ปัญหาของการดำเนินงานห้องสมุดกับพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537


สาระสำคัญจากการสัมมนาเรื่อง ลิขสิทธิ์วิชาการกับงานห้องสมุด โดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา วันที่ 23-24 เม.ย. 2552 ณ โรงแรมพูลแมน จ.ขอนแก่น

                ด้วยว่า ณ ปัจจุบันห้องสมุดได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการให้บริการมากขึ้น โดยเฉพาะเทคโนโลยีสารสนเทศ พฤติกรรมของผู้ใช้บริการในยุคห้องสมุดก็เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นเนื้อหาของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 อาจจะไม่ครอบคลุมถึงสิ่งต่างๆ ที่เปลี่ยนแปลงไป และทำให้ห้องสมุดหรือผู้ให้บริการเกิดความกังวลในการให้บริการสารสนเทศทางวิชาการ ซึ่งอาจเข้าข่ายการละเมิดลิขสิทธิ์ได้

  •                 การดำเนินงานห้องสมุดที่เป็นจุดเสี่ยงต่อการละเมิดลิขสิทธิ์

-          การให้บริการผ่านเว็บไซต์ตลอดเวลา 24 ชม./7วัน ซึ่งเป็นการบริการที่ผู้ใช้บริการสามารถใช้บริการต่างๆ โดยไม่มีเจ้าหน้าที่ห้องสมุดควบคุม เช่น การดาวน์โหลดข้อมูล

-          การ Access ข้อมูลจากภายนอกห้องสมุดผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือระบบ LAN

-          การให้บริการสแกนเอกสาร

-          การให้บริการถ่ายเอกสาร

-          การให้บริการเอกสารในบริการยืมระหว่างห้องสมุดจากฐานข้อมูลที่บอกรับ

-          การนำVCD ภาพยนตร์มาจัดฉายเพื่อการเรียนรู้แต่ไม่เก็บค่าธรรมเนียม ซึ่งมีทั้งกรณีเช่าจากร้านเช่าวีดีโอ หรือห้องสมุดซื้อมา

-          การนำสื่อดิจิทัลมาให้บริการในระบบเครือข่ายเพื่อให้ผู้ใช้เรียกดูได้พร้อมกันหลายคน เช่น VDO on demand

-          การทำสำเนาเทปบันทึกเสียง DVD, CVD เพื่อให้ผู้ใช้บริการยืม ด้วยเกรงว่าต้นฉบับจะสูญหาย

-          การอัดรายการทีวีจาก ฟรี T.V. เพื่อใช้เป็นสื่อการเรียนรู้ เช่น สารคดีจากรายการกบนอกกะลา การแสดงในรายการคุณพระช่วย เป็นต้น

-          การอัดรายการจากเคเบิ้ลที่บอกรับเพื่อประกอบการศึกษา เช่น รายการจาก UBC เป็นต้น

-          การให้บริการโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ไม่ถูกลิขสิทธิ์โดยอาจรู้เท่าไม่ถึงการณ์จากการจัดซื้อจัดหาทางพัสดุ

- การดัดสื่อโดยแปลงจากเทปบันทึกเสีย และวิดีทัศน์ ให้อยู่ในรูปแบบสื่อดิจิทัล

ฯลฯ

  • การละเมิดลิขสิทธิ์ระบุไว้ในมาตรา 27-31 ซึ่งสัมพันธ์กับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในมาตรา 15  ซึ่งได้แก่
    • การทำซ้ำหรือดัดแปลง
    • เผยแพร่ต่อสาธารณชน
    • ให้เช่าต้นฉบับ หรือสำเนางานโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โสตทัศนวัสดุ ภาพยนตร์ และสิ่งบันทึกเสียง
    • ให้ประโยชน์อันเกิดจากลิขสิทธิ์ของผู้อื่น

  • องค์ประกอบในข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์  ซึ่ง พรบ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ได้กล่าวไว้ในมาตรา 32 ว่า (จาก พรบ.ลิขสิทธิ์ หน้า 13-14)

- ต้องไม่ขัดต่อการแสวงหาผลประโยชน์จากงานอันมีสิทธิ์ตามปกติของเจ้าของลิขสิทธิ์

- ไม่กระทบกระเทือนถึงสิทธิอันชอบด้วยกฏหมายของเจ้าของลิขสิทธิ์ ซึ่งได้แก่

                (1) วิจัยและศึกษางานนั้น อันมิใช่การกระทำเพื่อกำไร

                (2) ใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง หรือเพื่อประโยชน์ของตนเองและบุคคลอื่นในครอบครัว หรือญาติสนิท

                (3) ติชม วิจารณ์ หรือแนะนำผลงานโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

                (4) เสนอรายงานข่าวทางสื่อสารมวลชนโดยมีการรับรู้ถึงความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานนั้น

                (5) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดง หรือทำให้ปรากฏเพื่อเป็นประโยชน์ในการพิจารณาของศาลหรือเจ้าพนักงาน ซึ่งมีอำนาจตามกฎหมายหรือในการรายงานผลการพิจารณาดังกล่าว

                (6) ทำซ้ำ ดัดแปลง นำออกแสดงหรือทำให้ปรากฏโดยผู้สอน เพื่อเป็นประโยชน์ในงานของตน อันมิใช่การกระทำเพื่อหากำไร

                (7) ทำซ้ำ ดัดแปลงบางส่วนของงาน หรือตัดทอน หรือทำบทสรุปโดยผู้สอน หรือสถาบันการศึกษา เพื่อแจกจ่ายหรือจำหน่ายผู้เรียนในชั้นเรียนหรือในสถาบันศึกษา ทั้งนี้ต้องไม่เป็นการกระทำเพื่อหากำไร

                (8) นำงานนั้นมาใช้เป็นส่วนหนึ่งในการถามและตอบในการสอบ

  • สำหรับบรรณารักษ์นั้นมีข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ ดังระบุไว้ในมาตราที่ 34 (หน้าที่ 14)

มาตรา 34 ระบุว่า การทำซ้ำโดยบรรณารักษ์ของห้องสมุดซึ่งงานอันมีลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัตินี้ มิให้ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์หากการทำซ้ำนั้นมิได้มีวัตถุประสงค์เพื่อหากำไร และได้ปฏิบัติตามมาตร 32 วรรค (1) ซึ่งเป็นการวิจัยและศึกษางานนั้น อันมิไช่การกระทำเพื่อหากำไร อันได้แก่การปฏิบัติในกรณีดังต่อไปนี้

(1)    การทำซ้ำเพื่อใช้ในห้องสมุดหรือให้แก่ห้องสมุดอื่น

(2)    การทำซ้ำงานบางตอนตามสมควรให้แก่บุคคลอื่นเพื่อประโยชน์ในการวิจัยหรือการศึกษา

แม้ว่าจะมีข้อยกเว้นลิขสิทธิ์ แต่ห้องสมุดไม่มีเฉพาะบรรณารักษ์  และคำว่าบางตอน และตามสมควร นั้น เป็นข้อที่ห้องสมุดควรกังวล หากท่านใดมี "คู่มือการใช้งานลิขสิทธิ์ที่เป็นธรรม" ที่จัดทำโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญา อาจจะกระจ่างมากขึ้น...ซึ่งจะกล่าวรายละเอียดในบันทึกฉบับต่อไป

 

 

หมายเลขบันทึก: 258201เขียนเมื่อ 29 เมษายน 2009 16:58 น. ()แก้ไขเมื่อ 16 มิถุนายน 2012 09:48 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

สวัสดีค่ะ

  • พี่คิมเพิ่งได้ทราบเกี่ยวกับลิขสิทธิ์นี่ค่ะ
  • รู้แต่โทษการคัดลอก..งานต่าง ๆ
  • ก็คล้าย ๆ กันบ้างนะคะ
  • เป็นกำลังใจให้ค่ะ

P สวัสดีค่ะ พี่ครูคิม
ในแวดวงห้องสมุดพูดกันมากถึงลิขสิทธิ์ค่ะ แต่ยังต้องศึกษาให้กระจ่าง ด้วยว่าจะต้องเป็นหน่วยงานที่ช่วยเสริมสร้างจริยธรรมในการใช้สารสนเทศให้ผู้ใช้บริการต่อไปนะคะ

  • ขอบคุณสำหรับกำลังใจนะคะ

สวัสดีค่ะ

ต้องขอบคุณมากนะคะ อ่านแล้วมีประโยชน์มาก เป็นเรื่องใกล้ตัว ที่ไม่มีเวลาได้อ่านแบบตั้งใจจะอ่านซะที คราวนี้ถือว่าตุ่นนำมาป้อนให้ถึงปากเลยนะ

มีอะไรดี ๆ ก็ส่งมาอีกนะคะ

ขอบคุณพี่ต้อย sondy นะคะ ที่แวะมาเยี่ยมบันทึก

ว่างแล้วแวะมาอ่านบันทึกน้องบ่อยๆ นะคะ

จะได้เป็นกำลังใจให้เอาเรื่องที่รับรู้มา...บอกต่อ

(ตามประสาคนพูดมากค่ะ...อิอิ)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท