ระบบสารสนเทศเพื่อการนิเทศ


ยุคของข้อมูลข่าวสาร (Information Age) เป็นยุคที่มีความรวดเร็วในการสื่อสาร ผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการเข้าถึง เลือกใช้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพ

       ปัจจัยพื้นฐานที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้การบริหารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพคือ "ระบบสารสนเทศ" (information System : IS) เมื่อนำมาใช้กับการศึกษาเรียกว่า ระบบสารสนเทศทางการศึกษาเพื่อการบริหาร (Educational Management Information System : EMIS) แด่เดิมถือว่าระบบสารสนเทศมีลักษณะป็นสัญลักษณ์หรือสัญญาณที่เจ้าหน้าที่หรือองค์กรได้จัดให้มีขึ้น กล่าวคือองค์การส่วนใหญ่หรือเจ้าหน้าที่ผู้จัดทำระบบสารสนเทศทำหน้าที่จัดเก็ข้อมูลมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์ องค์การจะดมีประสิทธฺภาพมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับการจัดสัดส่วนที่เหมาะสมของการมีหรือการไม่มีสารสนเทศในองค์การ  ผู้บริหารได้นำสารสนเทศไปใช้ในการบริหารมากน้อยเพียงใด มีนักวิชาการได้กล่าวว่าการจัดสินในมีประสิทธิภาพขึ้นอยู่กับระบบสารสนเทศถึงร้อยละ 90 ส่วนอีกร้อยละ 10 ขึ้นอยู่กับจินตนาการของผู้บริหารเอง องค์การยิ่งมีขนาดใหญ่มากและซับซ้อนขึ้นเท่าใด ก็มีความจำเป็นต้องใช้สารสนเทศที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นเท่านั้น
        ปัจจุบันมีการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเพื่อการสื่อสาร (ICT) มีการนำคอมพิวเตร์มาใช้ในการบริหารมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคของข้อมูลข่าวสาร (Information Age)  เป็นยุคที่มีความรวดเร็วในการสื่อสาร ผู้บริหารต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการเข้าถึง เลือกใช้สารสนเทศท่มีประสิทธิภาพ
         กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา สำนักงานเขตพื้ที่การศึกษานครปฐม เขต 1 ได้จัดทำเว็บไซค์ "ระบบสารสนเทศเพื่อการนิเทศ"  เพื่อให้ศึกษานิเทศก์ประสานงานโรงเรียนได้กรอกข้อมูลของโรงเรียนในความรับผิดชอบเพื่อการวิเคราะห์และวางแผนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนอย่างมีคุณภาพหรือการกำหนดนโยบายของกลุ่มนิเทศ ฯ หรือของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาต่อไป
                           

 

 ปัจจัยที่จะทำให้การดำเนินการดังกล่าวประสบผลสำเร็จ คือ
        1.  ศึกษานิเทศก์ประสานงานโรงเรียนที่จะเก็บและกรอกข้อมูลอย่างมีความรับผิดชอบ วิเคราะห์ข้อมูลและนำข้อมูลที่ได้ไปกำหนดแนวทางในการพัฒนาคุณภาพต่อไป
         2. กลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาต้องมีระบบการนิเทศ กำกับ ติดตามผลการดำเนินงานอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
        อย่างไรก็ตามการทำให้มีสารสนเทศไม่ใช่เป็นเรื่องยาก แต่เรื่องที่ยากกว่าคือการวิเคราะห์ การเสนอแนวทางการพัฒนาและที่สำคัญที่สุดคือการนำสารสนเทศนั้นไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

หมายเลขบันทึก: 260559เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2009 23:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท