เค้าโครงวิจัย


นายอภิลักษณ์ แซ่หยิ่ง

ชื่อเรื่อง   ปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต  

ความมุ่งหมายของการวิจัย

1.       เพื่อศึกษาปัญหาในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2

2.       เพื่อเปรียบเทียบปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนัก งาน เขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 จำแนกตามประสบการณ์การสอน

 

ความสำคัญของการวิจัย

1. เพื่อเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา

   สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 

2 เพื่อเป็นแนวทางในการวางแผนการส่งเสริมสนับสนุนการทำวิจัยในชั้นเรียนครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2

คำถามในการวิจัย

1.ปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ 

ศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 

2.ปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การ

ศึกษา ฉะเชิงเทรา เขต 2 จำแนกตามประสบการณ์ในการสอนต่างกัน มีความแตกต่างกันหรือไม่

 

สมมติฐานในการวิจัย

                ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 ที่มีประสบการณ์ในการสอนต่างกัน มีปัญหาในการทำวิจัยชั้นเรียนแตกต่างกัน

 

กรอบแนวคิดการวิจัย

 

ตัวแปรต้น                                                                             ตัวแปรตาม

 

                     สถานภาพ

1. ประสบการณ์ 

    1.1 ประสบการณ์มาก

    1.2 ประสบการณ์น้อย 

      ปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียน

1.       ด้านความรู้ของครู

2.       ด้านการดำเนินการวิจัย

3.       ด้านการใช้ผลการวิจัยและเผยแพร่

4.       ด้านปัจจัยที่ส่งเสริมการทำวิจัย

    

ภาพที่ 1   กรอบแนวคิดในการวิจัย

 

ขอบเขตของการวิจัย

1.       ขอบเขตของเนื้อหา

ในการศึกษาครั้งนี้  ผู้วิจัยมุ่งศึกษาปัญหาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2   โดยจำแนกเป็น 4  ด้าน คือด้านความรู้ของครู

ด้านการดำเนินการวิจัย ด้านการใช้ผลการวิจัย และด้านการเผยแพร่  ด้านปัจจัยที่ส่งเสริมการทำวิจัย

2.       ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

2.1 ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2   จำนวน     คน

        2.2 กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้ได้แก่ครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2   จำนวน     คน

3. ตัวแปรที่ศึกษา

        3.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ สถานภาพของครูผู้สอน จำแนกได้ดังนี้

                        3.1.1 ประสบการณน้อย

                        3.1.2 ประสบการณ์มาก

                3.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ การทำวิจัยในชั้นเรียนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2   โดยจำแนกเป็น 4  ด้าน

3.2.1 ด้านความรู้ของครู

3.2.2 ด้านการดำเนินการวิจัย

3.2.3 ด้านการใช้ผลการวิจัย และการเผยแพร่

3.2.3 ด้านปัจจัยที่ส่งเสริมการทำวิจัย

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

1.       การทำวิจัยในชั้นเรียน หมายถึงการหาความรู้หรือวิธีการใหม่ๆ เพื่อนำมาใช้กับสภาพ

การเรียนการสอนในชั้นเรียน เพื่อแก้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน โดยอาศัยวิธีการเป็นขั้นตอนชัดเจน

2.       ปัญหาที่เกิดขึ้นในการทำวิจัยในชั้นเรียน หมายถึงอุปสรรคหรือข้อขัดข้องในการทำ

วิจัยในชั้นเรียน

                              2.1ด้านความรู้ของครูหมายถึง มีความรู้ในวิชาที่สอนอย่างแท้จริงสามารถเชื่อมโยง

ทฤษฎีในศาสตร์ความรู้มาสู่การปฏิบัติได้  ทั้งการปฏิบัติในระดับสากลและในระดับท้องถิ่น มีความรู้ในด้านการวิจัย วิทยาการคอมพิวเตอร์ และภาษาเพื่อเป็นเครื่องมือในการ แสวงหาความรู้ มีความรู้ด้านเทคนิคการสอน จิตวิทยา การวัดผลและประเมินผล และสามารถประยุกต์ใช้ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน  รู้ข้อมูลข่าวสารรอบตัว  และเรื่องราวในท้องถิ่น  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และฝึกให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์ วิจารณ์ได้

                             2.2 ด้านการดำเนินการวิจัย หมายถึง มีการค้นคว้าหาข้อมูลและจัดลำดับ

ความสำคัญของปัญหาทั้งการวิเคราะห์ข้อมูล สรุปผลการแก้ปัญหาภายในหน่วยงานเพื่อนำมาใช้ในการปฏิบัติงานที่ต้องการและมีการค้นคว้าข้อมูลจากท้องถิ่น

                             2.3 ด้านการใช้ผลการวิจัยและเผยแพร่  หมายถึง การนำไปใช้เป็นแนวทางในการ แก้ปัญหาและปรับปรุงการดำเนินงานวิจัยและเก็บรวบรวมงานวิจัยเพื่อนำไปเผยแพร่ผลงาน วิจัยในหลายรูปแบบ เช่น วารสาร บทความ ฯลฯ

                              2.4 ด้านปัจจัยที่ส่งเสริมการทำวิจัย หมายถึง แนวทางในการแก้ไขปรับปรุงการ

ดำเนินงานวิจัยด้านปัจจัยสนับสนุนงานวิจัย  การจัดสรรงบประมาณให้เหมาะสมกับโครงการวิจัย พร้อมทั้งการช่วยเหลือให้คำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญ และการเข้ารับการอบรม

3.       ครูผู้สอน หมายถึง ผู้ซึ่งทำหน้าที่ในการสอน และเป็นผู้ที่เคยหรือกำลังดำเนินการทำ

วิจัยในชั้นเรียน

4.       ประสบการณ์ในการสอน หมายถึง ระยะเวลาที่ครูได้ปฏิบัติการสอนในโรงเรียนที่ครู

ปฏิบัติงานอยู่ในปัจจุบันและระยะเวลาที่สอนในสถานศึกษาอื่น ซึ่งในการวิจัยครั้งนี้จำแนกประสบการณ์ การสอนของครูผู้สอนออกเป็น 2  ระดับดังนี้

                         4.1 ประสบการณ์มาก หมายถึง ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนตั้งแต่  10 ปีขึ้นไป

                         4.2 ประสบการณ์น้อย หมายถึง ครูผู้สอนที่มีประสบการณ์การสอนน้อยกว่า 10 ปี

 

 

หมายเลขบันทึก: 256881เขียนเมื่อ 23 เมษายน 2009 10:13 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 22:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

ขอบคุณที่นำข้อมูลดีๆมาฝากครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท