ท.ณเมืองกาฬ
นาย ทรงศักดิ์ พิราบขาว ภูเก้าแก้ว

ประวัติเพลงลูกทุ่งไทย


เพลงลูกทุ่ง

                             

                     ประวัติเพลงลูกทุ่ง

 

าพ:ขวัญของเรียม(เพ็ญศรี)   ต้นตระกูลเพลงของไทยก็คือ เพลงมีเนื้อร้องแบบ     อนแปด    รับกับการเอื้อนทำนอง แต่ละเพลงจะมีความต่อเนื่องเป็น    พลงเถ  ตับ ชั้น เช่น 2 ชั้น 3 ชั้น ฯ และมีความยาวพอสมควร เพลงมักจะเริ่มจากช้าไปหาเร็ว ต่อมาเพลงได้ถูกพัฒนา เป็นเพลงประกอบรำจนถึงเข้าเรื่อง  ะะคร   และเื่องจากมีความยาวเกินไปจึงพัฒนาให้กระชับลง โดยใส่คำร้องในทำนองเอื้อน เรียกว่า " เนื้อเต็ม" นาฏกรรมจากวรรณคดี เช่น   โขน ะครร้อง  ของเจ้านายในราชสำนัก ได้รับความนิยมในหมู่เจ้านายวังหน้า วังหลัง หรือนอกวัง การแสดงแบบคลาสสิค ก็ถูกปรับให้เข้ากับชาวบ้านจากโขน ละคร มาเป็น     นังส ลิเก 

   ลิเก  ด้ถูกประยุกต์พัฒนา เชื่อมโยงศิลปะการแสดงพื้นบ้านท้องถิ่นต่าง ๆ มาผสมผสานกัน เพราะลิเกใช้ภาษาพูดจากหนังสือราชการ ใช้   ราชาศัพท์  จากเวียงวังในการแสดง  ลิเก   ถือว่าเป็น “รากร่วมของศิลปวัฒนธรรมเพลงลูกทุ่งไทยอย่างแท้จริง”

ก่อนหน้าที่จะถูกยอมรับว่าเป็น “เพลงลูกทุ่ง” ั้น จากเพลงไทยเดิม จากละครวรรณคดี ในยุคที่ขาดแคลน     ภาพยนตร์   ะครเวทีจึงได้รับความนิยมแทน ลักษณะละครเวทีสมัยใหม่ คือ การร้องเพลงสลับฉาก วงที่เกิดและดังอยู่ตัวมาก่อนก็คือ “ุนทราภรณ์”      วงดนตรีสุนทราภรณ์    อันเป็นวงดนตรีราชการของกรมโฆษณาการ ที่มีครูเอื้อ ครูแก้ว สร้างเพลง และเพลงในยุคนั้น ราชการให้เรียกเพลงไทย(เดิม)แะเพลงไทยสากล

   เมื่อมีการจัดประกวดเพลงแผ่นดินทองคำขึ้นมาโดย ป. วรานนท์ กับทีมวิทยุกองพล 1 โดยโกชัย เสมา ชำนาญ ฯลฯ ร่วมจัด จึงได้มีรางวัลเพลง แผ่นเสียงทองคำพระราชทาน”   เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ปี 2507 ในครั้งเริ่มต้นมีแต่ประเภท    ลูกกรุง ุเทพ สวลี    คว้าชัยไปครองครั้งที่ 2 ปี 2509 เพิ่มลูกทุ่ง โดย มยศ ทัศนพันธ์”    เป็นคนแรกชนะด้วยเพลง ช่อทิพย์รวงทอง"

     ถ้าจะนับปีกำเนิดของเพลงแรกที่ควรถือเป็นต้นกำเนิด “แนวลูกทุ่ง” ก็น่าจะถือเอาเพลง “ขวัญของเรียม     ต่มีบางหลักฐานบันทึกไว้ว่าเพลงแรก คือเพลง "โอ้เจ้าสาวชาวไร่"    ผลงานประพันธ์ทำนองและคำร้องของ รูเหม เวชกร เมื่อ    พ.ศ. 2481   ขับร้องโดย คำรณ สัมบุญณานนท์    ป็นเพลงประกอบละครวิทยุเรื่อง  "สาวชาวไร่"  ส่วนนักร้องลูกทุ่งคนแรก สมควรยกให้ “คำรณ สัมบุณณานนท์”    

         พลงลูกทุ่งยุคแรก

นยุคแรกๆยังไม่มีการแยกประเภทเพลงไทยสากลออกเป็นลูกทุ่งและลูกกรุง ถือว่าเป็นเพลงกลุ่มเดียวกัน มีนักร้องเพลงไทยสากลได้ร้องเพลงประเภทที่มีสาระบรรยายถึงชีวิตชาวชนบท หนุ่มสาวบ้านนา และความยากจน โดยรู้จักกันในชื่อ "เพลงตลาด" หรือ "เพลงชีวิต" โดยส่วนใหญ่นักร้องเพลงตลาดหลายท่านจะประพันธ์เพลงเองด้วย อาทิ   พบูลย์ บุตรขัน ชะลอ     ไตรตรองสอน พยงค์ มุกดา มงคล อมาตยกุล เบ็ญจมินทร์ (ตุ้มทอง โชคชนะ) สุรพล สมบัติเจริญ ฯลฯ เป็นต้น ส่วนวงดนตรีที่เด่น ๆ ของเพลงแนวนี้ได้แก่ วงดนตรี    “จุฬารัตน์” ของมงคล อมาตยกุล วงดนตรี “พยงค์ มุกดา” และ วงดนตรี “สุรพล สมบัติเจริญ”    ับได้ว่าวงดนตรีทั้งสามนี้เป็นแหล่งก่อกำเนิดแยกตัวเป็นวงดนตรีเพลงลูกทุ่งจำนวนมากในเวลาต่อมา

ในระยะแรกยังไม่เรียกกันว่า “นักร้องลูกทุ่ง” นักร้องชายที่รู้จักชื่อเสียงกันดี เช่น      คำรณ สัมบุณณานนท์ ชาญ เย็นแข นิยม มารยาท ก้าน แก้วสุพรรณ ชัยชนะ บุญนะโชติ ทูล ทองใจ ฯลฯ ส่วนนักร้องหญิงที่มีชื่อเสียงเด่น ได้แก่ ผ่องศรี วรนุช ศรีสอางค์ ตรีเนตร

เพลงลูกทุ่งเริ่มมีความชัดเจนมากขึ้นนับตั้งแต่ ประกอบ ไชยพิพัฒน์ นักจัดรายการเพลงทางสถานีไทยโทรทัศน์ ได้ตั้งชื่อรายการว่า “เพลงลูกทุ่ง” เมื่อปลายปี พ.ศ. 2507 และต่อมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2509 มีการจัดงานแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในครั้งที่สอง ได้มีการมอบรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทานในฐานะนักร้องลูกทุ่งชายยอดเยี่ยม โดย สมยศ ทัศนพันธ์ ได้รับรางวัลจากเพลง “ช่อทิพย์รวงทอง

[แก้ไข]

          ยุคทองของเพลงลูกทุ่ง

          สุรพล สมบัติเจริญ ได้ทำให้เพลงลูกทุ่งอยู่ในความนิยม ด้วยเอกลักษณ์ ลีลา และ รูปแบบเฉพาะตัว อีกทั้งยังแต่งเพลงร้องเองเป็นส่วนใหญ่ เขาเริ่มชีวิตการร้องเพลงจากกองดุริยางค์ทหารอากาศ  สุรพลชอบใช้เพลงจังหวะรำวงในเพลงที่เขาแต่ง ผลงานเพลงของเขามีลีลาสนุกสนานครึกครื้นเป็นส่วนใหญ่ เช่น เพลงเสียวไส้ เพลงของปลอม ฯลฯ

ยุคของสุรพล สมบัติเจริญ อาจกล่าวได้ว่าเป็นช่วงเวลาที่เพลงลูกทุ่งพัฒนามาถึงจุดสุดยอด เป็นยุคทองของเพลงลูกทุ่ง อยู่ระหว่างปี พ.ศ. 2506 –2513 ในช่วงนี้ สุรพล สมบัติเจริญ ได้ออกผลงานเพลงลูกทุ่งออกมาเป็นจำนวนมากมาย นักแต่งเพลงรุ่นนี้สืบทอดการแต่งเพลงมาจากครูเพลงในยุคต้น ตัวอย่างเช่นพีระ ตรีบุปผา เป็นศิษย์ของสมยศ ทัศนพันธ์ ส่วนศิษย์ของวงดนตรีจุฬารัตน์ ได้แก่ พร ภิรมย์ สุชาติ เทียนทอง และชาย เมืองสิงห์ นักแต่งเพลงที่สำคัญท่านอื่น ๆ อาทิ เพลิน พรหมแดน จิ๋ว พิจิตร สำเนียง ม่วงทอง ฉลอง การะเกด ชาญชัย บัวบังศรี สมเสียร พานทอง ฯลฯ

เจนภพ จบกระบวนวรรณ กล่าวไว้ในหนังสือ ดวลเพลงลูกทุ่ง ว่า “เพลงลูกทุ่งเฟื่องฟูสุดขีดในยุคสมัยของครูสุรพล สมบัติเจริญ (ประมาณปี 2504-2511) และหลังจากครูสุรพลถูกลอบยิงตายในขณะที่ชื่อเสียงกำลังเกรียงไกร หลังจากนั้นเพลงลูกทุ่งก็พุ่งขึ้นสู่ความนิยมชมชอบของผู้คนทั่วประเทศ ไม่ว่าจะเป็นชนบทหรือในเมือง

และยังมีนักร้องลูกทุ่งเกิดขึ้นใหม่หลายคน นักร้องเด่นของยุคนี้ได้แก่ ไวพจน์ เพชรสุพรรณ เพลิน พรหมแดน พร ภิรมย์ ชาย เมืองสิงห์ ศรคีรี ศรีประจวบ ก้าน แก้วสุพรรณ ไพรวัลย์ ลูกเพชร ผ่องศรี วรนุช สุชาติ เทียนทอง ฯลฯ

                   ยุคแห่งการแข่งขัน

ในช่วงปี พ.ศ. 2513–2515 มีการแข่งขันระหว่างเพลงลูกกรุงและเพลงลูกทุ่งสูง ทั้งนี้ในวงการเพลงลูกทุ่งเองก็มีการแข่งขันกันอย่างรุนแรง นักแต่งเพลงพยายามสร้างเอกลักษณ์ประจำตัวของนักร้องแต่ละคน นักร้องเพลงลูกทุ่งบางคนก็ไปแสดงภาพยนตร์ บางคนถึงกับเล่นเป็นตัวเอกโดยเฉพาะในภาพยนตร์เพลง ภาพยนตร์บางเรื่องนำเพลงลูกทุ่งมาประกอบเป็นเพลงเอก อย่างเช่นเรื่องมนต์รักลูกทุ่ง ที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ซึ่งแสดงนำโดยพระเอกขวัญใจในยุคนั้นคือ มิตร ชัยบัญชา เพลงเอกชื่อเดียวกับภาพยนตร์ประพันธ์โดย ไพบูลย์ บุตรขัน ส่วนนักร้องเพลงลูกทุ่งที่ร่วมแสดงด้วย ได้แก่ บุปผา สายชล โดยขับร้องเพลงดังในภาพยนตร์ชื่อ ยมพบาลเจ้าขา

หลังจากความสำเร็จของภาพยนตร์เรื่องมนต์รักลูกทุ่ง ทำให้มีการสร้างภาพยนตร์โดยมีการแสดงเพลงลูกทุ่งประกอบอีกหลายเรื่อง อาจเรียกได้ว่าเป็นยุคของภาพยนตร์เพลงลูกทุ่ง นักร้องที่เกิดจากภาพยนตร์แนวนี้และโด่งดังสุดขีดในวงการเพลงลูกทุ่งต่อมา ได้แก่ สังข์ทอง สีใส โดยเป็นผู้ร้องเพลงประกอบภาพยนตร์เรื่องโทน และแสดงคู่กับพระเอกไชยา สุริยัน นักร้องคนอื่น เช่น    ะพิน ภูไท เสกศักดิ์ ภู่กันทอง ศรคีรี ศรีประจวบ สมัย อ่อนวงศ์ พนม นพพร ยุพิน แพรทอง ชาตรี ศรีชล กาเหว่า เสียงทอง กังวานไพร ลูกเพชร ฯฯ   ส่วนนักแต่งเพลงที่ประสบความสำเร็จในช่วงนี้ก็มีไม่น้อย อาทิ กานท์ การุณวงศ์ ฉลอง ภู่สว่าง ช. คำชะอี พงษ์ศักดิ์ จันทรุกขา สุรินทร์ ภาคศิริ ฯลฯ

      วงดนตรีลูกทุ่งมีการประชันขันแข่งสูงมาก ซอยบุปผาสวรรค์เริ่มกลายมาเป็นชุมชนคนลูกทุ่งในช่วงนี้เองหลังจาก เพลิน พรหมแดน ย้ายเข้ามาอยู่เป็นคนแรกเมื่อปี 2512

      ปรากฏการณ์ใหม่ในวิวัฒนาการของเพลงลูกทุ่ง

ภาพ:พุ่มพวง ดวงจันทร์. ในช่วงเวลาระหว่าง พ.ศ. 2520–2528 เป็นช่วงที่เกิดนักร้องทั้งลูกทุ่งลูกกรุงจำนวนมาก มีการแข่งขันสูงมาก การแสดงเพลงลูกทุ่งมีการประกวดประชันการเต้นและเครื่องแต่งกายของหางเครื่องประกอบด้วย วงดนตรีเพลงลูกทุ่งได้เข้าสู่ระบบทุนมากขึ้น นักแต่งเพลงแนวลูกทุ่งในช่วงเวลานี้ เช่น ชลธี ธารทอง ฉลอง ภู่สว่าง คัมภีร์ แสงทองวิเชียร คำเจริญ ชัยพร เมืองสุพรรณ สุชาติ เทียนทอง ชวนชัย ฉิมพะวงศ์ ดอย อินทนนท์ ดาว บ้านดอน ฯลฯ

นักร้องชายที่อยู่ในความนิยม เช่น สายัณห์ สัญญา เกรียงไกร กรุงสยาม สุรชัย สมบัติเจริญ ยอดรัก สลักใจ ศรชัย เมฆวิเชียร ศรเพชร ศรสุพรรณ พร ไพรสณฑ์ ฯลฯ

นักร้องเพลงลูกทุ่งหญิงที่ได้รับการขนานนามว่าราชินีลูกทุ่งในยุคนี้คือ ุ่มพวง ดวงจันทร์  กร้องหญิงที่ได้รับความนิยมนอกจากพุ่มพวงได้แก่ นันทิดา แก้วบัวสาย ดาวใต้ เมืองตรัง หงษ์ทอง ดาวอุดร สดศรี พรหมเสกสรร อ้อยทิพย์ ปัญญาธรณ์ ฯลฯ

ตั้งแต่ประมาณปี พ.ศ. 2528 เป็นต้นมา เกิดแฟชั่นการแสดงคอนเสิร์ตของนักร้องแนวสตริง ซึ่งการแสดงแบบนี้แพร่หลายเข้ามาในวงการเพลงลูกทุ่งด้วย พุ่มพวง ดวงจันทร์ ได้จัดการแสดงคอนเสิร์ตได้รับความนิยมอย่างสูง จัดขึ้นประมาณกลางปี พ.ศ. 2529 ที่เซ็นทรัลพลาซ่า ในขณะที่เพลง กระแซะ ของเธอมีความโด่งดังอย่างมาก

 

               เพลงลูกทุ่งในปัจจุบัน

     ในปัจจุบัน มีศิลปินลูกทุ่งหน้าใหม่เข้าสู่วงการเพลงลูกทุ่งของค่ายเพลงหน้าใหม่ ตลาดเพลงลูกทุ่งเป็นตลาดใหญ่ เพลงลูกทุ่งได้รับความนิยมอีกครั้ง เนื่องมาจาก ได้มีการทำละครมนต์รักลูกทุ่งของอาร์เอส และฮิตติดตลาด ต่อมากับการกลับเข้ามาแจ้งเกิดของ ก๊อด จักรพรรณ์ อาบครบุรี กับคัพเวอร์ อัลบั้ม เพลงลูกทุ่งชุดสองที่เรียกเสียงกรี๊ดจากบรรดาแม่ยก และกลุ่มนักฟังเพลงรุ่นใหม่ในกรุงเทพฯ และการเกิดขึ้นของเพลงลูกทุ่งในคลื่นเอฟเอ็ม นำทีมบริหารโดย วิทยา ศุภพรโอภาส

    ในยุคก่อนเพลงลูกทุ่งจะเปิดเฉพาะในคลื่น   เอเอ็ม  เท่านั้น ในปัจจุบันทีวีก็เริ่มเปิดกว้างมากขึ้น เกมโชว์เอานักร้องเพลงลูกทุ่งไปเล่น ภาพยนตร์ ละครเอาลูกทุ่งไปเล่น และกลายเป็นธุรกิจกลุ่มใหญ่ขึ้น

     ครูเพลงบางคนถึงกับกล่าวว่า เพลงลูกทุ่งในสมัยนี้ไม่เหมือนเดิม เพราะขาดเอกลักษณ์ของการขึ้นต้น เรื่องราวตรงกลาง และตอนจบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดสัมผัสนอก-ใน ตลอดจนการเปรียบเทียบ

    ส่วนเนื้อหาของเพลงไปทางล้ำเส้นศีลธรรม เพลงในทำนองนี้อย่างเช่นเพลง "เด็กมันยั่ว" ของยอดรัก "อกหักซ้ำเฒ่า" ของ ไกรสร เรืองศรี "เรียกพี่ได้ไหม" ของ เสรีย์ รุ่งสว่าง     

                          เว๊บชื่อและประวัตินักร้องลูกทุ่งไทย

http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%A7%E0%B8%94%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B9%E0%B9%88:%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%
คำสำคัญ (Tags): #เพลงลูกทุ่ง
หมายเลขบันทึก: 259216เขียนเมื่อ 4 พฤษภาคม 2009 15:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 18:46 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีครับคุณครู ท ณเมืองกาฬ มีสุขครับ อ่านบล๊อกครูแล้วมีสุข ถ้ามีเนื้อเพลงของคุณคำรณ ก็ยิ่งสุขครับ ขอบคุณที่นำมาเล่าเอาไว้ครับ

สวัสดีครับ คุณวอญ่า-ผู้เฒ่า-natachoei

  • ขอบคุณที่แวะมาเยียมทักทาย
  • ให้กำลังใจ
  • มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสิ่งดีๆ

สวัสดีครับ อาจารย์ ท. ที่เคารพ

  • ผมแวะมายี่ยม
  • มาเรียนรู้เรื่องเพลงลูกทุ่งไทย
  • ขอให้อาจารย์มีสุขภาพกายแข็งแรง จิตใจเข้มแข็ง นะครับ

ขอบคุณมาก ครับคุณนพรัตน์

  • ที่แวะมาเยี่ยม
  • มาให้กำลังใจ
  • ขอให้มีความสุขมากๆเช่นกันนะครับ

เพลงลูกท่งเป็นเพลงที่มีการร้องใส่อักขระได้ชัดเจน..

มองเห็นภาพตามเนื้อเพลงได้อย่างถ่องแท้

คนที่ร้องเพลงลูกท่งได้..สุดยอดค่ะ

ยิ่งได้มาอ่านสาระดีดีดี..ขอบคุณนะคะ

ขอบคุณมากครับ คุณadd

  • ที่แวะมาเยี่ยม
  • มาฟังเรื่องราวของเพลงลูกทุ่งไทย
  • ขอให้โชคดีนะครับ
  • สวัสดีค่ะ
  • รับทราบประวัติด้วยค่ะ
  • มีความสุขวันหยุดนะคะ

เลือดสีเดียวกัน

สวัสดีครับ คุณครูป้อม ที่คิดถึง

  • ขอบคุณมากครับที่แวะมาเยี่ยม
  • มารับทราบประวัติของเพลงลูกทุ่งไทย
  • ขอให้มีความสุขในวันหยุดนะครับ

สวัสดีค่ะ ท.ณเมืองกาฬ

*** ชอบดูลิเกตั้งแต่เด็ก...ลิเกร้องเพลงออกแขกว่า..."ไม่ได้เอาอีเงามาหลอกตา"หมายถึงแสดงสดๆ ไม่มีตัดต่อแบบภาพยนตร์ ศิลปินลิเก เก่งครบเครื่องทั้งเล่นและร้องเพลงแทรกการแสดงทุกครั้ง

*** ลิเกจึงเป็น “รากร่วมของศิลปวัฒนธรรมเพลงลูกทุ่งไทยอย่างแท้จริง”

*** ขอบคุณนะคะที่ให้กำลังใจวงดนตรีลูกทุ่งจ่านกร้อง อย่าลืมติดตามชมรอบชิงแชมป์เร็วๆนี้นะคะ

ขอบคุณครับ คุณฟางข้าว

  • ที่แวะมาเยี่ยมทักทาย  ให้กำลังใจ
  • ผมจะรอลุ้นรอบชิง ของวงลูกทุ่งจ่านกร้องแน่นอนครับ
  • ขอให้สมปรารถนานะครับ
ณฏฐวรรธน์ กวิตารัตน์

เพลงลูกทุ่งเก่าๆ น่าสนใจทุกเพลงเลยนะครับ โดยเฉพาะเพลงที่ครูไพบูลย์ บุตรขันแต่งด้วยแล้วผมชอบมากเลยครับ ผมอยากทราบประวัติของครูไพบูลย์ บุตรขันจังเลยครับไม่ทราบว่าจะหาอ่านได้ที่ไหนบ้างครับ

สวัสดีครับ คุณ ณฏฐวรรธน์ กวิตารัตน์

  • ชขอคุณที่แวะไปเยี่ยม
  • แวะไปรับรู้เรื่องเพลงลูกทุ่ง
  • ผมนำประวัติของครูเพลง ไพบูลย์ บุตรขันมาฝาก

     ไพบูลย์ บุตรขัน จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา ไพบูลย์ บุตรขัน หุ่นรูปครูไพบูลย์ บุตรขัน ที่พิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งไทย ชื่อจริง ไพบูลย์ ประณีต เกิด 4 กันยายน พ.ศ. 2461 ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เสียชีวิต 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515 (อายุ 54 ปี) โรงพยาบาลเปาโล กรุงเทพ คู่สมรส ดวงเดือน บุตรขัน (พ.ศ. 2511 - 2515) อาชีพ นักแต่งเพลง, นักเขียนบทละคร ปีที่แสดง พ.ศ. 2490 - พ.ศ. 2515 เครื่องดนตรี แอคคอร์เดียน แนวเพลง ลูกทุ่ง ไพบูลย์ บุตรขัน (4 กันยายน พ.ศ. 2461 - 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515) นักแต่งเพลง และนักเขียนบทละคร ที่มีผลงานที่มีชื่อเสียงจำนวนมาก จนได้รับการขนานนามให้เป็น "อัจฉริยะนักแต่งเพลงอันดับหนึ่งของไทย" [1] ครูไพบูลย์ บุตรขัน เดิมชื่อ ไพบูลย์ ประณีต เกิดที่บ้านท้องคุ้ง ตำบลเชียงรากใหญ่ อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี เป็นบุตรของนายบุตร และนางพร้อม ประณีต ครอบครัวมีอาชีพทำนา มีฐานะยากจน มีพี่น้อง 3 คน เมื่ออายุได้ 6 ปี บิดาเสียชีวิต จึงได้รับการเลี้ยงดูโดยนายเจน บุตรขัน ผู้เป็นอา นำไปอยู่ที่อำเภอปทุมวัน กรุงเทพ และได้เปลี่ยนนามสกุลจากประณีต มาเป็นบุตรขัน [2] ไพบูลย์ บุตรขัน เริ่มศึกษาชั้นประถมต้นที่จังหวัดปทุมธานี ประถมปลายที่โรงเรียนสตรีปทุมวัน และศึกษาจนจบมัธยม 8 ที่โรงเรียนสวัสดิ์อำนวยเวทย์ กรุงเทพ และศึกษาดนตรีเพิ่มเติมจากครูพิณ โปร่งแก้วงาม ราวปี พ.ศ. 2476-2478 และเรียนวิชาดนตรีและโน้ตเพลงสากลเพิ่มเติมที่สมาคมวายเอ็มซีเอ แถบถนนวรจักร และได้ใช้โน้ตดนตรีประกอบการแต่งเพลงทุกครั้งตั้งแต่นั้นมา [2] หลังจากเรียนจบ ไพบูลย์ บุตรขัน ได้ทำงานเป็นครูสอนภาษาไทยที่โรงเรียนกว๋องสิว แล้วลาออกไปทำงานเป็นช่างไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าสามเสน แล้วลาออกไปทำงานกับคณะละคร คณะแม่แก้ว และคณะจันทโรภาส ของพรานบูรพ์ ทำหน้าที่เขียนบทละครวิทยุ และแต่งเพลง งานเพลงของไพบูลย์ บุตรขัน เริ่มบันทึกแผ่นเสียงเมื่อประมาณ พ.ศ. 2490 จากการชักนำของ สวัสดิภาพ บุนนาค ซึ่งเป็นเพื่อนและน้องเขย เพลงในยุคแรกได้แก่เพลง "มนต์เมืองเหนือ" "คนจนคนจร" "ดอกไม้หน้าพระ" "ดอกไม้หน้าฝน" และ "ค่าน้ำนม" และได้รับการยกย่องว่าเป็นงานที่มีคุณค่า และได้รับรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน เช่น "โลกนี้คือละคร" (ขับร้องโดย ปรีชา บุณยะเกียรติ) "เบ้าหลอมดวงใจ" และ "มนต์รักลูกทุ่ง" (ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร) "ฝนเดือนหก" (ขับร้องโดย รุ่งเพชร แหลมสิงห์) "ยมบาลเจ้าขา" (ขับร้องโดย บุปผา สายชล) หลังจากเสียชีวิตไปแล้วหลายปี ในปี พ.ศ. 2532 เพลงของครูไพบูลย์ ได้รับรางวัลพระราชทานในงานกึ่งศตวรรษเพลงลูกไทย ถึง 10 เพลง ได้แก่ "ชายสามโบสถ์" (ขับร้องโดย คำรณ สัมบุญณานนท์) "น้ำตาเทียน" (ขับร้องโดย ทูล ทองใจ) "บ้านไร่น่ารัก" และ "เพชรร่วงในสลัม" (ขับร้องโดย ชินกร ไกรลาศ) "ฝนซาฟ้าใส" (ขับร้องโดย ยุพิน แพรทอง) "ฝนเดือนหก" (ขับร้องโดย รุ่งเพชร แหลมสิงห์) "บุปเพสันนิวาส" และ "มนต์รักแม่กลอง" (ขับร้องโดย ศรคีรี ศรีประจวบ) "มนต์รักลูกทุ่ง" (ขับร้องโดย ไพรวัลย์ ลูกเพชร) และ "ยมบาลเจ้าขา" (ขับร้องโดย บุปผา สายชล) และในปี พ.ศ. 2534 ได้รับรางวัลจากเพลง "หนุ่มเรือนแพ" (ขับร้องโดย กาเหว่า เสียงทอง) [แก้] ชีวิตส่วนตัว ตั้งแต่วัยหนุ่ม ครูไพบูลย์ บุตรขัน ป่วยเป็นโรคเรื้อนและไม่มีเงินรักษาอย่างจริงจัง [3] ครูไพบูลย์เก็บตัวเงียบไม่ออกสังคม โดยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดจากนางพร้อม ประณีต ผู้เป็นมารดาจนนางพร้อมเสียชีวิตในปี พ.ศ. 2508 [4] แต่ได้ความช่วยเหลือจากเพื่อนฝูง พาไปรักษาจนหายดี แต่ก็ยังมีร่างกายพิการ ต่อมาได้กลัยมาเป็นโรคร้ายอีกครั้ง และใช้ยาเสพติดเพื่อบรรเทาอาการ และเข้าบำบัดที่สำนักสงฆ์ถ้ำกระบอกจนหายขาดในปี พ.ศ. 2502 ครูไพบูลย์ บุตรขัน สมรสกับ ดวงเดือน บุตรขัน นักแต่งเพลงลูกศิษย์ครูไสล ไกรเลิศ ที่เป็นเพื่อนกัน ทั้งคู่ร่วมงานกันและแต่งงานกันในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2511 แต่ครูไพบูลย์ได้ล้มป่วยด้วยโรคลำไส้ อาเจียนเป็นเลือด หลังจากนั้นไม่นาน จนกระทั่งเสียชีวิตเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2515) อายุ 54 ปี ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อเดือนมกราคม พ.ศ. 2516

ขอบคุณครับ เนื้อหาดีครับ

เลยเอาเพลงต้นฉบับดั้งเดิมมาให้ฟังกันครับ

เพลงช่อทิพย์รวงทอง

http://plengthaiclassic.blogspot.com/2011/11/001-chor-thip-ruang-tong.html

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท