ่ง...

ชาเขียวที่ได้รับการกล่าวขานว่าเป็นชาเขียวที่ดีและแพงเป็นอันดับหนึ่งของจีนและโลก ก็คือ ชาเขียวหลงจิ่ง ของเมืองหังโจว นี้เองโดยเฉพาะเมื่อนำชาชนิดนี้มาชงกับน้ำจาก น้ำพุเสือตะกุย ซึ่งเป็นตาน้ำพุอยู่บน ภูเขาเสือตะกุย ตั้งอยู่ด้านตะวันตกเฉียงเหนือของทะเลสาบซีหู จะได้รสชาติที่ดีที่สุด

ชาชนิดนี้ทางการกำหนดให้สามารถปลูกรอบบ่อน้ำพุหลงจิ่งเพียงระยะ 80 กิโลเมตรเท่านั้น จึงจะใช้ชื่อว่า ชาเขียวหลงจิ่ง ได้ ถ้าไกลออกไปกว่านี้ รสชาติชาก็จะแตกต่างออกไปซึ่งผู้ซื้อต้องระวังการหลอกลวงจากพ่อค้าผู้หวังผลประโยชน์เอาใบชาคุณภาพเลวมาสวมรอยขาย

เสียดายไม่ได้ไปที่หมู่บ้านหลงจิ่งแม้สักครั้ง

แต่การไปเยือนครั้งที่สามนี้ได้ซื้อชาจากชาวบ้าน ที่ทางรัฐได้จัดพื้นที่ให้เป็นห้องๆอยู่ใกล้ทางออกวัดหลิงอิ่น ห้องหนึ่งเขาให้แบ่งกันสองสามครอบครัว เวลาไม่มีใครมาซื้อเขาก็ตั้งวงเล่นไพ่นกกระจอกกัน

เราได้ไปเดินชมและตัดสินใจซื้อเจ้าคุณป้าใจดี ซึ่งหากซื้อชาเขา เขาจะให้ดื่มชาฟรี แต่หากไม่ซื้อใบชา เขาขายชาแก้วละ 10 หยวน หรือ 50 บาท เชียว ได้อุดหนุนใบชากันถ้วนหน้า และ ดื่มชาฟรีที่เขาเติมน้ำให้ครั้งแล้วครั้งเล่าจนน้ำเต็มท้อง

ใบชาเขาไม่ได้มีมาก ใส่กล่องแบบกล่องขนมปัง น่ารักเชียว

ได้ชิมขนมทำจากแป้งข้าวเหนียวต้มตำจนนุ่ม คลุกงากับน้ำตาล ใหม่ๆ คู่กับชาร้อนๆ อร่อยจริง

 

ชาเขียวหลงจิ่ง เกรดดีที่สุด เป็นใบจากยอดสุด หากใบที่ลดหลั่นลงมาก็จะราคาถูกลงมาก 

 

ลักษณะพิเศษของชาเขียวหลงจิ่ง คือ เมื่อชงแล้วมี กลิ่นหอม สีเขียวใส รสฝาดนิดๆ ชุ่มคอ มีสรรพคุณแก้กระหายน้ำ ลดและล้างไขมัน อีกทั้งบำรุงสายตา คุณไกด์สาวที่เคยพบบอกว่าสาวๆหังโจว ไม่อ้วนและมีสุขภาพดีจากการดื่มชาหลงจิ่งทุกวันหลังมื้ออาหารครึ่งชั่วโมง

 

 

นี่คือ ชาดอกกุ้ยฮัว เป็นชาที่มาจากการหมักบ่ม คั่ว แล้วผสม ดอกกุ้ยฮัว ตากแห้ง        ดอกกุ้ยฮัวเป็นดอกไม้ที่หอมมาก ออกดอกปีละครั้ง ประมาณเดือนกันยายน คุณป้าคนขายเห็นผู้เขียนติดใจชาดอกกุ้ยฮัวมาก แกเลยชวนให้มาตอนดอกกุ้ยฮัวบาน

  วันนี้มีแต่ใบมาอวดโฉมค่ะ

ที่จริงก็ไม่ใช่คอชาอะไรนักหนา ที่ปลื้มจนต้องเล่าก็คงเพราะเรื่องราวและความใจดีของคุณป้าคนขายที่ขายอย่างมีความสุข สบายๆ ความสุขคงผสมอยู่ในใบชานั่นเอง

 

ของดีมีชื่อของเมืองหังโจวอีกอย่างก็คือ ดอกเก๊กฮวยขาวแห่งเมืองหังโจว (นี่ได้มาจากห้างใหญ่) เก๊กฮวยขาวหังโจว ปลูกที่อำเภอหวีหาง เป็นดอกเก๊กฮวยที่มีคุณภาพดีที่สุดของบรรดาดอกเก๊กฮวยทั้งสิ้น ใช้เป็นยาสมุนไพรและชงเป็นน้ำเก๊กฮวยดื่มแก้ร้อนในที่พวกเราคุ้นเคยกันดี

 

วันนี้ขอจิบ ชาดอกกุ้ยฮัว ต่อก่อนนะคะ ใครมาเยือนบ้านช่วงนี้ให้เลือกได้ว่าจะดื่มอะไรระหว่างคุยกันยามฝนพรำค่ะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 266332เขียนเมื่อ 6 มิถุนายน 2009 16:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:51 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีค่ะ

ใครที่กำลังหัวใจเหนื่อยล้า...ถ้าได้มาอ่านเรื่องดีๆ...

ชาดีๆ...หลงเสน่ห์ของชาแล้วค่ะ...

ยังติดใจภาพของทุ่ง....ลาเวนเดอร์นะคะ...

ถ้าไม่ยุ่งยาก...ก็ส่งมาใน blog นะคะ...ชอบดอกไม้มากค่ะ

บ้านสวยๆ...ริมน้ำ...กับการนั่งจิบชาดีๆ...ก็สวรรค์....นี่เองค่ะ

ขอสักถ้วยนะคะ...ชาหอมๆ.....

 

สวัสดีค่ะ

  • ส่วนใหญ่ที่คนไทยรู้จักน่าจะเป็นชาจีนนะคะ
  • เพราะกล่องหรือซองสำหรับใส่ชามักจะเป็นตัวอักษรจีนติดไว้
  • แม้แต่ที่ดอยแม่สลอง..ชื่อชาก็เป็นภาษาจีน 
  • ขอขบพระคุณความรู้เรื่องชาค่ะ

มาจิบชาออนไลน์ เคล้าบรรยากาศยามบ่ายๆ คะพี่นุช สุดสวาทขาดใจ

ปูเพิ่งดื่มชาได้ช่วงไปเรียนไต้หวันค่ะพี่นุช เชยมากๆ ทั้งที่มีเชื้อจีน เพราะไม่ชอบดื่มของร้อน ๆ เมื่อก่อนมันจะออกขมๆ เพิ่งเคยได้ยินชายี่ห้อนี้ค่ะ ชื่อ หลง ๆ คล้าย ชาอู่หลง แล้วทางเหนือเลยค่ะ

เก๊กฮวยขาว น่าสนใจนะคะพี่นุช มีพี่ที่ทำงานเค้าดื่มเก๊กฮวยลดความอ้วนด้วยค่ะ ปูชิมแล้วก็จืดๆ ดี

พี่นุชจ๋า อ่านพี่นุชบรรยายถึงทะเลสาปซีหู กะบ่อมังกร เคยได้ยินคำร่ำลือ จะรอชมภาพนะคะ

 

ขอบคุณสาระที่ดีจากการไปเยือนเมืองจีนของคุณ

สวัสดีค่ะคุณP แดง ดีใจที่หลงเสน่ห์ชาด้วยกัน

ชาช่วยสร้างบรรยากาศที่เงียบเย็น ให้อบอุ่นได้ดีมากค่ะ ผู้คนในเมืองหนาวจึงนิยมดื่มชากันจนเป็นวัฒนธรรมของเขา นุชจะดื่มชาก็วันแบบครึ้มๆมืดๆ อากาศเย็น หรืออับทึบค่ะ

เดี๋ยวจะนำภาพทุ่งลาเวนเดอร์ไปกำนัลค่ะ ^___^

สวัสดีค่ะคุณPครูคิม ที่จริงจีนก็เป็นเจ้าต้นตำรับอยู่แล้วในเรื่องชา ไม่มีใครสู้ แม้แต่ ชาเขียวญี่ปุ่น ญี่ปุ่นก็ได้เรียนรู้จากจีนนั่นเองค่ะ

ตำราบอกว่าชาวญี่ปุ่นได้เข้าไปศึกษาในประเทศจีนในสมัยราชวงศ์ถัง และได้เรียนรู้แต่วิธีดื่มชาเขียวเท่านั้น ภายหลังจึงนำชาเขียวกลับไปยังประเทศตน และ แทบไม่ได้สัมผัสรสชาติของชาอื่นๆเลย แต่ก็น่าชื่นชมญี่ปุ่นนะคะที่สามารถนำชาเขียวไปศึกษาสร้างรูปแบบพิธีการดื่มชาเป็นของตนเองได้อย่างละเมียดละไม สง่างาม

วันหลังจะเล่าถึงชาของฝรั่งบ้าง ซึ่งก็มีรากฐานมาจากชาจีนค่ะ

อิ อิ น้องปูจ๋าPมาจิบชาออนไลน์

พี่ก็ไม่ได้มีความรู้มากมาย หรือ ชำนาญเรื่องชาจีนแต่ประการใด ทว่าชอบศึกษาข้อมูลของสิ่งที่จะไปดู หรือ ได้รู้ ว่ามีความหมายอย่างไร คือเป็นคน เรื่องมาก ค่ะ และ ชอบเล่าซะด้วย

ชาจีนแท้ๆแบบอู่หลง ผู่เอ๋อ พี่ก็ยังไม่พัฒนาลิ้นให้ชอบได้อยู่ดีค่ะ เพราะขมไปและพี่ยังติดกลิ่นหอมแบบดอกไม้ จึงชอบชาที่ผสมปนดอกไม้ เครื่องเทศ อย่างที่ฝรั่งนิยมทำ (ยังเป็นพวกเด็กหางแถวในการดื่มชา)

ทะเลสาบซีหูแห่งหังโจวนั้น จะค่อยๆมาหลังจากเล่าเรื่องญี่ปุ่นจบนะคะ เฮ้อ สว. ช้าจัง^___^

ขอบคุณคุณPสันติ หมื่นไวย ที่มาแวะทักทายกันค่ะ

หวังว่าคงได้พบกันอีกนะคะ

สวัสดีค่ะดีใจมากๆเลยค่ะ

ทุ่งดอกลาเวนเดอร์...ถ้าใครไปอยู่ท่ามกลางคงจะเหมือนฝันไปเลยนะคะ...

ดอกกุหลาบหน้าบ้านสวย....และออกดอกให้ชื่นใจอยู่เสมอค่ะ...

ดีใจค่ะที่จอคอเดียวกัน...ดอกไม้ช่วยเยียวยาใจ...ในวันที่ล้าๆ...ได้ดีจริงๆ....

ดอกนี้คุณนุชคงจะมีแล้วนะคะ....

สวัสดีค่ะพี่นุช

ชาที่บ้านพี่นุช

รสชาดดีเสมอ

เพราะเจ้าของตั้งใจชงเลี้ยงแขก

คุยสนุกมีน้ำใจ

ชอบดื่มชาร้อนมากๆ

และดื่มทุกวัน

เป็นชาในประเทศไทยตอนเหนือค่ะ

แก้หนาวฝน ได้ดีจริงๆค่ะ

ขอบคุณที่พาไปชิมกลิ่นชาจีนทางบล็อกค่ะ

ดอกไม้ในภาพใช่ ดอกกันเกรา หรือเปล่าคะคุณP  แดง

นุชชอบดอกไม้ทุกชนิด แต่ไม่สามารถปลูกได้หมดหรอกค่ะ ได้ชื่นชมดอกไม้ของคนอื่นที่เราไม่ได้ปลูกก็ดีเหมือนกัน

ความหอมของดอกไม้จากธรรมชาติที่อบอวลในอากาศและยามที่ลมพัดโชยมานั้นมันชื่นใจยิ่งกว่ากลิ่นน้ำหอมใดๆในโลกนะคะ

ขอให้มีความสุขและมีพลังมากมายกับการทำงานทั้งสัปดาห์ค่ะ

ค่ะน้องบุญรุ่งP ตันติราพันธ์ การดื่มชาเป็นช่วงเวลาสงบที่ทำให้เราได้สัมผัสความอุ่น  ความหอม และ รสชาติ สบายใจผ่อนคลายดีค่ะ แล้วการดื่มเป็นก็ยังดีต่อสุขภาพด้วย คนทำงานด้านสุขภาพต้องทราบดีอยู่แล้ว คนจีนบอกว่าให้ดื่มหลังอาหารแล้วครึ่งชั่วโมง ไม่ควรดื่มทันทีหลังอาหารค่ะ

รอว่าเมื่อไหร่จะมีโอกาสได้ชงชาเลี้ยงเพื่อนๆและน้องๆที่เคยมาเยือนกันอีกค่ะ

พี่นุขที่รัก

 

วันนี้อารมณ์สุนทรีย์จากงาน ได้จิบชายามบ่ายในเวลาฝนตกพรำ ๆ ถึงหนัก

เป็นชา TWININGS Pure Peppermint Herbal Infuision ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องชาเท่าไร นอกจากรู้ว่าหอมชื่นใจ และรื่นไหลในอารมณ์ (อิอิ)

แต่นึกถึงชาหอมมะลิมากกว่า คิดถึงทีทีไร จะเหมือนว่าสุขใจ ก็สุขใจ(อิอิรอบสอง) เพราะจะคิดถึงตอนเด็ก ๆ ที่คุณพ่อทำงานโรงงานชาระมิงค์ ลูก ๆ จะชอบไปช่วย(กวน)ในโรงเก็บใบชา ไปคัดใบชา คัดก้าน คัดใบออกมา และรับเอาชาเป็นแม๊คติดยี่ห้อชาระมิงค์  สนุก ๆ ๆ ได้เงินด้วย ไม่กี่ตังค์แต่ก็สนุกมากกว่า

คนคิดถึงความหลังเขาบอกว่า "แก่"

55555555

สวัสดีค่ะอาจารย์
แปลกจัง กำลังคิดถึงอาจารย์ อยู่พอดี
อาจารย์ ก็ส่งอะไรน่ารักๆมาให้ ขอบคุณมากๆค่ะ ยิ่งมาได้อ่านที่มาที่ไปของเรื่อง ก็ยิ่งประทับใจค่ะ
 ยังคิดอยู่เสมอว่า จะไปเยี่ยมที่บ้านริมน้ำอีกสักที ชอบมาก บรรยากาศธรรมชาติ 100%แบบนั้น คล้ายๆกับ บ้านที่อยู่ริมแม่น้ำบางปะกง สมัยเด็กๆ เดี๋ยวนี้ ไม่มีโอกาสสัมผัส อยู่แต่ในเมือง เป็นส่วนใหญ่

กำลังเขียนถึงเรื่อง แม่น้ำ ที่บ้านอาจารย์ เลยคิดเลยไปถึง เมื่อ ประมาณปี 2551 ชาวบ้านอำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร หลายร้อยคน กับชาวบ้านจังหวัดกำแพงเพชรอีกหลายร้อยคน วิวาทกันด้วยเรื่องน้ำในแม่ปิง ชาวสามง่ามไม่พอใจที่ชาวกำแพงเพชร ปิดเขื่อนชลประทาน แล้วสูบน้ำเข้าไร่นาของตน โดยไม่ยอมเปิดทางให้น้ำไหลลงมายังอำเภอสามง่าม
สรุปว่า มีการตั้งคณะกรรมการขึ้นกำหนดการปิด-เปิดเขื่อนให้เป็นที่พอใจแก่ทั้งสอง ฝ่าย เรื่อง น้ำ เป็นประเด็นวิวาทกันมานานแล้ว ในหลายๆประเทศนะคะ 

ดีค่ะอาจารย์Pน้าอึ่งอ๊อบ คนสวย แซ่เฮ ที่เรายังมีเรื่องราวแห่งอดีตที่สวยงามให้ระลึกถึง

จิบชายามฝนพรำเป็นความสุขแบบสงบๆจริงๆค่ะ ชาอะไรก็ได้ที่เราชอบ ผ่อนคลายสบายใจนะคะ

คนที่มีความสุขได้ง่ายดายนั้นมีบุญค่ะ

ดีจังที่เคยช่วยทำชาระมิงค์ ชาของไทยเราเอง ตอนสมัยเรียนมช. เคยไปไร่ชาระมิงค์ครั้งที่ต้องจอดรถไว้ปากทางแล้วเดินเข้าไปร่วมสิบกิโล เดินกลับออกมาอีกเกือบสิบกิโล แต่เพลิดเพลินมากค่ะ

สวัสดีค่ะคุณพี่ศศินันท์P  Sasinand กระแสจิตถึงกันนะคะ^__^ คุณพี่กำลังเขียนเรื่องแม่น้ำหรือคะ นุชตอนนี้ก็กำลังอ่านงานวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ท้องถิ่นของปรมาจารย์ท่านหนึ่ง เป็นเรื่องวัฒนธรรมที่สัมพันธ์กับสายน้ำอย่างยิ่งค่ะ

ดีใจที่คุณพี่ชอบสิ่งที่ส่งไปให้ค่ะ

พาหลานไปเที่ยวให้สนุกนะคะ

  • พี่นุชเจ้า..

มาส่งการบ้าน  บันทึกD.I.Y. ทำสร้อยร้อยใจ : ถักเชือกทำสร้อย 2 แบบเกลียว ค่ะ   ^^

เขาว่ากันว่าช่วงเวลาจิบชาเป็นช่วงเวลาที่ผ่อนคลาย  ^^  ต้อมไม่มีชาที่ชอบมากเป็นพิเศษ    เพราะไม่ค่อยสันทัดกรณี    และเจ้านายที่จิบชาเป็นประจำ (ไม่ดื่มน้ำเย็นทุกประเภท  แม้ในยามอากาศร้อนๆ)ก็ไม่ได้เรื่องมากจนต้องระบุชนิดของชา    มีอะไรก็ดื่มอันนั้นค่ะ    ใครล่ะชง..???? ก็ต้อมเอง อิอิ    ชงแบบเถื่อนๆ ค่ะไม่ได้ชงแบบที่ปรากฏในพิธีชงชาอันอลังการของญี่ปุ่น

คิดถึงพี่นุชค่ะ ^^

ปกติไม่ค่อยชอบชา ดื่มแต่กาแฟ แต่พี่นุชบรรยายแบบนี้ สงสัยต้องไปหาลองดื่มเสียแล้ว

ช่วงนี้ที่ขอนแก่น ฝนตกบ่อยๆ...

ได้ชงชาดื่ม...และคิดถึงพี่นุชที่เขียนบันทึกนี้ให้อ่าน

และพลอยคิดถึงเจ้าขอชอที่หมั่นเอามาฝาก...

  • พี่นุชเจ้า..

ไปฝึกโยคะถึงไหนแล้วนะ   ไม่รู้หรือไงว่าน้องตัวกลมๆ คิดถึง  T_T  เมื่อคืนต้อมถักสร้อยลายใหม่ให้เพื่อนสาวค่ะ..และส่งไปให้เธอในเช้าวันนี้แล้ว     เก็บเอารูปมาฝากพี่นุชค่ะ  ^^

เส้นนี้..การบ้านแบบที่ 2  ถักเกลียว

 

เส้นนี้..ถักเมื่อคืน  ยังไม่ได้เอาขึ้นบันทึกใหม่   แต่อยากอวดค่ะ

อืม..ม..ม  ไม่ค่อยชัดเนอะจากข้อมือเรียวบางของต้อม  งั้นเอาให้เห็นกันชัดๆ อีกทีค่ะ  อิอิ   ประชด..ประชด..

 

ขออภัยนะคะน้องๆ มาตอบช้ามัวไปเรียนโยคะ และไปบันเทิงอยู่กทม.ซะหลายวัน ไปดูละคร แม่นาคพระโขนง มาด้วยค่ะ ดีมาก ใครมีโอกาสน่าได้ไปชม สนับสนุนให้กำลังใจคนไทยฝีมือระดับโลกจริงๆค่ะ

Pอาจารย์ขจิตน่าจะเหมาะกับชารสอ่อนๆ หอมๆนะคะ ชาแบบโรแมนติค ต้องหาคนดื่มด้วย^___^

 

Pหน้าฝน หน้าหนาว นี่เป็นเวลาดื่มชานะคะ ดื่มชาแล้วคิดอะไรเงียบๆก็มีความสุขดีนะคะ

 

Pพี่ดีใจมากที่ให้หนังสือเล่มนี้แก่คุณต้อม คุณต้อมได้ใช้ประโยชน์จริงๆ ทำได้ดีมาก เป็นวิทยากรสอนได้เลยนะคะ เห็นแล้วชื่นใจและปลื้มใจในความตั้งใจของน้องจังค่ะ

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท