สุนัขเหมือนคนมากสุด…ไม่ใช่ลิง ???


สุนัขอยู่ร่วมกับคน เข้าใจทั้งภาษาพูดและภาษาใบ้ อีกทั้งยังสามารถสื่อสารกับคนทางภาษามือได้อีกด้วย เชื่อหรือไม่ว่าบางครั้งสุนัขก็คิดอะไรคล้าย ๆ เราด้วย

สุนัข...เพื่อนที่ดีที่สุดของเรา  เพื่อนที่เข้าใจสังคมของเรามากสุด

 

ภาพ: แม้ชิมแปนซีจะมียีนใกล้เคียงกับเรามากสุด แต่ สุนัขเป็นสัตว์ที่อยู่กับเรามานานแสนนานจนเข้าใจสังคมของเรามากสุด


แม้ ชิมแปนซีจะมียีนใกล้เคียงกับเรามากสุด แต่ สุนัขเป็นสัตว์ที่อยู่กับเรามานานแสนนานจนกลายเป็นสัตว์เลี้ยงในบ้านที่เข้า ใจสังคมของเรามากที่สุด

รายงานจากวารสาร Advances in the Study of Behavior  กล่าว ว่า สุนัขอยู่ร่วมกับคน เข้าใจทั้งภาษาพูดและภาษาใบ้ อีกทั้งยังสามารถสื่อสารกับคนทางภาษามือได้อีกด้วย เชื่อหรือไม่ว่าบางครั้งสุนัขก็คิดอะไรคล้าย ๆ เราด้วย

แม้จากรายงานสายวิวัฒนาการเมื่อ 10,000-20,000 ปีที่ผ่านมาจะพบว่าสุนัขไม่มีวิวัฒนาการร่วมกับคน แต่นักวิจัยก็คาดว่าช่วงเวลาที่ผ่านมานั้นสุนัขสามารถปรับตัวให้เข้ากับคน ได้จนมีความใกล้เคียงกับคนมากที่สุด

โจเซฟ โทปาล ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าว Discovery ว่า สภาพสังคมที่อยู่ร่วมกันทำให้สุนัขมีพฤติกรรมร่วมกับคน บางกรณีก็มีพฤติกรรมเช่นเดียวกับคนผ่านทางทักษะการรับรู้

โทปาล หนึ่งในนักวิจัยด้านสุนัขที่มีชื่อเสียงของโลกและทีมร่วมกันให้ความเห็นว่า สุนัขจัดเป็น ชิมแปนซี ชนิดใหม่ และเป็นตัวแทนที่จะใช้ในการศึกษาลักษณะเฉพาะของคน

ใน ความคิดของโทปาลนั้น สุนัขเปรียบเสมือนทารกพูดไม่ได้ในชุดสุนัข ความสัมพันธ์ระหว่างสุนัขและเจ้าของคือกระจกสะท้อนความสัมพันธ์ระหว่างพ่อ แม่กับลูก ๆ

เมื่อโทปาลและคณะทดลองสอนเด็กอายุ 16 เดือน กับสุนัขตัวเต็มวัย ให้หมุนตัวเป็นวงกลม เปล่งเสียง กระโดด กระโดดข้ามของที่วางไว้ หยิบของไปเก็บ หยิบของให้เจ้าของหรือพ่อแม่ ผลักแท่งไม้ไปไว้ที่ผนัง โดยพูดเป็น ภาษาฮังการีว่า ทำสิ! พบว่าสุนัขสามารถทำตามได้ดีเมื่อเทียบกับเด็กอายุ 16 เดือน

รายงานการศึกษาหลายเรื่องแสดงให้เห็นว่า สุนัขมีลักษณะทางสังคมที่มนุษย์วิวัฒนาการขึ้นหลังจากแยกสายวิวัฒนาการจากชิมแปนซีเด่น ๆ 3 ลักษณะ

ลักษณะแรกคือ สุนัขรู้จักการอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม โดยต่างฝ่ายต่างเคารพผู้อื่นนอกจากนั้นการอยู่ร่วมกันยังช่วยลดความก้าวร้าวได้

ลักษณะ ที่สองคือ สุนัขรู้จักทำตาม สุนัขมีการทำตามกฎเมื่ออยู่ร่วมกันเพื่อให้เกิดความเป็นกลุ่มคณะ เมื่อสุนัขพบคนแปลกหน้าแต่คนคนนั้นมีความเป็นมิตร สุนัขจะปรับอารมณ์อย่างรวดเร็วตามอารมณ์ของคนคนนั้น

ลักษณะที่สามคือ สุนัขรู้จักทำงานร่วมกัน สุนัขแต่ละตัวสามารถทำงานและสื่อสารกับสุนัขตัวอื่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมายได้

ด้วย ลักษณะเหล่านี้ นักวิจัยจึงเชื่อว่า สุนัขเป็นต้นแบบที่เหมาะสมต่อการศึกษาลักษณะทางสังคมของมนุษย์ เนื่องจากในการศึกษาสามารถเปรียบเทียบพฤติกรรมสุนัขป่า สุนัขบ้านและคนได้

มาร์ค ฮอเซอร์ หัวหน้าศูนย์ปฏิบัติการด้านการรับรู้จากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เห็นด้วยอย่างยิ่งที่จะใช้สุนัขเป็นต้นแบบศึกษาพฤติกรรมคน

ฮอเซอร์ กล่าวว่า สุนัขเป็นสัตว์ที่เข้าใจคน เราอยู่ร่วมกับสุนัขมานานตั้งแต่หลายพันปีที่แล้ว ขณะนี้เริ่มมีการศึกษาด้านพฤติกรรม จิตวิทยา ประสาทวิทยา มานุษยวิทยา ปรัชญาและสัตวแพทย์เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิวัฒนาการของสุนัขและคนให้ มากขึ้น

หมายเลขบันทึก: 257600เขียนเมื่อ 27 เมษายน 2009 05:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 19 มิถุนายน 2012 22:22 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

คงจะจริงมั๊ง คลุกคลีมากๆ อืม

สุนัขนั้นซื่อสัตย์มากๆ

น่าสนใจมากครับ ที่บ้านมีหลายตัว พฤติกรรมหลายอย่างเป็นดังที่กล่าวมา ขอบคุณมากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท