วิเคราะห์เวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ครั้งที่4/2552 (1)


“เราเทรนพนักงานให้มีความสุขในการบริการคนอื่นและก็เป็น vision, mission ของเราด้วย ก็คือหุ้นส่วนที่เกี่ยวกับเราต้องมีความพึงพอใจสูงสุด ฉะนั้นการทำให้ผู้อื่นมีความพึงพอใจสูงสุดก็เป็นความสุข”

กลุ่มการดำเนินงานในอดีต

วิทยากรกระบวนการ :  อ.ขวัญเมือง แก้วดำเกิง

ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่มนี้ สรุปสาระสำคัญเป็นแผนภาพการเรียนรู้ ดังนี้ 

ู้นำเสนอผลงาน : คุณมณฑล  สรไกรกิติกูล  

  เวทีแลกเปลี่ยนงานสร้างเสริมคุณภาพชีวิตคนทำงานในองค์กรครั้งที่ 4 มีประเด็นพูดคุยเรื่องการนิยามความสุขในองค์กร นโยบายการสร้างสุขในองค์กร ซึ่งเน้นเรื่องการสื่อสารภายในองค์กรที่จะนำไปสู่การสร้างความเข้าใจระหว่างพนักงาน และพนักงานกับผู้บริหารองค์กร สาระสำคัญสรุปได้ดังนี้ 

การให้คำนิยามเกี่ยวกับความสุขในองค์กร

          ความสุขสำหรับบุคลากรที่ทำหน้าที่สร้างสุขในองค์กรมีนิยามที่หลากหลาย บางคนให้ความหมายของความสุขที่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำอยู่ การได้ให้บริการผู้อื่น ทำให้ผู้อื่นมีความสุข ดังเช่น

            “เราเทรนพนักงานให้มีความสุขในการบริการคนอื่นและก็เป็น vision, mission ของเราด้วย ก็คือหุ้นส่วนที่เกี่ยวกับเราต้องมีความพึงพอใจสูงสุด ฉะนั้นการทำให้ผู้อื่นมีความพึงพอใจสูงสุดก็เป็นความสุข”

            “อย่างของหมอก็เกี่ยวข้องกับสุขภาพ ฉะนั้นคนมีสุขภาพกาย สุขภาพร่างกายและต้องมีสุขภาพใจ ต้องมีเงินพอสมควรที่จะดำรงความสุข”

            “การเป็นอาจารย์เราก็ต้องรักในการสอนก่อน มีความสุขที่เห็นนักศึกษาเรียนรู้ มีความเติบโตและก้าวหน้า เราก็จะสนุกกับมัน จริงๆ ก็มีการถกเถียงกันโดยเฉพาะด้านวิชาการหลายครั้งก็มีความเครียด แต่อย่างคนที่อยู่ได้นานๆ ก็จะดูที่ความสุขของนักศึกษาที่เขาได้เรียนรู้”

            “สื่อสิ่งพิมพ์ ส่วนมากงานที่ผลิตออกมาให้ผู้อ่านรู้สึกสนุกกับสิ่งที่เราทำ แล้วเราก็จะมีความสุข”

          ความต้องการและความสุขของคนในองค์กรมีพื้นฐานจากสภาพการทำงานขององค์กรเอง การได้รับสวัสดิการที่เพียงพอและเหมาะสม ให้ความสำคัญกับประเด็นเรื่องบรรยากาศของการทำงานว่ามีส่วนสำคัญที่ทำงานให้องค์กรเกิดสุขขึ้นได้ การที่ผู้บริหารและพนักงานมีความเข้าใจซึ่งกันและกัน มีการสื่อสารสองทาง ก่อให้เกิดความเข้าใจของคนในองค์กร รวมทั้งการที่พนักงานได้รับการยอมรับ ทำให้บุคลากรในองค์กรมีความสุข

            “ไม่ว่าคุณจะอยู่ตำแหน่งไหนคุณต้องลงไป service เช่น ทุกปีผมต้องไปเสริฟตามร้านต่าง ๆ จะได้รู้ความลำบากเขา ได้ไปคุยกับเขา แล้วเรามาปรับกระบวนการ จะมีแต่ละกรุ๊ปของธุรกิจที่ทำ ช่วยให้บรรยากาศที่ทำงานดี เย็นวันนั้นจัดปาร์ตี้เลี้ยงใหญ่เลย ทำมาหลายปีแล้ว เป็นการแลกเปลี่ยนหลายที่หลายสาขา”

            “พนักงานได้รับคำชมเชยก็จะมีความสุข มี 2 โครงการที่ชมเชยพนักงานถือเป็นดาวเด่นของที่นี่ คือให้ผู้ป่วยชมหรือพนักงานชมกัน แพทย์ชม คนที่ได้ก็จะเป็นดาวประจำเดือนมารับรางวัลมีทั้งรายบุคคล และเป็นทีม คนในแผนกนั้น ก็มาให้กำลังใจก็จะมีความสุข”

            “บางองค์กรเขามีนโยบายพ่อต้องไปรับสมุดพกปีละกี่วันสามารถขออนุญาตได้ เป็น policy ของ HR เลย ไม่งั้นเขาจะอึดอัดจะลาเจ้านายไปยังไง หรือลูกเล่นกีฬา ก็ลาไปดูได้”

            “เหมือนกับสิ่งที่เรามองเรื่องที่เราบริการแล้วทำให้คนอื่นมีความสุข แค่เราเห็นแววตาของคนเรียนเข้าใจเราก็สุขมากแล้ว ถ้าเรามองแววตาของคนรับรู้ในสิ่งที่เราพูดนั่นก็คือสุขอีก ก็เลยมามองว่าจริงๆ ที่เราเรียกว่าสุขนั้นคือ เราได้รับการยอมรับ” 

 

นโยบายการสร้างสุขในองค์กร

          การสร้างสุขในองค์กร ต้องเริ่มจากบุคลากรทุกฝ่ายมามีส่วนร่วม ที่สำคัญมากคือ CEO ต้องมีนโยบาย และเห็นความสำคัญในเรื่องคน เมื่อมีนโยบายด้านนี้แล้ว ก็ต้องใช้การสื่อสาร เพื่อประชาสัมพันธ์ หรือทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ซึ่งการสื่อสารนี้ต้องใช้การสื่อสารสองทาง อธิบายให้ทุกคนในองค์กรทราบสถานะที่แท้จริงขององค์กร เพื่อความเตรียมพร้อม เตรียมตัวรับกับสิ่งที่จะเกิดขึ้น รวมทั้งการทำให้คนทำงานมีความมั่นคงในงาน รับทราบสภาพจริงขององค์กร หากสามารถมี CEO ที่เป็น HR ก็จะเป็นองค์กรที่มีความสุขได้ไม่ยาก เพราะมีความเข้าใจในความต้องการของคนทำงาน

“Policy ในระดับองค์กร CEO ต้องเล่นด้วย บางทีองค์กรมี policy แต่ถ้า CEO ช่วงนั้นไม่เล่นด้วยก็เกิดยาก เป็น style ของ CEO วิธีการ approach เขาเป็นยังไง และการ Management ด้วยที่เหมาะกับ culture ในองค์กร”

“จำได้ว่าเคยอ่านงานวิจัยในยามวิกฤตเขาว่าเรื่อง job security เป็นเบอร์ 1 เมื่อ 2-3 ปีก่อนไม่มีใครพูดเรื่องนี้แต่ ณ วันนี้มันลอยขึ้นมา”

“ของเราจะมี communication ที่เรียกว่า town hall meeting จัดทุกไตรมาส ให้ CEO พบพนักงานวันละสามรอบ  ใครสะดวกมาก็มาซึ่งหัวหน้าแผนกก็ต้องจัดเหมือนกัน  เป็น open hall ห้องประชุมใหญ่  เป็น two ways communication  เช่น สามเดือนที่ผ่านมาเป็นไงบ้าง สามเดือนจากนี้จะทำอะไรต่อ  ตอนนี้เป็นเวลาที่พนักงานรอคอย  หรือให้ใช้กระดาษเขียนมาเกือบทุกคนลงชื่อ  เห็นว่า Leadership สำคัญ”

“เราต้องอยู่บนพื้นฐานของความจริงเราต้องอยู่ได้ในยามสุขและยามทุกข์ เพราะสุขคือทุกข์ ทุกข์คือสุข  โลกในอนาคตเกิดการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่จะต้องเตรียมตัวก็คือเราต้องยอมรับความจริง พนักงานต้องยอมรับความจริงว่าต้องเจออะไรบ้าง CEO ต้องเริ่มวางแผนและสื่อสารว่า work place scenario เราจะอยู่ได้อย่างไรและความสุขคืออะไร  เราจะรักษา job security ให้พนักงานเรามากที่สุดได้อย่างไร  สิ่งต่าง ๆ นี้จะเปลี่ยนสิ่งที่เราเคยเจอมาทั้งหมด skill set ที่เราเคยใช้ในอดีตอาจใช้ไม่ได้เลยในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า หลายเรื่องต้องคิดใหม่  ซึ่งต้องมองหาธุรกิจใหม่ ๆ  องค์กรในอนาคต CEO คือ HR เพราะเขาจะรู้เรื่องทั้งคน เป็น HR ที่รู้ operation  ต้องเข้าใจเกือบทุกอย่าง  ในวิกฤตแบบนี้คนสำคัญที่สุดทั้งเรื่องจิตใจ”

 

 กิจกรรมในองค์กรที่ประทับใจ

สมาชิกในกลุ่มได้แลกเปลี่ยนกิจกรรมที่ประทับใจจากการได้เห็นองค์กรต่างๆ ดำเนินการมาแล้วสร้างความสุขให้เกิดขึ้นกับคนในองค์กรได้ โดยเริ่มจากการทำความดีในงานของตนเอง แล้วได้รับรางวัลจากหัวหน้าในหน่วยงานอื่นให้ ได้รับเกียรติบัตร การชื่นชมจากคนรอบข้าง รวมทั้งบางองค์กรให้รางวัล ซึ่งได้เริ่มจากฐานคิดที่เป็นคนดี มีความเสียสละ จิตอาสา ซึ่งสิ่งเหล่านี้สามารถสร้างสุขในองค์กรได้อย่างยั่งยืน

“ทำดีทันใด on the spot rewards เห็นลูกน้องทำความดีเราก็เขียนการ์ดให้กับลูกน้อง เขาจะได้บัตร    ดูหนัง บัตรสะสมคะแนน เป็นต้น เป็นรางวัลในการให้ และมีอีกส่วนหนึ่งไปให้รางวัลกับแผนกอื่น เป็นการช่วยกันดูแลกัน กระตุ้นให้หัวหน้างานเห็นด้วย”

 “ที่นี่เราทำคือทุกปีเป็นวัน executive ไม่ว่าคุณจะอยู่ตำแหน่งไหนคุณต้องลงไป service เช่น ทุกปีผมต้องไปเสริฟตามร้านต่าง ๆ จะได้รู้ความลำบากเขา ได้ไปคุยกับเขา แล้วเรามาปรับกระบวนการ จะมีแต่ละกรุ๊ปของธุรกิจที่ทำ ช่วยให้บรรยากาศที่ทำงานดี เย็นวันนั้นจัดปาร์ตี้เลี้ยงใหญ่เลย ทำมาหลายปีแล้ว เป็นการแลกเปลี่ยนหลายที่หลายสาขา เราบอกว่ากระบวนการเรียนรู้ต้อง response ทันที response แล้วพรุ่งนี้ต้องรู้เลยว่าต้องแก้อะไรบ้าง เรามี process อย่างนี้ ใครทำดี ก็ชื่นชมกัน ประกาศให้ทุกคนรับรู้”  

หมายเลขบันทึก: 264397เขียนเมื่อ 29 พฤษภาคม 2009 16:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท