องค์ความรู้ กับวงการห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ


การศึกษากับแหล่งค้นคว้า ต้องไปด้วยกัน
ห้องสมุดเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่สำคัญสำหรับสถาบันการศึกษา ซึ่งจำเป็นต้องมีทรัพยากรเพรียบพร้อมสำหรับให้บริการแก่ผู้ใช้ ทั้งทรัพยากรตัวเล่ม เครื่องมืออุปกรณ์เทคโนโลยี คอมพิวเตอร์และเครื่องมือช่วยในการค้นคว้า เช่น ระบบฐานข้อมูลสืบค้นต่างๆ

การมีเครื่องมือช่วยในการค้นคว้า เพื่อช่วยเหลือผู้ใช้มากเท่าไร ยิ่งทำให้ผู้ใช้มีทางเลือกในการใช้งานมากขึ้นเท่านั้น แต่อย่างไรก็ตาม วงการห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ ยังประสบปัญหา Software เฉพาะและฐานข้อมูลสำหรับใช้งานในห้องสมุดมีราคาแพง ยิ่งเป็น software ที่ซื้อจากต่างประเทศ ยิ่งทำให้เราเสียดุลต่างชาติไม่ได้น้อย

ที่จริงแล้วผู้ปฏิบัติงานห้องสมุด ทั้งผู้บริหาร บรรณารักษ์วิชาชีพ นักสารสนเทศและนักวิชาการที่ทำงานร่วมกับห้องสมุด ไม่ได้ต้องการใช้ software ราคาแพง เพียงแต่ผู้ผลิต พัฒนาและจำหน่ายภายในประเทศมีน้อยมากๆ ส่วนใหญ่มักเป็นบริษัทตัวแทนจากต่างประเทศแทบทั้งสิ้น ...

เราอยากส่งเสริมให้คนไทย นักวิชาการไทยพัฒนา software มาใช้เองได้ แต่ที่ผ่านมาพบว่าไม่มีหน่วยงานระดับสูงสนใจให้การสนับสนุน จึงเป็นเหตุผลหนึ่งที่คนทำงานวงการเดียวกันได้รวมตัวกันเป็น " คณะทำงานความร่วมมือระหว่างห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษา " เพื่อเป็นช่องทางในการพูดคุย ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และร่วมมือกันทำงานเพื่อช่วยเหลือตนเอง มานับสิบปี

และ 2-3 ปีที่ผ่านมา เพิ่งจะเริ่มมีสัญญาณที่ดีสำหรับการมี " เจ้าภาพ " หรือมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยตรงเริ่มสนใจให้การสนับสนุนการประชุมความร่วมมือระหว่างห้องสมุด การเริ่มมีเครือข่ายพัฒนาระบบห้องสมุดแห่งประเทศไทยหรือ ThaiLIS ( Thai Library Information System )  เพื่อร่วมมือการในการ share resource หน่วยงานที่ว่าก็คือ สกอ โดยในเบื้องต้นเริ่มจากการบอกรับฐานข้อมูลที่สำคัญสำหรับให้บริการและใช้งานร่วมกันทุกสถาบัน ( ตย เช่น Science Direct เป็นต้น) มาจนถึงฐานข้อมูล E-BOOK และโครงการล่าสุดที่ยังไม่ทราบว่าดำเนินไปถึงขั้นไหน ก็คือ การพํฒนาซอฟต์แวร์ระบบห้องสมุดอัตโนมัติแห่งประเทศไทย เพื่อให้คนไทยด้วยกันเองใช้

ตัวอย่างของการช่วยเหลือตนเองที่ดี และเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างองค์ความรู้มากกว่าการซื้อ ก็คือการที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ได้ตั้งทีมพัฒนาi ระบบห้องสมุดอัตโนมัติ PSU เพื่อนำมาใช้ในงานห้องสมุด ทำให้ลดค่าใช้จ่ายในการเสียค่าบำรุงรักษาระบบแพงๆให้กับซอฟต์แวร์ต่างชาติ

ถึงแม้ระบบที่พัฒนาเอง อาจยังไม่สมบูรณ์พร้อม และมียังข้อบกพร่องอยู่บ้างย่อมเป็นเรื่องธรรมดา เชื่อว่าต่อไปคงมีการพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้นเรื่อยๆ และทราบข่าวมาว่าสกอ อาจเริ่มทดลองนำระบบห้องสมุดอัตโนมัติของมอ. มาให้ใช้ในกลุ่มห้องสมุดสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งทีมผู้ปฏิบัติงานตามห้องสมุดต่างๆ ทั้งนักคอมพิวเตอร์ บรรณารักษ์ และเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานคงจะต้องเตรียมรับกับการเปลี่ยนแปลงระบบใหม่ ทั้งการใช้งานคู่ขนาน 2 ระบบ และการถ่ายโอนข้อมูลไปยังระบบใหม่ ในระยะยาวต่อไป

จากการดำเนินงานของห้องสมุดในอดีตที่ผ่านมา ถึงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า " ห้องสมุด เป็นหน่วยงานที่พบกับการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมาก " มหาวิทยาลัยมีการขยายตัวทั้งจำนวนนิสิต และหลักสูตรมากเท่าไร ห้องสมุดก็ควรได้รับการพัฒนามากขึ้นตามไปด้วย แต่หากห้องสมุดถูกมองข้าม โดยมองเป็นเพียง " ห้องเก็บหนังสือ " คนทำงานเป็นเพียง " คนเฝ้าหนังสือ " และผู้บริหารเป็นใครก็ได้ นั้น.. มหาวิทยาลัยคงจะพัฒนาให้ก้าวหน้าเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำไม่ได้แน่นอน

ดิฉันฝาก website ของ UNESCO สำหรับนักพัฒนา นักวิจัยและโปรแกรมเมอร์ เผื่อสนใจพัฒนาฐานข้อมูลสืบค้นที่ใช้ในงานสารนิเทศ กรณี ตยจาก CDS/ISIS ซึ่งเป็นโปรแกรมจัดเก็บและค้นคืน free software สามารถนำ source code ไปพัฒนาต่อได้ ซึ่งปัจจุบันมีโปรแกรมแตกหน่อไปจาก CDS/ISIS มากมายแล้วค่ะ

หมายเลขบันทึก: 26074เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2006 16:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 เมษายน 2012 20:04 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์
  • ขอขอบคุณอาจารย์ศศิธร.... moonlight                              
  • บันทึกของอาจารย์ให้ข้อคิดดี และมีช่องทาง (ลิ้งค์) ให้ศึกษา ค้นคว้าเพิ่มเติมได้
  • ถ้าร่วมกันพัฒนา software อย่างที่อาจารย์เสนอแนะได้ น่าจะประหยัด และมีประโยชน์มาก

ดิฉันเห็นด้วยกับความเห็นของคุณศศิธร  ในฐานะทีเป็นบรรณารักษ์คนหนึ่งที่ทำงานอยู่ในห้องสมุดมานาน  มองเห็นว่าห้องสมุดเป็นหน่วยงานที่ต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด  โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีสารสนเทศ  และเป็นความเปลี่ยนแปลงที่ต้องอาศัยเงินงบประมาณในการสนับสนุนให้การปฏิบัติงานของบรรณารักษ์สามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทันความเปลี่ยนแปลงของไอที  ซึ่งต้องอาศัยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลของผู้บริหาร  แต่หากว่าผู้บริหารมองไม่เห็นความสำคัญตรงนี้  ห้องสมุดก็จะเป็นได้แค่ที่เก็บหนังสือ  และบรรณารักษ์ก็เป็นคนเฝ้าหนังสือเหมือนเดิม  และจะส่งผลไปต่อความก้าวหน้าของมหาวิทยาลัยในที่สุด

อยากเห็นบทความแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของอ. remember ค่ะ ดิฉันเดาไม่น่าผิดว่า เป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่วงการห้องสมุดน่าจะมีโอกาสได้รับความรู้ ข้อคิดเห็น มุมมองดีๆ จากอาจารย์นะคะ คนแถวๆ ม.ช. คงสบายดีนะคะ

รอด้วยความหวังค่ะ ^_*

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท