อะไรคือ moodle (มูดี้) และความสามารถของ moodle


อะไรคือ moodle (มูดี้) และความสามารถของ moodle

Moodle ย่อมาจาก Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment

Moodle เป็นชุดโปรแกรมสำหรับ ช่วยผู้สอน สร้างหลักสูตร และเปิดสอนบนเว็บไซต์ ผ่านระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต สามารถนำไปใช้ได้ทั้ง มหาวิทยาลัย โรงเรียน สถาบัน หรือครูสอนพิเศษ

ผู้พัฒนาโปรแกรมคือ Martin Dougiamas โปรแกรมชุดนี้เป็น Open source ภายใต้ข้อตกลงของ GNU.ORG(General public license) สามารถ download ได้ฟรีจาก http://moodle.org/mod/resource/view.php?id=8 สำหรับผู้ดูแลระบบ(Admin) ที่จะนำโปรแกรมไปติดตั้ง ต้องมี web server ที่บริการ php และ mysql

ความสามารถของ moodle โดยสรุป

1. เป็น open source ที่ได้รับการยอมรับ (ทั่วโลกใช้ 1216 เว็บไซต์ และในไทยใช้ 34 เว็บไซต์) ตัวนี้ฟรี สถาบันส่วนใหญ่ตัวใครตัวมัน ซื้อบ้าง พัฒนาเองบ้าง ไม่อยู่ใน vision ก็มีในอนาคตอาจหันมาใช้ตัวนี้กันหมดก็ได้
2.สามารถเป็นทั้ง CMS(Course management system) และ LMS(Learning management system) ช่วยสร้างเนื้อหาโดยอาจารย์ และบริการให้นักเรียนเข้ามาเรียน สถาบันหลายแห่งมีเฉพาะ LMS แต่ไม่มี CMS ให้อาจารย์ครับ
3.สามารถนำเอกสารที่ทำไว้เพิ่มเข้าไปได้ เช่น word, power point, excel, webpage, pdf หรือ image เป็นต้น
4.มีระบบติดต่อสื่อสารกับนักเรียน หรือระหว่างครูด้วยกัน เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น นักเรียนฝากคำถาม ครูทิ้งคำถามไว้ ครูนัดสนทนาแบบonline ครูนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อนเข้าเรียนก็ได้
5.มีระบบแบบทดสอบ และรับการบ้าน สามารถตรวจการบ้าน และให้คะแนนโดยอัตโนมัติ ให้ส่งงานหรือให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนเก็บได้เลย export ไป excel ก็ทำได้
6.สามารถเก็บงานทั้งหมดที่อาจารย์ลงแรงทำไปเป็น .zip แฟ้มเดียว อนาคตสามารถนำไปติดตั้งเครื่องที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องเริ่มต้นใหม่
7.ผู้บริหารที่มี vision ส่งเสริมเรื่องนี้เพราะ อาจารย์ได้ผลงาน นักศึกษาได้เรียนรู้ และสถาบันได้รับการพัฒนา อาจารย์เตรียมสอนครั้งเดียวสบาย นักเรียนเรียนกี่รอบก็ได้ จบไปเข้ามาทบทวนก็ได้ คนไทยด้วยกันเข้ามาหาความรู้ก็ทำได้ Moodle ทำอะไรได้บ้าง

1.การใช้ moodle ในสถาบัน จำเป็นต้องมี

1.1 มี อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต หรือ LAN
1.2 มี web browser เช่น Internet explorer ในการติดต่อกับ moodle ทั้งอาจารย์ และนักศึกษา
1.3 มี web server ให้บริการ และมีความสามารถของ php + mysql เป็นต้น
1.4 มี ผู้ติดตั้ง และบำรุงรักษา ต้องทำโดยนักคอมพิวเตอร์ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการเขียนเว็บ เพราะการติดตั้งไม่ง่ายนัก
1.5 มี ครู นักเรียน และผู้บริหาร ที่ยอมรับในเทคโนโลยี

2.ย้ำอีกครั้งว่าโปรแกรมนี้ ช่วยผู้สอนสร้างหลักสูตร และเปิดสอนบนเว็บไซต์

3.ทั่วโลกใช้ 1216 เว็บไซต์ และในประเทศไทยมี 34 เว็บไซต์ (18 เมษายน 2547 จาก http://moodle.org/sites/)

4.ผู้เข้าใช้ระบบมีบุคคล 4 ประเภท เพราะท่านควรเข้าใจ บทบาท และหน้าที่ของตน

4.1 ผู้ดูแล(admin) : ติดตั้งระบบ บำรุงรักษา กำหนดค่าเริ่มต้น และกำหนดสิทธิ์การเป็นผู้สอน
4.2 ผู้สอน(teacher) : เพิ่มเนื้อหา เพิ่มข้อสอบ ให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และสนทนากับนักเรียน
4.3 ผู้เรียน(student) : เข้าเรียนหัวข้อต่าง ๆ ทำแบบฝึกหัด ตามที่ได้รับมอบหมาย
4.4 ผู้มาเยี่ยม(guest) : เข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต และไม่มีสิทธิ์ทำแบบทดสอบใด ๆ

5.ผู้สอนสามารถเพิ่มสิ่งต่อไปนี้ ในแต่ละบทเรียน หรือสัปดาห์

5.1 Chat (ห้องสนทนา พูดคุยกันได้)
5.2 Glossary (รวมคำศัพท์ จัดหมวดหมู่ได้ยอดเยี่ยม สามารถสืบค้นได้)
5.3 Label (เหมือนป้ายประกาศ ไม่สามารถ click ได้ แจ้งให้ทราบก็จบตรงนั้น)
5.4 Lesson (บทเรียนให้พิมพ์แยก page title, page contents, answer และ response)
5.5 กระดานเสาวนา (กระดานข่าว หรือ webboard)
5.6 การบ้าน (ให้พิมพ์งานใส่ word มา upload ได้)
5.7 ตัวเลือก (คือการ vote จากคำถาม 1 ข้อ และมีตัวเลือกให้)
5.8 วารสาร (ให้นักเรียนเข้ามาเขียนวารสาร และมีคะแนนให้ ตามหัวเรื่อง)
5.9 สัมมนา (เน้นกิจกรรม และองค์ประกอบต่าง ๆ หลายเรื่อง)
5.10 แบบทดสอบ (สร้างคลังข้อสอบเป็น 1000 ข้อ แล้วเลือกมาให้ทำ 100 ข้อ ระบบจะสุ่มให้นักศึกษาทำอัตโนมัติ)
5.11 แบบสำรวจ (essay หรือ choice)
5.12 แหล่งข้อมูล (text, html, upload, weblink, webpage หรือ program)

6.กิจกรรมของผู้สอน

6.1 สมัครสมาชิกด้วยตัวนักเรียนเอง
6.2 รออนุมัติการเป็นสมาชิก และสมัครเข้าเรียนแต่ละวิชาด้วยตนเอง (บางระบบ สามารถสมัคร และเข้าเรียนได้ทันที)
6.3 รอผู้ดูแลกำหนดสิทธิ์ในการเป็นผู้สอน หรือผู้สร้างคอร์ส
6.4 ผู้สอนสร้างคอร์ส และกำหนดลักษณะของคอร์สด้วยตนเอง
6.5 เพิ่ม เอกสาร บทเรียน และลำดับเหตุการณ์ตามความเหมาะสม
6.6 ประกาศข่าวสาร หรือนัดสนทนา กับนักเรียนผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
6.7 สามารถสำรองข้อมูลทั้งหมดที่เคยใส่เข้าไปใน server เก็บเป็นแฟ้มเพียงแฟ้มเดียวได้
6.8 สามารถนำข้อมูลที่สำรองกลับมากู้คืนที่ server เครื่องเดิม หรือเครื่องใหม่
6.9 สามารถ download คะแนนนักเรียนจากการทำกิจกรรม ไปใช้ใน excel ได้โดยง่าย
6.10 กำหนดกลุ่มให้กับนักเรียน เป็นกลุ่ม เป็นห้อง เป็นชั้นปี เพื่อสะดวกในการคิดเกรด คะแนน หรือสื่อสาร เป็นต้น
6.11 อ่านประวัตินักเรียนในชั้น
6.12 สั่งยกเลิกการเป็นสมาชิกในวิชา ของนักเรียนที่มีความประพฤติไม่เหมาะสม หรือเข้าผิดวิชา
6.13 ดูกิจกรรมของนักเรียนแต่ละคน เช่น ความถีในการอ่านแต่ละบท หรือคะแนนในการสอบแต่ละบท เป็นต้น
6.14 ดูผลการทำแบบทดสอบของนักเรียนทุกคน หรือยกเลิกการทำข้อสอบในบางครั้ง ของนักเรียนบางคนได้

7.กิจกรรมของผู้เรียน

7.1 สมัครสมาชิกด้วยตัวนักเรียนเอง
7.2 รออนุมัติการเป็นสมาชิก และสมัครเข้าเรียนแต่ละวิชาด้วยตนเอง (บางระบบ สามารถสมัคร และเข้าเรียนได้ทันที)
7.3 อ่านเอกสาร หรือบทเรียน ที่ผู้สอนกำหนดให้เข้าไปศึกษาตามช่วงเวลาที่เหมาะสม
7.4 ฝากคำถาม หรือข้อคิดเห็น หรือนัดสนทนาระหว่างเพื่อน ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
7.5 ทำกิจกรรมตามที่ได้รับมอบหมาย เช่น ทำแบบฝึกหัด หรือส่งการบ้าน เป็นต้น
7.6 แก้ไขข้อมูลส่วนตัวของตนเองได้ 
7.7 อ่านประวัติของครู เพื่อนนักเรียนในชั้น หรือในกลุ่ม

ดูตัวอย่างระบบ LMS ของวิทยาลัย http://ytc.vecict.net

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 26151เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2006 17:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 21:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท