องค์กรอัจฉริยะ 16: แบ่งปันความสำเร็จเล็กๆ ข้ามองค์กร(1)


Butterfly Effect Style Med. NU

            26-27 กุมภาพันธ์ 2552 ทีมเราไปร่วมงานในการปิดโครงการ IOCS (Intelligent Organization Coaching Service: The End is the Beginning ในงาน Success Story Sharing

            ในงานนี้ สถาบันส่งเสริมการจัดการความรู้เพื่อสังคม/สคส. ได้เชิญผู้ทรงคุณวุฒิ เครือข่ายพันธมิตรและผู้บริหารของพวกเรา ทั้ง 4 ทีม ทีมคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ทีมมหาวิทยาลัยทักษิณ ทีมมูลนิธิสยามกัมมาจล ทีม PTT AR มาในงาน ฟังพวกเราเล่าและชมนิทรรศการที่พวกเราจัดโชว์ไว้

               นส่วนนิทรรศการ พวกเราจัดในรูปแบบสวนแห่งความสุข ที่มีทั้งผีเสื้อ ดอกไม้ และยังบูรณาการโครงการสวนแห่งความสุข ครั้งที่ 15 ตอนหนังสือทำมือ ให้ผู้เข้าเยี่ยมชมนิทรรศการสามารถหยิบเรื่องเล่าดีๆ เรื่องที่สนใจออกมาทำเป็นหนังสือทำมือเล่มเล็กกลับไปอ่านได้

              ในช่วยเตรียมงานพวกเราก็คิดว่าจะนำเสนออย่างไรดี ผู้เขียนเสนอทีมว่า พวกเราน่าจะคิดเป็น Model นะ เพราะเคยเห็น Model ปลาทู ปลาตะเพียน และแล้วพลังความคิดของทีมก็ช่วยกัน คิดไปคิดมา เติมคำกัน ต่อคำกันไปมาออกมาเป็น Butterfly Effect Style Med. NU

           ึ่งมีจุดเริ่มต้นที่ไข่ผีเสื้อ มีฝันร่วม ออกมาเป็น Vision และเมื่อมีฝันร่วมแล้ว ก็ต้องมีภารกิจสู่ฝันร่วมกัน ออกมาเป็น Mission

            ไข่ผีเสื้อเติบโตเป็นหนอนน้อย เพื่อจะผจญโลกกว้าง จะมีพฤติกรรมอย่างไร ที่เราเห็นแล้วจะบรรลุ Outcome Challenge ได้ ดังนั้น พฤติกรรมของหนอนน้อยถึงแสดงออกมา ใน Progress Marker 3 ขั้น

           ั้นแรก           Expect to see = Open Mind            พัฒนาคน

            ขั้นสอง          Like to see = Fine Network            พัฒนาเครือข่ายที่ดี

            ขั้นสาม           Love to see = Work with heart      วัฒนธรรมการเรียนรู้จากตัวตนสู่องค์กร

           มื่อหนอนเติบโตเต็มที่ ออกมาเป็นดักแด้ นั่นคือ Outcome Challenges ที่ต้องการให้ Change Agent มีศักยภาพของผู้นำ การเปลี่ยนแปลงและสามารถพัฒนาเครือข่ายในการเรียนรู้

            ดักแด้น้อยกลายเป็นผีเสื้อที่สามารถทำเรื่องราวต่างๆ ดีๆ มากมาย จนกลายเป็น Butterfly Effect Style Med: Nu

            ี่กล่าวมาทั้งหมดเป็นการพัฒนาบุคลากรสู่องค์กรอัจฉริยะตามหลัก Outcome Mapping

             

            ติดตาม: แบ่งปันความสำเร็จเล็กๆ ข้ามองค์กร(2) ตอนต่อไปนะคะ

 

 

หมายเลขบันทึก: 264399เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2009 17:34 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 18:04 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (17)

วันที่บันทึก แบ่งปันความสำเร็จเล็กๆ ข้ามองค์กร(1) จะนำภาพประกอบเรื่องราวต่างๆมาให้ชมแต่ว่าทำไม่เป็น วันนี้น้องๆงานทรัพยากรบุคคลจัดโครงการรวมพลคนเขียนBlogและเชิญน้องบีIT มาให้ความรู้พี่ๆน้องๆชาว คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จึงเป็นโอกาสอันดีที่ได้มาเรียนรู้เพิ่ม

จุดเริ่มต้นที่ไข่ผีเสื้อ มีฝันร่วม ออกมาเป็น Vision และเมื่อมีฝันร่วมแล้ว ก็ต้องมีภารกิจสู่ฝันร่วมกัน ออกมาเป็น Mission

พฤติกรรมของหนอนน้อยถึงแสดงออกมา ใน Progress Marker 3 ขั้น

ขั้นแรก     Expect to see = Open Mind  พัฒนาคน

 

ขั้นสอง     Like to see = Fine Network  พัฒนาเครือข่ายที่ดี

 

ขั้นสาม  Love to see = Work with heart วัฒนธรรมการเรียนรู้จากตัวตนสู่องค์กร

 

เมื่อหนอนเติบโตเต็มที่ ออกมาเป็นดักแด้ นั่นคือ Outcome Challenges ที่ต้องการให้ Change Agent มีศักยภาพของผู้นำ การเปลี่ยนแปลงและสามารถพัฒนาเครือข่ายในการเรียนรู้

ดักแด้น้อยกลายเป็นผีเสื้อที่สามารถทำเรื่องราวต่างๆ ดีๆ มากมาย จนกลายเป็น Butterfly Effect Style Med: Nu

 

คุณฐาคะ น่าจะมีรูปผีเสื้อเงาและสีด้วยนะคะ

ภาพที่นำไปจัดนิทรรศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กับเพื่อนๆ ระหว่างองค์กร เป็นการสรุปผลงานที่ได้ทำมาตลอด 1 ปี

แผนกิจกรรมโครงการที่นำไปปฏิบัติ แสดงเป็น "ผีเสื้อเงา"

สวัสดีค่ะ

เป็นการนำเสนอเรื่องราวด้วยภาพที่เข้าใจง่ายดีค่ะ

ได้ความรู้ดีค่ะ

ขอบคุณนะคะ

(^___^)

กิจกรรม "เพลินไพจิตร" ที่ปรับห้องประชุมให้มีบรรยากาศเอื้อต่อการเรียนรู้ในการพูดคุยแบบสุนทรียสนทนา (Dialogue)

บูรณาการความรู้จากโครงการ IOCS และ จิตวิวัฒน์ มาจัดโครงการ Change Agent และโครงการพัฒนาองค์การ (OD) หลักสูตรจากตัวตนสู่องค์กร จำนวน 6 รุ่น

ขยายผลจากเรื่องเล่า "คนสำราญงานสำเร็จ" และ "เรื่องเล่าความดี" ในเวทีประชุมผู้บริหารพบหัวหน้างาน สู่เรื่องเล่าดีๆ ที่คณะแพทย์ มน.ในหนังสือครบรอบ 15 ปี คณะแพทยศาสตร์ ถวายสมเด็จพระเทพฯ

"สวนแห่งความสุข" โครงการที่ให้บุคลากรและนิสิตได้มีจิตอาสาและมีพฤติกรรมอาสามาเป็นผู้นำในการนำความสุขมาให้กับผู้รับบริการและผู้เข้าร่วมโครงการ

"Butterfly Effect Style MED NU"

ปีกผีเสื้อข้างขวา (สมองซีกขวา) แสดงถึงจินตนาการในการคิดสร้างสรรค์โครงการมุ่งสู่องค์กรอัจฉริยะ สิ่งที่เกินความคาดหวังส่งผลถึงปีกผีเสื้อข้างซ้าย (สมองซีกซ้าย) ที่บูรณาการสู่ภารกิจคณะแพทย์ อย่างไร้รอยต่อ เช่น ผลิตบัณฑิต บริการสุขภาพ บริการวิชาการ ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม 

อ.พิริยา คะ ขอบคุณที่แนะนำให้นำผีเสื้อเงาและผีเสื้อสีมาขึ้น แต่ไม่สามารถนำไฟล์จริงมาขึ้นได้ เนื่องจากขนาดไฟล์ใหญ่มาก แถมยังต้องให้น้องจอยเอาขึ้นให้อีก

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท