บทบาท


Role

           1. ความหมาย

                     บทบาท ตรงกับคำในภาษาอังกฤษว่า role เป็นเรื่องของพฤติกรรมและหน้าที่ความรับผิดชอบ (function) เพื่อเป็นการแสดงให้เห็นว่า  เมื่อบุคคลดำรงตำแหน่งใด    ก็ควรแสดงพฤติกรรมให้ตรง และเหมาะสมกับหน้าที่  ความรับผิดชอบนั้น  มีนักการศึกษาได้ให้ความหมายของคำว่า  บทบาท  หรือ role ไว้ ดังต่อไปนี้

                     จันทร์ฉาย  ปันแก้ว  (2546, หน้า  10)  กล่าวว่า บทบาท  หมายถึง พฤติกรรมที่บุคคลกระทำหรือปฏิบัติเมื่อเข้าดำรงตำแหน่งนั้นๆ โดยพฤติกรรมที่แสดงออกนั้นขึ้นอยู่กับความคิดเห็นของตนเองและตามความคาดหวังในตำแหน่งอาชีพที่ครองอยู่

                     พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542 (2546, หน้า 602) ให้ความหมายของคำว่าบทบาทไว้ว่า บทบาท (role) หมายความว่า  การทำหน้าที่ที่กำหนดไว้ เช่น บทบาทของพ่อแม่  บทบาทของครู เป็นต้น

                     ณัฏฐพร  ชินบุตร  (2547, หน้า 46)  กล่าวว่า  บทบาท หมายถึง การกระทำหรือพฤติกรรมของบุคคลที่แสดงออกมาตามตำแหน่งหน้าที่ทางสังคม ที่ตนดำรงอยู่ในขณะนั้น  ซึ่งจะต้องขึ้นอยู่กับสิทธิและหน้าที่ของตำแหน่ง และยังต้องเป็นไปตามความคาดหวัง        ของตนเอง  และผู้อื่นที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันด้วย

                     ปรีชา  สุวังบุตร (2547, หน้า  22) กล่าวว่า  บทบาท หมายถึง การที่บุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาตามสถานภาพ หรือตำแหน่ง หรือสิทธิหน้าที่หรือบรรทัดฐานทางสังคม   ที่มีความคาดหวังต่อการกระทำของบุคคลกลุ่มคน  และสังคม เพื่อให้เกิดการปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในสังคมนั้น

                     นิตย์  ประจงแต่ง  (2548, หน้า 5, 23)  กล่าวว่า  บทบาท หมายถึง ลักษณะของพฤติกรรมที่แสดงออกตามตำแหน่งที่บุคคลนั้นได้รับการแสดงออกนั้นย่อมผูกพันกับความคิดของผู้ดำรงตำแหน่งเอง  และตามความคาดหวังของผู้อื่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับตำแหน่งนั้น

                     พระมหาพนมนคร  มีราคา (2549, หน้า  26) กล่าวว่า บทบาท  หมายถึง การปฏิบัติหน้าที่ตามสถานภาพที่เป็นมาโดยธรรมชาติ หรือตามสถานภาพที่ถูกกำหนดหรือถูกคาดหวังจากสังคม  อันเป็นปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน  ของสมาชิกในสังคม

                     สำเริง  กล้าหาญ (2549, หน้า 7, 12) กล่าวว่า บทบาท หมายถึง แนวทางของการแสดงออกหรือปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ที่กำหนดไว้ในตำแหน่งทางสังคม ทางหน้าที่การงาน  ตามสภาพแวดล้อมของแต่ละบุคคลที่เป็นอยู่ของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ  ว่าด้วยคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

                     บุญตา  ไล้เลิศ (2550, หน้า 12) กล่าวว่า บทบาท หมายถึง การปฏิบัติตามสิทธิและหน้าที่ของสถานภาพของตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งที่บุคคลได้รับ  ต้องมีบทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบตามที่กำหนดไว้ตามบทบาทของตำแหน่งนั้น  และคล้อยตามความมุ่งหวังของสังคม เช่น บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาก็หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เกี่ยวข้องกับงานในหน้าที่ที่ปฏิบัติในสถานศึกษานั้น

                          สินธร  คำเหมือน  (2550,  หน้า  7) กล่าวว่า บทบาท  หมายถึง  ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและพฤติกรรมที่คาดหวัง หรือการแสดงออกทางพฤติกรรมที่เกิดจากการ        มีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่น  และได้แสดงออกตามบทบาท

                     ลุม  (Lum, 1979, p. 128) กล่าวว่า บทบาท หมายถึง เป็นหน้าที่ที่บุคคลหนึ่ง      พึงกระทำเมื่อเข้าครอบครองตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง  ซึ่งรวมถึงหน้าที่ตามตำแหน่งและ  ความคาดหวัง  โดยเกี่ยวข้องกับบุคคลและสังคม  การกระทำนั้นต้องขึ้นอยู่กับบรรทัดฐานของสังคมด้วย

                     ทอมมี่ (Tomey, 1992, p. 146) กล่าวว่า บทบาท หมายถึง การกระทำหรือการแสดงพฤติกรรมของบุคคลที่เป็นไปตามความคาดหวังตามตำแหน่งในอาชีพหรือตำแหน่งที่สังคมกำหนดขึ้น  ซึ่งโครงสร้างขอบทบาทประกอบด้วย  ลักษณะที่เฉพาะของแต่ละบุคคล  การแสดงพฤติกรรมและตำแหน่งที่ครองอยู่

                     จากที่นักการศึกษากล่าวมาสรุปได้ว่า บทบาท หมายถึง อำนาจ หน้าที่ และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการงานโดยตรงและงานพิเศษที่ควรจะต้องกระทำ หรือพฤติกรรม   ที่คาดหวังสำหรับผู้อยู่ในสถานภาพต่างๆ ว่าต้องปฏิบัติอย่างไร เป็นบทบาทที่คาดหวังโดยกลุ่มคนหรือสังคม

                   2.  ทฤษฎี

                     การปฏิบัติงานตามบทบาทของตนเองให้ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพบทบาทที่รับมาตามข้อตกลงของสังคมนั้น  นักการศึกษาได้สรุปเป็นทฤษฎีบทบาทไว้ดังต่อไปนี้

                     ธนารัตน์  เทพโยธิน (2544, หน้า 10) ได้รวบรวมทฤษฎีบทบาทและ       ได้อธิบายโดยสรุปไว้ ดังนี้

                           1. ทฤษฎีของลินตัน (Linton) ลินตัน กล่าวว่า สถานภาพหรือตำแหน่งเป็นตัวกำหนดบทบาทให้แก่บุคคล  สถานภาพเป็นนามธรรม หมายถึงฐานะหรือตำแหน่ง ดังนั้น เมื่อกำหนดตำแหน่งใดขึ้นก็จำเป็นจะต้องมีบทบาทหรือภาระหน้าที่กำกับตำแหน่งนั้น ไว้เสมอ

                           2. ทฤษฎีของสกอต (Scott) สกอต กล่าวถึง บทบาทไว้ 5 ประการดังนี้

                                 2.1 บทบาทเป็นความคาดหวังที่เกิดขึ้นในตำแหน่งต่างๆ มิได้เกี่ยวข้องหรือมุ่งไปที่ตัวบุคคล

                                 2.2 บทบาทมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมในการทำงาน  บทบาทในองค์การเป็นพฤติกรรมที่ถูกคาดหวังให้ปฏิบัติงานหนึ่งๆ

                                 2.3 บทบาทนั้นยากที่จะกำหนดชี้เฉพาะลงไปได้อย่างชัดเจน

                                 2.4 บทบาทจะทำให้บุคคลเกิดการเรียนรู้และเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

                                 2.5 บทบาทกับงานไม่ใช่เป็นสิ่งเดียวกัน  ในงานหนึ่งๆ บุคคลอาจมีหลายบทบาทได้

                     ระเบียบ  คำเขียน  (2546, หน้า 11)  ให้แนวคิดทฤษฎีของบทบาทไว้ว่า  บทบาทตามตำแหน่งหนึ่งนั้น  ได้ถูกคาดหวังจากสังคมรอบด้าน เช่น จากผู้ที่อยู่ในตำแหน่งอื่นๆ รอบตัวเรารวมทั้งตัวของเราเองด้วย  ถ้าความคาดหวังของทุกฝ่ายไม่ตรงกัน  ผู้ดำรงบทบาทไม่สามารถปรับให้มีความพอดี  จะเกิดปัญหาความขัดแย้งในบทบาทหรือความล้มเหลว ในงาน และการแสดงบทบาทของบุคคลในตำแหน่งที่ตนต้องแสดงหรือต้องปฏิบัติ  ประสบการณ์ของผู้ที่จะต้องแสดงบทบาท  และบุคลิกภาพของผู้ที่จะต้องแสดงบทบาทด้วย

                     นิตย์  ประจงแต่ง (2548, หน้า 23) ได้รวบรวมทฤษฎีบทบาทและได้อธิบายโดยสรุปในแต่ละทฤษฎีไว้ ดังต่อไปนี้

                           1. ทฤษฎีของลินตัน  (Linton) ลินตันให้แนวคิดเกี่ยวกับสถานภาพหรือฐานะ (status) และบทบาท (role) ไว้ว่า สถานภาพเป็นนามธรรมหรือตำแหน่งซึ่งฐานะจะเป็นตัวกำหนดบทบาทของตำแหน่งนั้นว่ามีภารกิจและหน้าที่อย่างไร  ดังนั้นเมื่อมีตำแหน่ง  สิ่งที่ตามมาคือ บทบาทของตำแหน่งซึ่งทุกตำแหน่งต้องมีบทบาทกำกับ

                           2. ทฤษฎีของเพียร์สัน (Pearson) เพียร์สันกล่าวว่า ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ในสังคมทำให้มนุษย์ต้องเพิ่มบทบาทพิเศษของแต่ละบุคคลซึ่งคนในสังคม      มีความจำเป็นที่ต้องติดต่อสัมพันธ์กัน  ต้องมีความสนใจกันเป็นพิเศษและให้ความเห็นว่า  สภาพสังคมในโรงเรียนจะประกอบด้วย  ครูใหญ่  ครู นักเรียน ซึ่งต้องติดต่อสัมพันธ์กัน และ   มีความสนใจกันเป็นพิเศษ  และ

                           3. ทฤษฎีของฮอร์แมนส์ (Homan) ฮอร์แมนส์กล่าวว่า ตำแหน่ง     เป็นสาระของพฤติกรรมสัมพันธ์บุคคลจะปฏิบัติอย่างไรก็ต่อเมื่อเห็นว่าเป็นประโยชน์แก่ตนเองและคิดเสมอว่าตำแหน่งเป็นเพียงปัจจัยที่กระตุ้นให้บุคคลเกิดการกระทำหรือแสดงพฤติกรรมเท่านั้น  ดังนั้น  บุคคลจะเปลี่ยนบทบาทไปตามตำแหน่งหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากสังคม

                     พระมหาพนมนคร  มีราคา (2549, หน้า  27-28) ได้รวบรวมทฤษฎีบทบาทและได้อธิบายโดยสรุปไว้ ดังนี้

                          1. ทฤษฎีของเดโช  สวนานนท์  (2518, หน้า  104) เดโช  สวนานนท์  ได้กล่าวถึง  แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทซึ่งสรุปได้ว่า บทบาทจะต้องประกอบด้วยลักษณะ 4 ประการ ดังต่อไปนี้

                                1.1  รู้สภาพของตนในสังคม

                                1.2  คำนึงถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่น

                                1.3  คำนึงถึงพฤติกรรมที่เกี่ยวกับผู้อื่น  และ

                                1.4  ประเมินผลการแสดงบทบาทของตนเอง

                          2. ทฤษฎีของโคเฮน (Cohen, 1987, p. 22) โคเฮนได้กล่าวสรุปทฤษฎีบทบาทไว้ว่า  การที่สังคมกำหนดเฉพาะเจาะจงให้บุคคลปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทใดบทบาทหนึ่งนั้น  เรียกว่า บทบาทที่ถูกกำหนด  ถึงแม้ว่าบุคคลบางคนมิได้ประพฤติปฏิบัติตามบทบาท     ที่สังคมกำหนดให้  ส่วนบทบาทที่ปฏิบัติจริง หมายถึง การที่บุคคลได้แสดงหรือปฏิบัติออกจริงตามตำแหน่งของเขา  ความไม่ตรงกันของบทบาทที่ถูกกำหนดกับบทบาทที่ถูกปฏิบัติจริงนั้น  อาจมีสาเหตุมาจากสิ่งต่างๆ เหล่านี้

                                2.1  บุคคลขาดความเข้าใจในบทบาทที่สังคมต้องการ

                                2.2  ความไม่เห็นด้วยหรือไม่ลงรอยกับบทบาทที่ถูกกำหนด และ

                                2.3 บุคคลไม่มีความสามารถที่จะแสดงบทบาทนั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ

                          3. ทฤษฎีของมีด  (Mead, 1989, p. 40) มีดได้กล่าวถึงทฤษฎีบทบาทไว้ว่า บทบาทเป็นองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติจริง หรือบทบาทที่เป็นจริง ซึ่งจะต้องประกอบด้วยสิ่งดังต่อไปนี้

                                3.1  การรู้จักตนเองตามบทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย

                                3.2  พฤติกรรมตามสถานการณ์ที่กำหนดให้จะต้องมีความเหมาะสมกับการส่งเสริมฐานะของตนเอง

                                        3.3  ภูมิหลังของการกระทำที่เกี่ยวข้องกับผู้อื่นนั้น การเป็นแบบอย่างเพื่อให้การกระทำบางอย่างเป็นไปตามแนวทางที่ต้องการ และ

                                3.4  การประเมินผลการกระทำตามบทบาท  สามารถดำเนินการด้วยตนเองหรือโดยคนอื่น

                     สำเริง  กล้าหาญ  (2549, หน้า 12) ได้รวบรวมทฤษฎีบทบาทและได้อธิบายโดยสรุปในแต่ละทฤษฎีไว้ ดังต่อไปนี้

                           1. ทฤษฎีของลินตัน (Linton’s role theory) บทบาท หมายถึง ตำแหน่งหรือสถานภาพเป็นตัวกำหนดบทบาท เช่น บุคคลที่มีตำแหน่งเป็นครูต้องแสดงพฤติกรรม  เป็นตัวอย่างที่ดีแก่ลูกศิษย์

                                 2. ทฤษฎีของนาเดล (Nadel’s role theory) บทบาท หมายถึง ส่วนประกอบที่ส่งผลต่อพฤติกรรม 3 ลักษณะ คือ ส่วนประกอบ

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 259734เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2009 12:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 01:35 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

บรรณานุกรม

(บทบาท 1-4)

ชาญ สีหาราช. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการปฏิบัติงานและคุณธรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษาจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ณัฏฐพร ชินบุตร (2547). การรับรู้ในบทบาทหน้าที่และความต้องการในการพัฒนาตนเองของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในเขตอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เดโช สวนานนท์. (2518). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

ธนารัตน์ เทพโยธิน. (2544). บทบาทและสมรรถนะของนักบริหารทรัพยากรมนุษย์ตามความคาดหวังของผู้บริหารระดับสูงขององค์การธุรกิจในจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

นิตย์ ประจงแต่ง (2548). บทบาทการนิเทศภายในของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาลพบุรี เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

บุญตา ไล้เลิศ (2550). บทบาทของผู้บริหารในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาขึ้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

ปรีชา สุวังบุตร (2547). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความรู้. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

พระมหาพนมนคร มีราคา. (2549). การดำรงสมณเพศของสามเณรโรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ระเบียบ คำเขียน. (2546). การปฏิบัติบทบาทหัวหน้าหอผู้ป่วยตามการรับรู้ของหัวหน้าหอผู้ป่วยและพยาบาทประจำโรงพยาบาลพิจิตร. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ : นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วรจิตร หนองแก (2540) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานสาธารณสุขมูลฐานตามบท บาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ในจังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สังคม ศุภรัตนกุล (2546). การรับรู้บทบาทและแรงจูงใจของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับการปฏิบัติงาน ในการให้บริการหลักในศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น

สังคม ศุภรัตนกุล. (2546). การรับรู้บทบาทและแรงจูงใจของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขกับการปฏิบัติงาน ในการให้บริการหลักในศูนย์สุขภาพชุมชนจังหวัดหนองบัวลำภู.วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารสาธารณสุข บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น

สัญญา สัญญาวิวัฒน์ (2543). การพัฒนาชุมชน (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สินธร คำเหมือน (2550). บทบาทผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทรรศนะของครูและผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

สุนทร บุญสถิต. (2543). สถานภาพ บทบาท และปัญหาของสามเณรในสังคมไทย. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์ สาขาศาสนาเปรียบเทียบ. มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุนารี เนาว์สุข. (2543). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยคัดสรร การรับรู้บทบาท กับการปฏิบัติตามบทบาทการให้การปรึกษาเรื่องเอดส์ของพยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลชุมชนในเขต 7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

สำเริง กล้าหาญ (2549). สภาพการปฏิบัติงานตามบทบาทของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุพรรณบุรี เขต 3. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.

อรุณ รักธรรม. (2526). “พฤติกรรมศาสตร์และพฤติกรรมองค์การ”, ใน พฤติกรรมองค์การ. กรุงเทพฯ : ทิพย์อักษร.

Allport, G.W. (1964). Pattern and growth in personality. New York : Holt Rinchart and Winton.

Deutsch, M., & Krauss, R. M. (1965). Theories in Social Psychology. New York: Basic Books.

Mead, C. (1989). Analog VLSI and Neural Systems. Addison Wesley, New York.

บทความของพระครูมีประโยชน์นำไปใช้ต่อได้ดีขอขอบคุณมากค่ะ

กราบนมัสการพระครูคะ

เรียนขออนุญาติให้อ้างอิงเพื่อการทำวิทยานิพนธ์นะคะ

กราบขอบพระคุณคะ

เกตุสิริ

พระครูนิวิฐธุราทร

เจริญพร คุณครูอ๋อย และคุณเกตศิริ

ขอบคุณที่เข้ามาเยี่ยมเยียนและทักทาย

ขอบใจที่เห็นคุณค่าสำหรับข้อมูลที่นำเสนอ

และดีใจที่ข้อมูลที่นำเสนอไว้มีประโยชน์สำหรับคุณทั้งสอง

ขอบพระคุณมากๆเลยค่ะ เป็นประโยชน์กับหนูมาก ขอบคุณมากๆเลยคะ

กราบนมัสการพระคุรเจ้า

พระครู/Phrakhru นิวิฐธุราทร / Niwittooratorn (นิมิตร จนฺทรํสี) แดง กลิ่นดอกแก้ว/Klindokkaeo

บทความของท่านดีมีประโยชน์มากค่ะ โยมจะอนุญาตนำไปใช้เป็นข้อมูลอ้างอิงในวิทยานิพนธ์ได้หรือไม่คะ


พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท