คณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย


 

           ในการประชุมสภา มวล. เมื่อวันที่ ๑๖ พ.ค. ๕๒ ผมได้เรียนรู้หลักคิด และวิธีการดำเนินการของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย   ว่ามีหน้าที่สร้างสารสนเทศให้สภาใช้ประโยชน์ในการกำกับดูแลโดยมองเห็นภาพรวมของการดำเนินการตามแผนและนโยบายที่สภามหาวิทยาลัยกำหนด   โดยต้องทำงานแข่งกับเวลา     โดยสภา มวล. กำหนดให้เขียนรายงานต่อ สภาฯ ปีละ ๒ ครั้ง

          ท่านนายกสภาฯ คือ ศ. ดร. วิจิตร ศรีสะอ้าน เล่าว่า    กำเนิดของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานอิสระของรัฐเกิดขึ้นที่สถาบันพระปกเกล้า    โดยท่านได้เข้าไปช่วยสร้างระบบนี้เป็นเวลา ๘ ปี    ร่วมกับท่านนนทพล นิ่มสมบุญ ที่เวลานี้เป็นประธานคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์  

           ผมกลับมา AAR ที่บ้าน ว่าวิธีคิดเกี่ยวกับขอบเขตการทำงานของคณะกรรมการชุดนี้ ยังมุ่งที่หน้าที่กำกับดูแลเน้นที่แนว fiduciary   ไม่ได้มองไปถึงการกำกับดูแลแนว strategic และแนว generative 

          ในที่ประชุม ผมได้ให้ความเห็นว่า รายงานที่นำเสนอนี้ เน้นตรวจสอบเปรียบเทียบกับแผนงานที่สภาอนุมัติไว้    และเน้นเปรียบเทียบผลงานกับผลงานของตนเองในอดีต    สิ่งที่น่าจะพิจารณาทำคือ
               ๑. ตรวจสอบเปรียบเทียบกับคู่แข่ง   หรือใช้วิธี benchmarking นั่นเอง
               ๒. เปรียบเทียบกับอุดมศึกษาภาพรวมของประเทศ   เพื่อให้ชัดเจนว่า เราอยู่ที่ตำแหน่งใด    เพื่อให้สภาฯ มั่นใจว่า positioning ขององค์กรถูก ต้อง
               ๓. เปรียบเทียบกับสถานการณ์ด้านอุดมศึกษาของไทย และของโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง   เป็นการมองอนาคต

          จะเห็นว่า เรายังมีโอกาสพัฒนาระบบการทำงานของคณะกรรมการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐได้อีกมาก   เพื่อช่วยการทำหน้าที่ type II และ type III governance

วิจารณ์ พานิช
๑๘ พ.ค. ๕๒

        
         
       
         

 

หมายเลขบันทึก: 262457เขียนเมื่อ 21 พฤษภาคม 2009 13:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

การติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานของมหาวิทยาลัย กรณีของสภา มวล. ที่ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์ได้กรุณาเล่ามา ไม่ทราบว่าผมตีความถูกหรือไม่ว่าอาจารย์เห็นว่าการเปรียบเทียบระหว่างสถาบัน เป็นสิ่งที่แต่ละมหาวิทยาลัยสมควรพิจารณา และดำเนินการ

ปัญหาของการเปรียบเทียบระหว่างสถาบันอุดมศึกษาในบ้านเราในขณะนี้ คงคล้ายๆกันกับประเทศสหราชอาณาจักรเมื่อราวๆ 15 ปี มาแล้ว ที่บางมหาวิทยาลัยไม่ยอมรับวิธีการจัดอันดับ

ณ วันนี้ ประเทศสหราชอาณาจักรก้าวไปถึงขึ้นที่จัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาต่างๆในประเทศของตนไว้ล่วงหน้าตั้งหลายเดือน จะเห็นได้จาก University League Table 2010 ได้มีการประกาศสำหรับปี 2010 ตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2552 นี้แล้ว รายละเอียดปรากฏในเว็บไซต์ต่อไปนี้

http://www.thecompleteuniversityguide.co.uk/single.htm?ipg=8726

ในเว็บไซต์ดังกล่าว จะพบข้อมูลการจัดอันดับสถาบันอุดมศึกษาของสหราชอาณาจักรจำนวน 113 แห่ง ในสาขาวิชาต่างๆประมาณ 60 สาขา มีการแจกแจง methodology ที่ใช้ และมีผลการจัดอันดับปี 2008 และ 2009 ไว้ให้เปรียบเทียบได้ด้วย การจัดอันดับดังกล่าว เป็นการดำเนินการร่วมกับหนังสือพิมพ์ The Independent (อันดับคล้ายกันกับของหนังสือพิมพ์ The Guardian แต่มีรายละเอียดมากกว่า) ข้อมูลดิบสำหรับตารางจัดอันดับทั้งหมดมาจากแหล่งข้อมูลที่เป็นสาธารณะ (The raw data for the League Table all come from sources in the public domain.) และที่สำคัญก็คือ สภาที่พิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาทั้ง 3 สภาของสหราชอาณาจักร คือ Higher Education Funding Council for England (HEFCE), Scottish Higher Education Funding Council (SHEFC) และ Higher Education Funding Council for Wales ได้ใช้ข้อมูลจากการจัดอันดับในสาขาวิชาต่างๆ เป็นฐานในการจัดสรรงบประมาณสนับสนุนสถาบันอุดมศึกษาในสังกัดมาอย่างต่อเนื่องได้หลายปีแล้ว

หากข้อมูลดังกล่าวนี้ พอจะเป็นกรณีศึกษาและเป็นประโยชน์สำหรับการประเมินมหาวิทยาลัยทั้งหลายในบ้านเรา ก็ขอยกอานิสงส์นี้ให้อาจารย์ Dr. Robert Molloy (Associate Editor of Chiang Mai Journal of Science)เพื่อนร่วมงานชาวอังกฤษของผมที่ทำงานร่วมกันมาที่ภาควิชาเคมี มช. มาร่วม 30 ปี แล้ว ในฐานะที่เป็นผู้ชี้แนะเว็บไซต์ดังกล่าวให้ผมสำรวจศึกษาด้วยตนเองก่อนหน้านี้

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท