ชื่อสั้นๆ


ชื่อสั้นๆแต่อายุยืนยาว

ชื่อสั้นๆแต่อายุยืนยาว

การได้มีโอกาสตอบแทนบุญคุณปู่ย่าตายาย ในวาระสุดท้ายของชีวิต  แม้จะเป็นการจากไปในระยะเวลาอันสมควร  ก็ยังเป็นงานที่เศร้าโศกเสียใจ...อาลัยผู้จากไป  แต่ก็สิ่งดีๆที่เกิดขึ้นคือการได้พบปะกันของพี่น้องที่แยกย้ายกันไปทำมาหากินต่างที่ต่างถิ่นเป็นเวลานานๆ ทุกคนได้กลับร่วมแรงร่วมใจกันจัดพิธีฌาปณกิจศพให้คุณยายผิน   อินกรัด  วัย  94 ปี  ตั้งแต่วันที่ 19 – 25  มีนาคม  2552  ลูกหลานคุณยายทุกคนคงรู้สึกปลาบปลื้มที่มีท่านผู้มีเกียรติมาเคารพศพยายเป็นจำนวนมาก   นับแค่หลานๆ ซึ่งเกิดจากลูกๆ  ทั้ง  7 คน ของยาย  รวมหลานเขย  หลานสะใภ้ทั้งหมดเป็นจำนวนถึง   68   คน  นับเลยไปถึงลูกหลานที่มาจากพี่น้องของยายและลูกพี่ลูกน้องของยายก็ร่วม 300  คน  ดูอบอุ่นยิ่งนัก

ครอบครัวยายมีพี่น้องรวม 5 คน เรียงตามลำดับพี่น้องคือ นางผวน   นายเผียน  นายคง  นางผัน   นางผิน  และมีนามสกุลสั้นๆที่ไพเราะว่า “ ไม้หอม ” สมาชิกในครอบครัวยาย   ที่มีชื่อสั้นๆ เหล่านี้ มีชีวิตอยู่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6    มาจนถึงโลกยุคสื่อสารไร้พรมแดน  และมีอายุตั้งแต่  90 – 94  ปี ทุกคน 

ครอบครัวของยายชื่อสั้นๆแต่อายุยืน   แม้ลูกๆของยายจะมีชื่อยาวขึ้น  และเปลี่ยนจากคำไทยแท้ไปบ้าง  ก็ทำให้ได้สังเกตเห็นการยืมคำจากภาษาต่างประเทศมาใช้  ซึ่งอาจรับมาจากศาสนาศิลปวัฒนธรรม  และการติดต่อค้าขายกับชาวต่างประเทศในยุคสมัยนั้น  การมีชื่อสั้นๆไว้เรียกขานเมื่อใช้สื่อสารกันนานๆเข้าก็มีซ้ำๆกันมากขึ้น     มาถึงรุ่นลูกยายจึงเอาชื่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาตั้งชื่อให้เป็น  ดอกชะห้อม   ดอกมะลิ  ดอกพุด   หรือเอาชื่อเครื่องประดับที่เป็นสิริมงคล เช่น ทองสุก  และทองอื่นๆอีกมากมาย   เคยถามยายว่าชื่อลูกยายบางคนที่ชื่อ  เสาร์เหิน  ชะลอ   และบุญเลิศ  เอามาจากไหน   ยายบอกว่าเอามาจากชื่อพระเอกลิเก นี่ก็เป็นอีกหนึ่งที่มา

วิถีชีวิตที่เรียบง่ายและอยู่อย่างพอเพียงในยุคของคุณยาย  ทั้งอาหารการกิน  สภาพแวดล้อม   แตกต่างจากยุคปัจจุบันมากเพราะมีตัวแปรอื่นๆเข้ามาแทรกจนทำให้ความสุขมวลรวมของคนยุคนี้สู้ยุคของยายไม่ได้   คนยุคปัจจุบันชื่อยาว  เรียกยาก  สภาพความเป็นอยู่และสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนไปก็ยุ่งยากพอๆกับภาษาที่ใช้ตั้งชื่อและสกุลที่นิยมตั้งชื่อ..เปลี่ยนชื่อกันให้ยาวๆเข้าไว้    อาจจะมีส่วนทำให้คนรุ่นใหม่มีอายุเฉลี่ยยืนยาวมากกว่าคนรุ่นยาย ...ก็ได้นะ.....แม้จะเป็นการคิดเล่นๆ ในงานศพคุณยาย  เมื่อได้มองเห็นความเป็นไปของภาษาที่รับเข้ามาอย่างหลากหลายในทุกวันนี้   เป็นภาระของคนรุ่นใหม่ที่จะต้องมานั่งจดจำการสะกดคำที่ยุ่งยากขึ้นของคนใกล้ตัว  เป็นพัฒนาการทางภาษาอย่างหนึ่ง   และบางทีการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งอาจเป็นกิจกรรมฝึกความจำ ที่อาจทำให้คนรุ่นใหม่ไม่เป็นโรคอัลไซเมอร์ก็ได้.  

คำสำคัญ (Tags): #ชื่อ
หมายเลขบันทึก: 253707เขียนเมื่อ 5 เมษายน 2009 22:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 02:06 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้าจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (9)

***อยากย้อนยุคไปสู่ยุคคุณยายจังดูเพียงพอและพอเพียง

ขอบคุณนะครับที่แวะไปเยี่ยม

ปู่ย่า ตายายของเราชื่อสั้นๆแต่อายุยืนยาว

สงสัยท่านโชคดี ไม่เจอมลพิษ โรคใหม่ๆ อาหารขยะ น้ำอัดลม พืช GMO เหมือนเรา

สวัสดีค่ะPhornphon

***ขอบคุณค่ะ ...รออ่านบันทึกของวิศวกรอยู่นะคะ

ที่จริงมีการมีชื่อยาวๆ ก็เครียดตั้งแต่เข้าโรงเรียนแล้วนะคะ นึกถึงเวลาเด็กๆ ต้องคัดตัวหนังสือชื่อตัวเองนะค่ะ...

สวัสดีครับ คุณฟางข้าว

  • ผมขอเรียกคุณชื่อนี้นะครับ
  • คนไทยสมัยก่อนไม่นิยมชื่อยาวๆนะครับจำยาก
  • คำไทยแท้จะสั้นๆเข้าใจง่าย
  • ทุกวันนี้ใช้ภาษาต่างชาติกันเยอะ
  • สำหรับผมคิดว่าคำไทยแท้เพราะดีนะ
  • อย่างชื่อคุณนิ่ "ฟางข้าว" เพระมาก
  • ค่อยพบกันใหม่นะครับ

มาชม

ทายทัก แบบสบาย ๆ

สวัสดีค่ะอาจารย์umi

***ขอบคุณค่ะ

***ปิดภาคเรียนอาจารย์จะพาคุณคนเล็กๆ ไปเที่ยวไหนคะ คงตัวสูงขึ้นมากแล้ว. คิดถึงค่ะ

สวัสดีค่ะ คุณ 99 99 (ไม่มีนามแฝง)

*** ขอบคุณค่ะสำหรับความเห็น อยากให้เจ้าของภาษาไทยชื่นชมและภาคภูมิใจในภาษาไทยเช่นคุณนะคะ

*** ชื่อฟางข้าว เป็นชื่อที่ตั้งใจ ตั้งเป็นชื่อเล่นชองลูกสาวค่ะ เป็นที่น่ายินดีที่มีคนใส่ใจตั้งชื่อลูกแบบไทยๆ มากขึ้น เพราะมีเพื่อนร่วมชั้นของลูก ชื่อ ฟาง ถึง 3 คน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท