20. ครั้งหนึ่งเมื่อวานนี้...เมื่อฉันได้ไปเป็นผู้ช่วยวิทยากรอบรม เผชิญความตายอย่างสงบ


เมื่อฉันได้ไปเป็นผู้ช่วยวิทยากรอบรม เผชิญความตายอย่างสงบ

เมื่อได้รับโอกาส..ให้ไปเป็นผู้ช่วยวิทยากรอบรมเผชิญความตายอย่างสงบ

วันที่ 18-20 พ.ค.2552 ที่ผ่านมาได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นผู้ช่วยวิทยากรในการจัดอบรมเผชิญความตายอย่างสงบ ซึ่งจัดโดยเครือข่ายพุทธิการ่วมกับงานบริการพยาบาล โรงพยาบาลศรีนครินทร์โดยวิทยากรหลักคือทีมของเครือข่ายพุทธิกานำโดยท่านพระอาจารย์ไพศาล วิสาโล พี่ชัย พี่ปุ้ม พี่สุ้ยและน้องอุ๋ย ส่วนทีมจากศรีนครินทร์มีอาจารย์ศรีเวียง ฉัน พี่เกศ 3วันเต็มๆที่ได้สัมผัสกับบรรยากาศการอบรมที่เข้มข้น 2 วันแรกเลิก 3 ทุ่มแต่สิ่งที่ได้รับจากกิจกรรมครั้งนี้มากมายเหลือเกินที่สำคัญคือได้เติมสติให้กับตัวเอง

ในส่วนของหน้าที่วิทยากรก็ช่วยแลกแลกเปลี่ยนในหัวข้อทุกหัวข้อที่จะสามารถแลกเปลี่ยนได้ เป็นประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยเด็กระยะสุดท้ายที่ได้พบเจอ นอกจากนั้นก็เป็นความคิดเห็นตามความเหมาะสม

พระอาจารย์ไพศาล วิสาโล ท่านกล่าวว่าความตายเป็นบททดสอบที่สำคัญที่สุดของชีวิต เราทุกคนไม่ค่อยเตรียมตัวทดสอบ คิดว่าแก่ก่อน ป่วยก่อน ค่อยเตรียมตัว ถ้าเราเตรียมตัวแต่เนิ่นๆ เราจะเห็นความตายเป็นโอกาส ไม่ใช่วิกฤตเลย อยู่ที่การฝึกฝน เตรียมตัว การเตรียมพร้อม  อบรมหัวข้อนี้มีคนสนใจมาก เพราะคนเราส่วนใหญ่ตายเพราะป่วยมากกว่าอุบัติเหตุ

 ก่อนที่จะเริ่มการอบรมพี่ชูศรี หัวหน้างานบริการพยาบาล กล่าวต้อนรับทีมวิทยากรและผู้เข้าอบรม พี่สุ้ยได้แนะนำทีมและเริ่มเข้าสู่ปฏิบัติการเผชิญความตายได้ ณ บัดนี้

1.ขอให้ทุกคนปิดมือถือหรือเปลี่ยนเป็นระบบสั่น

2. วันนี้เรามาแลกเปลี่ยน มาแบ่งปัน

3. อยากให้ทุกคนถอดอุปสรรคทั้งหลายทั้งปวง

 หัวข้อแรกเป็นการให้ผู้เข้าอบรมตอบโจทย์มีทั้งหมด 5 ข้อได้แก่

1.  คนส่วนใหญ่ในสังคมปัจจุบันมีความรู้สึกนึกคิดและท่าทีอย่างไรต่อความตาย

2.  เพราะเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น

3.  ผู้ป่วยระยะสุดท้ายมักได้รับการปฏิบัติอย่างไร หรืออยู่ในสภาพใด

4.  อะไรเป็นปัจจัยให้ผู้ป่วยอยู่ในสภาพแบบนั้น

5.  ถ้าเลือกได้เราต้องการตายแบบไหน 

หมายเลขบันทึก: 263644เขียนเมื่อ 26 พฤษภาคม 2009 23:15 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 เมษายน 2012 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

ลองตอบคำถามในใจตัวเองดูนะคะ เมื่ออ่านบันทึกนี้

หวัดดีคับ คุณแม่พี่แคน..

กู๊ดดี้แวะมาอ่านคับ..แต่หัวข้อที่ต้องตอบโจทย์ ข้อ 5 นี่..ตอบยากนะคับ..

อากาศเปลียนแปลงบ่อย ดูแลสุขภาพด้วยนะคับ..

ฝากคิดถึงพี่แคนด้วยคับ.. ราตรีสวัสดิ์คับ..

ความตาย ระยะสุดท้ายของชีวิต ...สุดท้าย ฟังดู เหมือนอีกไกล หรือ อีกนาน .... แท้จริง เกิดขึ้นได้ทุกวินาที กับทุกชีวิต ไม่ว่าจะมีโรคร้ารชยหรือไม่ก็ตาม  หัวข้อการจัดการอบรม น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งค่ะ

ครับผมสวัสดีน้องกู๊ดดี้ หลับหรือยัง เล่านิทานให้พี่เเคนฟังจนหลับเเล้ว คุณเเม่เลยเเอบมาเขียนบล็อก พรุ่งนี้ไม่ใช่วันเสาร์นะครับ

คุณเเม่น้องธอมส์ ป่านนี้ลูกชายคงหลับเเล้วนะคะ เอ! เราสามคน เเม่น้องกู๊ดดี้

เเม่น้องเเคน เเม่น้องธอมส์ สงสัยกล่อมลูกหลับกันหมด เลยเเอบพ่อของลูกมาเขียนบล็อกหรือเปล่าคะเนี่ย พ่อน้องเเคนก็กรนเเล้วค่ะ

ทราบมาเหมือนกันว่าอาจารย์หมอเต็ม อาจารย์สกล ก็ถือเป็นกำลังสำคัญของเครือข่ายพุทธิกา กุ้งเข้าอบรมครั้งเเรกทีมวิทยากรก็เป็นคุณเล็ก พี่ฟ่ง พระอาจารย์ไพศาล ขาดท่านไม่ได้อยู่แล้วใช่มั๊ยคะ โดยส่วนตัวรู้สึกว่าทุกครั้งที่เข้าเห็นบรรยากาศการอบรม เชื่อว่าทุกคนได้อะไรกลับไปมากกว่าที่คาดไว้ กุ้งก็ได้หนังสือที่อาจารย์เเละทีมรวบรวม เรื่องราวการดูเเลผู้ป่วยระยะสุดท้ายกลับบ้านไป 1 เล่มและหนังสือที่พระอาจารย์เขียนหลายเล่ม เพราะคิดว่าสามารถเป็นเเนวทางในการช่วยเหลือคนไข้ระยะสุดท้ายได้ดีทีเดียว

ขอบคุณน้องกุ้งที่เป็นวิทยากรค่ะ

มาเฉลยว่าหมอเต็มทำอะไร

กระทบไหล่อาจารย์สกลค่ะ

อิจฉาพี่เเก้วจังค่ะ ได้กระทบไหล่คนดัง อ.หมอสกล อ.หมอเต็มทำอะหยังน้อ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท