ระบบส่งเสริมการเกษตร


           ระบบส่งเสริมการเกษตรเป็นระบบที่จะต้องนำมาใช้เพื่อการพัฒนางานส่งเสริมการเกษตร โดยมีศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบล(ศบกต.)  ในจังหวัดชัยนาท ได้มอบให้สำนักงานเกษตรอำภอสรรคบุรีนำร่องในการนำระบบส่งเสริมการเกษตรมาใช้ และได้เริ่มดำเนินงานผลที่ออกมาน่าสนจ  ผลที่ออกมาดีนั้นเป็นผลสะท้อนจากทีมงานที่เข้ม แข็ง โดยมรนายวิชัย  มาฆพัฒนศิลป์  เกษตรอำเภอสรรคบุรี  

           เมื่อวันที่ 17  เมษายน 2552  ได้รับคำชวนจาก  พี่ัญชัญ   นุ่นละออง(่แดง)  กวิชาการส่งเสริมการเกษตรชำนาญการ  ไปร่วมการเสวนาถึงระบบส่งเสริมการเกษตร โดยมรคณะกรรมการจากทุก ศบกต.  และนักวิชาการผู้รับผิดชอบตำบล  เข้าร่วม ในงานนี้ต้องยอมรับในทีมงานของสำนักงานเกษตรอำเภอสรรคบุรี  เนื่องจากรัฐบาลประกาศให้เป็นวันหยุดเจ้าหน้าที่ทุกคนและเกษตรอำเภอได้มาร่วม จึงขอขอบพระคุณมาก  

          การเก็บข้อมูลครั้งนี้ พี่แดง  ได้กำหนดประเด็นต่าง ๆ  เพื่อง่ายแก่การเสวนา  ผลที่ได้จากผู้เกี่ยวข้องต่อการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร อำเภอสรรคบุรี  จังหวัดชัยนาท  สรุปประเด็นจากการเสวนาดังนี้

                1. ความรู้ความเข้าใจต่อระบบส่งเสริมการเกษตร  

               เป็นระบบของการรวบรวมข้อมูลให้เป็นปัจจุบัน  เพื่อนำมาใช้ในการจัดทำแผน  1 ปี   แผน  3  ปี  และ  แผน  5 ปี  เพื่อการพัฒนาการเกษตร  ในการนี้ประเด็นที่ดูแล้วคณะกรรมการพอใจมากสุดคือการลดต้นทุนการเกษตรและเพิ่มผลผลิตข้าวของเกษตรกร

                2. ความคิดเห็นด้านกระบวนการทำงานในพื้นที่ของเจ้าหน้าที่

                                2.1 จุดดี   จากการดำเนินงานอย่างเป็นระบบสร้างความสะดวกแก่การติดต่อ   การเรียนรู้การเกษตรใน ศบ.กต.  สร้างอาชีพ  สร้างรายได้  การเรียนรู้และติดตามการดำเนินงานโครงการต่างๆ แบบมีส่วนร่วมของประชาชน  การให้ความสำคัญแก่บทบาทของวิทยากรเกษตรกร  การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสาร  เช่น  การเตือนการระบาดศัตรูพืช  การส่งเสริมพัฒนาอาชีพ แหล่งผลิตเมล็ดพันธุ์ดี  การจัดเก็บข้อมูล   การวางแผน   การสร้างเครือข่ายเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมของชุมชน

                                2.2 ปรับปรุง   ข้อมูลที่ครอบคลุม  เช่น ข้อมูลดิน  งบประมาณไม่มีสนับสนุน  เจ้าหน้าที่มีน้อยควรมอบหมายหน้าที่การออกใบรับรองเกษตรกร  ภัยธรรมชาติให้กับ อปท.

                3. ความคิดเห็นด้านการทำงานในระดับตำบล

                                3.1 จุดดี   

                                                -  ต้นทุนการผลิตที่ลดลงอย่างชัดเจน  ผลผลิตข้าวเพิ่มขึ้น  รายได้ดีขึ้น

                                                -  ชุมชนมีโอกาสร่วมในการนำเสนอความคิดเห็นและร่วมดำเนินงาน สร้างความรักความสามัคคีในชุมชน

                                                -  เปิดโอกาสรับการสนับสนุนจากหน่วยงานและโครงการต่าง ๆ  มากขึ้น  รวมทั้งการใช้ปัจจัยต่าง ๆ  ในท้องถิ่นเป็นประโยชน์ทั้งการผลิตและการแปรรูป

                                3.2 จุดปรับปรุง

                                                -   ขาดตลาดรองรับผลผลิต

                                                -  ในบางโครงการขาดการแก้ปัญหาให้เสร็จสิ้น

                                                -  ควรมีการเรียนรู้ด้วยการรวมกลุ่ม  การศึกษาดูงาน  อย่างต่อเนื่องเป็นระยะของการผลิต

                                                -  ควรจะมีงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานของ ศบ.กต. อย่างเป็นอิสระโดยการบริหารของ ศบกต.

                                                -  การดำเนินงานการจัดการความรู้ และการถ่ายทอดความรู้ควรนำเจ้าหน้าที่จาก อปท. เข้าร่วม

                4. ความพึงพอใจภาพรวมต่อการดำเนินงานตามระบบส่งเสริมการเกษตร

                                1.  เปิดโอกาสการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดำเนินงาน

                                2.  การทำงานที่มีแผนอย่างเป็นระบบ

                                3.  มีสถานที่ในการทำงานและ จัดเวทีแห่งการเรียนรู้ในชุมชน

                                4.  การสร้างงานและสร้างรายได้ในชุมชน

                                5.  มีองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาการเกษตร

                                6.  เกษตรกรได้รับบริการอย่างทั่วถึงและรวดเร็ว

                                7.  ความถูกต้องของข้อมูลและการช่วยเหลือสนับสนุนเกษตรกรอย่างถูกต้อง โปร่งใส  และเป็นธรรม

                                8.  เกิดองค์ความรู้และ การนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์ในชุมชน

                5. ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานต่อไป

                                1.  สร้างการเรียนรู้สู่เยาวชนในโรงเรียนตั้งแต่ระดับประถม ถึง มัธยมศึกษา

                                2.  สร้างค่านิยมในการรักอาชีพการเกษตรและ การเรียนรู้จากผู้ปกครองสู่ลูก

(ประเด็นนี้ คณะกรรมการ ศบกต. เล่าให้ฟังว่าเพื่อนเกษตรกรบางรายไม่เคยพาลูก เข้าสู่แปลงนาเลย ให้เรียน และไปรวมกลุ่มเพื่อนๆ เท่านั้น ส่งผลให้เมื่อเรียนจบแล้วจะมุ่งสู่งานภาคอุตสาหกรรมหรือเข้าสู่กรุงเทพฯ  ถ้าเกิดสภาวะตกงานเขาคงจะกลายเป็นผู้ว่างงานทันทีทั้งที่มีพื้นที่นาทำกิน อนาคตคงจะไม่มีเกษตรกรหรือผู้รับทอดมรดกชาวนาไทย)

                                3.  ให้ผู้นำท้องถิ่นตระหนักในการพัฒนาอาชีพการเกษตร

                                4.  การพัฒนาเครือข่ายการตลาด

                                5.  การพัฒนาการเกษตรแบบครบวงจร

                                6.  ให้สร้างองค์ความรู้สู่เกษตรกรสามารถช่วยเหลือตนเอง

บรรยากาศการเสวนา

          ในเริ่มแรกผู้เข้าร่วมจะแสดงอาการเบื่อกับการประชุมสัมมนา ต้องการให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว   แนวทางแก้ปัญหาเฉพาะหน้า เล่าถึงการดำเนินงานส่งเสริมการเกษตรในยุคเก่าที่ผ่านมา พร้อมตั้งคำถามส่งให้ผู้ร่วมเสวนา และรับฟังเขาเล่าอย่างสนใจ  อีกทั้งชวนพูดหยอกล้อไปเรื่อยสลับกับการฟังและใส่ใจกับข้อมูลที่ผู้ร่วมนำเสนอ บางครั้งการนำเสนอความคิดเห็นขาดช่วงจึงต้องยกตัวอย่าง    อาจขาดช่วงจึงต้องบรรยายสร้างภาพให้ได้รับทราบกันเมื่อนั้นข้อคิดเห็นจะมีมาตลอด  โดยเฉพาะประเด็นของงบประมาณที่ต้องให้ ศบกต. ขอรับการสนับสนุนจาก อปท.  เพราะคณะกรรมการ ศบกต.  ไม่มีงบประมาณสนับสนุน จึงมาด้วยจิตใจที่เสียสละให้กับงานส่งเสริมการเกษตร อย่างน่าชื่นชม  จึงขอน้อมเคารพความเสียสละกับคณะกรรมการ ศบกต.ทุกท่านด้วยครับ

หมายเลขบันทึก: 256061เขียนเมื่อ 18 เมษายน 2009 12:11 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:37 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

เวลาพักกลางวันของเจ้าหน้าที่ในสำนักงานเกษตรเค้าพักกันกี่ชั่วโมงคะ

พอดีเมื่อวานแม่ไปติดต่อขอเปลี่ยนเรื่องจำนวนที่นา(ขอเพิ่ม-ขอลดที่นา)ที่เกษตรอ.สรรพยาคะ  ไปติดต่อตอนช่วงเช้า พอดีนำเอกสารไปไม่ครบก็กลับมาที่บ้าน กว่าจะไปก็เกือบเที่ยง พอดีเจ้าหน้าที่เค้าไปทานข้าวกัน เค้าบอกว่าจะเข้ามาประมาณ บ่าย 2 คะ แม่เราก็นั่งรอ ตั้งแต่เที่ยง จนประมาณบ่าย 3 ครึ่ง เราก็โทไปหา เค้าบอกว่ายังไม่เข้ามากันเลย เราก็ถามว่าเจ้าหน้าที่เค้าบอกหรอว่าไปกินข้าว เค้ามีงานออกนอกพื้นที่รึปล่าว แม่ก็ยืนยันว่าเจ้าหน้าที่ ที่นั่นบอกจริง ๆ ว่าออกไปกินข้าว

แล้วทำไมถึงนานนักล่ะคะ พอดี เกือบ 5 โมงพอดีกว่าแม่เราจะกับบ้าน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท