125. หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในทัศนะของครูโรงเรียนไม่ได้นำร่อง


เราได้เปลี่ยนแปลงทันการอย่างไม่เป็นทางการ

ฉันใช้เวลาศึกษาเรื่องหลักสูตรใหม่ก่อนเปิดเรียนภาคเรียนแรกของปีการศึกษา2552 มานานนับเดือนกว่าแล้วเพื่อให้เห็นความเหมือนและแตกต่างระหว่างหลักสูตรเก่ากับใหม่ทำให้เห็นข้อแตกต่าง จึงได้ทำการเรียนรู้ให้เข้าใจยิ่งขึ้น

โดยเข้าไปเป็นนักเรียนของมหาวิทยาลัยไซเบอร์ และนำความรู้ไปแลกเปลี่ยนกับเพื่อนครูที่เป็นโรงเรียนนำร่องทำให้เพื่อนที่เป็นครูในโรงเรียรนำร่องตื่นเต้น และเข้าไปเรียนรู้ ทั้งๆที่เขาผ่านการอบรมมาแล้ว แต่เท่าที่สังเกตมาพบว่าการอบรมที่ใช้เวลาแบบเร่งรีบ กลับทำให้ครูขาดความเข้าใจอย่างแท้จริง เหมือนเช่นที่ผ่านมา หลายโรงเรียนคัดลอกหลักสูตร เลียนแบบคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของอีกโรงเรียนที่มีความแตกต่างกันทั้งทางสภาพท้องที่ เศรษฐกิจ และสังคม

เมื่อมีการตรวจสอบหรือมีการประเมินเกิดขึ้นครูจะเหนื่อยมากๆที่จะต้องทำให้ทุกอย่างเกิดความสมเหตุสมผลกัน  มิฉะนั้นจะเกิดความไม่สอดคล้องและขัดแย้งกันเอง หลักสูตรที่จัดทำไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้ ไม่สามารถสร้างนักเรียนให้มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์ได้ดังที่วาดฝันไว้ในหลักสูตรที่สวยหรู

หลายโรงเรียนเร่งรีบเพื่อให้ทันการก่อนเปิดเรียน สำหรับโรงเรียนของฉันแม้ไม่ได้เป็นโรงเรียนนำร่อง แต่ผู้อำนวยการและคณะครูต่างขานรับหลักสูตรใหม่ด้วยความตื่นเต้น และดีใจมากที่ผอ.เขตพื้นที่ให้โอกาสพวกเราได้

ศึกษาไปพร้อมๆกับโรงเรียนนำร่อง พวกเราไม่ห่วงเรื่องงบประมาณ เพราะไม่ใช่ปัญหา ที่ดีใจมากเพราะเราได้เปลี่ยนแปลงทันการอย่างไม่เป็นทางการถึงเวลานั้นเราจะทำงานได้ดีแน่นอนและ

เราได้เปลี่ยนแปลงทันการอย่างไม่เป็นทางการ

นั่นหมายถึงเราจะสามารถปรับเปลี่ยนความผิดพลาดต่างๆจากการใช้หลักสูตรเก่า และพัฒนาให้เหมาะสมกับสถานศึกษาของเรา ให้เหมาะกับท้องถิ่นของเรา และเด็กของเรา รวมทั้งให้สามารถรองรับความต้องการในสังคมของเราได้ เช่น สมุทรสาคร เป็นเมืองประมง ดงโรงงาน และเป็นลานเกษตร

เพียงแค่นี้ก็เห็นความแตกต่างอย่างชัดๆแล้วว่า เขตพื้นที่เดียวกันแต่แตกต่างกันในด้านอาชีพ การทำมาหากิน สภาพทางเศรษฐกิจ สังคม ความเป็นอยู่ ยังไม่ต้องพูดถึงด้านอื่นๆเลย เฉพาะเมืองมหาชัยก็พาให้ครูๆเราปวดหัวกันแล้ว 55+

เพราะเรามีนักเรียนนาๆชาติ หลายภาษาเข้ามาเรียน

และเป็นนักเรียนแบบoriginal อิอิ

สื่อสารกันไม่ค่อยจะรู้เรื่อง ตรงนี้ต้องให้เครดิตคุณครูที่สอนเด็กๆชั้นอนุบาล

ที่สามารถสื่อสารกับเด็กพม่า มอญ เขมร ลาว ที่มากับแรงงานได้จนเข้าใจ

ส่วนฉันเองไม่เคยเจอประเภทนี้ เพราะเด็กๆที่มาเข้าเรียนจะต้องผ่านชั้นอนุบาล

มาก่อน กว่าจะถึงมือฉันเด็กเหล่านี้ก็สามารถพูดไทยได้เกือบชัดแล้ว

ดังนั้นหลักสูตรจึงมีความหลากหลาย และต้องใช้เวลาศึกษาให้มากจากแหล่งเรียนรู้จากแหล่งต่างๆที่จะทำให้เราget กันจริงๆ

ไม่ใช่ว่าให้หวงหลักสูตร ไม่เผยแพร่นะคะ แต่คิดว่าหากครูทุกคนได้เรียนรู้

ด้วยตัวเอง และแลกเปลี่ยนภายในกลุ่มโรงเรียนจะมีประโยชน์มากกว่า

การนำหลักสูตรของสถานศึกษาอื่นมาศึกษาดูนั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่อย่าเผลอคิดว่าโรงเรียนเราก็ใช้ได้เลยคัดลอก อาจเกิดปัญหากับการสร้างสิ่งที่สังคมต้องการก็ได้

ฉันเองก็ได้ติดต่อกับน้องครูคิมและเพื่อนครู ผู้ปกครอง ผู้นำท้องถิ่นเพื่อให้เกิดการแลกเปลียนเรียนรู้กันเกี่ยวกับหลักสูตรใหม่และ

ในบันทึกหน้าจะบันทึกถึงสิ่งที่เห็นด้วยว่าทำไมเขาจึงต้องเปลี่ยนหลักสูตร

บางทีเราอาจต้องเป็นอย่างนี้

 

หรือเป็นอย่างนี้

หมายเลขบันทึก: 259673เขียนเมื่อ 7 พฤษภาคม 2009 02:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (19)

การเปลี่ยนแปลงนั้นหากไปสู่สิ่งที่ดีก็เป็นการพัฒนาครับ

แต่หลายครั้งที่เห็นเปลี่ยนแปลงก็ยังไม่ค่อยพัฒนาเลย

อย่างหลักสูตรที่ผ่านมานั้นหากดูนานๆ ยังไม่เห็นพัฒนาเท่าใดเลย

เพราะเปลี่ยนแล้วนักเรียนกลับอ่อนด้อยลงทางผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนนะ

ลองพิจารณาด้วยนะครับ

สวัสดีครับคุณครูต้อย

  • ผมแวะมาเยี่ยม
  • ขอบคุณมากๆที่แวะไปเยี่ยมทักทายทำความรู้จักกัน
  • มารับรู้ในสิ่งดีๆมีประโยชน์  สำหรับคุณครู
  • ขอให้มีความสุขกับการทำงานนะครับ
  • โชคดีนะครับ

สวัสดีค่ะ

  • มาเป็นกำลังใจให้โรงเรียน..นานาชาติค่ะ
  • ของครุคิมก็เช่นเดียวกันค่ะ..ขานรับกับหลักสูตร
  • แม้ไม่ได้นำร่อง..แต่ก็ของเป็นนอกร่องค่ะ
  • และเป็นโรงเรียน..สองภาษา..ฮิ ๆ ๆ ๆ
  • ไทยและลาว
  • ขอขอบคุณพี่ต้อย..TCU ให้โอกาสค่ะ
  • สวัสดีค่ะ
  • อ่านบันทึกนี้แล้ว
  • ต้องเตรียมตัวเหมือนกัน
  • เป็นกำลังใจให้ค่ะ

ไม่มีรูป

สวัสดีค่ะน้องผู้ใช้นามประถม

เราหัวอกเดียวกันนะคะ

เห็นด้วยอย่างยิ่งเลย

เด็กจบแล้วอ่านไม่ออก

ทำไมเรื่องนี้จึงไม่นำมาเสวนากันให้เด็ดขาด

พี่เองได้สัมผัสหลักสูตรตั้งแต่หลักสูตร 2503

พอมาถึงหลักสูตร2520เห็นความแตกต่างชัดเจนมาก แต่ระยะนั้นครูเก่าเยอะยังแอนตี้หลักสูตร2520อยู่ในด้านการสอนอ่านเขียนจึงยังเข้มข้น โยครูเก่ายังยึดการสอนอ่านแบบแจกลูก เด็กๆของพี่เองอ่านหนังสือพิมพ์ได้ตั้งแต่อยู๋ป.2 และทำเลขคูณได้ตั้งแต่อยู่ป.2เทอม 2

นี่เป็นเพียงตัวอย่างเดียวที่นำมาเอ่ยถึงยังมีความดีงามและเป็นเอกลักษณ์ที่ดีในหลักสูตร2503อีกมาก แต่เอาไว้วันหลัง

เมื่อมาเป็นครูสอนหลักสูตร 2520 ยิ่งเห็นชัดเจนเมื่อเวลาผ่านไปๆ สิ่งที่เห็นชัดมากที่นอกเหนือจากความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กด้อยโอกาสกลับมีความแตกต่างกับเด็กที่มีความพร้อม สภาพสังคมเริ่มถอยหลังเด็กห่งไกลวัฒนธรรม แต่การสนับสนุนให้เรียนสูงๆเริ่มมีพัฒนาการที่ดีมากขึ้น เปิดกว้างขึ้น แต่ขณะเดียวกัน เกิดการมองข้ามบางอย่างที่สนับสนุนให้วัฒนธรรมอันดีงามของไทยเราเสื่อมถอยลง

คุณธรรมเริ่มถูกหยิบยกขึ้นมาพูดกันในหมู่นักวิชาการระดับสูง พอๆกับการเปลี่ยนแปลงที่เราเรียกว่ายุคโลกาวิวัฒน์ มีการบัญญัติคำใหม่ในภาษษไทยเกิดขึ้นมากมาย  มันน่าจะดีนะคะ แต่เราก็รูสึกว่าไม่น่าจะใช่ สุดท้ายสิ่งที่เราทำกันได้คือเปลี่ยนตัวเรา ครูทุกคนค่อยๆเปลี่ยนตัวเองเพื่อให้เข้ากับยุคโลกาวิวัฒน์

คุยกันตั้งนานแล้วยังไม่ถึงหลักสูตรแกนกลาง พุทธศักราช 2551 เลยนะคะ พี่อยากให้น้องพูดบ้างเราเอามาแลกเปลี่ยนทัศนะกันนะคะ เผื่อว่าผู้ใหญ่ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีโอกาสจะได้หันมามองสักนิดหนึ่ง แต่พี่เองก็ยังไม่ได้ทดลองใช้หลักสูตร 2551เลย จึงขอเว้นเรื่องการวิพากษ์ตรงประเด็นนี้นะคะ

ขอบคุณค่ะ ที่เห็นความสำคัญของการศึกษา

  • 51 คล้ายจะเป็นลูกผสมระหว่างหลักสูตร 20 กับ 44 มั๊ยครับ?
  • กำหนดรายละเอียด(ตัวชี้วัด)ชัดเจนขึ้น เป็นภาคเรียน เป็นปี คล้าย 44 แต่ 44 ให้แต่ละโรงกำหนดเอง
  • ม.ต้น เปลี่ยนเป็นให้เกรดสิ้นภาคเรียนเหมือนเดิม เหมือน 20
  • ถ้าพูดเฉพาะวิทย์ แกนกลาง 44 แทบไม่ต่างจาก 20 ยกเว้นสลับ เรียงเนื้อหา และเพิ่มเนื้อหาใหม่ๆ รวมทั้ง 51 ก็แทบไม่ต่างจาก 44 เลย วิทย์จึงไม่เปลี่ยนแปลงอะไรมาก ตั้งแต่ 20 แล้วล่ะ
  • มิได้นำร่องเช่นกัน แต่แอบอ่านจากเอกสารบ้าง ฟังเขาบ้าง ผิด-ถูกไม่แน่ใจนัก..คงต้องศึกษา ติดตามต่อไป
  • เคยฟัง ผอ.สมศ.พูดที่ ม.นเรศวร นานแล้ว..เรื่องประกันคุณภาพ  แกบอกว่า "ไม่ว่าหลักสูตรจะเปลี่ยนแปลงยังไง ครูก็สอนเหมือนเดิม(คงหมายถึงบางส่วน)"krutoi คิดเรื่องนี้อย่างไร?
  • สบายดีนะครับ..ลมตีขึ้น คงมิได้เป็นบ่อยๆ

P

  • สวัสดีค่ะ ท.ณเมืองกาฬ 
  • นับว่าครูเรายังมีวาสนา แม้อยู่ห่างกันก็ยังได้แลกเปลี่ยนแนวคิดและทำกิจกรรมสร้างสรรค์เพื่อสังคมเป็นสุขเหมือนกัน
  • หากไม่มีgotoknow สังคมเชิงบวกเช่นนี้คงไม่เกิดขึ้น
  • และนี่ก็เป็นกุศลแล้วที่เราได้ร่วมกิจกรรมแม้เป็นเพียงความคิดน้อยๆ
  • แต่จริงใจ และเป็นข้อเท็จจริง
  • ครูต้อยยินดีด้วยนะคะสำหรับกัลยาณมิตรที่ดี

ขอบคุณค่ะ

 

P

วันนี้พักผ่อนสบายๆ หลังจากมึนๆๆๆค่ะ

เช้าเอารถไปพ่นกันสนิม

บ่ายนี้ทีแรกตั้งใจจะไปรร.ไซเบอร์

เพื่อทำแบบทดสอบฉบับที่ 2 ต่อ

แต่ต้องล้มเลิกความคิดเปลี่ยนเป็นพักผ่อนก่อน

ยังมีเวลา เพื่อสุขภาพกายที่ดีค่ะ

ขอบคุณค่ะ พี่ไม่ได้เอาเมล์ใหม่น้องครูคิมลงจากรถตู้

วันที่กลับจากกาญจน์

 

P 

ยินดีด้วยค่ะน้องรัก

วันนี้ได้ฤกษ์ จับตาสามลา อิอิ

จับสามตาลา 55+

P

วิเคราะห์เยี่ยมเลยค่ะ

แต่ประวัติศาสตร์น่าคิดนะคะ

วิทย์ไม่ต่างใช่แล้วค่ะ

แตกหากโรงเรียนหรือคณะกรรมการสถานศึกษาอยากได้เด็กแบบไหน เช่นอยากให้เด็กเก่งวิทย์ มีหมอพยาบาลเยอะๆ มีวิศวกร มีอะไรต่อมิอะไรที่ต้องใช้ความรู้พื้นฐานทางสายวิทย์

โรงเรียนก็ต้องจัดวิทย์มากขึ้น

เรียกว่าโรงเรียนสามารถเพิ่มลดตรงนี้จากกนกลางได้ แต่ต้องไม่พ้นจากที่แกนกลางเขาวาดหวังไว้ อิอิ

จะไปไหนรอด เราเป็นครูหน้าที่เราคือสอนครับ พี่น้อง

สอนให้เด็กได้ความรู มีความคิด มีคุณธรรม และคาดว่าจะเป็นพลเมืองดีในอนาคต ส่วนกรอบคำว่าคนดีในอนาคตนั้นคงต้องไปศึกษาอีกทีหนึ่งนะคะ

ผลการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มาจากผลการวิจัย และติดตามการใช้หลักสูตรในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาค่ะ ทั้งสำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา สำนักผู้ตรวจราชการและติดตามประเมินผล และใครอีกสองคนไม่รูจำไม่ได้แม่นยำเขาช่วยกันทำวิจัยออกมา พอสรุปได้แต่ขอคุยต่อวันหลังนะคะ

ขอไปดูแลร่างกายให้หายอึดอัดก่อน พักนี้ลมป่วงมันตีขึ้น

ไปดูมวยโลก   ชิงแชมป์ อาบ่า ดีกว่าค่ะ ระหว่าง...แชมป์ชาวอินโดนีเซีย  กับ รัตนพล  พี่ไทย  อิอิ

เผื่ออาการอึดอัดมันจะได้หายไปบ้างขอรับ ช่อง 7 ค่ะ

ขอบคุณค่ะ

มาอ่านเรื่องในแวดวงการศึกษาค่ะ หลักสูตรใหม่จะทำให้คุณครูหน้าตาเป็นแบบนี้ดีกว่าไหมคะ

P

ขอบคุณ น้องดาว

อยากให้ครูเป็นแบบอย่างที่น้องดาวคิดจริงๆค่ะ

สาระวิชาอื่นๆ ก็ไม่ยากในการปรับแผนหากใครทำมาแบบดีเยี่ยมแล้ว ปรับเป็นแบบนิยม ก็ไม่ยาก ที่น่าสงสารคือ ครูสอนประวัติศาสตร์

ที่ต้องปรับกระบวนทัศน์ตัวเอง ต้องสอนให้เด็กคิดเป็นมากกว่าการรู้จำ

น้องดาวขา การสอนให้เด็กคิดเป็นนี้เด็กต้องมีทุนเดิมนะคะ มิฉะนั้นก็ไม่รู้จะเอาอะไรมาคิด แต่ครูสามารถทำให้เด็กคิดได้ ค่ะ โดยนำทางให้คิดก่อน แล้วค่อยๆ ปล่อยวางออกมา จนสามารถคิดได้เอง แต่ก็ยังต้องคำนึงถึงผลของการคิดอีกนะคะ บ้านเมืองเราผู้ใหญ๋มักตำหนิคนคิดนอกกรอบ โดยเฉพาะผู้ใหญ่ที่เป็นคนติดกรอบ

 เด็กน้อยจึงเสียโอกาสมาก พี่จึงบอกว่ามันยากมาก ยากกว่าการสอน วิชาที่สามารถพิสูจน์ได้เลย ทันที่ รวมทั้งยากกว่าการสอนภาษา เพราะภาษาเป็นเรื่องทักษะ แต่การสอนให้รู้จักคิดจากประวัติศาสตร์ที่มันตายแล้วมันยาก

ยิ่งพูดถึงความสำคุญของการเรียนประวัติศาสตร์แล้ว ยิ่งเป็นความวิเศษสุด หากไม่มีประวัติศาสตร์ ก็ไม่มีชาตินะคะ

ขอบคุณที่ทำให้นึกออกกำลังมึนๆ ดูมวยชิงแชมป์วันี้ไม่มันเลย  อิอิยังไม่ทันไร นักมวยก็อ๊วกเสียแล้ว ช่อง7 ค่ะ อิอิ

  • ชีวิตครูนั้นน่าเห็นใจ ผลงานที่ออกมานั้นต้องใช้เวลาทั้งชีวิต ลูกศิษถึงจะสบความสำเร็จให้เห็น
  • ครูโบราณสอนลูกศิษอย่างเดียว
  • ครูปัจจุทำพัสดุครึ่งวันสอนครึ่งวันทำผลงานและเตรียมไว้รับตรวจโรงเรียน 1 ชั่วโมง
  • เห็นใจครูครับ

P

  • น้องมหา ชีวิตครูนั้น
  • บางทีฟังดูแล้ววุ่นวายใจจริงและน่าเห็นใจใช่ไหมค่ะ
  • ก็ต้องสอนลูกหลานให้ไม่ดื้อ ให้มีวินัย 
  • รักลูกหลานมากๆ แค่นี้เอง
  • ชีวิตครูจะสบายขึ้นเยอะเลย อิอิ
  • รัฐก็พยายามแก้ไขแล้วเรื่องงานธุรการ
  • แม้งานเยอะก็เพราะครูอยากทำเอง
  • อยากใช้เวลาทุกนาทีให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
  • รัฐได้บรรจุครูธุรการให้แล้ว
  • อยู่ที่ครูเองว่ายังติดในความสุขตรงนั้นอยู่
  • หรือจะสลัดลงมาสอนเด็กน้อย
  • พี่ครูต้อยเองกำลังจะวาง อีกไม่กี่ปีแล้ว
  • แล้วไปหาธรรมชาติที่ๆเราเกิดมาค่ะ
  • ลงไปช่วยงานสังคมเพราะเราอยากทำ

 

สวัสดีค่ะครูต้อย

  • เห็นด้วยค่ะ  ที่ว่าความเร่งรีบอบรมทำให้ครูขาดความเข้าใจ
  • เห็นใจครูค่ะ ที่ไม่มีเวลาได้ศึกษา ไตร่ตรอง แต่ต้องรีบคลอดหลักสูตรสถานศึกษาออกมาให้ทัน
  • กำลังรอดูทิศทางหลักสูตรใหม่ของ ร.ร.อยู่เหมือนกัน

สวัสดีค่ะ

  • ขอให้กำลังใจคุณครูผู้เตรียมตัวได้อย่างดีเยี่ยมนะคะ
  • การลอกเลียนเป็นสิ่งที่คุณครูมักทำกันเสมอแต่หากรู้จักการประยุกต์ใช้ก็ได้ประโยชน์เช่นกันค่ะ
  • ข้อสำคัญของการเริ่มต้นหลักสูตรใหม่..คุณครูอย่าใจร้อนค่อยๆศึกษาทำความเข้าใจ..ทุกอย่างไม่เกินความสามารถหากเรานำประสบการณ์มาผสานกับสิ่งใหม่ให้เกิดประโยชน์กับเด็กๆมากที่สุด
  • ขอให้มีความสุขสนุกกับงานสอนนะคะ

คลิกๆๆ รูปสวยๆน่ารักๆไว้ส่งต่อเพียบ...

P

-ขอบคุณค่ะ

เป็นครูชีวิตเร่งรีบแบบนี้เองนะคะ

เราคงไปในทิศทางเดียวกันค่ะ

P

ขอบคุณค่ะ

ครูต้อยจะพยายามค่อยๆเดินความคิดให้ช้าที่สุดค่ะ

และจะพยายามวิเคราะห์ให้ละเอียดถี่ถ้วน

เพื่อไม่ต้องบ่นกับความล้มเหลวที่รีบร้อนๆๆๆ นะคะ

ขอบคุณค่ะ

 

ในปีการศึกษา 2520 มีการเปลี่ยนแปลงหลักสูตรเกิดขึ้นหลายหลักสูตร จนเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญพร้อมกันและเป็นการเกิดของหลักสูตรหลักสูตรประถมศึกษา พุทธศักราช 2521 ที่ใช้มาจนถึงสมัยปฏิรูป

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท