สิทธิ : โอกาสที่เข้าไม่ถึงของคนชายขอบ


สังคมปัจจุบันเห็นสิทธิแต่ไม่เป็นความเป็นคน เพราะสิ่งที่อิสรชน พยายามที่จะทำคือ การให้สังคมหรือตัวกลุ่มเป้าหมายเองเห็นความเป้ฯคนในตนเอง แล้วชี้ชวนให้เขาได้เห็นพลังในตัวเขา และจะเกิดการรวมพลังในการเรียกร้องและคุ้มครองสิทธิของตนเอง ตามมาเองโดยไม่ต้องมีใครไปเป็นผู้ให้ เรามีความเท่าเทียม เรามีความเสมอภาคกัน

เมื่อกล่าวถึงคำว่า “สิทธิ”  คุณเข้าใจว่าอย่างไร กับคำ  ๆ นี้

-                   สิทธิ”  หมายถึง  ประโยชน์หรืออำนาจที่บุคคลพึงได้รับตามกฎหมาย  

-                   เสรีภาพ หมายถึง  ความเป็นอิสระของบุคคลล    ที่จะกระทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งได้ภายใต้ขอบเขตของกฎหมาย         

-                   ความเสมอภาค หมายถึง ความเท่าเทียมกันระหว่างบุคคล

-                   การรับรองหรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย    หมายความว่า  กฎหมายของไทยจะให้หลักประกันในเรื่องของการปฏิบัติของบุคคล ในเรื่อง ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาคของบุคคล             

  สิทธิมนุษยชน จะให้การคุ้มครองบุคคล  ดังนี้ 

    1.   การประกันความบริสุทธิ์ของบุคคลก่อนศาลพิพากษา      

    2.   การประกันคุณค่าของความเป็นมนุษย์        

    3.   การประกันสิทธิส่วนตัว

    4.   การประกันเสรีภาพของบุคคล       

    5.   การประกันสิทธิในการศึกษา     

    6.   การลดการทารุณกรรม         

    7.   การลดการสูญบุคคลในการพัฒนาประเทศ                              

    8.   การจำกัดอำนาจรัฐมิให้ล่วงละเมิดสิทธิของบุคคล        

    9.   การประกันการสร้างครอบครัว 

   10.  การประกันการใช้และการบำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติ

   11.  การประกันมาตรฐานการครองชีพขั้นพื้นฐาน

 

แต่เมื่อได้เข้าฟังการเสวนา เรื่อง เส้นทางคู่ขนานโอกาสและสิทธิ ที่โรงแรมเจ้าพระยา ปาร์ค จัดโดยสำนักงานส่งเสริมสวัสดิภาพและพิทักษ์เด็ก เยาวชน ผู้ด้อยโอกาส คนพิการ และผู้สูงอายุ กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ท่านวิทยากร รศ.อภิญญา เวชชยชัย ได้กล่าวประเด็นก่อนสิทธิ ก่อนที่เราจะพูดหรือเรียกร้องเรื่องสิทธินั้น ต้องเข้าใจในประเด็นก่อนสิทธิ ซึ่งเมื่อๆได้ฟังแล้วนั้นการทำความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นก่อนสิทธินั้น เป็นการทำงานที่ทางสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน พยายามทำอยู่

ในสิ่งแรกนั้นต้องทำความเข้าใจในประเด็นของผู้ด้อยโอกาสที่มีความหลากหลาย แต่ละคน ด้อยโอกาสแตกต่างกัน แม้แต่คนเร่ร่อนเอง บางคนไม่ได้ต้องการบ้าน แต่ต้องการความอบอุ่นความรักภายในบ้านจนต้องออกมาแสวงหาจากภายนอก 

และอีกประเด็นที่ต้องทำความเข้าใจ คือกลุ่มคนด้อยโอกาสถูกตีตราด้วยคำยาม ที่สังคมมองและนำมายึดถือ จะทำอย่างไรให้สังคมเข้าใจ เปลี่ยนแปลงการเรียกชื่อใหม่ หรือเปลี่ยนวาทกรรมใหม่ ทำให้ผู้รับหรือผู้เรียกเข้าใจใหม่ ยืนยันในวาทกรรมที่ดี ในที่นี่ท่านวิทยากรได้ยกตัวอย่าง กรณีที่ไปดูงานที่ญี่ปุ่น ที่ญี่ปุ่นไม่เรียกว่า “สลัม” แต่เรียกว่า “หมู่บ้านดอกไม้” ที่นี่ไม่มีสลัมมีแต่หมู่บ้านดอกไม้ เป็นสิ่งหนึ่งที่ทางสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน พยายามเปลี่ยนวาทกรรมเรียกคนเร่ร่อน   ไร้บ้าน ว่า “ผู้ที่ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ" เพระเขาเหล่านี้ใช้ชีวิตในพื้นที่สาธารณะ คนเร่ร่อนที่สนามหลวงเอง เขาก็ไม่เรียกตัวเขาว่าเป็นคนเร่ร่อน เขาบอกว่าเขาไม่ได้เร่ร่อน แต่เขาเป็นคนสนามหลวง บ้านของเขาคือ สนามหลวง หรือแม้แต่คำว่าผู้ด้อยโอกาส ก็น่าจะหาคำที่ฟังแล้วเป็นกำลังใจหรือคนที่เรียกหรือผู้ถูกเรียกรู้สึกว่า ไม่เป็นปัญหา หรือรู้สึกแย่ สิ่งหนึ่งที่ต้องทำความเข้าใจ เขาเหล่านี้จะได้มีพลังหันมาปกป้องดูแล รักษาสิทธิของตนเอง เพราะฉะนั้นเรื่องชื่อเป็นเรื่องที่ดี เป็นการปรับทัศนคติอย่างหนึ่งในสังคม เมื่อเราตั้งชื่อดี การพัฒนาก็จะดี เพราพลังในการสื่อสารเป็นสิ่งทีสำคัญมาก ลึความสนใจของสังคมได้มาก 

อีกประเด็น คือ รูปแบบกระแสหลักในการให้ความช่วยเหลือ รูปแบบหลักที่เคยปฏิบัตินั้นเป็นไปในเชิง “สงเคราะห์” คือการให้  โดยสังคมมองว่าเขาขาดเลยพยายามให้ จึงเป็นแต่การให้ กลายมาเป็นการส่งเคราะห์แบบผิวเผิน กลุ่มเป้าหมายก็จะเป็นแต่ผู้ที่รอจะรับ เพราะเขารู้ว่าเมื่อเขาอยากได้อะไร หรือขาดแคลนอะไร ต้องมีผู้ให้เสมอ แต่การทำงานของสมาคมสร้างสรรค์กิจกรรมอิสรชน นั้น เป็นการทำงานในเชิงพัฒนาที่ให้กลุ่มเป้าหมาย คิดและเปลี่ยนแปลงตัวเองเอง โดยเราเป็นเพียงผู้ที่เสริมพลัง ให้เขารู้จักเรียกร้องเมื่อเขาถูกละเมิดสิทธิ หรือให้เขารู้จักติดที่จะพัฒนาตนเอง และให้เขารู้จักแก้และร่วมพัฒนาตนเองร่วมกับเราไปด้วย เช่น กองทุนคนเร่ร่อนในการประกอบอาชีพ ที่อิสรชน จะใช้เป็นกองทุนสำหรับคนเร่ร่อนที่อยากจะประกอบอาชีพ คือเมื่อผ่านเวลาการฟื้นฟูตนเองด้วยตัวเขาเอง   โดยเราเป็นเพียงผู้ที่สร้างพลังให้กับเขาเท่านั้น เขาอาจจะไม่อยากกลับบ้าน หรือไม่มีบ้านให้กลับแล้ว อยากเริ่มต้นชีวิตใหม่ด้วยการทำมาหากิน เราก็มีกองทุนให้เขายืม โดยไม่มีดอกเบี้ย ไม่กำหนดส่งคืน คือ ทำมาหากินจนมีกำไรแล้วค่อยเอามาคืนเพื่อเป็นทุนให้คนอื่นต่อไป อาจจะฟังเหมือนการบริจาคให้นั้นแหละ แต่เราจะไปยืนให้โดยที่ไม่มีสัญญาร่วมกัน เขาก็จะเป็นผู้ขอเสมอ แต่เมื่อมีสัญญาข้อตกลงกัน ทำให้เขาต้องรับผิดชอบ และรู้คุณค่าของการได้มา แต่ผู้ที่ผ่านเข้ากองทุนต้องผ่านหารพูดคุย ฟื้นฟู กับทางสมาคมไม่น้อยกว่า ครึ่งปี ต้องให้เราแน่ใจว่าเขาพร้อมที่จะพัฒนาตนเอง

สังคมปัจจุบันเห็นสิทธิแต่ไม่เป็นความเป็นคน เพราะสิ่งที่อิสรชน พยายามที่จะทำคือ การให้สังคมหรือตัวกลุ่มเป้าหมายเองเห็นความเป้ฯคนในตนเอง แล้วชี้ชวนให้เขาได้เห็นพลังในตัวเขา และจะเกิดการรวมพลังในการเรียกร้องและคุ้มครองสิทธิของตนเอง ตามมาเองโดยไม่ต้องมีใครไปเป็นผู้ให้ เรามีความเท่าเทียม เรามีความเสมอภาคกัน

แต่ตำงานที่ผ่านมาของภาครัฐนั้น ไม่ได้สร้างพลัง หรือความสอบถามความต้องกการของกลุ่มเป้าหมายเลยแม้สักนิด มีแต่การเลี่ยงกฎหมายข้อนั้น มาใช้พรบ.ข้อนี้ ในการกวาดล้าง หรือกวาดจับ เวลาที่จะมีงานสำคัญที่เป็นหน้าเป็นตาของประเทศ ทำอย่างเขาไม่ใช่คนจับไปส่งสถานสงเคราะห์ของรัฐที่เป็นพื้นที่สี่เหลี่ยม มีรั้วรอบด้าน รวมคนดีกับคนบ้า สุดท้ายเขาก็หนีออกมา เพราะนั้นไม่ใช่พลัง ไม่ใช่ความต้องการของเขา คนเร่ร่อนเองบอกว่า เขามีความสามารถ หาเช้ากินค่ำได้ ไม่ได้เป้ฯอะไรทำไมต้องไปเป็นภาระของรัฐ เอาไปเลี้ยงดูกักขังในสถานสงเคราะห์ จับแยกครอบครัว บางคนแฟนหนีออกมาได้ แต่ภรรยาและลูกยังอยู่ในสถานสงเคราะห์ เป็นการทำร้ายครอบครัวเขาไปในสิ้นเชิง ทั้งที่ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 55 บัญญัติไว้ชัดเจนว่า คนเร่ร่อนไร้บ้านต้องได้รับความดูแลจากรัฐอย่างเหมาะสม แต่รัฐไม่ได้เคยถามว่าความต้องการที่เหมาะสมของคนเหล่านี้คืออะไร แต่รัฐสรุปเอาเองว่า การสงสถานสงเคราะห์ คือการจัดการที่เหมาะสม มีที่พัก มีอาหาร แต่ไม่มีอิสระ ไม่ความเป็นคน เขาไม่ได้ใช้พลังของเขาในการแสดงความสามารถ ครอบครัวถูกแยก เพราะสถานสงเคราะห์ มีทั้งชาย และสถานสงเคราะห์หญิง     นั่นคือ สิทธิ ที่เขาเหล่านั้นสมควรได้จริงหรือ ??  ใครช่วยตอบที

เขียนโดย : อัจฉรา อุดมศิลป์ / เจ้าหน้าที่สมาคมฯ

หมายเลขบันทึก: 252963เขียนเมื่อ 3 เมษายน 2009 08:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 พฤษภาคม 2012 13:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท