ขอเชิญร่วมสุนทรียสนทนา:วิธีแบ่งปันความรู้เพื่อขจัดความไม่รู้


วันนี้มาเพื่อชวนสมาชิกทุกท่านร่วมสุนทรียสนทนาผ่านบันทึกฉบับนี้กันค่ะ โดยมีหัวข้อให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 2 หัวข้อ ดังต่อไปนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะสมาชิกทุกท่าน

หายไปนานกับบันทึกในบล็อกนี้ค่ะ เพราะช่วงที่ผ่านมาวุ่นวายกับการทำหนังสือ "บล็อก: เครื่องมือเพื่อการจัดการความรู้" วันนี้หนังสือเล่มนี้คลอดออกมาเรียบร้อยแล้วค่ะ

หนักหนาสาหัสพอสมควรกับการเขียนหนังสือหนึ่งเล่มจากเรื่องที่ไม่เคยรู้เลยทั้งสองเรื่องค่ะ แต่ก็ผ่านไปแล้วถือว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีและโหดพอสมควร

เอาละค่ะเลิกบ่นดีกว่า

วันนี้มาเพื่อชวนสมาชิกทุกท่านร่วมสุนทรียสนทนาผ่านบันทึกฉบับนี้กันค่ะ โดยมีหัวข้อให้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 2 หัวข้อ ดังต่อไปนี้ค่ะ

  1. ท่านคิดว่าในสาขาวิชาชีพของท่านเองนั้นสามารถแบ่งปันหรือเติมเต็มความรู้ให้กับใครได้บ้าง และทำได้อย่างไร

  2. ท่านเคยเห็นหรือเคยทำกิจกรรมใดบ้าง ที่ช่วยให้ใครสักคน หรือกลุ่มหนึ่งได้รับความรู้เพิ่มมากขึ้น

ทั้งสองประเด็นนี้แลกเปลี่ยนกันแบบสบายๆ ค่ะ ไม่เครียด

จะแลกเปลี่ยกันเพียงประเด็นเดียวหรือทั้งสองประเด็นก็ได้ค่ะ

มาร่วมสุนทรียสนทนาผ่านบล็อกกันนะค่ะ

แล้วเจอกันที่ช่องแสดงความคิดเห็นนะค่ะ

^__^

ปล.ขออนุญาตตัดคำถามข้อสองออกก่อนะค่ะ

หมายเลขบันทึก: 261992เขียนเมื่อ 18 พฤษภาคม 2009 22:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (23)

สำหรับตัวสี่เองนั้น

ในฐานะคนเขียนข่าวสุขภาพนั้น การนำข่าวต่างประเทศมานำเสนอไว้ใน Healthy.in.th ถือว่าได้ช่วยให้คนไทยอีกหลายๆ คนได้รู้ข้อมูลข่าวสารด้านสุขภาพใหม่ๆ ช่วยให้คนอื่นรวมทั้งตัวเองมีข้อมูลในการดูแลสุขภาพมากขึ้นค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ทำได้อย่างไรในข้อ ๑ ซ้ำซ้อนกับ เคยทำกิจกรรมใดบ้าง ในข้อ ๒ หรือเปล่าครับ ... ประมาณว่า คือ คือ กัน

หากประกอบอาชีพครูมหาวิทยาลัย ... คำตอบเดียวกันได้เลย

แต่อยากให้กำลังใจนะน้อง ... ปล่อยวาง ลดเครียดด่วน !

สวัสดีค่ะอาจารย์

ตอนแรกคิดว่าไม่เหมือนค่ะ แต่ตอนนี้ชักไม่แน่ใจ

อย่างเช่น สี่เคยเป็นพยาบาลต้องให้ความรู้กับคนไข้ เพื่อให้คนไข้กลับไปใช้ยาและดูแลตัวเองเพื่อให้หายไวๆ นี่เป็นคำตอบข้อหนึ่งนะค่ะ

แต่ข้อสองนี่อาจจะเป็นคำตอบว่าสี่เคยไปช่วยออกค่ายอาสาและสร้างห้องสมุดให้กับโรงเรียน

อย่างนี้นะค่ะ ก็เลยคิดว่าน่าจะไม่เหมือนกันค่ะ หรืออาจารย์เห็นว่าอย่างไรค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ลองดู ...

ข้อ ๑ ... ครู ... ให้ความรู้ ... นักศึกษา ... ในห้องเรียน แบบ Learning by Doing

ข้อ ๒ ... ครู ... ช่วยให้ความรู้ ... กับนักศึกษา ... ในห้องเรียน แบบ Learning by Doing

*+* ... เปี๊ยบ

สวัสดีค่ะอาจารย์

555 โอเคค่ะ ยอมเลยค่ะ สี่ตัดข้อสองให้แล้วนะค่ะ แต่สี่คิดอะไรออกรู้ไหมค่ะ

ข้อ 1 ครู ... ให้ความรู้ ... นักศึกษา ... ในห้องเรียน แบบ Learning by Doing

ข้อ 2 ครูที่ชื่อWasawat Deemarn ให้ความรู้....กับเด็กขาดโอกาส.....โดยการบริจาคหนังสือ

เป้าหมายของคำถามอยากได้คำตอบแบบนี้ค่ะ ต้องลองปรับคำถามใหม่ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

น้อง สี่ซี่ ครับ ... ไม่มีเจตนาจะมาเอาชนะคะคานหรอกนะครับ :)

มีเหตุผล ๒ ข้อที่คิดได้ตอนนี้

๑. แค่ลองคิดตามคำถามทั้ง ๒ ข้อดู แล้วปรากฎว่า ทำไมคำตอบเหมือนกัน แต่ .. ท่านอื่น ๆ อาจไม่ได้คิดแบบนี้นะครับ คิดเหมือนน้อง สี่ซี่ เองก็ได้ ... คำตอบปลายเปิด ... มันหลากหลาย แล้วใจคนคิด ครับ ... คิดแปลก ก็คิดนอกกรอบคิดไป ... น้อง สี่ซี่ มิได้ทำอะไรผิดหรอก ... ดังนั้น ไม่จำเป็นต้องขีดฆ่าออกก็ได้ครับ ... เกรงใจท่านอื่น ๆ

๒. แวะมาคุยเป็นเพื่อนยามดึกอ่ะดิ ... นอนได้แล้วมั้ง ... เลยหาเรื่องมาคิดช่วยคนตั้งโจทย์ดู แต่ดันแปลกว่า เหมือนกัน

ขอบคุณคร้าบ ;)

สวัสดีค่ะอาจารย์

มิมีใครผิดค่ะ สบายใจได้ ^__^

แต่เพราะอาจารย์มาทำให้สี่คิดว่าหากอยากได้คำตอบอย่างที่คิด น่าจะต้องตั้งคำถามที่ชัดเจนกว่านี้ค่ะ เพราะฉะนั้นขีดฆ่าเพื่อให้ตนเองทบทวนคำถามอีกครั้งค่ะ

อย่างที่เคยแวะไปคุยถ้าเราไม่ฟังเสียงใดเลย เราจะไม่เกิดสุนทรียสนทนา เพราะความจริงแล้วความคิดอาจารย์ก็ไม่ได้ผิด ของสี่ก็มิผิด

สิ่งที่ถอดบทเรียนได้ คือถ้าไม่อยากให้เกิดอย่างนี้เราต้องทำให้คำถามชัดเจนขึ้นกว่านี้อีกค่ะ

ขอบคุณนะค่ะที่แวะมา ตั้งโจทย์ยามดึกนะค่ะ เป็นเจ้าหนูจำไมยามค่ำคืนนี่เหนื่อยชะมัดค่ะ แต่พอเป็นอิคิวซังกลับเหนื่อยกว่า

รู้แล้วสี่กลายเป็นจอมยุ่งได้ยังงัย^__^

แบบนี้ต้องร้องเพลงของลุงเจ เจตรินแล้วล่ะ

"เพิ่งเข้าใจนะ เพิ่งเข้าใจ..."

;)

สวัสดีค่ะ

  • ตอบข้อ ๑ นะคะ
  • ครูนอกจากเติมเต็มความรู้และประสบการณ์ คุณธรรมจริยธรรมให้กับนักเรียนแล้ว  สามารถให้กับสังคม คนในชุมชนที่อาศัยและในชุมชนที่โรงเรียนตั้งอยู่
  • โดยจิตสาธารณะ...โรงเรียนอาจจะฝึกให้เด็กหรือนำเด็กไปรับใช้สังคม รับผิดชอบต่อปัญหาของสังคมเช่น..การเก็บขยะ การรักษาสิ่งแวดล้อม การเรียนรู้ภูมิปัญญา การดูแลผู้สูงอายุ การรณรงค์เกี่ยวกับสุขภาพอนามัย และการรู้เท่าทันสื่อ..ให้นักเรียนเป็นผู้ศึกษาปัญหาด้วยตนเอง..และช่วยกันคิดว่าควรจะทำอย่างไร
  • ในชุมชนที่ตนเองอาศัยอยู่..เป็นแบบอย่างในด้านพฤติกรรม การประหยัด ไม่ฟุ้งเฟ้อ การสนทนาแลกเปลี่ยนเพื่อถ่ายทอดสิ่งที่เหมาะสม การสอนหนังสือให้เด็ก ๆ การดูแลคนแก่ คนชราตามสถานสงเคราะห์ การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารและการรู้เท่าทันสื่อ
  • ที่บอกมา..นี้เป็นกิจกรรมที่โรงเรียนของพี่คิมกำลังจะทำอย่างถาวร  ที่ผ่านมาก็ทำได้บ้างเป็นครั้งคราว
  • เพราะเป็นโรงเรียนที่มี Best Practice ด้านการฝึกนิสัยจิตสาธารณะ..ค่ะ

อย่าซ้ำเติมสิค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn

ขอบคุณค่ะคุณครูคิม แล้วเจอกันค่ะ

ในส่วนของอาชีพลูกจ้างบริษัทเอกชน...

การแลกเปลี่ยนแบ่งปันความรู้ให้เพื่อนร่วมงานที่ทำงานในตำแหน่งเดียวกันเพื่อเป็นการเพิ่มทักษะของตัวเราเองและเพื่อนร่วมงาน ช่วยเหลือกันในการทำงานแทนการแข่งขันกันทำงานครับ...

สอนงานให้น้อง ๆ ที่เข้ามาใหม่ หรือน้อง ๆ ที่ทำงานในตำแหน่งที่รับผิดชอบน้อยกว่าเรา เพื่อกระตุ้นให้เขาอยากเรียนรู้และพัฒนาตัวเองมากขึ้นครับ...

การทำงานที่ผู้ร่วมงานแบ่งปันความรู้ในการทำงานกัน ย่อมทำให้บริษัทพัฒนาไปสู่เป้าหมายที่บริษัทวางไว้ได้ง่ายขึ้นครับผม...

ในส่วนของคนเป็นครูแล้ว องค์ความรู้ คือบทเรียนสู่เรื่องราวมากมายในการพัฒนาห้วงเวลาครับ ตามมาขอบคุณและเป็นกำลังใจเช่นกันครับพี่สาวที่แสนดี

สวัสดีค่ะคุณสี่ซี่

กอเรียนจบบัญชี และเสริมสวยมาค่ะ

เคยสอนบัญชีครัวเรือนให้กับเกษตรกร

และเคยสอนเสริมสวยน้องตูนที่ร้าน

ตอนนี้ชอบการวาดภาพ แต่ไม่มีใครสอน

เลยฝึกฝนบ่อย ๆ ค่ะ

ขอบคุณค่ะพี่Mr.Direct

ขอบใจจ๊ะน้องชายเสียงเล็กๆ

ขอบคุณค่ะคุณกอก้าน>>>ก้านกอ

<h3><span style="color: #0000ff;"><strong>ท่านคิดว่าในสาขาวิชาชีพของท่านเองนั้นสามารถแบ่งปันหรือเติมเต็มความรู้ให้กับใครได้บ้าง และทำได้อย่างไร</strong></span></h3>

<h3><span style="color: #0000ff;">&nbsp; 1.&nbsp; กับเจ้านาย&nbsp; ผ่านการเสนองาน</span></h3>

<h3><span style="color: #0000ff;">&nbsp; 2. กับผู้บริหารโรงเรียน&nbsp; ผ่านการจัดทำโครงการ</span></h3>

<h3><span style="color: #0000ff;">&nbsp; 3. กับคุณครูผู้สอน&nbsp; ผ่านสุนทรียสนทนา</span></h3>

ผมเปลี่ยนพฤติกรรมจาก ให้คำแนะนำคนไข้ทีละคนแบบ one way เป็นเข้าห้องประชุม คนไข้หลายคน ญาติหลายคน ผมเป็นคนตอบคำถามที่เขาสงสัยแบบ two way

ข้อดี

- เอาประเด็นปัญหา ความสงสัยของคนไข้เป็นหลัก

- เวลาคนไข้คนหนึ่งถาม คนอื่นได้ฟังไปด้วย คนที่ไม่ค่อยกล้าถาม จะได้ข้อมูลไปในตัว

- ใช้เวลารวมน้อยลง แทนการพูนแบบวิธีแรกซ้ำกัน

 

ข้อจำกัด

- ต้องเป็นคนไข้กลุ่มเดียวกัน รักษาคล้ายๆกัน

- ต้องระวังการเปิดเผยความลับของคนไข้ เช่น ข้อมูลเรื่องโรคที่คนไข้แต่ละคนเป็น ไม่ควรพูดในห้องประชุม

สวัสดีค่ะ

  • มาเชิญน้องสี่ไปดูบันทึก Focus Group ค่ะ
  • รักษาสุขภาพนะคะ
  • เป็นกำลังใจให้ค่ะ

ผมไม่ได้มีโอกาสเป็นครู แต่ผมก็คลุกคลีอยู่กับงานฝึกอบรมของบริษัทเอกชนเคยเป็นทั้งผู้สอน และเป็นโปรโมเตอร์จัดอบรม การอบรมก็ใช้วิธีการทั้งที่เคยเรียนมา (MIAP) และก็หาจากประสบการณ์ข้างนอก หลังๆ ได้รู้จัก Managerroom.com และ Gotoknow ก็เลยลองนำความรู้ ที่เกี่ยวกับ LOKM นั้นมาใช้บ้าง เช่น สอนแบบไม่สอน ทำห้องอบรมเป็นโรงหนัง เป็นต้น มาระยะหลังเริ่มเป็นหัวหน้าคนก็ต้องมีสอนงานลูกน้องทางอ้อม โดยมอบหมายโครงการที่ยังไม่เคยให้ทำ พยายามนำทฤษฎี 5 ข้อ ของ Peter Senge มาใช้กับทีมงานครับ ขอเชิญชวนเข้าเยี่ยมชมบันทึก "เรียนรู้" ด้วยครับ เช่น

http://gotoknow.org/blog/attawutc/216929

http://gotoknow.org/blog/attawutc/218301

http://gotoknow.org/blog/attawutc/237875

http://gotoknow.org/blog/attawutc/256983

สวัสดีค่ะคุณสี่ซี่

มาอีกรอบนึงค่ะ

พอดีว่า ผอ.ของกอท่านเรียนต่อของมหาดไทยนี่แหละค่ะ

กอก็เลยได้มีโอกาส แบ่งปันความรู้จากผอ.ด้วย

ด้วยการค้นหาเอกสารเตรียมพร้อมก่อนเรียนให้ผอ.

การได้ค้นหาเรื่องราวต่าง ๆ ที่ผ่านมาในการใช้ชีวิต

มันก็เป็นการแบ่งปันความรู้ให้กันทางอ้อมด้วยน่ะค่ะ

ขอบคุณคุณสี่ซี่มาก ๆ เลย

ขอบคุณทุกๆ ท่านมากค่ะ

ต้องขอโทษด้วยที่ไม่ได้ตอบทีละท่านนะค่ะ กำลังเตรียมงาน GotoKnow Forum ค่ะ

สวัสดีค่ะ

ตามหาจนเจอ....

ขอบคุณในน้ำใจไมตรี...ที่น้องสี่

ส่งกล่องแห่งความสุขมาให้...เด็กๆ

แทนความรักของพวกเรานะคะ

ขอร่วมสนุกด้วย

คำถามข้อ 1 ท่านคิดว่าในสาขาวิชาชีพของท่านเองนั้นสามารถแบ่งปันหรือเติมเต็มความรู้ให้กับใครได้บ้าง และทำได้อย่างไร

     คำถามข้อนี้ ขอตีความ "ใคร" ว่าเป็นคนหนึ่งคนในขณะแบ่งปันความรู้แบบ F2F  ในต่างเวลาและสถานที่อาจมีอีกหลายคนแต่ไม่พร้อมกัน  ความรู้ที่เคยให้เป็นความรู้ที่ไม่ได้อยู่ในตำราที่เคยเรียนมา  แต่เป็นความรู้ที่ได้จากประสบการณ์ที่เกิดขึ้นในขณะทำงาน เป็นกระบวนการเล็ก ๆ หรืออาจเรียกว่าวิธีการก็ไม่แน่ และได้ถ่ายทอดแบ่งปันออกไปให้เพื่อน ๆ ร่วมงานได้รู้กระบวนการ ขอยกเอาเรื่องหนึ่งนะครับ คือการเรียนรู้การใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ทางลัดในงานส่งเสริมการเกษตร  คือประเด็นปัญหามีอยู่ว่า  ในสมัยที่ผมเรียนนั้นยังไม่มีคอมพิวเตอร์ แต่เมื่อมาทำงานมาระยะหนึ่งมีคอมพิวเตอร์เข้ามาใช้เพื่อน ๆ ก็เลยรู้สึกว่ากลัวที่จะเรียนรู้เพราะดูมันยิ่งใหญ่เกินไป ก็เลยก็ให้เพื่อน ๆ วิเคราะห์งานที่ใช้คอมพิวเตอร์ใช้ตรงส่วนใดของงานเพื่ออะไร  และดูที่เทคนิคของคอมพิวเตอร์ทำอย่างไรในส่วนนั้น  เรียนเฉพาะเรื่องนั้น  ๆ  โดยไม่ต้องฝึกโปรแกรมทั้งหมด  โดยเรียนแบบแยกส่วนเฉพาะที่จำเป็น  ซึ่งจะช่วยเขาให้หายกังวลกับการใช้งานคอมพิวเตอร์และใช้งานได้ในที่สุด

        ส่วนในข้อ 2  ถามถึงกิจกรรม  และระบุคนเป็นกลุ่ม

            ที่เคยทำกิจกรรมมา  ก็คือการทำกิจกรรมเวทีชุมชนให้เขาเรียนรู้ตนเอง  เรียนรู้สิ่งที่เขามีปัจจุบัน  เรียนรู้สิ่งที่เคยมีในอดีตแต่ปัจจุบันหายไป  เรียนรู้การวางแผนอนาคต  เขาได้รับความรู้เพิ่มในส่วนของวิธีการวิเคราะห์ชุมชน การวิเคราะห์ตนเอง  จุดแข็ง จุดอ่อน และจัดทำเป็นแผนชุมชนพึ่งตนเอง  และนำแผนชุมชนสู่การปฏิบัติ ปัจจุบัน  กลุ่มชุมชนที่ว่านี้ ชื่อ "กลุ่มส่งเสริมการเกษตรบ้านไสใหญ่" ตั้งอยู่หมู่ที่ 12 ต.ช้างซ้าย อ.พระพรหม จ.นครศรีธรรมราช  มีเงินออมหมุนเวียนในกลุ่มเพื่อประกอบอาชีพ เมื่อปี 2551 ปิดบัญชีอยู่ที่  6 ล้านบาทเศษ โดยค่อย ๆ เติบโตมาตั้งแต่ปี 2543  ครับ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท