KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : ๖๖๙. เศรษฐกิจพอเพียงกับ KM



          เศรษฐกิจพอเพียงเป็นปรัชญา หลักคิด นิสัย และแนวทางดำรงชีวิต   โดยมีหลัก “สามห่วง สองเงื่อนไข”   สามห่วง ได้แก่ ความพอประมาณ  ความมีเหตุผล  และ ความมีภูมิคุ้มกันที่ดีในตัว   สองเงื่อนไขได้แก่ ความรู้  และคุณธรรม


          มูลนิธิสยามกัมมาจล ร่วมกับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และกระทรวงศึกษาธิการ สนับสนุนให้ สรส. ดำเนินการ “โครงการเสริมศักยภาพการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน”   และได้จัดการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิให้คำแนะนำโครงการเมื่อวันที่ ๑๗ เม.ย. ๕๒   ทำให้ผมได้แนวคิดมาเขียนบันทึกนี้


          สรส. ใช้ KM เป็นเครื่องมือหลักในการดำเนินการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียงสู่สถานศึกษาและชุมชน   โดยใช้ KM เป็นเครื่องมือ ลปรร. ด้วยการจัดตลาดนัดความรู้เศรษฐกิจพอเพียง   และฝึกให้ครูในโรงเรียนรู้จักใช้กระบวนการ KM ในการ “ถอดความรู้”


          ผมตีความว่า เรื่องเศรษฐกิจพอเพียงต้องใช้การลงมือปฏิบัตินำ    โดยในการปฏิบัติทุกเรื่องให้ร่วมกันตั้งใจว่าจะปฏิบัติตามหลักการเศรษฐกิจพอเพียง   หลังจากจบกิจกรรมจึงทำ   AAR ด้วยการตีความด้วย ๓ ห่วง  ๒ เงื่อนไข   ว่าในการปฏิบัติกิจกรรมนั้นๆ สอดคล้องหรือขัดกับหลักเศรษฐกิจพอเพียงอย่างไรบ้าง   และในโอกาสหน้าจะปรับปรุงกิจกรรมให้สอดคล้องยิ่งขึ้นอย่างไร   ทำซ้ำๆ จะนำไปสู่การเรียนรู้แบบที่มีการเปลี่ยนแปลงด้านใน ที่เรียกว่าเกิด transformative learning 


         โดยต้องไม่ลืมว่า ในการใช้เครื่องมือ KM ทุกชิ้นต้อง ลปรร. กันอย่างอิสระ และเปิดใจต่อกัน


          ครูสุรินทร์ กิจนิตย์ชีว์ อภิปรายให้ความเห็น   ทำให้ผมเข้าใจตามหลักการศึกษาว่า   การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงต้องเรียนรู้จากการปฏิบัติ – เกิดการเรียนรู้ทักษะพิสัย   เมื่อใช้ AAR ร่วมกันตีความตามในย่อหน้าบน ก็จะเกิดการเรียนรู้สู่พุทธิพิสัย  และจิตพิสัย ตามลำดับ   คือเรียนรู้เชิงปัญญาเหตุผล   สู่การยกระดับจิตวิญญาณ


          หวนกลับไปตรงกับประสบการณ์ของ นพ. ประเสริฐ ผลิตผลการพิมพ์ ว่ากระบวนการ KM นั่นเอง เป็นเครื่องมือยกระดับจิตวิญญาณ


          กระบวนการเศรษฐกิจพอเพียงที่เรากำลังร่วมกันขับเคลื่อนให้แก่สังคมไทย มีเป้าหมายลึกในระดับความเชื่อ พฤติกรรม และจิตวิญญาณ

 


วิจารณ์ พานิช
๑๗ เม.ย. ๕๒

หมายเลขบันทึก: 256355เขียนเมื่อ 20 เมษายน 2009 08:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 มิถุนายน 2012 21:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
  • มาอ่านหาความรู้ก่อนนะครับ
  • ชอบความคิดของอาจารย์สุรินทร์ครับ
  • บ้านเราทักษะพิสัย ไม่ค่อยได้ลงมือปฎิบัติจริงๆๆครับ
  • เลยเป็นการทำงานเชิงทฤษฎีอย่างเดียว
  • ขอบคุณครับ

กราบเรียน ท่านอาจารย์หมอวิจารณ์

  • ประเด็น เปิดใจ นี่เป็นเรื่องน่า เรียนรู้ครับ
  • ว่าเปิดจริง เปิดหมด หรือไม่
หัถศิลป์; huttasilp.blogspot.com

เชิญชมงานศิลป์สวยๆ http://huttasilp.blogspot.com

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท