หลักในการเขียนเรียงความ


การเขียนเรียงความ

การเขียนเรียงความ หมายถึง การนำคำมาแต่งเป็นเรื่อง เพื่อใช้เป็นข้อเขียนที่แสดงความคิด ความรู้ ความรู้สึก ความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่าง ๆ ของผู้เขียนถ่ายทอดสู่ผู้อ่าน

 

หลักในการเขียนเรียงความ

 

หลักในการเขียนเรียงความที่สำคัญ ๆ มีดังนี้

1.       เขียนตรงตามส่วนประกอบของเรียงความ คือ มีส่วนนำเรื่อง ส่วนเนื้อเรื่องและส่วนปิดเรื่อง ย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้ายเป็นส่วนนำเรื่องและส่วนปิดเรื่อง

2.       เขียนตรงตามโครงเรื่องที่วางไว้ทุกประเด็น

3.       เนื้อเรื่องที่วางไว้ตามโครงเรื่องควรเขียนอย่างครบถ้วน และสมบูรณ์ และมีการลำดับความที่ต่อเนื่องสอดคล้องกัน อ่านเข้าใจ ประเด็นความคิดหลักต้องแจ่มชัด อย่าเขียนออกนอกเรื่อง หรือนอกประเด็นไม่ตรงตามโครงเรื่องที่วางไว้

4.       การนำเสนอเรื่อง นอกจากจะให้มีสาระน่าอ่านแล้ว ยังควรต้องเลือกสรรข้อความที่เหมาะสมมากล่าวจะทำให้มีน้ำหนักของถ้อยคำน่าเชื่อถือ สามารถจูงใจให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามถ้อยคำที่เลือกสรรไว้

5.       มีความคิดแปลกใหม่ ทันสมัย น่าสนใจ สอดแทรกในข้อเขียนอย่างเหมาะเจาะกลมกลืน นับเป็นท่วงทำนองการเขียนเฉพาะตัวที่น่าสนใจ หรือแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์

6.       มีสำนวนการเขียนดี มีโวหาร คือ มีถ้อยคำที่เรียบเรียงน่าอ่าน มีการแสดงถ้อยคำออกมาเป็นข้อความที่เปรียบเทียบ

7.       มีความงามในรูปแบบ คือ หัวข้อกลางหน้ากระดาษ หัวข้อชิดขอบกระดาษ หัวข้อย่อหน้า หัวข้อย่อยจะวางรูปแบบได้สัดส่วนเหมาะเจาะ สวยงาม อ่านง่าย ไม่สับสน ย่อหน้าใหม่ทุกครั้งเมื่อต้องเปลี่ยนเรื่องใหม่

8.       เรียงความที่ต้องประกอบด้วย เอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ

 

(คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทย คิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์:เรียงความ ย่อความและสรุปความ ช่วงชั้นที่2-4,สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ,2551)

หมายเลขบันทึก: 261305เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2009 10:44 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 กรกฎาคม 2012 20:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ตามมาแวะเวียนอ่านในฐานะผู้กระหายความรู้ทางด้านภาษาไทยครับ อาจารย์

ขอบคุณมากค่ะกำลังหาหลักการไปเขียนเรียงความพอดี

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท