แตงไทย
นฤมล ชื่อเล่น "แตงไทย" (สำหรับครอบครัว), "แตงอ่อน" (สำหรับเพื่อนๆ), "I tang" (สำหรับพี่ๆ ทั้งหลาย) จันทรศรี

การปรุงแต่งของจิตในโยคะสูตร (๑)



เว็บศูนย์รวม "โยคะสารัตถะ"
(๑)การปรุงแต่งของจิตในโยคะสูตร
(๒)โยคะสูตรว่าด้วย 
     การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ 

(๓)โยคะสูตรว่าด้วย 
    การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ

(๔)โยคะสูตรว่าด้วย 
    การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ

(๕)โยคะสูตรว่าด้วย 
     การปรุงแต่งของจิต ๕ ประการ

(๖) โยคะสูตรว่าด้วย การปรุงแต่งจิต
      ๕ ประการ (ตอนจบ) และการบรรลุ
      ถึงการดับการปรุงแต่งของจิต
-(๖.๑)- ; -(๖.๒)- -(๖.๓)-

การปรุงแต่งของจิตในโยคะสูตร

 วีระพงษ์ ไกรวิทย์ (ครูโต้)
และจิรวรรณ ตั้งจิตเมธี (ครูจิ)
(เข้าดูบทความของทั้งสองท่านที่นี่)

โยคะสารัตถะ ฉ.; ก.ย.'๕๑

 

ในบทที่ ๑ ประโยคที่ ๔ ของโยคะสูตรปรากฏข้อความว่า "วฤตติสารูป ยัมอิตรตระ" โดย"วฤตติ" หมายถึง การเปลี่ยนแปลงหน้าที่ หรือพฤติกรรม หรือการปรุงแต่งของจิตตะ1"สารูปยะ" หมายถึง รูปเดียวกันหรือสภาพเดียวกัน "อิตรตระ" หมายถึง ที่อื่น หรือในโอกาสหรือเวลาอื่น เมื่อรวมทั้งประโยคแล้วหมายถึง (ในสภาวะ อื่นๆ)ที่อยู่นอกเหนือจากสภาวะเดิมแท้แล้ว การปรุงแต่งของจิตตะย่อมมีรูปอย่างเดียวกัน ใน สภาวะเดิมแท้นั้นเป็นสภาวะที่ปุรุษะและประกฤติแยกกันอยู่ซึ่งโยคีผู้บรรลุ เป้าหมายของโยคะแล้วย่อมมีปัญญาสามารถมองเห็นหรือเข้าถึงสภาวะนี้ได้ การปรุงแต่งต่างๆ ของจิตตะที่ปรากฏขึ้นแก่โยคีผู้นั้นย่อมเป็นการปรุงแต่งชนิดเดียวกันทั้งหมด กล่าวคือไม่ว่าจะเป็นการปรุงแต่งแบบใดก็ตาม โยคีก็จะรับรู้ว่านั่นเป็นเพียงการปรุงแต่งของจิตตะเหมือนๆ กันซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบใดๆ ต่อโยคีผู้นั้น ในขณะที่คนทั่วไปซึ่งยังมีอวิชชาปกคลุมอยู่ การปรุงแต่งของจิตตะจะยังคงส่งผลต่อคนผู้นั้น เช่นเมื่อจิตปรุงแต่งแล้วเกิดเป็นสุข เป็นทุกข์ขึ้นมา คนผู้นั้นก็จะมีอารมณ์สุข ทุกข์ไปตามสภาวะของการปรุงแต่งนั้นๆ แต่ไม่ว่าจะสุขหรือทุกข์ก็ไม่ได้แตกต่างกันเพราะเป็นเพียงอารมณ์ที่จิตปรุง แต่งขึ้นเหมือนกัน หาใช่สิ่งที่ยั่งยืนและเป็นความจริงแท้ไม่ เปรียบดังผู้เบาปัญญาเห็นน้ำในแก้วสีดำ ก็เข้าใจว่าน้ำนั้นเป็นสีดำ ครั้นเห็นน้ำในแก้วสีแดง ก็เข้าใจว่าน้ำนั้นเป็นสีแดง เมื่อเขาหยั่งรู้ความจริงก็จะเข้าใจทันทีว่าน้ำทั้งสองแก้วนั้นไม่มีสีแต่ อย่างใดตามที่เห็นด้วยสายตา หากแต่สีคือสิ่งที่มาปรุงแต่งให้น้ำเกิดเป็นสีต่างๆ แล้วทำให้เขาเข้าใจผิดไปตามนั้น

ดังนั้นการหยั่งรู้ว่าการปรุงแต่งต่างๆ ของจิตตะนั้นล้วนเป็นสิ่งเดียวกันจึงจำเป็นต้องรู้จักประเภทของการปรุงแต่ง และลักษณะของการปรุงแต่งนั้นๆ ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ปตัญชลีจึงได้แนะนำเรื่องนี้ในประโยคถัดไป

ในประโยคที่ ๕ กล่าวไว้ว่า "วฤตตยะห์ ปัญจตัยยะห์ กลิษฏากลิษฏาห์" ซึ่ง แปลความหมายอย่างสั้นๆ ว่า การเปลี่ยนแปลงหน้าที่หรือพฤติกรรมของจิตตะมีอยู่ ๕ อย่าง บางอย่างนั้นเป็นเหตุให้เกิดกิเลส ขณะที่บางอย่างไม่ก่อให้เกิดกิเลส

พฤติกรรม(หรือการปรุงแต่ง)ของจิตตะนั้นปตัญชลีได้แบ่งออกเป็น ๕ ประเภทซึ่งจะได้อธิบายละเอียดเป็นข้อๆ ในประโยคถัดไป (I : ๖) บางคนอาจจะรู้สึกว่าการแบ่งแบบนี้ไม่น่าจะเพียงพอหากพิจารณาตามเหตุที่อาจจะ เกิดขึ้น เมื่อเกิดคำถามขึ้นว่าพฤติกรรม(หรือการปรุงแต่ง)ของจิตตะเฉพาะสักอย่างหนึ่ง สามารถจัดเข้าไปอยู่ในอันหนึ่งอันใดของประเภททั้ง ๕ นี้ได้หรือไม่ การแบ่งที่ชัดเจนและถูกต้องมากๆ นั้น ตามปกติแล้วมักจะเป็นการแบ่งประเภททางวิทยาศาสตร์ ซึ่งคงไม่ใช่วัตถุประสงค์หลักของปตัญชลีในที่นี้ ประโยคต่างๆ ในโยคะสูตรของปตัญชลีมีวัตถุประสงค์เพื่อการฝึกปฏิบัติโยคะมากกว่าการนำเสนอ โยคะในฐานะที่เป็นศาสตร์ทางทฤษฎีซึ่งน่าจะเป็นวัตถุประสงค์รองเท่านั้น ส่วนเป้าหมายหลักของการฝึกปฏิบัติในส่วนนี้ก็คือเพื่อที่จะหยุดกระบวนการใน การปรุงแต่งของจิตตะเหล่านั้นให้หมดไปโดยการทำให้การปรุงแต่งที่ก่อเกิดเป็น อารมณ์สุขทุกข์ต่างๆ หยุดลง เมื่อเป้าหมายเป็นเช่นนี้การแบ่งประเภทของการปรุงแต่งของจิตตะที่ชัดเจนถูก ต้องจึงไม่ได้มีค่าอะไรมากนัก เพราะไม่ว่าจะเป็นการปรุงแต่งของจิตตะแบบใดก็ตาม จุดมุ่งหมายย่อมเป็นการหยุดกระบวนการทำงานของมันในที่สุด ดังนั้นการแบ่งแบบหยาบๆ เช่นนี้จึงน่าจะเพียงพอต่อการเข้าถึงจุดหมายของการปฏิบัติโยคะ แม้ว่าบางครั้งอาจจะรู้สึกยากที่จะตัดสินใจได้ว่าการปรุงแต่งของจิตตะประเภท ไหนที่มีอำนาจหรือมีความสำคัญมากที่สุด และอาจจะมีการปรุงแต่งของจิตตะบางประเภทที่สัมพันธ์เชื่อมโยงกับประเภทอื่น ก็ตาม

ในอีกแง่หนึ่ง ปตัญชลีได้แบ่งการปรุงแต่งของจิตตะไว้อย่างกว้างๆ เพียงเพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติโยคะได้เข้าใจธรรมชาติของการปรุงแต่งเหล่านี้ ได้พอสังเขป ขณะเดียวกันจำนวนของประเภทของการปรุงแต่งก็ควรจะมีมากพอที่จะสามารถจัด ประเภทของการปรุงแต่งต่างๆ เข้าอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งได้ จำนวนที่เหมาะสมจึงดูเหมือนจะอยู่ประมาณห้า ยิ่งไปกว่านั้นปตัญชลีดูเหมือนจะชอบเลขห้าซึ่งคล้ายคลึงกับแนวคิดของปรัชญา สางขยะ ดังนั้นท่านจึงแบ่งการปรุงแต่งของจิตตะออกเป็นห้าประเภท

คำว่า "กลิษฏะ - klista" เป็นคำคุณศัพท์ของรากศัพท์ "กลิศ - klis" ซึ่งแปลว่า รบกวน ทำให้เจ็บปวด ฯลฯ คำนามคือคำว่า "กเลศะ - klesa" ซึ่งก็มาจากรากศัพท์เดียวกันด้วย กเลศะ(กิเลส)เหล่านี้ เป็นต้นเหตุสำคัญของความ เจ็บปวดหรือความทุกข์ ดังนั้นคำว่า "กลิษฏะ" จึงหมายถึงเหตุแห่งทุกข์หรือความเจ็บปวดในแง่ที่เกี่ยวข้องกับกเลศะหนึ่ง อย่างหรือมากกว่า โดยทั่วไปแล้วกเลศะไม่สามารถถูกกำจัดออกไปได้อย่างสิ้นเชิงทั้งหมด ดังนั้นการปรุงแต่งที่เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับกเลศะมากจึงกำจัดออกไปได้ยากมากๆ ด้วย

อย่างไรก็ตาม การปรุงแต่งของจิตตะที่กล่าวถึงอย่างกว้างๆ ในประโยคนี้มีทั้งแบบ กลิษฏะ (klista) และอกลิษฏะ (aklista) คำทั้งสองนี้ควรได้รับการพิจารณาในเชิงเปรียบเทียบ คือการปรุงแต่งของจิตตะบางครั้งเป็นเหตุให้เกิดกิเลส แต่บางครั้งไม่ก่อให้เกิดกิเลสก็มี เช่นเมื่อเราคิดถึงอาหารอร่อยอย่างหนึ่ง (เกิดความปรุงแต่งของจิตตะ) ทำให้เราเกิดกิเลสอยากกินอาหารอย่างนั้นขึ้นมา การปรุงแต่งชนิดนี้จึงเป็นแบบกลิษฏะ แต่เมื่อเรานั่งนึกถึงรถไฟแล้วเห็นภาพรถไฟในความทรงจำขบวนหนึ่งเพียงแค่นั้น โดยไม่มีอารมณ์ความรู้สึกใดๆ (กิเลส) เกิดขึ้นตามมา เหตุการณ์นี้ก็เป็นการปรุงแต่งแบบอกลิษฏะ แต่ถ้าเห็นภาพรถไฟแล้วเกิดความรู้สึกอยากไปเที่ยวต่างจังหวัดขึ้นมา นั่นย่อมเป็นการปรุงแต่งแบบ กลิษฏะ เมื่อเข้าใจเช่นนี้แล้วอาจจะมีบางคนเกิดคำถาม ขึ้นในใจว่า แล้วเราจะหยุดอารมณ์ความรู้สึกหรือกิเลสที่จิตปรุงแต่งตามขึ้นมานี้ได้อย่างไร...   

 
1 โปรดย้อนกลับไปดูความหมายของคำว่า "จิตตะ" ในบทที่ ๑ ประโยคที่ ๒ ของฉบับก่อน

เอกสารอ้างอิง :
สัตยานันทปุรี , สวามี, (๒๕๑๑). ปรัชญาฝ่ายโยคะ. พระนคร : อาศรมวัฒนธรรม ไทย-ภารต.
Karambelkar, P. V., (1986). PATANJALA YOGA SUTRAS Sanskrta Sutras with Transliteration, Translation & Commentary. Lonavla : Kaivalyadhama.  



ภายใต้มูลนิธิหมอชาวบ้าน

2220/101 ซอยรามคำแหง 36/1  ถนนรามคำแหง  แขวงหัวหมาก  
เขตบางกะปิ  กรุงเทพฯ  10240  
โทรศัพท์  02-732-2016 - 17, โทรสาร 02-732-2811 มือถือ 081-401-7744 ; 
E-mail: [email protected] ; www.thaiyogainstitute.com

 .....

 

หมายเลขบันทึก: 253427เขียนเมื่อ 4 เมษายน 2009 20:42 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 20:33 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ชอบโยคะ แต่ยังก้าวข้ามความเจ็บ ตึง มาก ๆ ไม่ได้ อยากทำท่าอาสนะแล้วมีความสุข มีเคล็ดลับมั้ยค่ะ

โชคดีจังค่ะ ทางสถาบันกำลังจะจัดอบรม "โยคะในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพ"

เชิญคุณ Memi นะคะ จะได้ทราบเคล็ดลับการทำท่าโยคะอาสนะแล้วมีความสุข ไม่ต้องพะวงเรื่องตึงกล้ามเนื้อ

รายละเอียดนะคะ

+++++++++++++++++

โยคะในชีวิตประจำวัน เพื่อสุขภาพ

อบรมหลักสูตรโยคะอาสนะขั้นพื้นฐาน 
ในวันอาทิตย์ที่  15 สิงหาคม 2553
เวลา 09.00 น.-15.00 น.
ค่าลงทะเบียน 650 บาท
(ไม่รวมอาหารกลางวัน)
รับจำนวนจำกัด

  • ฝึกท่าโยคะอาสนะที่ง่าย ใครๆ ก็ทำได้ และเป็นประโยชน์
  • ฝึกเทคนิคการหายใจ ที่นำไปใช้ได้ในชีวิตประจำวัน
  • ฝึกเทคนิคการผ่อนคลาย
  • นอกจากนั้น ยังมีการพูดคุยถึงโยคะที่แท้จริง ตามตำราดั้งเดิม
  • แลกเปลี่ยนทัศนะในการดำเนินชีวิตที่สมดุล

 วัตถุประสงค์  

1.  เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้รู้จักโยคะอย่างที่โยคะเป็น
2.  เข้าใจศาสตร์แห่งโยคะในระดับเบื้องต้น และสามารถฝึกได้ด้วยตนเอง

เนื้อหา  ภาคทฤษฎี

  • โยคะคือการพัฒนากาย-จิต
  • หลักในการฝึกอาสนะ 4 ข้อ ที่ไม่ทำให้ผู้ฝึกได้รับบาดเจ็บ
  • คุณค่า ประโยชน์จากการฝึกโยคะ ตามหลักสรีรวิทยา และ ข้อควรระวังในการฝึกท่าโยคะอาสนะ
  • มรรควิถี 8 ประการของโยคะ ฯลฯ

เนื้อหา ภาคปฏิบัติ

  • อาสนะพื้นฐาน 14 ท่า
  • เทคนิคการหายใจพื้นฐาน  การหายใจด้วยหน้าท้อง การหายใจด้วยทรวงอก
  • เทคนิคเกร็งและคลายกล้ามเนื้อ 8 ส่วน
  • เทคนิคการผ่อนคลายอย่างลึก
  • เกมส์ฝึกสติ

การเตรียมตัวก่อนการฝึกโยคะ

1. ควรงดรับประทานอาหารก่อนการฝึกปฎิบัติ  ดังนี้

- อาหารมื้อหนัก  เช่น  อาหารตามมื้ออาหาร  อย่างน้อย  4  ชั่วโมง
- อาหารมื้อเบา  เช่น  อาหารว่าง  (ขนมปัง,  แซนด์วิช ฯลฯ)  อย่างน้อย  2  ชั่วโมง

เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมให้แก่ร่างกาย  เนื่องจากหากท้องอิ่ม  อาจทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัด  ไม่สบายตัวในขณะฝึกปฏิบัติได้

2. แต่งกายสบาย ๆ ผ้ายืด  เช่น  เสื้อยืด  -  กางเกงวอร์ม  จะเหมาะสมที่สุด  เนื่องจากทำให้เกิดความยืดหยุ่นในขณะฝึก  ควรหลีกเลี่ยงการใส่ชุดออกกำลังกายที่รัดรูป  เพราะจะทำให้เลือดไหลเวียนได้ไม่ดี

3. ควรจัดเตรียมผ้าห่ม  หรือผ้าขนหนูผืนยาวมารองตัวขณะฝึก  ขนาดกว้างยาวประมาณตัวผู้ฝึก

(มีเบาะโยคะเตรียมไว้ให้ในวันเรียนแล้วค่ะ)

4. ***เตรียมพื้นที่เล็ก ๆ ไว้ในใจสำหรับเพาะเมล็ดแห่งโยคะให้งอกงามในวิถีตน***

ณ  ห้อง 262  ชั้น 6 คณะมนุษยศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร

การโอนเงิน ธ.ไทยพาณิชย์ สาขาเตาปูน ออมทรัพย์
เลขที่ 141-2-16162-6 ชื่อบัญชี นายกวี คงภักดีพงษ์

(หลังจากโอนเงินแล้วรบกวนแฟ็กซ์กลับมาที่ 02-732-2811)

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

Tel.02-732-2016-7,081-401-7744

                                

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท