การทำแผนกลยุทธ์และการจัดการความรู้ (ตอนที่ 2)


การให้บริการทางวิชาการที่โดยคำนึงถึงผู้รับบริการ

การให้บริการทางวิชาการในอดีต และค่อนข้างจะเป็นส่วนใหญ่ จะเน้นการให้บริการทางวิชาการที่ผู้ให้บริการมีความถนัดเป็นสำคัญ โดยไม่ค่อยจะคำนึงถึงความต้องการของผู้รับบริการสักเท่าไหร่ เปรียบได้เสมือนกับงานวิจัยต่างๆของนักวิจัย ซึ่งภายหลังจากวิจัยเสร็จจะขึ้นหิ้งมากกว่าขึ้นห้าง คือ ทำวิจัยที่ตัวเองอยากทำแล้วคิดว่าชาวบ้านเขามีปัญหา แต่ท้ายสุดแล้วนำไปใช้ในชีวิตจริงกับชาวบ้านได้น้อย ฉันใดก็ฉันนั้น (ฉันกันเป็นชั้นๆ) การเขียนโครงการในลักษณะการให้บริการวิชาการแก่ชุมชนของผู้เก่งกล้าสามารถทั้งหลาย บางท่านก็เขียนขึ้นมาเพราะคิดว่าชาวบ้านเขาอยากรู้เรื่องนั้น (ที่สำคัญก็เพราะว่าเขาถนัดในเรื่องนั้น) โดยที่ไม่ได้สำรวจความต้องการของผู้รับบริการสักเท่าไหร่

แต่ในการจัดทำแผนกลยุทธ์และการจัดการความรู้ในครั้งนี้ ในส่วนของกิจกรรมการให้บริการวิชาการนั้น ผมได้มีโอกาสเสนอแนวความคิดในการ ทำการสำรวจความต้องการของผู้รับบริการทางวิชาการ ก่อนที่จะให้นักวิชาการมาคิดว่า จะให้บริการวิชาการเรื่องอะไรดีกับผู้รับบริการ โดยสำรวจถึง 1) ความต้องการของผู้รับบริการ 2) ความคุ้มค่า (นอกเหนือจากความรู้ทางวิชาการ) 3) ความสะดวก (ช่องทางที่เขาเข้าได้) 4) การสื่อสารให้ข้อมูล

 

หมายเลขบันทึก: 258439เขียนเมื่อ 30 เมษายน 2009 18:51 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 06:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท