สัญญาซื้อขายระหว่างประเทศกับขอบเขตการบังคับใช้ CISG


จากการค้นคว้าบทความต่างประเทศ ทำให้เข้าใจว่าบางประเด็นยังไม่ได้ข้อยุติว่าอยู่ภายใต้หรือนอกเหนือขอบเขตการใช้บังคับของ CISG ด้วยเหตุนี้ การนำเสนอรายงานขอบเขตการใช้บังคับครั้งนี้ จึงเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเห็นของนักกฎหมาย นักวิชาการในปัจจุบัน จากบทความต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงบทวิจารณ์คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติมาตราที่เกี่ยวกับขอบเขตการใช้บังคับ ซึ่งในอนาคตย่อมมีการพัฒนาแง่มุมใหม่ ๆ และปรับเปลี่ยนแก้ไขอย่างไม่หยุดนิ่งเพื่อนำ CISG ไปใช้ให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติการค้าระหว่างประเทศตามระบบกฎหมายที่แตกต่างกันและตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง

การทำสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศแต่เดิมนั้น ไม่มีกฎเกณฑ์ที่ใช้บังคับต่อสัญญาโดยเฉพาะ ดังนั้น คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจะพยายามเจรจาต่อรองที่จะให้กฎหมายภายในประเทศของตนมีผลบังคับใช้ในสัญญา ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าคู่สัญญาฝ่ายใดจะมีอำนาจต่อรองมากกว่ากัน และเป็นไปได้ว่ากฎหมายว่าด้วยการซื้อขายของประเทศหนึ่งมักจะแตกต่างจากอีกประเทศหนึ่ง จึงทำให้เกิดความไม่มั่นใจในสิทธิและหน้าที่ระหว่างผู้ซื้อและผู้ขายที่อยู่ต่างรัฐกันซึ่งเป็นปัญหาประการหนึ่งและในกรณีที่ว่าคู่สัญญาไม่ได้ตกลงโดยชัดแจ้งในสัญญาว่าจะเลือกกฎหมายใดมาบังคับใช้ ก็เป็นปัญหาอีกประการหนึ่งในการเลือกใช้กฎหมายที่บังคับต่อสัญญา  ซึ่งอาจแก้ไขได้โดยการใช้กฎหมายขัดกันของศาลในประเทศที่คู่สัญญานำเสนอข้อพิพาท อย่างไรก็ตาม ปัญหาที่อาจเกิดตามมาก็คือกฎหมายขัดกันของแต่ละประเทศยังมีความแตกต่างกันไปตามระบบกฎหมาย และยังมีความไม่ทันสมัย ไม่สอดคล้องกับวิธีปฏิบัติทางการค้าระหว่างประเทศด้วย 

 

ดังนั้น เพื่อการแก้ไขปัญหาดังกล่าว รวมถึงเพื่อการสร้างกฎเกณฑ์ที่มีผลบังคับใช้ต่อสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศให้มีความเป็นเอกภาพโดยไม่ตกอยู่ภายใต้กฎหมายภายในของประเทศใดประเทศหนึ่ง  จึงมีสถาบันที่จัดทำกฎหมายเอกชนให้เป็นเอกภาพ (UNIDROIT) ซึ่งตั้งอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี จัดทำอนุสัญญาว่าด้วยการซื้อขายระหว่างประเทศ 2 ฉบับ เมื่อ ค.ศ. 1964 (พ.ศ. 2507) โดยมีประเทศต่าง ๆ เข้าร่วมลงนามเป็นภาคี ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์  อนุสัญญาทั้งสองฉบับมีชื่อดังนี้

1.          อนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายรูปแบบของการซื้อขาย

ระหว่างประเทศ    (The Convention relating to a Uniform Law on the International Sale of Goods)

 

2.    อนุสัญญาว่าด้วยกฎหมายรูปแบบของการ

  ก่อให้เกิด   สัญญาสำหรับการซื้อขายระหว่าง

  ประเทศ  (The Convention relating to a

  Uniform Law on the Formation of Contracts

  for the International Sale of Goods)

 

แต่ประเทศที่เป็นภาคีมีจำนวนน้อยและไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร      ดังนั้นคณะกรรมการกฎหมายการค้าระหว่างประเทศของสหประชาชาติ (United Nations Commission on  International Trade Law) มีชื่อย่อว่า UNCITRAL ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งขององค์การสหประชาชาติจึงได้ร่างกฎหมายแม่แบบในการค้าระหว่างประเทศโดยเฉพาะสำหรับการซื้อขาย เรียกว่า United Nations Convention on Contracts for the International Sale of Goods 1980 (CISG) ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 1988 และนับได้ว่าอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศหรือ CISG ได้รับความสำเร็จอย่างคาดไม่ถึง หลังจากใช้เวลามากว่า 30 ปี ในการเตรียมการร่างสัญญา และนับตั้งแต่การประชุมสหประชาชาติ (UN) ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรียในปี ค.ศ.1980  ซึ่งมีประเทศสมาชิก 62 ประเทศเข้าร่วมในการประชุม จนกระทั่ง ค.ศ. 2006 (พ.ศ. 2549)  มีประเทศที่ประกาศใช้ CISG เป็นกฎหมายรวม 67 ประเทศ  ทั้งนี้เกือบทั้งหมดของประเทศที่เข้าร่วมเป็นภาคีล้วนเป็นชาติมหาอำนาจทางการค้า ยกเว้น สหราชอาณาจักรหรืออังกฤษ และญี่ปุ่น  

 

อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ หรือCISG แทบจะเรียกได้ว่าเป็นการประชุมทางกฎหมายเกี่ยวกับการพาณิชย์ระหว่างประเทศที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด อีกทั้งนักกฎหมายและศาลในหลายประเทศก็มีความคุ้นเคยกับ CISG เสมือนหนึ่งเป็นกฎหมายภายในประเทศของตนเอง อนุสัญญาดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นกฎหมายกลางในการซื้อขายระหว่างประเทศเลยทีเดียว  ส่วนหนึ่งของความสำเร็จนั้นอาจเป็นเพราะการกำหนดขอบเขตการใช้บังคับ CISG ดังที่บัญญัติไว้ในส่วนที่ 1 (มาตรา 113) ไม่ได้มีความซับซ้อนมากเกินไปและกลายเป็นต้นแบบให้กับอนุสัญญา หรือร่างสนธิสัญญาอื่น ๆ อีกหลายฉบับได้เจริญรอยตาม   

 

วัตถุประสงค์ของ CISG คือว่า  “CISG ไม่ได้เป็นกฎเกณฑ์ที่รวบรวมแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศ จึงไม่ได้มีบทบัญญัติเกี่ยวกับรายละเอียดต่าง ๆ ที่ครอบคลุมในเรื่องสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศทุกเรื่อง แต่มีจุดมุ่งหมายในการบัญญัติสิทธิหน้าที่และการเยียวยาขั้นพื้นฐานของผู้ซื้อและผู้ขายในสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ อันเป็นหลักเกณฑ์ที่เกิดจากการผสมผสานและประนีประนอมของระบบกฎหมายต่าง ๆ ทำให้อนุสัญญานี้ได้รับการยอมรับจากนานาประเทศ1 ดังนั้น จะพบว่าการนำ CISG มาใช้บังคับเป็นส่วนหนึ่งของกฎหมายภายใน ก็จะได้รับประโยชน์ในเรื่องของการก่อให้เกิดสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศและการตีความสัญญาเพื่อกำหนดสิทธิและหน้าที่ของผู้ซื้อและผู้ขาย ตลอดจนการเยียวยาระหว่างคู่สัญญา นอกจากนี้ ลักษณะสำคัญประการหนึ่งของ CISG ยังเปิดช่องให้คู่สัญญามีเสรีภาพในการทำสัญญาโดยจะยกเว้นไม่นำบทบัญญัติ CISG มาใช้บางส่วนหรือไม่ใช้ทั้งหมดเลยก็ได้ ในขณะที่หลายประเทศมีการนำ CISG ไปใช้อย่างกว้างขวาง สำหรับประเทศไทย ยังไม่มีกฎหมายว่าด้วยการซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศเป็นการเฉพาะ  ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ ผู้พิพากษาและเลขานุการศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง กล่าวถึงมุมมองของประเทศกำลังพัฒนาต่อการนำ CISG ไปใช้ได้อย่างน่าสนใจว่า  

อนุสัญญาซื้อขายสินค้าฯ (ระหว่างประเทศ) ตอบสนองปัญหาของประเทศกำลังพัฒนา ในแง่ที่เป็นกฎหมายที่ทันสมัยที่บัญญัติเป็นพิเศษสำหรับสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ มีความยืดหยุ่น และคำนึงถึงประโยชน์ของผู้ซื้อและผู้ขายระหว่างประเทศในลักษณะที่สมดุล บทบัญญัติของอนุสัญญานี้วางหลักการที่ชัดเจนและครอบคลุมปัญหาในทางปฏิบัติเกี่ยวกับการค้าระหว่างประเทศที่กฎหมายภายในของประเทศที่กำลังพัฒนา

                               

1สุทธิพล ทวีชัยการ, บทวิเคราะห์เรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง  INCOTERMS  และกฎหมายซื้อขายระหว่างประเทศ,ในคู่มือการศึกษาวิชากฎหมายการค้าระหว่างประเทศ, จัดพิมพ์โดย สำนักอบรมศึกษากฎหมายแห่งเนติบัณฑิตยสภา (กรุงเทพมหานคร: จิรรัชการพิมพ์, 2545) น.136.

 

หลายประเทศไม่ได้บัญญัติไว้...ซึ่งความมีอยู่ ตลอดจนการใช้และตีความของบทบัญญัติที่เกี่ยวข้องของอนุสัญญาดังกล่าวน่าจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศกำลังพัฒนา2

 

คำกล่าวข้างต้นนี้ตีพิมพ์ในวารสารทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เมื่อปี ค.ศ.1999 (พ.ศ. 2542)  ผ่านมาจนถึง ปี พ.ศ. 2549 ซึ่งพบว่าเป็นช่วงที่ศึกษาค้นคว้าวิจัย CISG เชิงเปรียบเทียบกับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทยเพื่อนำไปใช้ร่างกฎหมายเกี่ยวกับสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ  จากการประชุมทางวิชาการครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 23 มกราคม 2549  เพื่อร่างพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์ โดยขออ้างอิงคำกล่าวของศาสตราจารย์พิเศษ จรัญ ภักดีธนากุล ในการประชุมครั้งนี้ที่ว่า

ตอนนี้ร่าง พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายสินค้าระหว่างประเทศได้มีการปรับเปลี่ยนเป็นร่าง พ.ร.บ.สัญญาซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์ เพื่อมิให้ระบบกฎหมายซื้อขายของไทยมีหลายระบบมากจนเกินไป อันอาจทำให้นักกฎหมายต้องสับสนต่อการใช้บังคับ ดังนั้นในแนวใหม่นี้จึงได้จัดทำกฎหมายในรูปแบบการซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์ โดยวางหลักเกณฑ์ทั้งการซื้อขายสินค้าในประเทศและระหว่างประเทศให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน คือ

๑. ถ้าเป็นการซื้อขายทางแพ่ง กฎหมายที่ใช้บังคับก็เป็นไปตาม          ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

๒. ถ้าเป็นการซื้อขายทางพาณิชย์ไม่ว่าจะเป็นในประเทศหรือระหว่าง

    ประเทศก็จะใช้ พ.ร.บ.ฉบับนี้

ในกฎหมายฉบับนี้ของเราควรพิจารณาทั้งส่วนที่เหมือนและต่างกับที่มีอยู่ใน CISG และในกฎหมายแพ่งของไทย ในส่วนที่ต่างกันต้องนำมาพิจารณาแล้ววางหลักเพื่อปรับกฎหมายให้เหมาะสมกับการปรับใช้ในทางพาณิชย์  ... CISG เป็นอนุสัญญาที่ได้ผสมผสานทั้งระบบ Common Law และ Civil Law แต่จะสอดคล้องไปทาง Civil Law มากกว่า ทำให้ประเทศไทยไม่น่าจะมีปัญหาอะไรในการร่างกฎหมายไปตาม CISG”3

                               

2 Suthiporn Thaveechaiyagarn, “The Third World Perspective on the U.N. Convention on Contracts for the International sale of Goods,” วารสารทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ, น.246-247.

3 <http://www.legalreform.go.th CISG

 

 

ถึงแม้ว่าการร่างกฎหมายดังกล่าวยังไม่ปรากฏให้เห็นชัดเจนเป็นรูปธรรมนับตั้งแต่การประชุมทางวิชาการที่ผ่านมาแล้วนั้น  แต่การศึกษาขอบเขตการใช้บังคับของ CISG เพื่อการเตรียมความพร้อมไว้ก่อนนับว่าเป็นเรื่องที่มีประโยชน์อย่างยิ่ง  หากประเทศไทยประสบผลสำเร็จในการตราพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายสินค้าทางพาณิชย์โดยมีการนำCISG มาปรับใช้   ทั้งนี้จำเป็นต้องคำนึงถึงด้วยว่าประวัติการตรากฎหมาย CISG แสดงให้เห็นว่าขอบเขตการนำไปใช้ไม่ได้อยู่นิ่ง แต่เปิดให้มีการพัฒนา แก้ไข และปรับเปลี่ยน4  ซึ่งจากการค้นคว้าบทความต่างประเทศ ทำให้เข้าใจว่าบางประเด็นยังไม่ได้ข้อยุติว่าอยู่ภายใต้หรือนอกเหนือขอบเขตการใช้บังคับของ CISG  ด้วยเหตุนี้ การนำเสนอรายงานขอบเขตการใช้บังคับครั้งนี้  จึงเป็นส่วนหนึ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความเห็นของนักกฎหมาย นักวิชาการในปัจจุบัน จากบทความต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงบทวิจารณ์คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับบทบัญญัติมาตราที่เกี่ยวกับขอบเขตการใช้บังคับ    ซึ่งในอนาคตย่อมมีการพัฒนาแง่มุมใหม่ ๆ  และปรับเปลี่ยนแก้ไขอย่างไม่หยุดนิ่งเพื่อนำ CISG ไปใช้ให้สอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติการค้าระหว่างประเทศตามระบบกฎหมายที่แตกต่างกันและตามยุคสมัยที่เปลี่ยนแปลง

                             

4Annemarie Großhans, “Reflections on the Scope of the Applicability of the 1980 U.N. Convention on Contracts for the International Sale of Good,” Vindobona Journal of International Commercial Law & Arbitration (2005 ):3.

 

 

 

                             --------------------------------

      

                                                                  

                                                                                        มีต่อ                                        

หมายเลขบันทึก: 259379เขียนเมื่อ 5 พฤษภาคม 2009 11:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:42 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (22)

สวัสดีค่ะ

เก่งรอบด้านจริงๆ

ไม่ว่ากฎหมาย ธรรมะ... การเขียน...

จะให้น้องคนที่มีปัญหา กลัดกลุ้มใจมาทักทายขอคำแนะนำนะคะ

พี่แดงภูมิใจที่ได้รู้จักอาจารย์ศิลา

ดอกไม้บานวันมงคล...พี่แดงฝากมาแทนคำขอบคุณนะคะ

 อยากเห็นภาพที่น้องแอนได้ของฝากที่เป็น kitty จังเลย...

สีของความดี

สีของคนที่มีเนื้อคู่แท้ soulmate

สีขาวบริสุทธิ์ เป็นสีของคนที่มีจิตใจงดงาม

สวัสดีค่ะคุณศิลา

มาอ่านสิงที่ไม่มีความรู้เลยค่ะ

คงต้องเก็บไว้ในคลังความรู้ก่อน ... เผื่อต้องใช้ในอนาคตค่ะ

ขอบคุณค่ะ

(^___^)

สวัสดีค่ะ

น้องกะทิ

ความสุขของกะทิ

ขอให้หลานเลี้ยงง่าย แข็งแรง

และมีจิตใจดี...

ขอบคุณมากมายค่ะ

น้องแอนคงดีใจมาก...

  • สุดยอดจริง ๆ เคยเรียนที่เนติฯ แต่ไม่ลึกซึ้งมาก
  • ขอบคุณสำหรับเนื้อหาที่มีประโยชน์

 

  • มาเก็บความรู้ดีๆใส่กล่องความทรงจำ
  • เวลาจะใช้จะได้เปิดกล่องได้เลย
  • ขอบคุณน้องศิลามากๆๆๆๆๆ

มาเรียนรู้สิ่งที่ไม่เคยรู้..เก่งจริงๆ..ข้าน้อยขอคารวะด้วยใจจ้า

จูงหลาน มาเที่ยว ครับ

น่ารัก มั้ย ครับ

สวัสดี ครับ คุณ sila

สวัสดีครับอาจารย์  พา เพ็ญ มาขอบคุณอาจารย์ที่ช่วยให้กำลังใจ..พร้อมกับให้มะม่วงเขียวเสวย  ขอบคุณครับ

สวัสดีค่ะ

 ขอบคุณนะคะ กำลังใจ สิ่งดีๆที่มอบให้...

 อาจารย์เป็นคนหนึ่งที่...ร่วมสานฝัน...ให้เด็กๆ... ขอให้มีความสุขมากๆ...

เมื่อวานเวรบ่าย...เห็นน้องอาหุย...น้องจ๋า...น้องโอ๊ค..(พูดยังไม่ชัดดีเลย) ซ้อมร้องเพลง...รอการจัดงาน...

 ก็เลยอุ้มมานั่งตักเปิด...com. ให้ดูที่น้องพอลล่า post เรื่องตุ๊กตาให้น้อง..

.เด็กๆทำตาโต...หนูจะเอาตัวนี้... หัวเราะเอิ๊กอ๊าก...ให้หนูดูอีก....

นี่หละโลกของเด็กไม่ได้อยากได้อะไรมากไปกว่านี้....

ขอบคุณจริงๆค่ะ 

 

สวัสดีค่ะ

เพิ่งได้รับพัสดุตอนเย็น

ตื่นเต้นนะคะยังไม่เปิดดูค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ...

จะส่งรูปให้ดูวันหลังนะคะ

แวะมาศึกษาเรียนรู้ค่ะ

สวัสดีค่ะ

 มัวแต่เตรียมงานเลยไม่ได้มาทักทาย...

ขอบคุณนะคะที่มาร่วมเป็นหนึ่งในโครงการดีๆ

 ความสุขที่มาทางพัสดุ...

มีค่าต่อจิตใจน้องแอน และตุ๊กตา...ก็ให้น้องทิพย์...สวยและน่ารัก น้องบอกว่าจะเก็บเป็นที่ระลึก...

 เสียดายจังเลย...กล่องนั้นมีที่อยู่...หลังจากแกะน้องๆเขาเอากล่องทิ้ง... อยากจะฝากอะไรเล็กมา...ทำไงดีคะ

  • ขอบพระคุณคุณพี่แดง P ที่เป็นผู้ส่งเสริมให้ศิลาได้ร่วมทำบุญในกิจกรรมสานฝันให้น้องผู้ป่วยด้วย
  • ภูมิใจกับความสำเร็จและความสุขของทุกท่านด้วยคนค่ะ
  • ดีใจมากเช่นกันค่ะที่ได้รู้จักกัลยาณมิตรที่มีจิตเมตตาสูง นึกถึงผู้อื่นตลอดเวลาค่ะอย่างคุณพี่แดง...
  • สำหรับศิลาแล้ว ต่อให้มีความรู้มากแก่ไหน หากไม่สร้างคุณค่าให้สังคมและผู้อื่น ก็เหมือนนำขุมทรัพย์ฝังดินเอาไว้เท่านั้นค่ะ  ดังนั้น สิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมออนไลน์แห่งนี้ เราคงต้องเรียนรู้และแบ่งปันร่วมกันค่ะ ร

สวัสดีค่ะคุณคนไม่มีราก อยากแอบไปดูคลังข้อมูลความรู้ของคุณคนไม่มีรากจังค่ะ คงมีเนื้อหาความรู้ดี ๆ น่าสนใจมากมาย จึงสามารถถ่ายทอดเรื่องราวได้หลากหลายและเห็นภาพตามได้ทุกครั้งที่นำเสนอค่ะ

อากาศเปลี่ยนจากร้อนมาเย็นฉ่ำ ดูแลสุขภาพด้วยนะคะ ศิลาแพ้อากาศไปแล้วค่ะ ฝากไว้ก่อน กะว่าคราวหน้าจะขอชนะบ้าง

- สวัสดีค่ะท่านศรีกมล รวบรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของงานที่ทำอยู่ค่ะ

- รู้สึกว่าตอนนี้ อยากปล่อยความรู้ที่แม้มีไม่มากนักออกมาให้หมด แล้วจะศึกษาเรื่องที่เราไม่เข้าใจเรื่องหนึ่งค่ะ คงต้องจริงจังบ้างแล้ว

หนูได้แก้ไขข้อมูลที่บล็อกของหนูค่ะ http://gotoknow.org/blog/berger0123/260738

 รูปท่านพ่อเฟื่อง อยู่วัดธรรมสถิตย์ จ.ระยอง ศาลนาจา ที่ลักษณะเมืองวัดเมืองจีน อยู่อ่างศิลา จ.ชลบุรี ใกล้บางแสน ค่ะ ถ้าว่างลองไปเที่ยวดูนะค่ะ ต้องขออภัยค่ะที่ให้ข้อมูลผิด เพราะไปสองจังหวัดที่อยู่ติดกันค่ะ

  • แวะมาอ่านสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศ
  • บังเอิญบ้าน มหา ติดกับต่างประเทศ
  • เลยศึกษาเอาไว้
  • ประเทศเขมร

ขอความรู้หน่อยค่ะ จะทำข้อสอบ

ข้อกำหนดของ unidroit มีอะไรบ้างคะ

เป็นอันเดียวกับ cisg ที่อ.เขียนหรือเปล่า

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับ สัญญาสร้างขายระบบ turn key การบริการหลังการขาย

การผูกพันตามสัญญา และการซื้อขาย สินค้าระหว่างประเทศค่ะ

ขอบคุณค่ะ

ตอบคำถามคุณสุภาภรณ์  UNIDROIT กับ CISG เป็นกฎหมายคนละตัวค่ะ เข้าไปดูข้อกำหนดของ UNIDROIT ได้ใน www ต่อไปนี้ค่ะ

http://www.unidroit.org/english/principles/contracts/main.htm

คู่สัญญาสามารถตกลงที่จะนำข้อใดของอนุสัญญาดังกล่าวมากำหนดในสัญญาก็ได้ค่ะ แต่ก็ต้องขึ้นกับกฎหมายที่ใช้บังคับ (applicable law)

ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูลที่มีประโยชน์เช่นนี้

  • ยินดีอย่างยิ่งหากข้อมูลนี้มีประโยชน์กับคุณวสินค่ะ
  • หากสนใจเรื่องนี้เป็นการเฉพาะ หารือกันได้ค่ะ เพราะศึกษาเรื่องนี้มาโดยตรงค่ะ
  • ขอบคุณมากค่ะที่ฝากข้อความให้กำลังไว้ค่ะ

อยากได้ vienna convention ที่เป็นพาสพไทยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท