CKO หรือ TKO


คนเป็น CKO ต้องระวังจะถูก TKO โดย กพร ด้วยนะครับ

ผมได้รับข่าว ให้ไปร่วมประชุม คุณเอื้อ (CKO) ที่ สคส จะจัดขึ้นอาทิตย์หน้า แต่รายการของผมเต็มหมดแล้ว เลยไปไม่ได้ น่าเสียดายอยู่ที่จะไม่ได้เรียนรู้ จากคนอื่นๆ เลยขอเขียน blog เล่าอะไรเล็กๆน้อยๆจากการเป็น CKO จำเป็นของกรมอ

ว่าไปแล้ว CKO ตัวจริงคือ รองอธิบดี ประเสริฐ หลุยเจริญ และผมเองก็บอกทุกคนในกรมเสมอว่า ท่านรองอธฺบดีเป็น CKO ตัวจริง ด้วยค่าที่ว่า เรื่องการสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ นั้นเป็นภาระที่ ผู็บริหารจะต้องสนับสนุน และอสดงบทบาทอยางจริงจัง ไม่ใช่เรื่องของนักวิชากากรอย่างผม

และท่านรองประเสริฐเองก็สนใจสนับสนุน และส่งเสริมเรื่องการจัดการความรู็้ในกรมอนามัยอย่างเต็มที่ ทำให้ผมได้ข้อสรุปอย่างนึงที่คิดว่าสำคัญ สำหรับการทำงาน จค ในหน่วยราชการ โดยเฉพาะในฐานะคนที่จะต้องมีหน้าที่กระตุ้น สนับสนุน ให้เกิดการ จค ที่ สคส เรียกว่า หน้าที่ของคุณเอื้อนั่นแหละครับ

ผมมีโฮกาสแลกเปลี่ยนกับ หัวหน้าสำนักวิชาการของ กรมอนามัยคือคุณหมอนันทาที่ก็เป็นผู็มีบทบาทสำคัญในการส่งเสริมสนับสนุน เรื่อง จค เหมือนกัน เมื่อคราวที่เราพูดถึงบทบาทของ สำนักวิชาการกับการทำงานวิชาการที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาองค์กร หรือการปฏิรูประบบราชการ

ข้อสรุปที่ผมได้คือ นักวิชาการที่เข้าใจ ความจริงของการทำงานในกรม และมีความรู็้ในศาสตร์ว่าด้วยการริหารสมัยใหม่ จะมีความสำคัญมากในการช่วยประยุกต์ความรู้ทางทฤษฏีของศาสตร์ เหล่านั้นให้เข้ากับ บริบทที่แท้จริงของหน่วยงานของตน แม้ว่าในทางปฏิบัติมันจะเป็ฯหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องมาดูแล สนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์จากแนวคิดเหล่านั้นอย่างจริงจัง

เพราะความจริงก็คือว่า นักวิชาการด้านบริหารจากภายนอกที่ไม่มีความรู้ ความเข้าใจงาน และบทบาทขององค์กร จะต้องใช้เวลามาก และอาจจะยังเข้าใจองค์กรจนชี้แนะการประยุกต์แนวคิดทางทฤษฏีให้เข้ากับลักษณะงานขององค์กรนั้นๆ ได้ยาก 

ผู็้บริหารที่จะต้องมาดูแลให้เกิดการปฏิบัติ ก็อาจจะไม่มีเวลามาศึกษา ทั้งทางทฤษฏี และการประยุกต์ให้เข้ากับบริบทขององค์กร

หากมีนักวิชาการที่เข้าใจแนวคิด และความจริงขององค์กร น่าจะเป็นตัวเชื่อมที่ดีของการนำเอาแนวคิดใหม่ๆในการบริหารองค์กรมาใช้ให้ได้ผลยิ่งขึ้น

แต่ที่สำคัญคือต้องเป็นตัวเชื่อม ไม่ใช่ตัวทำให้เกิดความขัดแย้ง ทั้งนี้สูตนสำคัญคือการทำงานที่เข้าขากันระหว่างผู้บริหาร กับนักวิชาการที่มาช่วยดูแลงานที่เกี่ยวกับการพัฒนาองค์กร

และการเข้าขากันได้ดีขึ้นกับความไว้เนื้อเชื่อใจ และการให้เกียรติในกันและกัน

ไม่ใช่พูดกันไปคนละทาง ซึ่งโอกาสจะเป็นได้มาก เพราะเรื่องมักจะเป็นเรื่องใหม่ และต้องการการเรียนรู้ไปพร้อมๆกัน

เคล็ดลับอย่างนึงที่ผมได้คือการมี เลขาที่รับผิดชอบงานที่สามารถประสาน และเชื่อมต่อได้ดี เพราะเข้าใจทั้งงาน และเข้าใจทั้งผู้ใหญ่ที่เกี่ยวข้องทั้งสองฝ่าย และยังเป็นนักประสาน ไม่ใช่นักยุแหย่

ในกรณีของผมที่ผ่านมาในกรมอนามัย กับงาน จค ผมโชคดี เพราะทั้งอธิบดี และรองที่รับผิดชอบ สนใจ และมอบความไว้วางใจในด้านวิชาการ และคอยสนับสนุนฝ่ายต่างๆให้ มีความสนใจในเรื่อง จค อย่างสมำ่เสมอ และจริงจัง ในขณะที่พี่หมอนันทาก็เป็ฯนักวิขาการที่มีความรู้ และสนใจในงานนี้ ช่วยทำให้ความเคลื่อนไหวในกรม เป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะสวมบทนักวิชาการ หรือฝ่ายบริหาร

ส่วนคุณ ศรีวิภาก็ต้องยอมรับว่าเธอเป็นนักประสานที่มี ทัศนคติที่ดีมากต่องาน จค แถมยังขยันเรียนรู้ และช่วยสื่อกับฝ่ายต่างๆได้เป็นอย่างดี

ใครจะมีประสบการณ์อย่างไรผมคงต้องรอเรียนรู้ด้วย แต่สำหรับผมที่ กรม อ ถ้าคิดว่าประสบการณ์ของผมเข้าข่าย CKO ก็ต้องบอกว่า เราทำงานกันเป็นทีม ภายใต้การแบ่งบทบาที่แตกต่างกัน

ถ้าทำคนเดียวคงโดน TKO (technical knock out) ไปแล้วแน่ๆ

แต่ว่าไปแล้วคนเป็น CKO ก็ต้องระวังจะโดน TKO เหมือนกันนะครับ

ไม่ใช่โดยคนในกรมกันเอง ไม่ว่าจะเป็นอธิบดี หรือเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานต่างๆที่ต้องถูกเคี่ยวเข็ยให้ทำการ จค

แต่โดย กพร ที่ต้องพึ่งนักวิชาการที่มีพื้นฐานทฤษฏีดี แต่รู้จักองค์กรน้อย แต่ต้องสร้างผลงานในเวลาอันสั้น แถมยังชอบใช้ตัวชี้วัดสารพัดพร้อมแบบฟอร์มปึกใหญ่อีกด้วย

 

ถ้ามีผมทำงานอยู่คนเดียวงานคงไม่ได้ไปมากขนาดนี้  

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26336เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2006 23:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:02 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท