CoP กับ บล็อก (ภาคแรก)


เมื่อพิจารณาขั้นตอนทั้งหมดแล้วจึงนำมาวิเคราะห์ว่ากระบวนการสร้าง CoP ข้างต้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับบล็อกบ้างได้หรือไม่้

สวัสดีค่ะ

สวัสดีวันปีใหม่ไทย วันสงกรานต์ แล้วแต่ว่าที่ไหนจะเรียกว่าอะไร

แต่โดยรวมๆ แล้วเป็นวันดี เป็นวันที่จะได้ทำบุญ พบปะญาติพี่น้อง ได้ยินเสียงหัวเราะ เห็นรอยยิ้ม และเจอความสุขใจ แต่วันนี้อาจจะมีใครหลายคนได้สิ่งเหล่านี้ไม่เต็มเปี่ยมนัก ด้วยเหตุใดก็ตาม แต่อยากกล่าวว่าประเทศนี้ยังต้องการการรักษา เยี่ยวยา และทำนุบำรุงต่อจากนี้อีกมาก หากท่านมีจิตใจเหนื่อยล้า สมองตึงเครียดแล้วไซร้ ใครเล่าจะทำให้ทุกอย่างดีขึ้น 

ออกนอกเรื่องไปพอสมควร จริงๆ แล้ววันนี้ต้องการเขียนเรื่องที่อยู่ในความสนใจของใครหลายๆ คน

อย่าคิดไกลค่ะ สิ่งที่จะเขียนคือเรื่อง CoP กับ บล็อก ไม่เกียวกับการเมืองค่ะเพราะเมื่อคุยเรื่องการเมืองมักปวดหัวตัวร้อน สมองทำงานช้ากว่าปกติค่ะ ^_^

จึงขอคุยเรื่อง CoP ค่ะ

CoP หรือ Community of Practice หรือ ชุมชนแนวปฏิบัติ

กล่าวตามหนังสือ

หากอธิบายตามหนังสือผู้บริหารองค์กรอัจฉริยะ ฉบับนักปฏิบัติ โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช หน้า 148  จะสามารถอธิบายได้ว่า "เป็นเครื่องมือที่ทรงพลัง ต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ในการปฏิบัติเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เป้าหมายของชุมชนแนวปฏิบัติมี 2 ด้าน คือ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยตรง กับ ด้านการเกิด ชุมชน หรือ มิตรไมตรีระหว่างสมาชิก ชุมชนแนวปฏิบัติที่เข้มแข็งจะมีสัดส่วนที่เหมาะสมระหว่างเป้าหมายทั้งสองด้าน ซึ่งความเหมาะสมขึ้นอยู่กับสถานการณ์หรือรายละเอียดหลากหลายด้าน"

กล่าวตามใจฉัน

แต่หากจะัให้สี่อธิบายตามความเข้าใจ ชุมชนแนวปฏิบัติ คือ ชุมชน หรือ กลุ่มของนักปฏิบัติงานประจำ ซึ่งมารวมตัวกันขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เรื่องใด เรื่องหนึ่ง ร่วมกัน และดำเนินการแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูล ประสบการณ์ รวมทั้งต่อยอดความรู้เหล่านั้นออกไป  ส่งผลให้เกิดความเข้าใจเพิ่มมากขึ้น เกิดการพัฒนางาน จิตใจ และเกิดความสัมพันธ์อันดีต่อกัน

อย่างเช่น กลุ่มของพยาบาลผู้ดำเนินงานด้านโรคเบาหวาน เข้ามารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการดูแลผู้ป่วยเบาหวาน  หรือ กลุ่มคุณครูสอนภาษาอังกฤษ มารวมกันขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนเทคนิค วิธีการเรียนการสอน แนวทางการแก้ไขปัญหาของเด็กนักเรียนในการเรียนภาษาอังกฤษ เป็นต้น เป็นกลุ่มที่เติมเต็มกันและกัน

หรือ

เป็นกลุ่มคนที่รวมตัวกันขึ้นเพื่อศึกษาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเรื่องที่สนใจเรื่องเดียวกัน ซึ่งอาจจะไม่ได้เกี่ยวข้องกับงานประจำที่ทำ เช่น กลุ่มที่ศึกษาเรื่องการปลูกกล้วยไม้ มารวมตัวกันเพื่อแลกเปลี่ยนวิธีการเลี้ยงกล้วยไม้ชนิดต่าง กลุ่มของคุณแม่มือใหม่ มารวมตัวเพื่อถ่ายทอดประสบการณ์เรื่องราวของการเลี้ยงดูบุตร หรือกลุ่มชอบท่องเที่ยวก็จะมาแลกเปลี่ยนประสบการณ์การไปท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ เป็นต้น

ขั้นตอนของการสร้าง CoP

  1. จัดตั้ง CoP นำร่อง
  2. ประชุมครั้งที่ 1
  3. สรุปการประชุมและแจกจ่ายผลการประชุมให้สมาชิกและกระจายข่าวการจัดตั้ง เพื่อหาสมาชิกเพิ่ม
  4. แสวงหาเทคโนโลยีเพื่อใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างสมาชิกในองค์กร
  5. ประชุมครั้งที่ 2
  6. ประชุมครั้งที่ 3-4
  7. จัดบรรยายประสบการณ์ในองค์กรเพื่อเสวนาเกี่ยวกับความก้าวหน้าและปัญหาในการดำเนินงาน
  8. ดำเนินการประชุมต่อ จนถึงครั้งที่ 6-7 แล้วจึงเชิญผู้เชี่ยวชาญด้าน CoP เยี่ยมชมเพื่อประเมินความแข็งแกร่งของกลุ่ม

ขั้นตอนด้านบนเป็นการดำเนินงานเพื่อสร้าง CoP ซึ่งสี่คิดว่าเหมาะสำหรับ CoP ที่อยู่ภายในองค์กรเดียวกัน และค่อยๆ ขยายจนสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ซึ่งอาจจะมีสมาชิกภายนอกองค์กรมาเพิ่มได้ในอนาคตต่อไป แต่การสร้าง CoP ด้วยกระบวนการนี้อาจจะต้องใช้แรงและพลัง รวมทั้งความสามัคคีมากอยู่สักหน่อย ชุมชนนี้จึงจะสามารถเติบโตและแข็งแกร่งได้ 

CoP กับ บล็อก

เมื่อพิจารณาขั้นตอนทั้งหมดแล้วจึงนำมาวิเคราะห์ว่ากระบวนการสร้าง CoP ข้างต้น สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับบล็อกบ้างได้หรือไม่้

คำตอบคือได้ แต่อาจจะลดกระบวนการหรือขั้นตอนลง เหลือเพียง

  1. จัดตั้ง CoP นำร่อง
  2. แสวงหาเทคโนโลยีเพื่อติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนระหว่างสมาชิก (บล็อก)
  3. กระจายข่าวการตั้ง CoP และรับสมัครสมาชิกเพิ่ม (บล็อก)
  4. แลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยใช้เทคโลยี (บล็อก)
  5. ดำเนินการจัดกิจกรรมเพื่อพบปะ กระชับความสัมพันธ์ เพิ่มความแข็งแกร่งให้ CoP

วิธีการสร้าง CoP โดยใช้บล็อก

เมื่อตัดกระบวนการเหลือเพียงเท่านี้ จึงพิจารณาต่อถึงวิธีการสร้าง CoP โดยใช้บล็อก (พิจารณาจาก GotoKnow.org ซึ่งแม้ว่าขณะนี้ยังไม่มีเทคโนโลยีมารองรับเรื่องนี้โดยตรง แต่ในอนาคตทีมงานกำลังพัฒนาเรื่องนี้อยู่ ) สิ่งที่คิดขึ้นจึงเป็นเพียงการดำเนินการสร้าง CoP ภายใต้เทคโนโลยีที่มีในปัจจุบันเท่านั้นค่ะ

แบ่งการจัดตั้ง CoP ออกเป็น 3 วิธีการ

วิธีการที่ 1

  1. รวมกลุ่มจัดตั้ง CoP กำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนของกลุ่ม
  2. ใช้บล็อกเป็นเครื่องมือแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เปิดบล็อกภายใต้ชื่อองค์กร หรือชื่อกลุ่มที่จัดตั้งขึ้น เปิดเพียงบล็อกเดียวก็เพียงพอ
  3. เพิ่มชื่อผู้ร่วมเขียน ให้หนึ่งบล็อกสามารถเขียนได้หลายๆ คน
  4. เขียนบันทึกแลกเปลี่ยนเรียนรู้ตามประเด็นที่กำหนด หรือตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ โดยต้องระบุชื่อผู้เขียนที่ส่วนท้ายบันทึกทุกครั้ง
  5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกันในช่องแสดงความคิดเห็น
  6. หากต้องการสมาชิกเพิ่มให้กระจายข่าว ประชาสัมพันธ์รับสมัครสมาชิกผู้ร่วมเขียนเพิ่มเติม
  7. เขียนบันทึกและแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ
  8. นัดพบเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และกระชับความสัมพันธ์

ปล.กรณีที่มีการเขียนบันทึกเพื่อต่อยอดความรู้มาจากบันทึกใดบันทึกหนึ่งนั้นควรใส่ลิงค์เพื่อโยงกลับไปหาบันทึกนั้นด้วย

วิธีการเพิ่มชื่อผู้ร่วมเขียน

  • คลิกแผงควบคุม

  • คลิกผู้ช่วย

  • เพิ่มชื่อผู้ช่วย ซึ่งจะสามารถเข้ามาเขียนบันทึกในเรื่องที่ทางกลุ่มกำหนดไว้ได้ 

เพียงเท่านี้บล็อกของท่านก็จะมีสมาชิกในทีมมาร่วมกันเขียนบันทึกเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องแล้ว

 

วิธีการนี้ เป็นวิธีการที่สะดวกมากในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันในเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่กำลังศึกษา สะดวก รวดเร็ว ไม่ยุ่งยากในการติดตามหาบล็อกหรือบันทึก เพียงบล็อกเดียวก็สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างสมาชิกทุกคนในกลุ่มได้แล้ว

เช่น มีการรวมกลุ่มกันของกลุ่มพับกระดาษ ก็จะมีผู้ที่มีความสามารถด้านการพับกระดาษหลายๆ ท่าน ซึ่งอาจจะไม่ได้อยู่องค์กรเดียวกัน แต่ติดต่อกันอย่างสม่ำเสมอ จัดตั้ง CoP เรื่องการพับกระดาษ

เข้ามาเขียนเกี่ยวกับวิธีการการพับกระดาษในแบบใหม่ๆ ที่แต่ละท่านคิดค้นขึ้นมา

แลกเปลี่ยนกันอยู่เสมอ ทำให้ไม่ต้องไปเสียเวลาติดตามว่าขณะนี้ใครคิดค้นวิธีการพับกระดาษแบบใหม่ๆ ไปถึงไหนกันแล้ว

และยังมีการแลกเปลี่ยนแสดงความคิดเห็นไว้ในช่องแสดงความคิดเห็นได้

เพียงเท่านี้ท่านก็สามารถสร้าง CoP ได้ง่ายๆ อีกวิธีการหนึ่งแล้ว

ท้ายบันทึก

วิธีการที่ 2 และ 3 นั้นอยู่ในบันทึกเรื่อง CoP กับบล็อก (ภาคสอง) ค่ะ ต้องขออภัยในความไม่ต่อเนื่อง แต่เนื่องจากถ้ารวมไว้ในบันทึกเดียวจะยาวมาก

สี่ยังขี้เกียจอ่านเลยค่ะ จึงตัดใจแบ่งเป็น 2 บันทึก หากท่านใดเคยเข้ามาแล้วต้องขอโทษด้วยนะค่ะ ที่แปลกไปค่ะ

อย่ารอช้าเลยค่ะ ตามไปดูกันสิว่าเด็กช่างสงสัยคนนี้เขียนอะไรต่อไปใน CoP กับบล็อก (ภาคสอง) ^_^

ขอบคุณค่ะ

อ้างอิง

หนังสือผู้บริหารองค์กรอัจฉริยะ ฉบับนักปฏิบัติ โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

หนังสือการจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

หนังสือ KM วันละคำ โดย ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช

และขอบคุณบันทึกของสมาชิกชาว GotoKnow.org ทุกๆ บันทึกค่ะ

หมายเลขบันทึก: 255390เขียนเมื่อ 13 เมษายน 2009 22:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (13)

สวัสดีค่ะน้องสี่

  • อ่านคร่าว ๆพอเข้าใจว่าต้องทำอะไรบ้าง
  • มีประโยชน์อย่างไร เพื่ออะไร
  • ขอขอบคุณมากค่ะ
  • วันนี้พี่คิมพยายามจะเขียนบันทึกแห่ง..ความสุขอีกหลายบันทึกค่ะ
  • ไม่มีใครอ่านก็ไม่เป็นไร
  • แต่..มันเป็นความรู้สึกที่มีความสุขค่ะ

สวัสดีค่ะคุณครูคิม

ขอบคุณค่ะ

บันทึกของคุณครูคิมมีคนตามอ่านแน่นอนค่ะ อย่างน้อยก็สี่หนึ่งคน แต่เดี๋ยวตามไปนะค่ะ กว่าจะเขียนบันทึกนี้เรียบร้อยเล่นไปซะหลายชั่วโมงเลยค่ะ

ขอบคุณค่ะ

  • กำลังคิดรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผ่าน blog สำหรับเครือข่ายดูแลคนไข้ระยะสุดท้ายอยู่เลย ขอบคุณน้องสี่สำหรับบันทึกนี้มากครับ
  • หลังจากช่วยกันเขียนบันทึกในประเด็นที่กำหนดแล้ว คงต้องมีคนทำหน้าที่สรุปบทเรียนไว้สักที่และโยงไปยังบันทึกต้นทางด้วย

 

CoP นี่ ไม่จัดตั้งกลุ่มได้ไหมครับ ... น่าจะเป็นการพูดคุยกันอย่างแนบเนียน เป็นธรรมชาติ เสมือนว่า ไม่ได้จัดตั้งกลุ่มขึ้นมาคุยเฉพาะเรื่อง

มองเห็น ... คิด ... แล้วก็เขียนเพียงลำพัง ครับ

แค่หาเรื่องสงสัยเองนะ :)

สวัสดีค่ะอาจารย์หมอเต็มศักดิ์

ขอบคุณมากค่ะอาจารย์หมอ

สี่ขออนุญาตนำคำแนะนำไปเพิ่มไว้ในบันทึกแล้วนะค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะอาจารย์Wasawat Deemarn

กรณีนี้สี่เคยถามอาจารย์จันทวรรณค่ะ ท่านบอกว่าการคุยกันเนียนๆ โดยไม่กำหนดวัตถุประสงค์ของกลุ่มออกมาให้ชัดเจนสักอย่างนั้น น่าจะเรียกว่าชุมชนเฉยๆ ค่ะ

แต่สำหรับชุมชนแนวปฏิบัตินั้นน่าจะมีการกำหนดเรื่องที่สนใจเหมือนกันมาสักหนึ่งเรื่อง แล้วก็คุยเรื่องนี้เป็นหลัก แต่ก็ยังสามารถคุยเรื่องอื่นได้ด้วยค่ะ

แต่ถ้าคิด เขียน ขึ้นมาเพียงลำพังโดยมีการจัดการกับบล็อกของตนเองเป็นอย่างดีนั้น สี่ว่าคงอยู่ในวิธีการที่ 3 ค่ะ เป็นเหมือน CoP แบบหลวมๆ นะค่ะ ไม่ยึดติดมากค่ะ

ขอบคุณค่ะ

สวัสดีครับ :)

งั้นสถานะการพูดคุยของผม ณ ที่แห่งนี้ เป็นแค่อยู่ในชุมชนเฉย ๆ จริง ๆ ด้วยครับ

เลือกวิธีที่ "อิสระ" ไม่ยึดติดมากที่สุด ปล่อยวางได้ง่าย

คุยเป็นเรื่องราวมาก ๆ ก็ใกล้เคียงกับการประชุม สัมมนา หาคำตอบบางอย่าง เป็นทางการ หรือไม่เป็นทางการแต่ให้ได้ข้อสรุป

ขอบคุณครับ :)

สวัสดียามเช้าค่ะอาจารย์ Wasawat Deemarn

สถานะของอาจารย์สำหรับคนอื่นเป็นอย่างไรไม่ทราบนะค่ะ

แต่สำหรับทุกบันทึกของสี่นั้นอาจารย์เป็นที่ปรึกษาโครงการกิติมศักดิ์ค่ะ :)

ไม่ได้ปากหวานนะค่ะ แต่เป็นเรื่องจริงเพราะสี่มัดมือชกอาจารย์มาตั้งแต่บันทึกแรกแล้วค่ะ ^_^

ที่สำคัญสี่เองก็ไม่ได้มี CoP เหมือนกันค่ะ เป็นเพียงคนที่สนใจ คิด และเขียนเท่านั้นค่ะคล้ายๆ อาจารย์และอีกหลายๆ ท่านค่ะ

ขอเรียกว่าเป็นการประชุมกึ่งวิชาการฉบับเจ้าหนูจำไมค่ะ :)

ยังไม่ค่อยรู้ ยังทำไม่ค่อนเป็นเลย

สวัสดีค่ะคุณsaard2552

ยังไม่รู้ ไม่ค่อยเป็นเรื่องอะไร CoP หรือ วิธีการใช้บล็อกค่ะ

รบกวนตอบด้วยจะได้แนะนำถูกค่ะ

อย่าลืมดูคอมเม้นต์อื่นๆ บ้างนะ

เกี่ยวกะการเมือง ท่าทางจะระอุ

ขอบคุณค่ะอาจารย์ธ.วั ช ชั ย

จะพยายามช่วยดูและเมลแจ้งทีมงานค่ะ :)

ดูท่าทางร้อนจริงๆ ค่ะ เพราะแถวบ้านสี่ก็ร้อนเรื่องนี้มากเช่นกัน หันซ้ายก็ใช่ หันขวาก็โดน เลยไม่ออกจากบ้านดีกว่าค่ะ

ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท