ประกาย~natachoei ที่~natadee
นาง ประกาย ประกาย~natachoei ที่~natadee พิทักษ์

ชิคุนกุนยา


       มีโรคใหม่ที่จะต้องเฝ้าระวังเพิ่ม จริง ๆแล้วเป็นโรคที่เคยระบาดที่ภาคใต้ เมื่อปีที่แล้ว และมีการนำเสนอผลงานของนักระบาดที่ภาคใต้ถึงแนวทางการสอบสวนโรคและการควบคุมโรคไม่ให้เกิดขยายวงกว้าง โรคชิคุนกุนยา จะเกิดกับผู้ใหญ่ และเมื่อป่วยแล้วจะมีอาการไข้ ปวดเมื่อยตามตัว ตามกระดูกข้อมาก จะขยับตัวแทบไม่ได้ซึ่งทำให้ทรมานมาก

       งานเริ่มจะเข้ามาอีกเรื่อง ใกล้จะเปิดเทอมแล้ว แล้วเมื่อวานถูกถามว่ามีนักศึกษาจากภาคใต้มาเรียนที่ขอนแก่นไหม  ตอบว่ามีคะ

       อย่างนั้นพี่ไก่ เริ่มจะมีงานเข้านะครับ ฝากพี่ไก่ ช่วยตรวจสอบให้ด้วยและศึกษาเรื่องโรคชิคุนกุนยาด้วยนะครับ เป็นเสียงมาตามสายจากคุณชุมพล รวมทวี นักวิชาการสาธารณสุข งานระบาดวิทยา สำนักงานสาธารณสุข จังหวัดขอนแก่น

      พร้อมกับฝาก mail จากข่าวและจากการแถลงของกระทรวงสาธารณสุข โรคนี้เริ่มจะอันตรายและเกิดแพร่หลายมากขึ้นขยายขอบเขตมาที่ภาคกลางแล้ว อีกหน่อยก็อาจจะมาเกิดที่ขอนแก่นได้

      เราได้คุยกันกับคุณชุมพล  รวมทวี จากงานระบาด สสจ ขอนแก่น  ในเวทีชุมชุมนักปฏิบัติโรคติดต่อ  วันที่ 12 พฤาภาคม 52  ที่ผ่านมา  บอกว่าทุกโรคเราจะเจอกันหมด ได้เฝ้าระวังกับเขาไปหมด  พี่ไก่ มีความเห็นอย่างไร พี่ว่าจริงนะคะ   เพราะว่าพี่ได้เฝ้าระวังและมีคนสงสัยว่าจะป่วยกับเขาไปหมดทุกโรค อย่างรายล่าสุด มีสงสัยโรคไข้หวัดใหญ่ กำลังสอบสวน  เมื่อวานผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการปกติ  ม่ได้ป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่

     ทำความรู้จักกับชิคุนกุนยา หน่อยนะคะ จากรายงานข่าว แล้วตอนต่อไปจะนำรายละเอียดที่ได้ศึกษามาเล่าให้ฟัง พร้อมแผนการรับมือของโรคนี้

“ชิคุนกุนยา” ระบาดหนัก 15 จังหวัด
       อธ.กรมควบคุมโรค เผยสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ระบุตั้งแต่มกราคม-เมษายน ปีนี้ พบผู้ป่วยแล้วกว่า 15,240 ราย ใน 15  จังหวัด สั่งการเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ที่มีการระบาดของโรคให้เฝ้าระวังและให้ความรู้กับประชาชน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายซึ่งเป็นแหล่งพาหะนำโรค
       

       นพ.ม.ล.สมชาย จักรพันธุ์  อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า  สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคชิคุนกุนยา หรือโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ตั้งแต่มกราคม-เมษายน 2552 ได้รับรายงานพบผู้ป่วยแล้วกว่า 15,240 ราย ใน 15  จังหวัด ยังไม่พบผู้เสียชีวิต โดยพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น เนื่องจากยังมีรายงานผู้ป่วยรายใหม่อย่างต่อเนื่อง มีด้วยกัน 6 จังหวัด 30 อำเภอ ประกอบด้วย จ.สงขลา อ.สะเดา จะนะ สะบ้าย้อย  เทพา นาทวี หาดใหญ่ คลองหอยโข่ง ควนเนียง บางกล่ำ นาหม่อม รัตภูมิ จ.ปัตตานี อ.กะพ้อ สายบุรี ทุ่งยางแดง เมืองปัตตานี แม่ลาน หนองจิก ยะรัง จ.นราธิวาส อ.สุคิริน สุไหวปาดี รือเสาะ สุไหงโกลก ศีสาคร จ.ยะลา อ.เบตง เมืองยะลา กรงปินัง จ.ตรัง อ.ย่านตาขาว จ.พัทลุง อ.เมืองพัทลุง ป่าพะยอม และ ควนขนุน
       
       
“สธ.มีความพร้อมที่จะรับมือการระบาดของโรคชิคุนกุนยาในพื้นที่ภาคใต้ของประเทศไทยได้ โดยได้ติดตามสถานการณ์และเฝ้าระวังโรคมาโดยตลอด ปัญหาสำคัญในการทำงาน คือ การขาดแคลนบุคลากร โดยเฉพาะขณะนี้ มีการระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด เอ/เอช1เอ็น1 ทำให้เจ้าหน้าที่ต้องทำงานหลายอย่าง ในการควบคุมและป้องกันโรค อย่างไรก็ตาม ได้กำชับเจ้าหน้าที่ระดับปฏิบัติงานในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ที่มีการระบาดของโรคให้เฝ้าระวังและให้ความรู้กับประชาชน กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ซึ่งเป็นแหล่งพาหะนำโรค รวมไปถึงโรคไข้เลือดออก โดยเฉพาะขณะนี้กำลังเข้าสู่ฤดูฝนจำเป็นต้องมีการดำเนินการรณรงค์ป้องกันอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรค และเพื่อลดจำนวประชากรยุงที่จะแพร่โรคด้วย” นพ.ม.ล.สมชาย กล่าว
หมายเลขบันทึก: 261269เขียนเมื่อ 15 พฤษภาคม 2009 06:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 มิถุนายน 2012 06:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (37)

P 1. แก้ว..อุบล จ๋วงพานิช
สวัสดีคะพี่แก้ว ยังคาดการณ์ไม่ได้นะคะว่าจะเกิดที่ขอนแก่นไหม

ยุงลายป่าจะเป็นพาหะนะคะ โรคนี้เกิดปีที่แล้วที่ภาคใต้

ที่กรุงเทพ พบผู้ป่วยแล้วคะ ที่โรคนี้จะเกิดที่ภาคใต้ แต่อาจจะมีการนำเข้ามากับการเดินทางนะคะ

ให้มีการเฝ้าระวังและจับตาดูนะคะ

สวัสดีค่ะ

  • ขอขอบคุณน้องไก่ที่นำสาระดีมีประโยชน์
  • เปิดเรียนแล้วค่ะ
  • นักเรียนและครูจะได้เข้ามาใช้ประโยชน์ด้วยค่ะ

สวัสดีค่ะ

* อิอิ ครูพรรณา  ไปหวาดเสียวกับมันมาแล้วค่ะ  ช่วงที่หมดแรงนี่อันตรายมากค่ะ พ่อของน้องครูแอนถึงเมื่อเกิดอาการถึงกับประคองรถไม่อยู่ทำให้ล้ม.....ถ้าเริ่มมีอาการไม่ควรขับขี่ยานพาหนะ

* เมื่อคืนครูแอนโทร. มาตรวจสอบว่านำมาเป็นเจ้าสำนักที่บางลี่หรือเปล่า เพราะครอบครัวของครูแอนกลับมาเป็นซ้ำอีกกันหลายคน

        

* เป็นกำลังใจให้ค่ะ สุขกายสุขใจนะคะ

สวัสดีครับพี่ประกาย

ขอบพระคุณพี่มากๆเลยครับที่นำข่าวดีดีมาบอกกัน อยากจะบอกว่าเดย์เพิ่งรู้วันนี้นี่เองครับว่าโรคนี้กำลังระบาด จ๊ากซ์ ตกข่าวจ๊า ^_^

จะระวังช่วยกันนะครับ

P 3. ครูคิม
สวัสดีคะพี่คิม

  • เปิดเรียนแล้ว
  • ไก่วางแผนว่าจะนำเรื่องราวโรคติดต่อ แต่ละโรคที่เป็นประโยชน์กับครูและนักเรียนมาเล่าให้ฟังนะคะถึงการทำงาน การป้องกัน การดูแล นะคะ จากประสบการณ์ที่สั่งสมมา ตลอดระยะเวลา 3 ปี ที่งานเกี่ยวกับการป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ
  • ไก่ อนุญาตให้นำไปใช้ประโยชน์ในโรงเรียนและเผยแพร่ต่อได้นะคะ 
  • เป็นพระคุณมาก ๆ ขอบคุณพี่คิมล่วงหน้านะคะที่จะช่วยเผยแพร่ร่วมด้วยช่วยกันคะ ให้ลูกหลานปลอดภัยจากโรค มีสุขภาพดี แข็งแรง

P 4. นาง พรรณา ผิวเผือก (ไม่มีชื่อกลาง)
สวัสดีคะครูพรรณา

ที่บ้านครูแอนมีคนป่วย ประสบการณ์ตรงเลยนะคะ เป็นแล้วทรมานนะคะ จะปวดข้อ มาก ๆ ขยับไม่ได้เลย

ขอให้พ่อครูแอนหายป่วยเร็ว ๆนะคะ

ไก่หวังว่าครูพรรณาและครอบครัว คงไม่นำเข้ามานะคะ

P 5. adayday
สวัสดีคะน้องaday day

เรื่องการระบาดของโรคนี้ ปีที่แล้วก็เกิดขึ้นคะ แต่ไม่ดังเท่าไหร่ กระแสการเมืองดังกว่า

แต่ปีนี้ ข่าวต่าง ๆเกี่ยวกับภาวะสุขภาพจะมาเร็วคะ ไม่ปิดบัง มีการเปิดเผยให้ประชาชนได้รับทราบและหาทางป้องกันช่วยกันคะ

อย่าลืมคว่ำ กระโหลกกะลา ขันน้ำ หรือภาชนะที่มีน้ำขัง เทน้ำเก่าทิ้ง ตรวจสอบลูกน้ำยุงลายนะคะ ที่บ้านพี่ประกาย ปฏิบัติทุกวันเสาร์

สวัสดีค่ะพี่ไก่

เชื่อมะคะ  พอโรคนี้ออกมา  นึกอยู่ในใจว่าเดี๋ยวต้องได้อ่านจากพี่ไก่  และก็เป็นจริงด้วยหล่ะ  ขอบคุณค่ะ

มาทักทาย

  • สวัสดีครับ
  • โรคมากเหลือเกิน สาเหตุมาจากการพัฒนาที่เร็วเกินไปหรือไม่
  • พอประกายบอกอาการมาผมชักเมื่อยๆซะแล้ว
  • แต่เกิด แก่ เจ็บ ตาย คือการปกติครับ
อัมรา วิกฤต รุ่น 5 มข.

สวัสดีค่ะ พี่ไก่

   ขอบคุณมากค่ะที่นำเรื่องนี้มานำเสนอให้น้องๆได้อ่าน  คิดว่าจะมาถึงบ้านเรามั๊ยคะ เราจะเตรียมรับกับโรคนี้หรือไม่ นอกจากไข้เลือดออกแล้วยังมี ไข้หวัดสายพันธ์ใหม่ 2009,ไข้Measle อีกและยังไข้ชิคุนกุนยา อีกนะเนี่ย 

ขอบคุณมาก  ที่AEก็สงสัยอยู่รายหนึ่งเป็นทหารกลับจากใต้แล้วมีไข้ปวดเมื่อยตามตัว แต่ช่วยเหลือตัวเองได้ดี ตรวจแล้วAdvice การดูแลตนเองต่อที่บ้านค่ะ  จะถือว่าเริ่มระบาดบ้านเราหรือเปล่าคะ

เพิ่มเติมข้อมูลจากข่าวนะคะ คุณชาลี พิทักษ์ ค้นหามาให้ ช่วยกันทำมาหากิน ช่วยกันลดความเหลื่อมล้ำทางความรู้

“ชิคุนกุนยา” ไข้ปวดข้อยุงลาย โรคร้ายฤดูฝนของคนใต้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 15 พฤษภาคม 2552 07:52 น.
       โรคชิคุนกุนยา(Chikungunya) ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้ ฟังดูเหมือนเป็นโรคใหม่ ด้วยชื่อเรียกที่แปลกหู แต่แท้จริงแล้วเป็นโรคเก่าที่กลับมาระบาดใหม่ และมีชื่อเรียกที่ชาวบ้านคุ้นเคยว่า โรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือ โรคไข้ญี่ปุ่น โดยมียุงลายเป็นพาหะนำโรคเหมือนกับโรคไข้เลือดออก แต่เป็นเชื้อไวรัสคนละตัวกัน ซึ่งขณะนี้เกิดการแพร่ระบาดอย่างหนักในภาคใต้ของไทย โดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มักมีการระบาดมากสถานการณ์จึงถือว่าน่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง
       
       สำหรับสถานการณ์ล่าสุด สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รายงานตั้งแต่ม.ค.-เม.ย.2552 ได้รับรายงานพบผู้ป่วยแล้วกว่า 15,244 ราย ใน 15  จังหวัด แต่ยังไม่พบผู้เสียชีวิต โดยพื้นที่ที่ต้องเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น เนื่องจากยังมีรายงานผู้ป่วยรายใหม่อย่างต่อเนื่องใน 30 อำเภอ 6 จังหวัด ได้แก่ สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และ พัทลุง

ลักษณะของยุงลายบ้าน พาหะโรคไข้เลือดออก
       ** ยุงลายสวนวายร้ายพาหะนำโรค
       ดร.นพ.สุวิทย์ ธรรมเปาโล ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันและควบคุมโรคที่ 12 สงขลา บอกถึงที่มาที่ไปของโรคนี้ว่า โรคชิคุนกุนยา หรือ โรคไข้ปวดข้อยุงลาย มีรายงานพบการระบาดครั้งแรกในไทยเมื่อปี 2501 ที่กรุงเทพฯ จากนั้นประมาณ 10 ปี ก็หายไปและพบมีการระบาดอีกในปี 2519 โดยมีการพบการระบาดเป็นช่วงๆ ในปี 2531 ปี 2534 ปี 2536 ปี 2538 และล่าสุด เมื่อเดือน ก.ย.2551 ก็เริ่มมีการระบาดที่ จ.นราธิวาส และปัตตานี ซึ่งเมื่อเกิดการระบาดขึ้น กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้ส่งทีมเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบพื้นที่ควบคุมโรคทันที พร้อมทั้งเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในภาคใต้ ซึ่งถือเป็นพื้นที่ที่ต้องจับตาเฝ้าระวังเป็นพิเศษ เพื่อป้องกันไม่ให้แพร่กระจายไปยังภูมิภาคอื่นๆ
        
       สำหรับสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้เป็นสายพันธุ์อัฟริกัน ซึ่งเกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเมื่อยุงลายตัวเมียกัดและดูดเลือดผู้ป่วยที่อยู่ในระยะไข้ในระยะที่มีไวรัสอยู่ในกระแสเลือดมาก แล้วไปกัดคนอื่นก็จะปล่อยเชื้อไปยังคนที่ถูกกัด ทำให้คนนั้นเกิดอาการของโรคได้ แต่ในช่วงที่มีการระบาดแรกๆ แพทย์ยังไม่สามารถวินิจฉัยอาการของโรคได้ อาจมีอาการข้างเคียงคล้ายกัน เช่น ไข้เลือดออก หัดเยอรมัน อีกทั้งยังไม่เป็นที่รู้จักและเข้าใจ และยังควบคุมได้ยาก แต่ขณะนี้ควบคุมได้ดีขึ้นโดยกระตุ้นให้ประชาชนในพื้นที่ทำความสะอาดบ้าน ลดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย โดยเฉพาะในสวน เช่น บางพื้นที่ที่มีการปลูกสับปะรดก็จะต้องตรวจดูบริเวณกาบใบ หรือในสวนยางพาราที่อาจมีแอ่งน้ำขัง เป็นต้น

ยุงลายสวน พาหะโรคชิคุนกุนยา
       นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบายให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างยุงลายสวนกับยุงลายบ้านว่า ยุงลายสวนแตกต่างจากยุงลายบ้าน โดยยุงลายสวนจะแอบซ่อนตัวอยู่ในสวนยางซึ่งในภาคใต้แต่ละบ้านจะมีสวนยางอยู่ใกล้ๆ บ้านอยู่แล้ว แถมยังออกหากินไกลกว่ายุงบ้าน ประกอบกับภาคใต้ที่มีฝนตกตลอด เรียกว่า ฝน 8 แดด 4 ทำให้เกิดน้ำขังได้ง่าย ทำให้ดูแลควบคุมได้ยาก ไม่สามารถกำจัดได้ครบถ้วน 100% เหมือนยุงลายบ้านที่มีบริเวณพื้นที่จำกัดมากกว่า
       
       นพ.ไพจิตร์ บอกอีกว่า การป้องกันสำหรับการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่นๆ นั้น ขณะนี้มีการเฝ้าระวังตำรวจ ทหาร หรือนักเรียน ที่อาจมีการเดินทางไปมากลับบ้าน ซึ่ง สธ.ได้ทำหนังสือกำชับไปยังสาธารณสุขจังหวัดต่างๆ รวมถึงกองทัพให้ระมัดระวังดูแลโรคดังกล่าว แม้ว่าในเชิงวิชาการโอกาสความเป็นไปได้มีไม่มากที่จะมีการระบาดในภูมิภาคอื่นๆ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน เช่น ภาคกลาง หากมีการทำสวนจะมีการขุดร่องน้ำและนำมีการไหลเวียนอย่างชัดเจน

นางยุวเรศ ศรีช่วย ชาวบ้านตำบลคู อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา
       ** ปวดข้อสุดทรมาน...
       สำหรับอาการของโรคนี้ นพ.ไพจิตร์ อธิบายว่า อาการของโรคชิคุนกุนยาและโรคไข้เลือดออกจะมีไข้เหมือนกัน แต่โรคชิคุนกุนยาจะมีอาการไข้ขึ้นสูงร่วมกับมีผื่นแดง ปวดบวมตามข้อ ส่วนใหญ่แล้วถ้าในเด็กจะมีอาการไม่รุนแรงเท่าในผู้ใหญ่ โดยอาการปวดข้อจะเกิดขึ้นที่บริเวณข้อมือ ข้อเท้า อาการปวดข้อจะพบได้หลายๆ ข้อเปลี่ยนตำแหน่งไปเรื่อยๆ อาการจะรุนแรงมากจนบางครั้งขยับข้อไม่ได้ หรือไม่สามารถเดินได้ แต่จะหายได้เองภายใน 1-12 สัปดาห์ บางรายอาจมีอาการปวดข้อเกิดขึ้นได้อีกภายใน 2-3 สัปดาห์ต่อมา ขณะที่บางรายอาการปวดข้อจะอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือเป็นปี
        
       อย่างไรก็ตาม จนถึงขณะนี้ ยังไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงถึงช็อก หรือเสียชีวิต ทั้งนี้สามารถพบผู้ป่วยได้ทุกกลุ่มอายุ ซึ่งต่างจากโรคไข้เลือดออกที่มักพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่
       
       ฟังดูแล้วโรคนี้อาจไม่ค่อยรุนแรงเท่ากับโรคไข้เลือดออก เพราะไม่ทำให้ถึงกับเสียชีวิต แต่หากใครเป็นโรคนี้ถือว่า ต้องทรมานสุดๆ เพราะอาการปวดข้อโดยเฉพาะบางรายมีอาการปวดรุนแรง หรือปวดข้อเรื้อรังเป็นปีๆ ไม่หาย ที่สำคัญกลายเป็นอุปสรรคในการใช้ชีวิต เพราะไม่สามารถไปทำงานได้

นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง
       ยุวเรศ ศรีช่วย วัย 28 ปี ชาวบ้าน ต.คู อ.จะนะ จ.สงขลา ผู้ป่วยโรคชิคุนกุนยา เล่าให้ฟังว่า ตอนแรกคนในครอบครัวเป็นแค่คนเดียวก่อน จากนั้นจึงค่อยๆ เป็นกันทั้งบ้าน 4 คน โดยคนในหมู่บ้านส่วนใหญ่ก็เป็นโรคนี้ ซึ่งจะมีอาการเป็นไข้ ปวดศีรษะมาก คลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย พอตอนกลางคืนจะรู้สึกหนาวและปวดข้อรุนแรงแบบเจ็บเข้าไปในกระดูก 2-3 วัน ต่อมาจึงเริ่มเกิดผื่นบริเวณลำตัวและแขนขามือและมีอาการคัน ซึ่งพอรู้ตัวว่าเป็นก็รีบไปหาหมอซึ่งหมอก็ให้ยาลดไข้ รวมถึงยาแก้ปวด ซึ่งเป็นโรคนี้กว่า 1 สัปดาห์แล้วยังไม่หาย ขณะที่ลูกๆ ตอนนี้หายป่วยทั้งหมดแล้ว
       
       “ที่สำคัญ นอกจากจะเจ็บปวดทรมานแล้ว ยังทำให้ไปทำงานกรีดยางไม่ได้ ครอบครัวสูญเสียรายได้ ถ้าเป็นกันทุกคนก็จะยิ่งลำบากมากขึ้น”ยุวเรศบอกด้วยสีหน้ากังวลในขณะที่ตามแขนขายังมีร่องรอยของผื่นแดง
       
       ส่วนสาเหตุที่ช่วงนี้พบผู้ป่วยจำนวนมากนั้น นพ.วิชัย สติมัย ผู้อำนวยการสำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค บอกว่า ช่วงนี้มีการพบผู้ป่วยมากขึ้นอาจเป็นเพราะมีการประชาสัมพันธ์ เฝ้าระวังโรคอย่างต่อเนื่องเข้มงวดมากขึ้น ซึ่งโรคนี้มีความน่าเป็นห่วงหลังจากพบว่า ในจำนวนผู้ที่เป็นโรคนี้ 20-30% จะมีอาการปวดข้อนานเป็นปีๆ ซึ่งทรมานมาก โดยขณะนี้ยังไม่มีทั้งวัคซีนและยามารักษา แพทย์ต้องให้การรักษาตามอาการไปเรื่อยๆ เท่านั้น เช่น ถ้ามีไข้สูง ก็ให้ยาลดไข้ หรือลดอาการปวดข้อ แต่ห้ามกินยาแอสไพรินลดไข้เป็นอันขาด เพราะจะทำให้เกิดเลือดออกได้ง่ายขึ้น

พ่นหมอกควันกำจัดยุงลายพาหะโรคชิคุนกุนยา
       ** ภูมิปัญญาชาวบ้าน...ปูนขาวกันยุง
       สำหรับวิธีการป้องกันที่สำคัญอย่างหนึ่ง นอกจากการคว่ำจาน ขัน กะละมัง หม้อ คือ การปกป้องตัวเองจายุงร้ายโดยพยายามไม่ให้ยุงกัด ถ้านอนกลางวันก็ต้องนอนในมุง ถ้าต้องออกไปสวนตอนกลางวันก็ต้องทายากันยุงด้วย
       
       โสภิตา ซุ้นสั่น อายุ 25 ปี อาสาสมัครประจำหมู่บ้าน (อสม.) และกลุ่ม อสม.ต.นาโยงใต้ อ.เมือง จ.ตรัง ได้คิดค้นใช้ปูนขาวทากันยุง ซึ่งเดิมปูนขาวถือเป็นสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของต.นาโยงใต้อยู่แล้ว เป็นภูมิปัญญาดั้งเดิม มีการนำปูนขาวมาใช้ในการป้องกันยุงและใช้แต้มบริเวณที่ยุงกัด โดยได้ทำการทดลองทาน้ำปูนขาวที่แขนแล้วเข้าไปในสวนยางเปรียบเทียบกับแขนข้างที่ไม่ได้ทา พบว่า ยุงไม่กัดแขนข้างที่ทาน้ำปูนขาวเลย ซึ่งมีการทดลองซ้ำหลายครั้งจนแน่ใจประสิทธิภาพ สำหรับสูตรที่คิดค้นขึ้นใหม่นั้น มีส่วนประกอบคือ ปูนขาว น้ำและตะไคร้หอม ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมที่ชุมชนที่สนใจสามารถผลิตได้เองอย่างง่ายๆ ไม่ใส่วัตถุกันเสียทำให้ทำครั้งหนึ่งสามารถใช้ได้นาน 10 วัน
       
       “หากองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ผู้นำชุมชุน ผู้ใหญ่บ้านให้ความสำคัญ ให้งบประมาณสนับสนุนในการจัดทำโครงการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง การจัดซื้อเคมีภัณฑ์ การพ่นหมอกควันซึ่งเป็นความร่วมไม้ร่วมมือที่มาจากทุกส่วนของหมู่บ้าน ก็คงไม่สามารถทำให้หมู่บ้านของเราเป็นหมู่บ้านที่ปลอดจากยุงลายซึ่งเป็นสาเหตุของทั้งโรคไข้เลือดออก ต่อเนื่องกันถึง8 ปีได้ รวมถึงโรคใหม่อย่างโรคชิคุนกุนยาก็ไม่สามารถเข้ามาทำร้ายคนในชุมชนได้”โสภิตา ทิ้งท้าย

สวัสดีค่ะพี่ประกาย

มาอ่านความรู้ค่ะ .. และชื่นชมอสม. แถวนาโยงนะคะ

ภูมิปัญญาชาวบ้าน แค่เปิดโอกาส เค้าก็เกิดความภาคภูมิ

พี่ประกายสบายดีนะคะ ว่างๆ จะไปเก็บผักริมรั้วบ้านพี่ประกายค่ะ

ครับผ๊ม พี่ประกาย รับทราบและรับไปปฏิบัติครับพี่ ^_^

โฮ่ะๆๆๆ กลัวยุงโมเดลทั้งหลายจัง คงไม่ใช่เท่าขนาดจริงใช่มั้ยครับ 555

มีอาการคล้ายกับที่ลูกชายผมเป็นอยู่คือวันดีคืนดีก็จะมีอาการอักเสบได้ทุกที่นอกจากตามข้อซึ่งเป็นอาการปวดที่สุดแสนจะทรมานถึงขั้นขอร้องให้ตัดทิ้ง รวมทั้งที่ตาด้วย  เป็นครั้งแรกเมื่อ6-7 ปีที่แล้ว คุณหมอที่ศิริราชรักษาหาย แต่เชื้อยังอยู่ คุณหมอแนะนำให้รักษาตามอาการตอนนั้นไม่ได้ให้ความสนใจชื่อของโรคเลยไม่ทราบว่าเป็นโรคอะไรแน่   จะต้องติดตามอ่านต่อไปว่าโรคเดียวกับของลูกชายหรือเปล่า ผมไม่รู้ชื่อโรคแต่ตอนไปตรวจที่ศิริราชคุณหมอถามว่าเคยไปเที่ยวป่ามาหรือเปล่าแล้วก็ว่าพวกหมอเป็นกันแยะ  ขอบพระคุณเรื่องดีดีมาประโยชน์  ขอให้โชคดีครับ

Img_2628

P 13. poo
สวัสดีคะคุณปู

ขอบคุณนะคะ เคยใช้ปูนแดงทาผิวเวลายุงกัดเหมือนกันคะ แผลหายเร็วดี

ตอนนี้ที่บ้านบวบกำลังเกิดคะ  ดอกแค คะที่มีมากหลายต้น เชิญนะคะ

P 9. KRUPOM
สวัสดีคะครูป้อม

ทายถูกเลยใช่ไหมคะ

แบบนี้ต้องรออ่านจากพี่ประกาย นะคะ

จะทำบันทึกไว้ให้ครูและนักเรียนได้อ่าน คะ

สวัสดีค่ะพี่ประกาย

กอว่าจะเขียนบันทึกถึงโรคนี้อยู่พอดี

แต่ไม่ค่อยมีความรู้

เพื่อนโทรมาจากจังหวัดสงขลา

บอกว่าตอนนี้ที่จังหวัดสงขลาระบาดเยอะมาก

ตอนนี้ที่สตูล มีคนไข้ทั้งหมด 63 รายค่ะ

แต่ทราบข่าวว่าที่สงขลาเป็น 1000 คน ไม่รุ้ว่ากอจำผิดมั้ยน่ะค่ะ

P 10. เบดูอิน
สวัสดีคะท่านเบดูอิน

  • กลับบ้านมาจากใต้หรือเปล่าคะ ถ้าเพิ่งกลับมามีอาการไข้ ปวดตามข้อ สงสัยไว้ก่อนคะ ไปตรวจนะคะ

ไม่มีรูป 11. อัมรา วิกฤต รุ่น 5 มข. 

  • สวัสดีคะ น้องอัมรา ช่วยบอกรายละเอียดของผู้ป่วย ส่งใบบันทึกมาให้ด้วยนะ ชื่อ เลขที่โรงพยาบาล พี่จะได้แจ้ง case ให้สสจ.ได้ติดตามต่อ  เฝ้าระวังต่อไป

P 15. นายประจักษ์~natadee
 สวัสดีคะ ทานผอ.

เสียดายนะคะที่จำชื่อโรคไม่ได้ อาการโรคนี้ จะทรมานนะคะ แลเกิดได้เร็วจากที่ยุงเป็นพาหะ ต้องตัดวงจรของยุง ไม่ให้แพร่เชื้อได้

P 18. กอก้าน>>>ก้านกอ
สวัสดีคะน้องกอ

ถ้าระบาดเป็นพันรายที่สงขลา พี่ยังไม่ทราบข่าวนะคะ ต้องตรวจสอบก่อนนะคะ

สวัสดีค่ะ

 วันนี้ไปสอนศูนย์รัตนาภา ก็ได้สอนโรคต่างในเด็ก

และแถมด้วย ไข้หวัดสายพันธุ์ใหม่

 ขอบคุณที่พี่ไก่ไห้ข้อมูลเรื่องโรคและยังได้อ่านจากท่านอื่นๆด้วย

 

P 23. แดง
 
สวัสดีคะน้องแดง

พี่ไก่ดีใจนะคะข้อมูลพี่มีประโยชน์กับน้อง ลดความความเหลื่อมล้ำทางความรู้ ทุกคนสามารถใช้ข้อมูลทีเป็นประโยชน์ได้ร่วมกัน  ผอ.อนุมัติการเดินทางไปราชการพี่แล้วนะคะ และได้ค่าเดินทางแล้วนะคะ

อีกแล้วหรอค่ะพี่ประกาย

 P 25. แบ่งปัน
สวัสดีคะน้องสาวที่น่ารัก

มีอีกโรคคะ ที่เคยเกิดในไทยแล้วคะ แต่ตอนนี้เกิดอีกครั้ง ช่วยกันป้องกันคะ ยุงลายป่า เป็นพาหะ คะ

ขอบคุณครับ

ทางใต้ไม่กลัวไข้หวัด 2009 ครับแต่กลัวโรคชิคุณกุนยาครับ

กำลังระบาดหนัก ตำรวจเป็นแล้วหลายคนผมยังกลัวเป็นครับ

รักประเทศไทย ตำรวจเป็นมิตรใกล้ชิดประชาชน

พี่ไก่ค่ะ..เมื่อวานมีคนเขาบอกว่า น้ำมันมะพร้าว..ทากันยุงได้ด้วยค่ะ..

จะลองดูสักหน่อยมั๊ยค่ะ..

P 27. พ.ต.อ.ชาญเดช
สวัสดีคะท่านชาญเดช

ตำรวจป่วยเป็นชิคุนกุนยา หลายคนบอกว่าโรคนี้น่ากลัวกว่า ทรมานด้วย ตอนนี้กำลังศึกษารายละเอียดของโรคนี้อยู่นะคะ

 ไม่อยากให้มีการระบาดเลยคะ โรคที่มีแมลงเป็นพาหะ การควบคุมจะยากนะคะ วงจรชีวิตแมลงสั้น และแพร่พันธ์ได้เร็วมาก ๆ

ขอให้ท่านปลอดภัยจากโรคร้ายนะคะ อย่าให้ยุงกัด

P 28. คุณลดา
สวัสดีคะน้องลดา

  • ลองดูนะคะว่าน้ำมันมะพร้าวจะกันยุงได้ ปกติทางใต้จะใช้น้ำมนมะพร้าวบำรุงผิวและทาผม ตกลงว่าได้โทรคุยกับท่านแล้วเป็นอย่างไรบ้างคะ

สวัสดีค่ะ

- ถ้าหากยุงลายป่า ภาคใต้ ขึ้นเครื่องมาลงเครื่อง ฯ ที่ขอนแก่น จะเกิดอะไรขึ้นนะค่ะ 555

P 31. เพชรน้อย
สวัสดีคะน้องเพชรน้อย

  • พวกพี่พากันถามอยู่นะคะว่ายุงขึ้นเครื่องบินติดกระเป๋า
  • หรือติดตัวคนเดินทางมาจากภาคใต้ จะเกิดอะไรขึ้น ถ้ายุงตัวนั้นมีเชื้อโรคคิชุนกุนยาอยู่ แล้วไปกัดใครสักคนเข้า โอกาสป่วยมีไหม โอกาสน่าจะมีนะคะ ถ้าร่างกายของคนนั้นไม่แข็งแรงพอ พี่ขอสอบถามผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งนะคะ
  • ตอนนี้คือเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางมาจากภาคใต้ ว่ามีอาการป่วยหรือไม่
  • คำถามนี้น่าคิดนะคะ และต้องหาคำตอบช่วยกัน ผู้เชี่ยวชาญใครทราบและยืนยันได้ ช่วยตอบทีคะ

 

ลองอ่านทบทวนอีกครั้งนะคะจะผู้เชี่ยวชาญ

นพ.ไพจิตร์ วราชิต รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบายให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างยุงลายสวนกับยุงลายบ้านว่า ยุงลายสวนแตกต่างจากยุงลายบ้าน โดยยุงลายสวนจะแอบซ่อนตัวอยู่ในสวนยางซึ่งในภาคใต้แต่ละบ้านจะมีสวนยางอยู่ใกล้ๆ บ้านอยู่แล้ว แถมยังออกหากินไกลกว่ายุงบ้าน ประกอบกับภาคใต้ที่มีฝนตกตลอด เรียกว่า ฝน 8 แดด 4 ทำให้เกิดน้ำขังได้ง่าย ทำให้ดูแลควบคุมได้ยาก ไม่สามารถกำจัดได้ครบถ้วน 100% เหมือนยุงลายบ้านที่มีบริเวณพื้นที่จำกัดมากกว่า

นพ.ไพจิตร์ บอกอีกว่า การป้องกันสำหรับการแพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่นๆ นั้น ขณะนี้มีการเฝ้าระวังตำรวจ ทหาร หรือนักเรียน ที่อาจมีการเดินทางไปมากลับบ้าน ซึ่ง สธ.ได้ทำหนังสือกำชับไปยังสาธารณสุขจังหวัดต่างๆ รวมถึงกองทัพให้ระมัดระวังดูแลโรคดังกล่าว แม้ว่าในเชิงวิชาการโอกาสความเป็นไปได้มีไม่มากที่จะมีการระบาดในภูมิภาคอื่นๆ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศในแต่ละภูมิภาคมีความแตกต่างกัน เช่น ภาคกลาง หากมีการทำสวนจะมีการขุดร่องน้ำและนำมีการไหลเวียนอย่างชัดเจน

ขอบคุณพี่ไก่ค่ะ...เราคงต้องศึกษาและเฝ้าระวังเช่นกันนะคะพี่..เพราะเคยมีอุบัติการณ์เกิดขึ้นกับน้องพยาบาลของเราคนนึง...แทบเอาชีวิตไม่รอดเชียวค่ะ....

สวัสดีคะ พี่ไก่...

งานเข้าบ่อยจังค่ะ อิอิ

มีรพ.ทางใต้พัฒนาเรื่องนี้ค่ะ พอลล่าเคยเล่าไว้ค่ะ

คิดถึงๆๆๆ ค่ะ

P 34. nussa-udon
สวัสดีคะน้องนุช

พี่ยังตาม case ตำรวจที่มาจากใต้ยังไม่ได้

คือว่ายังไม่ได้ไปดูทะเบียน ถ้าไม่ดีขึ้นท่านคงมาตรวจอีก

พี่ก็อยากเห็นลักษณะ อาการของผู้ป่วยอยู่นะคะ แต่ไม่ขอให้มีที่ขอนแก่น

พี่จะไปสงขลา อยู่ คงจะได้มีโอกาสสัมภาษณ์หรือเห็นผู้ป่วย

P 35. ♥paula ♥ที่ปรึกษาตัวน้อย✿
สวัสดีคะน้องพอลล่า

  • ไม่คุ้นภาพใหม่ แก้มโตดี พี่ไก่เริ่มเสียดายแก้มพี่ไก่แล้วคะ หายไปหมดคะ หน้าเล็กลงมาก เมื่อเช้าถ่ายภาพไว้ จะนำมาให้ดูอีกที จะตามย้อนรอยไปอ่านนะคะ งานเข้าคะ มีcase ให้เฝ้าระวังไข้หวัด อยู่นะคะตอนนี้ มีบุคลากรไปประเทศกลุ่มเสี่ยง ต่อไปก้ต้องดุว่าใครไปใต้มาบ้าง
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท