ประสบการณ์ชีวิตและการทำงาน


ทำงานให้ดีที่สุด

ประสบการณ์ของชีวิต

             ผู้เขียนได้เริ่มชีวิตการทำงานโดยรับราชการเมื่อปี พ.ศ. 2524  หากนับจนถึงปัจจุบัน 2552 ก็เป็นเวลาผ่านมา  28  ปี ในสถานศึกษา "ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคใต้"  ปัจจุบันก็มีการเปลี่ยนแปลงหน่วยงาน / สถานศึกษา กศน. คือ สถาบันพัฒนา กศน.ภาคใต้

  ตั้งแต่เริ่มต้นเป็น "กองการศึกษาผู้ใหญ่"  ได้เริ่มต้นจัดตั้งในปี พ.ศ. 2483   ให้มีกองการศึกษาผู้ใหญ่ เป็นหน่วยงานที่จัดการศึกษาให้กับประชาชนที่อยู่นอกระบบโรงเรียน เพื่อให้ประชาชนได้มีโอกาสรับการศึกษา   ต่อมาเป็นกรมการศึกษานอกโรงเรียน ปี 2522 เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ.2522

 

  จนกระทั่ง ปี 2546  ได้ปรับเปลี่ยนเป็นสำนักงานบริหารการศึกษานอกโรงเรียน ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและปฏิรูประบบราชการไทย อีกทั้งปฏิรูปการศึกษาไทยอีกด้วย  ซึ่งขึ้นตรงต่อกระทรวงศึกษาธิการ

ในเวลาต่อมา ในปี 2551  ได้มีการปรับเปลี่ยนเป็น   สำนักงาน กศน.  และ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเป็นสำนักงาน กศน.จังหวัด  มีสถานะเป็นสำนักงาน  สำหรับศูนย์บริการการศึกษานอกโรงเรียนอำเภอ มีสถานะเป็นสถานศึกษา คือ ศูนย์ กศน.อำเภอ จนถึงปัจจุบันนี้

 

ผู้เขียนได้บรรจุครั้งแรก ณ ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนภาคใต้ จ.สงขลา  โดยครั้งแรกเป็นครูมีหน้าที่

รับผิดชอบในการทำบัญชี และเมื่อจบปริญญาตรี วิชาเอกวัดผลการศึกษา  จึงได้เปลี่ยนงานมาอยู่ฝ่ายวัดผลการศึกษา จนกระทั่ง ปี พ.ศ. 2534 ได้ย้ายสถานที่ทำงาน คือ  ได้มาอยู่ที่ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียนจังหวัดเพชรบุรี  เนื่องจากได้มีโอกาสลาศึกษาต่อ  หลังจากได้สำเร็จการศึกษาแล้วก็ได้กลับบ้านมาดูแลมารดาซึ่งอายุมากแล้ว  ปีพ.ศ.2536  และได้ย้ายสถานที่ทำงาน ณ ศูนย์บริการ กศน.อำเภอเมืองเพชรบุรี  เมื่อปี พ.ศ.2544 ได้รับผิดชอบในการจัดกิจกรรมการศึกษานอกโรงเรียน และรับผิดชอบกำกับดูแลครูประจำศูนย์การเรียนชุมชน  หรือเรียกว่า ครู ศรช. ซึ่งเป็นครูผู้สอนนักศึกษา กศน. ที่อยู่ในพื้นที่ในชุมชนนั้น ๆ  โดยครู ศรช. ต้องรับผิดชอบนักศึกษาไม่น้อยกว่า 80 คน จึงจะได้รับเงินค่าตอบแทนเป็นค่าจ้างเหมารายเดือน  ซึ่งเป็นงานที่หนักมากสำหรับครู      เพราะถ้าเปรียบกับครูในระบบโรงเรียนยังรับผิดชอบประมาณ 50 คน ก็ยังบ่นว่าเหนื่อยมาก   ทำให้ผู้เขียนเห็นใจครู ศรช.กศน.ทุกคน ที่อยู่ในความรับผิดชอบกำกับดูแล ของ กศน.อำเภอเมืองเพชรบุรี ประมาณ 16 คน ขณะนั้น  ถ้าสามารถช่วยเหลือได้ก็เต็มใจช่วยเต็มที่     

 

หลังจากนั้นประมาณ ปี พ.ศ. 2548  ผู้เขียนได้รับมอบหมายจากท่าน ผอ.วีระกุล อรัณยะนาค ขณะนั้น ปัจจุบัน ผอ.กศน.จังหวัดนนทบุรี  ได้ให้มาปฏิบัติหน้าที่โดยการช่วยราชการ ณ ศูนย์ กศน.จังหวัดเพชรบุรี  โดยให้รับผิดชอบ โครงการปฎิรูปการจัดการเรียนรู้สำหรับกลุ่มเป้าหมายพนักงานในสถานประกอบการ กรณีศึกษา : บริษัทโดลไทยแลนด์จำกัด  โดยได้ทำความตกลงร่วมกับสถานประกอบการ คือ บริษัทโดลไทยแลนด์ในการจัดการเรียนรู้ ด้วยวิธีการปรับการเรียนเปลี่ยนการสอน ในการพัฒนาหลักสูตรระดับ ม.ต้น โดยการสร้างหลักสูตร ได้ยึดเอาเนื้อหาสาระจากการปฎิบัติงานของพนักงาน มาจัดทำหน่วยการเรียนรู้แบบบูรณาการ    โดยยึดหลักบูรณาการวิธีการเรียนรู้ การทำงานและวิถีชีวิตเข้าด้วยกัน  ผู้เขียนได้มีโอกาสเป็นครูผู้สอนพนักงานเหล่านี้ด้วย โดยได้จัดมีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2549  ซึ่งในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้นั้น สถานประกอบการได้ให้สถานที่เรียนเป็นห้องเรียนโดยมีอุปกรณ์ คอมพิวเตอร์ สำหรับจัดการเรียนรู้ให้กับพนักงาน โดยให้จัดการเรียนการสอนระหว่างเวลา 13.00- 16.00 น.  ซึ่งพนักงานเหล่านั้นไม่ถูกหักรายได้ที่ได้รับอีกด้วย ทำให้ผู้เขียนคิดว่าผู้บริหารบริษัทโดลไทยแลนด์ เป็นผู้ที่มีวิสัยทัศน์ที่ดีสำหรับพนักงานในความดูแลของตนเอง ซึ่งเป็นการเพิ่มคุณภาพให้กับการปฏิบัติงานของบริษัทอีกด้วย ผู้เขียนขอชื่นชมเป็นอย่างมาก

แล้วจะเขียนมาเล่าประสบการณ์การทำงานในการจัดการเรียนรู้ในโรงงานต่อนะค่ะ

                                                                                                                                     ครูอ้อ  กศน.เพชรบุรี

 

หมายเลขบันทึก: 258801เขียนเมื่อ 2 พฤษภาคม 2009 17:35 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 08:52 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท