อยู่ หรือไป


ดึงให้อยู่ แล้วรู้จุดอ่อน.......ที่พร้อมจะแก้ไหม?

หลายๆคนบ่นว่าเบื่อ....เบื่อสิ่งแวดล้อม เบื่องาน.....เบื่อ.....จนกระทั่ง  เบื่อไม่มีเหตุผล เพราะปัญหาซ้ำซากจำเจ

หลายๆตำราแม้กระทั่งเวปไซด์ที่หาทางแก้ไขในความ...เบื่อ

ความเบื่อหน่าย (Boredom) หรือ เบื่อ (Boring) เป็นภาวะอารมณ์หนึ่งของมนุษย์ที่รู้สึกไม่พึงพอใจกับสภาวะที่เป็นอยู่

 หลายๆครั้งที่เราเห็นว่าภายในองค์กร   จัดอบรม สัมนานอกสถานที่ /กลุ่มสัมพันธ์ กลับมาทำงานบรรยากาศก็เป็นเหมือนเดิม

             ลองมาวิเคราะห์เล่นดูว่าความต้องการที่แท้จริงของคนทำงานต้องการอะไร?

 เมื่อเอาBasic Need มาจับ หรือความต้องการพื้นฐานของมาสโลว์แล้ว คนในองค์กรได้รับเพียงพอเหมาะสมหรือไม่

       “มาสโลว์” ท่านได้กล่าวไว้ว่า “ความต้องการของมนุษย์เกิดเป็นลำดับขั้น และจะไม่มีการข้ามขั้น ถ้าขั้นที่ 1 ไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการในลำดับขั้นที่ 2-5 ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ การตอบสนองที่ได้รับในแต่ละขั้นไม่จำเป็นต้องได้รับทั้ง 100% แต่ต้องได้รับบ้างเพื่อจะได้เป็นบันไดนำไปสู่การพัฒนาความต้องการในระดับที่สูงขึ้นในลำดับขั้นต่อไป”  ซึ่งความต้องการของมนุษย์แบ่งเป็น 5 ขั้น คือ

อ่านทฤษฎีเเบบเต็มๆไปที่

http://www.krirk.ac.th/education/article10.htm

ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิตที่มั่นคง ปลอดภัย
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้าไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง
ขึ้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูงของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้

(ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์ )

แม้กระทั่งเด็ก ยังเกิดอาการเบื่อ

เตือนผู้ใหญ่ใส่ใจเด็กเป็นโรคเบื่อโรงเรียน

โรงเรียนได้รับรู้และสร้างสิ่งเร้าให้เด็กอยากเรียนไหม?

คนที่เบื่อมีหลายเหตุผล....บางคนงานไม่ก้าวหน้า

บางคนพูดว่า....เจ้านายไม่เห็นหัว

หรือบางคนบอกมีแต่พี่ๆๆๆ ที่ไปประชุม เมื่อไหร่จะได้เกิดบ้าง

แต่สำหรับตัวเอง.....อย่าให้ทำงานมากเกินกว่าการควบคุม...แล้วทำไม่ทัน   งานออกมาไม่ดียิ่งเครียด.....พอเครียดก็ไปลงกับเพื่อนร่วมงาน

.....งานที่รับผิดชอบต้องติด   ตาม ไปดู   ลงไปช่วย ให้คำแนะนำเป็นกำลังใจ หรือแม้กระทั่งจับ

มือเขียน

แล้ววิธีแก้ไข เราได้ทำให้ทันความต้องการ หรือไม่

    สำหรับตัวเองแล้ว ถ้าเกิดอาการเบื่อหน่าย กับปัญหาซ้ำซากจำเจ ปัญหาเดิมๆการทำงานไม่สนุก  ที่สำคัญไม่อยากแม้จะทำงานอื่นนอกเหนือจากงานประจำ

     แก้ไขที่ดีที่สุด คือหยุด และหันมาทบทวนตนเอง ปล่อยใจไปสักระยะ แล้วทุกอย่างก็จะดีขึ้น

คำสำคัญ (Tags): #เบื่อ#แรงจูงใจ
หมายเลขบันทึก: 253713เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2009 23:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)
ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์

เป้าหมายในชีวิตจึงเป็นสิ่งสำคัญ ที่ขจัดความ "เบื่อ" ออกไปได้

มันต้องมี "แรงจูงใจ" เพื่อสร้างความท้าทายให้ตัวเอง

"เป้าหมาย" คือ "แรงจูงใจ" ที่สำคัญที่จะสร้างความท้าทายให้กับชีวิต

จะได้ไม่ "เบื่อ" ครับ

http://www.oknation.net/blog/learning/2009/02/27/entry-1

ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์

http://www.oknation.net/blog/learning/2009/02/27/entry-1

ติดตามผลงานอาจารย์ ที่oknation มาตลอดความรู้เยอะ และสามารถนำไปใช้ได้จริงค่ะ ขอบคุณอาจารย์ค่ะที่แวะมาทักทาย

หาเป้าหาเป้า..ตั้งเป้าให้ท้าทายจะได้คึกคัก..รับรองไม่เบื่อจ้า

P

ค่ะตั้งและทำเป้าด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท