Backup อะไร...ต้องจัดการให้ชัดเจนเผื่ออนาคตไว้เลย


วันนี้ได้รับเมลจากอาจารย์ supervisor สมัยที่วิจัยปริญญาเอกอยู่ที่ออสเตรเลียไถ่ถามถึงข้อมูลที่เป็นงาน preliminary ที่เราทำในอาสาสมัครพวกเรานักวิจัยกันเอง 4-5 คนในช่วงทดลองงานมหาหิน ก่อนที่จะติดต่อ subject จริงๆมาร่วมงาน ซึ่งเราทำละเอียดทุกขั้นตอน ทุกแล็บที่เราจะทำจริงๆ ตอนนั้นมีข้อมูลหลายส่วนมากๆที่เก็บไว้

ทำให้ต้องย้อนกลับไปรื้อแผ่น CD ที่จัดการแบ็คอัพข้อมูลตลอดมาตามระยะเวลาต่างๆที่ทำงาน ที่จดไว้ตามวันเวลาที่บันทึก มีเป็นหลายพันไฟล์ แบ่งย่อยตามชนิดของงาน ชนิดของแล็บ เห็นแล้วอัศจรรย์ใจกับแรงที่เราได้ลงไปในงานพวกนั้น 

ใช้เวลาไม่นานนักในการขุดค้นหาไฟล์ที่ต้องการจากมหาสมบัติที่มีอยู่ เห็นแล้วทำให้คิดว่า ต้องเอามาเขียนบันทึกเสียหน่อย ถึงข้อดีในการตั้งชื่อไฟล์และการลำดับเวลา สมัยนั้นเคยคิดจะใช้แค่ชื่อที่เอาพอจำได้ ใช้งานตอนนั้นเท่านั้น แต่พอเริ่มทำแล็บแบบหลายๆเรื่อง เพราะต้องสลับหว่างเวลาเก็บงานต่างๆให้เสร็จในเวลาที่เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ ก็เลยเปลี่ยนเป็นใช้วิธีตั้งชื่อไฟล์ให้บ่งบอกแล็บและรายละเอียดของงานที่สื่อสารมากขึ้น อ่านปั๊บรู้ปุ๊บโดยไม่ต้องเปิดว่าเป็นแล็บอะไร ช่วงไหน แล้วแบ่งแยกเป็นโฟลเดอร์บรรจุ ตั้งชื่อให้อ่านปุ๊บรู้ปั๊บอีกเหมือนกันว่าเป็นงานไหน แบบที่ไม่ต้องใช้ความจำใดๆ 

การจัดระบบเก็บไฟล์ข้อมูลแบบที่เล่ามานี้ ทำให้ค้นหารายละเอียดของงานที่ทำเมื่อกว่า 5 ปีที่แล้วได้อย่างรวดเร็วง่ายดายมากๆเลยค่ะ ใครถามอะไรมาหยิบให้ได้ทันที ฝากเอาไว้สำหรับทุกๆท่านที่กำลังเก็บข้อมูลอะไรทั้งหลายกันนะคะ เก็บแล้วหาได้ง่ายถึงจะถูกวัตถุประสงค์ของการเก็บใช่ไหมคะ 

หมายเลขบันทึก: 260558เขียนเมื่อ 11 พฤษภาคม 2009 23:14 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท