การตรึงราคาค่าโดยสารช่วยทุกคน แต่ชาวบ้านอีกหลายคนที่ มมส. เดือดร้อน


เมื่อทางการตรึงราคาค่าโดยสารในช่วงเวลาที่น้ำมันแพง เพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยหลายคน อันที่จริงเจ้าของรถโดยสาร คนขับรถ น่าจะเดือดร้อนฝ่ายเดียว ชาวบ้านบางคนที่ มมส.ทำไมถึงต้องเดือดร้อนไปด้วย

1. เมื่อน้ำมันแพง ต้นทุนเพิ่ม แต่ต้องเก็บค่าโดยสารราคาเท่าเดิม ใช้น้ำมันเท่าเดิม แต่จ่ายเงินเพิ่มขึ้น ช่วงนี้ปิดเทอม ผู้โดยสารในบางช่วงเวลามีน้อยมากๆ รถโดยสารที่วิ่งในช่วงเวลาไม่เร่งด่วน ขาดทุนทันที ทำให้ต้องปรับตัวเพื่อความอยู่รอด  .. บางคัน จะวิ่งเพียงแค่ครึ่งทาง รถโดยสารสาย มหาสารคาม กาฬสินธุ์ บางคันวิ่งถึงอำเภอกันทรวิชัย แล้วจอดรอให้รถคันหลังวิ่งมาถึง แล้วให้ผู้โดยสารไปต่อรถไปกาฬสินธุ์กับรถคันใหม่

2. ทำให้ผู้โดยสารเริ่มเดือดร้อนทันที เมื่อการเดินทางถึงที่หมาย ช้าลงกว่าเดิม ปกติระยะทางเพียง 45 กิโลเมตร จากกาฬสินธุ์ถึง บขส.มหาสารคาม ใช้เวลาเดินทางราว 80 นาที บางคนต้องใช้เวลาเพิ่มขึ้นเป็น 100 นาที เพราะรถโดยสารที่จอดรอคันหลัง

3. รถโดยสารที่เคยวิ่งออกจากสถานีขนส่งทุกๆ 20 นาทีต่อเที่ยว ในบางช่วงเวลาที่ผู้โดยสารมีน้อย จะเว้นช่วงวิ่ง เที่ยววิ่งขาดหายไปเลย เป็น 1 ชั่วโมง มี 1 เที่ยววิ่ง ทำให้มีผู้โดยสารที่รอขึ้นรถจำนวนมาก ทั้งที่ บขส.มหาสรคาม ที่ศาลาริมทาง นั่งรอรถตามที่ต่างๆ จึงมีจำนวนผู้โดยสารสะสมเป็นจำนวนมาก จึงต้องไปยืน เบียดกันบนรถโดยสารอยู่บ่อยๆ ซึ่งเป็นวิธีที่ทำให้รถโดยสารเก็บค่าโดยสารได้กำไร

4. รถโดยสารหลายคัน สายกาฬสินธุ์-  มหาสารคาม ตัวรถมีขนาดเล็กกว่ารถโดยสารทั่วๆไป มีที่นั่งน้อยกว่า ซึ่งการต่อรถขนาดเล็ก ช่วยประหยัดน้ำมันได้ เมื่อรถที่วิ่งมาน้อย ผู้โดยสารจะขึ้นไปยืนเบียดเต็มรถอยู่บ่อยๆ แต่ยังดี ที่ผู้โยสารส่วนใหญ่ จะลงที่ สี่แยก อำเภอยางตลาด หรือที่ อำเภอ กันทรวิชัย ทำให้ผู้โดยสารหลายคน ได้มีโอกาสนั่งจากยางตลาด ถึงกาฬสินธุ์

5. ถึงแม้จะวิ่งในระยะทางเพียง 45 กิโลเมตร รถโดยสารหลายคัน ก็ต้องเข้าอู่ซ่อมอยู่บ่อยๆ ทำให้รถโดยสารที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาเข้าคิว ยังคงไม่พอให้บริการเช่นเดิม

6. ค่าโดยสารแต่เดิม คิดตามป้าย จากกาฬสินธุ์ถึงมหาสารคาม รถโดยสารธรรมดา เก็บ 25 บาท รถโดยสารปรับอากาศ คิด 30 บาท เดิม เก็บตามป้าย จากกาฬสินธุ์ มาลงที่หน้า มมส.ขามเรียง เดิม เก็บ 20 บาท แต่ปัจจุบัน มาลงรถที่หน้า มมส.ขามเรียง ก็เก็บ 25 บาท เท่ากับลงที่ ขบส. มหาสารคาม เพราะทางการให้ตรึงราคาค่าโดยสารเท่าเดิม ทางผู้ประกอบการจึงมาเก็บค่าโดยสารเพิ่ม ตามป้ายต่างๆเพิ่มขึ้น เพื่อลดการขาดทุน

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายเดือดร้อนกันถ้วนหน้า แค่ราคาน้ำมันที่ขยับสูงขึ้น รายได้คงเดิม ค่าใช้จ่ายหลายอย่างยังคงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เดือดร้อนกันทั่วหน้าล่ะครับ

คำสำคัญ (Tags): #msu#ระหว่างทาง
หมายเลขบันทึก: 26240เขียนเมื่อ 3 พฤษภาคม 2006 11:01 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 14:14 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท