การวิจัยเชิงอุปนัย


ผมขอเสนอความคิดใหม่ "การวิจัยเชิงอุปนัย"

"อุปนัย" (Induction)เป็นภาษาตรรกศาสตร์  ผมขอยืมมาใช้เป็นชื่อ "ประเภทการวิจัย"   ว่า  "การวิจัยเชิงอุปนัย" ใช้ภาษาอังกฤษว่า  "Inductive  Research"  ลักษณะการวิจัยประเภทนี้มีดังนี้  ตัวอย่าง

ใช้กลุ่มตัวอย่าง(ที่เรารู้)  ลงความเห็นไปยังประชากร (ที่เราไม่รู้) เช่น  การวิจัยที่เลือกตัวอย่างมาแล้วใช้  Mean ของตัวอย่างนั้น  ลงความเห็นว่า  เป็น  Mean  ของประชากร (Population Mean )

ใช้ข้อเท็จจริง (ความจริงเฉพาะ)( Facts)   ลงความเห็นไปสู่หลัก ( ความทั่วไป )( Principle )  เช่น  เห็นนกตัวนี้   นกตัวนั้น   นกตัวโน้น  มีปีก  บินได้ (ข้อเท็จจริง)  จึงลงความเห็นเป็นข้อความทั่วไป  หรือหลักว่า  สัตว์ปีกทุกชนิดบินได้

ลงความ่ห็นจากส่วนย่อย(ที่เรารู้)  ไปสู่ส่วนใหญ่ (ที่เรายังไม่รู้) เช่น  เราตกเบ็ด  ๕  ครั้ง  ได้ปลาดุก  ๕  ตัว(ข้อเท็จจริงส่วนน้อยที่เรารู้)   จึงลงความเห็นสันนิษฐานว่า  ปลาในบ่อนั้นทั้งหมดเป็นปลาดุก (ปลาส่วนใหญ่ ที่เรายังไม่รู้ )

เห็นลูกผมสีทอง  จมูกโด่ง  แต่ผิวค่อนข้างสีชานิดหน่อย (ข้อเท็จจริงที่เรารู้)  ก็สันนิษฐานว่า  ไม่พ่อก็แม่จะต้องเป็นฝรั่ง ( ที่เรายังไม่รู้ )

ฯลฯ

การวิจัยที่เราทำกันเป็นส่วนใหญ่  เป็นประเภท  "จากที่รู้"  ไปยัง "สิ่งที่ไม่รู้"

ที่แท้  การวิจัยประเภทนี้เป็นการวิจัยเชิงอุปนัยนั่นเอง

ดังนั้น  ผมจึงเสนอว่า  การวิจัยเช่นนี้เป็น  "การวิจัยเชิงอุปนัย" ( Inductive  Research )  และให้ถือเป็น "การวิจัยประเภทหนึ่ง"

หมายเลขบันทึก: 253431เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2009 20:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 13:08 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
  • การทำโพลนั่นเอง

ไม่ได้เข้ามาเยี่ยมอาจารย์นานแล้ว มีรูปมาฝาก...

เจริญพร

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

นมัสการพระคุณเจ้า

ไม่ได้อ่านข้อคิดของพระคุณเจ้ามานานแล้ว อันที่จริงพระคุณเจ้าได้เข้ามาเยี่ยมผมอยู่เสมอ ผมต่างหากที่หายไป เพราะปัญหาเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ของผมโดนไวรัสเข้าเล่นงานบ้าง แต่ที่หนักคือ แป้นคีย์มันเสื่อม ทำให้ผมคิดว่าเป็นผลจากไวรัส ผมมารู้ภายหลัง ผมแก้โดยซื้อแป้นคีย์ใหม่มาแทนคีย์บอร์ดของตัวเครื่อง (โน๊ตบุค)

ของฝากมองในแง่ศิลปะ ก็งดงามมาก งดงามทั้งตัวมันเอง และมุมที่ถ่าย ในด้านเนื้อหาของภาพ ผมมีความรู้น้อยมากครับ ทั้งๆที่เคยเป็นเด็กวัดมาตั้งหลายปี

พระคุณเจ้าคงสบายดี ผมขอบคุณอีกครั้งครับ

เห็นชื่อท่านปรากฏ ทำให้นึกถึงว่าเคยโชคดีที่ได้อ่านเกี่ยวกับทบ.กับการวิจัย นานพอสมควร แล้วก็จำชื่นนี้ไปซีเอ็ด แต่ไม่ได้หนังสือ

ที่อยากหามาเป็นส่วนตัวเพราะชอบวิธีการเขียน ที่พยายามให้ผู้อ่านเข้าใจ  เรื่องของการวิจัย วันนั้นที่ได้อ่านจากเน๊ตโดยบังเอิญและจดชื่อท่านไว้ ก็ไม่ได้อ่านอีกเลย  แต่ยังคงตามหาหนังสือเล่มนั้นอยู๋

เพื่อความเข้าใจของตัวเอง ไม่เรียนถามข้อสงสัยท่าน ขอซึมซับ และพยายามทำความเข้าใจเป็นการประดับความรู้ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องของตนเองนะคะ ขอบคุณค่ะ

ดร.ไสว เลี่ยมแก้ว

ขอบคุณ Krutoi ครับ หนังสือที่ว่านั้นไม่ทราบว่าหนังสืออะไร อันที่จริงผมเขียนหนังสือไว้หลายเล่ม ขณะนี้อยู่ในคอมพิวเตอร์ 7 เล่มครับ พร้อมจะพิมพ์ เช่น ปรัชญาจิตวิทยา จิตวิทยาสำหรับครู การวิจัยสำหรับครู จิตมนุษย์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทฤษฎีและโมเดล ฯล แต่ยังไม่ได้พิมพ์สักเล่ม หาสำนักพิมพ์ไม่ได้ แต่คิดว่าจะพิมเองบางเล่ม ก็เล่าให้ฟังเล่นๆ ครับ จึงไม่รู้ว่าไปหาเล่มไหน เพราะยังไม่ได้พิมพ์สักเล่มครับ อย่างไรก็ตาม เป็นความปรารถนาดี ผมขอขอบคุณด้วยครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท