ประวัติบ้านผำใหญ่ ตอน ๑


มาถึงที่นั่นเวลาพอผึมผำ(จวนจะค่ำ) จึงพากันเรียกชื่อบ้านนั้นว่า “บ้านผำ” ครั้นเวลาต่อมาก็พากันทำคันคูกั้นน้ำไว้ให้มีที่ขังน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี

 

        ในช่วงระยะเวลาร่วม ๑๘๐ ปีที่ผ่านมา ขอนำผู้มีเกียรติทุกท่านร่วมรำลึกถึงประวัติความเป็นมาของบ้านผำใหญ่ อาทิเช่น ทำเลที่ตั้งหมู่บ้าน การอพยพหนีเพื่อหาที่ทำมาหากินใหม่ ระบบการปกครองท้องถิ่น ระบบสาธารณูปโภคและการพัฒนาด้านต่างๆ เพื่อเป็นกรณีศึกษา นำเสนอข้อมูลเชิงลึก อำนวยความสะดวกในการเข้าถึงและนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ในอนาคตต่อไป

 

        ความเป็นมาของบ้านผำใหญ่ ตำบลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด ได้เค้าเรื่องมาจาก หลวงปู่พั่ว วัดบ้านหนองยาง ข้าพเจ้า(นายวิรัตน์ อุตตรา ป.) ในปี พ.ศ.๒๔๘๕ ได้กลับจากกรุงเทพมาเยี่ยมบ้าน ได้สอบถามท่านหลวงปู่ในขณะเมื่อท่านอายุได้ ๑๑๓ ปี และกำลังอาพาธหนัก ถามถึงความเป็นมา ของบ้านในละแวกนี้ ท่านจึงได้เล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่า ท่านได้ยินคนเฒ่าคนแก่เล่าให้ท่านฟังอีกต่อหนึ่งว่า

 

 

        แต่ก่อนนั้น บ้านหนองยาง เดิมทีได้ตั้งอยู่บ้านท่าช้าง (อยู่ทิศตะวันออกเฉียงใต้ของบ้านตาแหลว ตำบลนาใหญ่ อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด ยังมีวัดเก่าที่มีพัทธสีมาปรากฎให้เห็นอยู่จนทุกวันนี้) ซึ่งอยู่ตอนใต้ของดงสวนผึ้ง ตั้งอยู่ริมห้วยอันมีน้ำไหลผ่านจากดงสวนผึ้ง ผ่านดงขวาง แล้วผ่านบ้านท่าช้างไป ในถิ่นนั้น มีดงไม้ทึบและมีฝูงช้างมากมาย เมื่อถึงฤดูกาลทำนา ฝูงช้างในถิ่นนั้น จะออกมากินข้าวกล้าที่ชาวนาปลูกไว้เสียหายหมด และยังเกิดโรคระบาดขึ้นในหมู่บ้านนั้นอีก ชาวบ้านจึงพากันอพยพหนีจากที่นั้น หาที่ทำมาหากินใหม่ จึงเกิดแยกกันออกเป็น ๒ สาย คือ

 

        สายที่ ๑ ได้อพยพจากบ้านท่าช้าง มาตั้งอยู่ที่บ้านหนองจอกน้อยและพวกนั้นยังได้แยกกันอีก บางพวกก็แยกต่อมาตั้งอยู่ที่บ้านหนองยาง จนถึงทุกวันนี้ คนถิ่นนั้นจึงมักเรียกรวมกันว่า บ้านหนองจอกหนองยาง จนติดปากและมีบางพวกย้ายกันไปเรื่อยๆ จนถึงบ้านโปด บ้านบัวสูง บ้านดู่ บ้านหัวนา ได้ย้ายกันไปเรื่อยๆ

 

        สายที่ ๒ ได้อพยพจากบ้านท่าช้างเช่นเดียวกัน แล้วมาตั้งอยู่ที่บ้านโนนม่วง(ทิศตะวันออกของโนนธาตุบัวสูง ซึ่งมีต้นมะม่วงเก่าแก่อยู่หลายต้น ที่มีปรากฎให้เห็นอยู่และเป็นที่ตั้งโรงเรียนประชาบาลบ้านบัวสูงในปัจจุบัน) อยู่ต่อมา การทำมาหาเลี้ยงชีพไม่สะดวกพอ ได้มี ๒ คนพี่น้อง คนพี่ชื่อคำ คนน้องชื่อดำ ได้พากันบุกป่าฝ่าดงหาตรวจดูพื้นที่ ทำเลที่พอเหมาะ พอจะตั้งหมู่บ้านได้ จึงพากันผ่านไปเรื่อยๆ ทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จนกระทั่งได้พบพื้นที่อันมีหนองน้ำ (หนองคูปัจจุบัน) ซึ่งมี หมากไข่ผำอยู่มากมายและยังมีน้ำใสเย็นดี มีป่าไม้ที่ไม่ใหญ่นัก เห็นว่าพอเหมาะแก่การตั้งบ้าน ทำมาหากินเลี้ยงชีพได้ดี จึงได้กลับไปอพยพเอาพวกญาติพี่น้องมาตั้งบ้านอยู่ทางทิศเหนือของหนองน้ำนั้น และมาถึงที่นั่นเวลาพอผึมผำ(จวนจะค่ำ) จึงพากันเรียกชื่อบ้านนั้นว่า บ้านผำครั้นเวลาต่อมาก็พากันทำคันคูกั้นน้ำไว้ให้มีที่ขังน้ำไว้ใช้ได้ตลอดปี

  

        ปัจจุบันคือ อ่างเก็บน้ำหนองคู มีขนาดความจุประมาณ ๑๒๐,๐๐๐ ลูกบาศก์เมตร รัฐบาลสมัยนั้นสร้างมอบให้ราษฎรบ้านผำ ตำบลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน ๒๕๓๑ รวมกว่า ๒๑ ปีแล้ว เพื่อใช้ประโยชน์และดูแลบำรุงรักษาร่วมกัน ประโยชน์ใช้สอยส่วนใหญ่เป็นแหล่งเก็บกักน้ำเพื่อเลี้ยงสัตว์ เลี้ยงปลา และปลูกผักหลังฤดูกาลเก็บเกี่ยว

 

 

        เมื่อมาอยู่ที่นั่นแล้วก็มีประชาชนมากขึ้นเรื่อยๆ ประมาณ ๗๔ ครอบครัว จึงพากันหาที่ตั้งวัดให้เป็นที่ทำบุญกุศลกัน พ่อวิเชียร กับพ่อทองจันทร์ จึงได้สละที่ดินของตนเองให้เป็นที่ตั้งวัด โดยนิมนต์ พระหลวงปู่พรม มาเป็นประธานก่อสร้างฝ่ายสงฆ์ ให้พ่อบุญมา เป็นหัวหน้าฝ่ายโยม เมื่อ พ.ศ. ๒๓๗๒ เมื่อตั้งวัดแล้วก็อยู่ที่นั่นไม่นานนัก ญาติโยมก็ขอให้ย้ายวัดไปตั้งที่ใหม่ ซึ่งก็ไม่ไกลจากที่เดิมมากนัก (ที่ตั้งโรงเรียนชุมชนบ้านผำในปัจจุบัน) ไปอยู่ที่นั่นอีกไม่นานก็ย้ายกลับมาตั้งที่เดิม คือ ที่ตั้งวัดบ้านผำใหญ่จนถึงทุกวันนี้ และทางบ้านเมืองก็มีการพัฒนากันมาเรื่อยๆ

 

        ต่อมาในราว พ.ศ.๒๔๔๘ บ้านผำก็ได้เกิดโรคระบาดอีก จนมีคนบางพวกพากันอพยพครอบครัวหนีจากบ้านผำ ไปตั้งบ้านใหม่อีกซึ่งอยู่ทางทิศใต้ของบ้านผำ (บ้านเหล่าหัวภูในปัจจุบัน) สมัยนั้น บ้านผำมีพ่อบ้านชื่อคำ

 

        ในราว พ.ศ. ๒๔๕๘ บ้านผำได้เกิดปีข้าวยากหมากแพงอีก จึงมีคนบางพวกพากันอพยพหนีอีก ไปตั้งอยู่ทางทิศเหนือของบ้าน (บ้านหนองหมู ปัจจุบัน) สมัยนั้น บ้านผำมีพ่อโลก ทวยมาตย์ เป็นพ่อบ้าน(กวนบ้าน)

        เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๕ บ้านผำก็มีโรงเรียนเป็นครั้งแรก ชื่อว่า โรงเรียนประชาบาลหนองผือ ๔ (วัดบ้านผำ) โดยอาศัยศาลาวัดเป็นสถานที่เรียนหนังสือ มีนายลา รัตนจันทร์ เป็นครูใหญ่คนแรกของโรงเรียน

 

        ในราว พ.ศ.๒๔๖๗ บ้านผำ ได้แยกการปกครองออกเป็น ๔ คุ้ม มีนายบ้านหรือกวนบ้าน ๔ คน คือ

๑.   คุ้มกลาง มีนายสีหาคลัง เป็นนายบ้าน ปกครองจนถึงแก่กรรมไม่เกษียณอายุ

๒.   คุ้มนอก มีนายลุน เสน่ห์วงศ์ เป็นนายบ้าน เมื่อนายลุนถึงแก่กรรมแล้วได้ตั้งนายพา เศษบุบผา เป็นนายบ้านต่อมา เมื่อนายพา ถึงแก่กรรมจึงได้ตั้งนายเพ็ง ฤทธาพรม เป็นแทนต่อมา

๓.   คุ้มป่ายาง มีนายลา รัตนจันทร์ เป็นนายบ้าน ภายหลังออกจากการเป็นครูใหญ่แล้ว

๔.  คุ้มหนองคู มีนายหล้า เศษบุบผา เป็นนายบ้าน เมื่อนายหล้าถึงแก่กรรมลง จึงได้ตั้งนายบุญมี จันดา เป็นต่อมา เมื่อนายบุญมีถึงแก่กรรมลงจึงได้ตั้ง ร.ต.ท.เพชร ธุระพันธ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านต่อมา และในช่วงนี้

 

        ในราว พ.ศ.๒๔๘๘ ได้เกิดโรคระบาด(ไข้ทรพิษ) อย่างร้ายแรงในหมู่บ้าน มีคนตาย ๒๓๐ ศพ และบ้านผำมีการปกครองแบบรวมเป็นเพียงหมู่บ้านเดียว มีผู้ใหญ่เพชร ธุระพันธ์ ปกครองเพียงผู้เดียว ปกครองได้เพียงปีเศษเท่านั้น ก็เกิดการแตกแยก แตกสามัคคีขึ้นในหมู่บ้าน เนื่องด้วยผู้ใหญ่บ้านผู้นี้เป็นคนมีใจดุร้าย ปกครองโดยไม่ให้ความเป็นธรรมเท่าที่ควร ทางการจึงได้ประชุมชาวบ้านๆ ได้ลงมติให้ผู้ใหญ่เพชร ออกจากตำแหน่งผู้ใหญ่บ้าน

 

        ในราว พ.ศ.๒๔๘๙ จึงได้ตั้งนายหล้า ธุระพันธ์ เป็นผู้ใหญ่บ้านต่อมา แต่เป็นอยู่ได้ไม่นานก็ถึงแก่กรรม จึงได้ตั้งนายสอน ไชยเสนา เป็นผู้ใหญ่บ้านแทน แต่อยู่ไม่นานก็ลาออก จึงได้ตั้งนายหวัน ฤทธาพรม เป็นต่อมา แต่เป็นอยู่ได้ไม่นานก็เสียสติ(โรคประสาท) จึงได้ตั้งนายสอน ไชยเสนา เป็นผู้ใหญ่บ้านอีกเป็นครั้งที่สอง ครั้นภายหลังจึงได้รับเลือกตั้งเป็นกำนันคนแรกของบ้านผำ และเป็นกำนันคนที่ ๑๔ ของตำบลหนองผือ และในช่วงนี้ พ.ศ.๒๔๙๐ ได้เกิดอัคคีภัยขึ้นภายในบ้านผำ ได้ไหม้บ้านไป ๑๐ ครอบครัวเศษ ใน พ.ศ.๒๕๐๑ บ้านผำ ได้แยกการปกครองออกเป็น ๒ หมู่บ้าน คือ หมู่ที่ ๖ กับหมู่ที่ ๑๘ ตำบลหนองผือ โดยหมู่ที่ ๖ มีนายสอน ไชยเสนา เป็นผู้ปกครอง หมู่ที่ ๑๘ ได้ตั้งให้นายดี่ ไชยเสนา เป็นผู้ใหญ้บ้านปกครองต่อมา

 

 

        ใน พ.ศ.๒๕๑๔-๒๕๑๕ ทางราชการ ได้แยกหมู่บ้านออกอีก เพื่อตั้ง กิ่ง อ.เมืองสรวง เพราะฉะนั้น บ้านผำจึงได้เปลี่ยนแปลงหมู่บ้านไปด้วย คือ หมู่ที่ ๖ เปลี่ยนเป็น หมู่ที่ ๗ ส่วนหมู่ที่ ๑๘ เปลี่ยนเป็น หมู่ที่ ๘ ตำบลหนองผือ

 

        พ.ศ.๒๕๑๘ นายดี่ ไชยเสนา ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๘ ได้เกษียณอายุลง จึงได้ตั้งนายสังข์ สุดชา เป็นผู้ใหญ่บ้านต่อมา

 

        พ.ศ.๒๕๑๙ นายสอน ไชยเสนา กำนันตำบลหนองผือ และผู้ปกครองหมู่ที่ ๗ ได้ถึงแก่กรรม จึงได้ตั้งนายสีลา วงศ์สมบัติ เป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ ๗ ต่อมา

 

        โปรดติดตามตอนที่ ๒ ที่นี่ ครับ  

 

คำสำคัญ : พ่อบ้าน นายบ้าน กวนบ้าน คือ ตำแหน่ง ผู้ใหญ่บ้าน ในปัจจุบัน

 

สุเทพ ธุระพันธ์

๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒

 

อ้างอิง

๑. พระครูวรธรรมโมภาส. (๒๕๕๑). อนุสรณ์งานฉลองซุ้มประตูและกำแพง

วัดบ้านผำใหญ่ ตำบลเมืองสรวง อำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด

วันที่ ๑๕-๑๗ ตุลาคม ๒๕๕๑.

๒. บทสัมภาษณ์. ผู้ใหญ่สุนทร ธุระพันธ์. (๑๒ มีนาคม ๒๕๕๒)

หมายเลขบันทึก: 258664เขียนเมื่อ 1 พฤษภาคม 2009 22:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (42)
  • ดีจังเลยครับ
  • จะได้รู้ประวัติชุมชน
  • มาชื่นชมนะครับ

สวัสดีค่ะ

  • กองเชียร์..รออ่านมาแล้วค่ะ
  • มาอ่าน.มาติดตาม..ตามสัญญา
  • แบบนี้ได้ทำเอกสารมอบให้โรงเรียนหรือเปล่าคะ
  • เป็นกำลังใจให้นะคะ
  • สุดยอดเลย
  • ประวัติที่ยาวนาน
  • ให้ข้อมูลมากกว่า อสม.
  • ชื่นชมด้วยความจริงใจ

 

สวัสดีครับ อาจารย์ ดร.ขจิต ฝอยทอง

@ ตั้งใจจะนำเสนอข้อมูลในบางมุม

@ อย่างน้อยก็คงได้ทราบที่มาที่ไปของ "บ้านผำใหญ่" บ้าง

@ ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมครับ

สวัสดีครับ พี่คุณครูคิม

@ มีความรู้สึกดีดีทุกครั้งที่พี่แวะมาเยี่ยม

@ และเป็นกองเชียร์...

@ เอกสารคงได้มอบให้โรงเรียนในโอกาสที่เหมาะสมต่อไป

@ วัด โรงเรียน บ้าน นำเสนอครบตามสัญญาครับ...อิอิ

@ ขอบพระคุณสำหรับกำลังใจ

สวัสดีครับ คุณพี่จ่าเหรียญชัย เหรียญชัย มาวงษ์

@ เพียงแค่อยากให้เยาวชนรุ่นน้องๆ

@ เข้าถึงข้อมูลในส่วนนี้

@ และเขียนบันทึกเพื่อเตือนความทรงจำครับ

@ ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมชม

อ๋อมแอ๋ม หลานลุงราขายไอติม^^__^^//

น้าเทพ!!

เก่งมากเลยค่รา

^^___________===========___________^^

สวัสดีครับ น้องอ๋อมแอ๋ม หลานลุงราขายไอติม^^__^^//

@ อีกหนึ่งทางเลือก...

@ ขอแนะนำให้มาร่วมเขียน

@ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันใน G2K นะ

@ ขอบใจมากสำหรับกำลังใจ

ไทบ้านผำ คุ้มป่าม่วง

อยากกลับบ้าน.....ไปเทียวงานต่างๆๆๆคือสิม่วนหลายเด้....

สวัสดีครับ คุณไทบ้านผำ คุ้มป่าม่วง

@ อยากกลับบ้าน...

@ แต่ถ้ายังไม่ได้กลับบ้าน

@ ก็ส่งตังค์กลับไปให้คนอยู่ที่บ้านก็ได้นะคร๊าบ...อิอิ

@ ลองเดินเล่น ตลาดนัดวันอาทิตย์บ้านผำ คลิกเลย

อยากรู้จักคนบ้านเดียวกันเด้อข่อยอยู่คุ้มป่าม่วง

บ่ได้กลับบ้านโดนแล้ววววววว่าจะกลับไปม่วนบุญบั้งไฟนี่หละ

สวัสดีครับ คุณสุ คุ้มป่าม่วง

@ สุ แปลว่า ดี

@ ยินดีที่ได้รู้จักครับ

@ จั่งพ้อกัน...

@ บุญบั้งไฟใหญ่เนาะ

@ ขอบพระคุณที่แวะมาเยี่ยมคร๊าบ..

ทำงานอยู่โรงบาลรามาหรอว่างๆก็มาเจอกันเด้อเอ้อแล้วมีผ้าป่าบ่บุญบั้งไฟหนะ

สวัสดีครับ คุณสุ

@ รายละเอียดยังไม่ทราบครับ

@ ข่าวคืบหน้า...

@ คงมีโอกาสได้นำเสนอในโอกาสดีดีต่อไปครับ

ไปไหนแล้วว่าจะถามหลายอย่างเลยเกี่ยวกับบ้านเฮา

จร้าแล้วจะรอฟังข่าว ครั้งหนึ่งข่อยยังเป็นเด็กน้อยขี้มูกโป่งนั่งดูอ้ายเทพเต้นหน้าฮ้านอยู่เลยไม่นึกว่าจะได้มาคุยกันอย่างนี้ ดีจัยล้ายหลาย

สวัสดีครับ คุณสุ

@ ถามได้เลย

@ ฝากคำถามไว้

@ ยินดี..ถ้าตอบได้ครับ

@ เด็กน้อยขี้มูกโป่งนั่งดูเต้นหน้าฮ้าน...

@ มะคือเป็นตาอยากอายนำก้นแท้น้อ..อิอิ

ตอนนั้นมันแอบปลื้มอ้ายอยู่นิดๆๆๆๆๆๆป่านนี้กะคงซิแต่งงานแล้วหละมั้ง5555+แม่นบ่

มื้อหลังคุยกันใหม่เนาะข่อยง่วงแล้วซิไปนอนหละบายจร้าๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีครับ คุณสุ

@ ตอนนั้นมันแอบปลื้มอ้ายอยู่นิดๆๆๆๆๆๆ

@ แล้วตอนนี้หล่ะ...

@ แต่ง(กับ)งานแล้วครับ

@ ขอบคุณที่แวะมา

@ ราตรีสวัสดิ์ครับ...

อยากไห้ถึงบุญบั้งไฟเร็วเนาะซิได้เห็นหน้าอ้ายอีก555+คือซิเถ่าลงไปหลายๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆแม่นบ่

สวัสดีครับ คุณสุ

@ เทิงเฒ่า เทิงอ้วน เทิงดำ เหมิดอยู่หนี่...อิอิ

@ สังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง

@ ความสวย(หล่อ)ไม่คงที่ แต่ความดีซิคงทน..

@ ขอบคุณครับ

แวะมาคุย

  • ขอบคุณที่ให้ความเข้าใจเกี่ยวกับขชุมชน
  • พี่รุ่นก็เคยผ่านไปเส้นทางนั้นบ่อยละซิ
  • บรรจุเป็นข้าราชการครู ปี๒๙ที่สุรินทร์
  • ถ้ากลับสกลก็ต้องนั่งรถสาย ร้อยเอ็ด-กาฬสินธุ์
  • ผ่านเส้นทางนั้นใช่ไหม?
  • นึกอยู่เหมือนกันว่าคำว่า"ผำ"ต้องเป็นพืชน้ำชนิดหนึ่ง
  • นำมาปรุงเป็นอาหารรับประทานได้ แต่มันก็ไม่มีทุกฤดูใช่ไหม ?
  • เดี่ยวนี้ยังมีให้ได้รับประทานไหม? เคยทานและอร่อยด้วยนะ
  • ผักชนิดนี้น่าจะมีคุณค่าทางอาหารสูง
  • ทำไมคนแถวนั้นไม่ทำเป็นพืชเศรษฐกิจ หาทานยากนะ
  • ไม่ใช่ผักมีทั่วไปในตลาด...ก็ยังสงสัยอยากรู้เกี่ยวกับพืชชนิดนี้
  • พอจะเล่าบอกได้ไหม?

ขอบคุณล่วงหน้าหากจะตอบมา

สวัสดีครับ คุณพี่vaแปลว่าดอกไม้

@ เป็นเหตุการณ์เก่า(ผ่านมา 180 ปี) ที่นำมาเล่าผ่านบันทึกสู่กันฟัง

@ "หมากไข่ผำ" สีเขียวๆ จะขึ้นตามหนองน้ำธรรมชาติ

@ ที่มีความอุดมสมบูรณ์มากๆ

@ ทำไมคนแถวนั้นไม่ทำเป็นพืชเศรษฐกิจ หาทานยากนะ

@ สภาพแวดล้อมในปัจจุบันคงไม่เหมาะ หนองน้ำสาธารณถูกขุดลอกกลายเป็นหนองน้ำขนาดใหญ่ที่ใช้เก็บกักน้ำสำหรับเลี้ยงสัตว์และปลูกพืชผัก ดังรูปข้างบน

@ ความเป็นธรรมชาติที่แท้จริงเหลือน้อยครับ

@ ขอบพระคุณครับ

ไม่ใช่คนบ้านผำ แต่อยากเป็นสะใภ้ที่นั้นค่ะ

แต่ตอนนี้คงไม่ได้เป็นแล้วค่ะ โดนหมุ่นบ้านผำหักอก

ฮื่อ ๆๆๆ เศร้าค่ะ (แต่ยังไงก็จะหาโอกาสไปเยี่ยวเยือนนะคะ)

*** อกหักมาเกือบ 4 ปีแล้ว แต่ยังรักหนุ่มบ้านผำไม่เปลี่ยนแปลงนะคะ T_T

สวัสดีครับ คุณ rose apple

@ หนุ่มคนไหนหนอ..ช่างทำได้ลงคอ

@ ความรู้สึกดีดีที่ยังคงอยู่ มีโอกาสอยากไปเยี่ยมเยียน ยังรักไม่เปลี่ยนแปลง..

@ เพิ่นว่า..ฮักกันไว้ดีกว่าซังกันเนาะ

@ ขอบพระคุณครับ

หวัดดี พี่สุ ซำบายดีบ่ 5555555 เราเข้ามาดูแล้วนะจ้ะ มีอะไรก็ว่ามาก็แล้วกัน

สวัสดีครับ คุณตาลเดี่ยว

  • ซำบายดีตามอัตภาพ
  • ขอบพระคุณที่แวะมาทักทาย

ผู้ไม่ประสงค์ออกนามแวะเยี่ยม

เพื่อชื่นชมยินดีและขอขอบคุณสำหรับข้อมูล

ปล. อยู่ในใจเสมอ คนบ้านเดียวกัน

สวัสดีครับ คุณไม่แสดงตน

  • ยินดีที่แวะมาเยี่ยม
  • อยู่ในใจเสมอ...ฮู้บ่...
  • ขอบคุณครับ

สวัสดีครับ

กระผมตัวแทน จาก K.S AUDIO ผม คือ ลูกชาย พ่อโต้ง แม่บิล ครับผม

ดีใจมากที่เห็น บ้านผำใหญ่ ลงเว็ป

ผม ประทับใจ ร้อยเอ็ดมากครับ โดยเฉพาะ บ้านผำใหญ่

ไปที่ไรสนุกมากเลยครับผม

ชื่อ ผมติด อยู่ที่ ป้ายวัด น่ะครับ

ชื่อ ด.ช สุรศักดิ์ ทนทาน และ พี่สาว ผม สโรชา ทนทาน

น่ะ ครับ

บาย ๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ

สวัสดีครับ น้องสุรศักดิ์ ทนทาน

  • ยินดียิ่งที่ได้รู้จัก
  • และดีใจเช่นกันที่ได้เจอลูกหลานคนบ้านผำ
  • ประเพณีไทยอีสานดีดี
  • ที่ควรค่าแก่การอนุรักษ์ ที่นี่ http://gotoknow.org/blog/thaibaanphum
  • ขอบคุณครับ

หวัดดีครับ เเวะมาเบิง

สวัสดีครับ คุณนามเเฝง พิณไฟ

  • แวะมาเบิง..ซือๆ น่ะ
  • ขอบพระคุณที่กรุณาแวะมาทักทายครับ
เด็กหนุ่มคุ้มป่ายาง

จำกันได่บ่คับ  เด็กหนุ่มคุ้มป่ายางแห่งบ้านผำ คนเดิมหน้าเดิมๆ เดี๋ยวก็สงกรานแล้ว กลับบ้านไปม่วนกันเนาะบ้านเฮา

  • สวัสดีครับ น้องไทบ้านผำ
  • ชัดเจน ดีครับ สำหรับประวัติหมู่บ้าน
  • มีความสุขมากๆ ครับผม

สวัสดีครับ เด็กหนุ่มคุ้มป่ายาง

  • ห่างหายไปนานไม่ได้เจอกัน
  • สงกรานต์บ้านเฮา..ถ้าได้กลับก็คงได้เจอกัน..
  • ข่าวฝากประชาสัมพันธ์ ท่านใดสามารถกลับก่อนเทศกาลสงกรานต์
  • ขอเชิญ "ลงหนองคูจับปลา" ในวันเสาร์ที่ 2 เมษายน 2554 ครับ

สวัสดีครับ คุณนาย ฐานิศวร์ ผลเจริญ 

  • มีความสุขทุกๆ วันเช่นกัน
  • ยินดีที่ได้รู้จักและขอบคุณที่แวะมาทักทายครับ
ศศินา เหล่าทอง (น้องนัท)

รูปสวยมากค่ะ ยังจำกันได้ไหมหนูอยู่คุ้มหนองคู หลานยายสาว หลานน้าปัจจานันท์ ลีลา รู้จักไหมค้า ขอบคุณค่ะที่เอารูปลง

สวัสดี น้องนัท ศศินา เหล่าทอง

จำได้เสมอ...ขอบใจมากที่แวะมาทักทายครับ
นายชานนท์ แก่นสิงห์

สวัสดีขอรับท่าน ผมเข้ามาชมบ่อยแล้วแต่ไม่เคยติชมเลยเอาวันนี้เลยแล้วกันนะ ดีมากๆๆๆเลยขอรับ ที่เห็นไทบ้านผำมีความสามารถ อยากให้ลูกหลานได้เห็นบุคคลที่มีความสามารถและเอาเยื่องอย่างจังเลย วันหลังจะมาใหม่นะขอรับ


สวัสดีครับคุณชานนท์ แก่นสิงห์

คนหลายคนในหมู่บ้านผำเฮาเป็นผู้ที่มีความสามารถสูงและควรนำมาเป็นแบบอย่างครับ ขอบพระคุณยิ่งที่แวะมาทักทาย คำติชมถือเป็นน้ำทิพย์ชโลมใจให้ทำคุณงามความดีเพื่อสังคมบ้านเฮา สังคมโลกต่อไปครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท