ปี่พาทย์อยุธยา 7


ปี่พาทย์อยุธยา 7

วิถีวัฒนธรรมปี่พาทย์อยุธยา ๗ : การบูรณาการปี่พาทย์ประกอบพิธีกรรมปัจจุบัน

---------------------------------------------------

กนก   คล้ายมุข

 

   บทบาทของปี่พาทย์ในอดีต มีความสัมพันธ์กับกิจกรรมของสังคม ทั้งด้านการประกอบพิธีกรรม  ประกอบการแสดง และเพื่อการฟัง  ความเปลี่ยนแปลงของ ระบบเศรษฐกิจ สังคม การเมืองและวัฒนธรรม ในสังคมไทยที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ตลอดทั้งโลกทัศน์ของคนรุ่นใหม่ ที่ตอบรับวัฒนธรรมตะวันตกโดยเฉพาะวัฒนธรรมดนตรี เข้ามาแทนที่วัฒนธรรมดนตรีไทย ส่งผลกระทบต่อการปรับเปลี่ยนตัวเองของชาวดนตรีปี่พาทย์ เป็นอย่างมาก วัฒนธรรมปี่พาทย์ประกอบพิธีกรรม มีการเปลี่ยนแปลงมีลักษณะดังนี้

   .  ตัดทอน ลดบทบาท จนไม่มีหน้าในการบรรเลงประกอบพิธีกรรม

             พิธีกรรม ในปัจจุบัน หลายพิธีกรรมปรับเปลี่ยนรูปแบบ ขั้นตอน อาทิ การทำบุญเลี้ยงพระ ปัจจุบันนิยมกระทำเพียงระยะเวลาสั้น ๆ เช่น การทำบุญเลี้ยงพระ รูปแบบการประกอบพิธีกระทำรวบรัดในวันเดียว  ด้วยสาเหตุของผู้ประกอบพิธีมีเวลาน้อย วงปี่พาทย์ไทยที่เคยบรรเลงประกอบในอดีต จึงถูกตัดออกจากพิธีเพื่อประโยชน์ทางด้านเศรษฐกิจ นอกจากนี้รูปแบบการใช้ดนตรีประกอบพิธีกรรม ที่เปลี่ยนแปลงการใช้ดนตรีประกอบ ยังผลจากการรับวัฒนธรรมดนตรีตะวันตกเข้ามาแทนเช่น พิธีบวชนาค มีความนิยมใช้วงแตรวง วงแคนประยุกต์แทน วงปี่พาทย์ เสียงปี่พาทย์โหมโรงเย็น  โหมโรงเช้า  เพลงพิธีต่าง ๆ เช่น เพลงลงสรง  เวียนเทียน จึงเปลี่ยนไปเป็นเสียงเพลง โด เร มี เพลงคุณลำใย ให้สะใจวัยรุ่นขาโจ๋ แทน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพ พิธีทำขวัญนาค

 

   . ปรับเปลี่ยนรูปแบบบางส่วนในการบรรเลงประกอบพิธีกรรม เพื่อความคงอยู่รอดได้ในสภาพสังคมปัจจุบัน

             การประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ ในสังคมปัจจุบัน ทั้งพิธีกรรมทางศาสนาพุทธ พิธีกรรมที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตของประชาชนทั่วไป และพิธีกรรมในโอกาสพิเศษ  ถูกนำมาบูรณาการเข้าด้วยกัน  เพื่อเป็นการประหยัดเวลา เงิน ตอบสนองความรวดเร็วของสังคม อาทิ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพ ดนตรีประกอบพิธีทอดกฐิน และทำบุญอัฐิ

 

   พิธีทอดกฐินและพิธีทำบุญอัฐิ เป็นการจัดงาน ๒ งานพร้อมกัน เป็นที่นิยมมาก สำหรับการทอดกฐินที่มีเจ้าภาพเพียงผู้เดียว โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นการทำบุญครั้งยิ่งใหญ่ด้วยการทอดกฐิน และบำเพ็ญกุศลให้กับญาติผู้ล่วงลับโดยทำบุญอัฐิไปพร้อมกัน วงปี่พาทย์ที่นำมาบรรเลงประกอบพิธี  เจ้าภาพจะติดต่อวงปี่พาทย์มอญ บรรเลงประกอบพิธี แทนวงปี่พาทย์ไทย โดยใช้ปี่พาทย์มอญบรรเลงประกอบทั้ง ๒ พิธี เนื่องจากลักษณะการบรรเลง ปี่พาทย์มอญสามารถบรรเลงได้ทั้งเพลงสำเนียงมอญและเพลงสำเนียงไทย รูปแบบการบรรเลงของ  วงปี่พาทย์มอญประกอบพิธีทอดกฐินและทำบุญอัฐิ มีดังนี้

   เพลงที่ใช้ในการบรรเลงประกอบพิธีทอดกฐินและทำบุญอัฐิ จะแยกเป็นส่วน ๆ  ของแต่ละวัน โดยวันแรก ในช่วงแรกของงานเริ่มต้นด้วยพิธีทอดกฐินก่อน โดยนิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ หลังจากนั้นช่วงที่ ๒ ต่อด้วยพิธีทำบุญอัฐิ โดยนิมนต์พระสงฆ์สวดพระอภิธรรม เป็นอันเสร็จพิธีกรรมในวันแรก  

   วันที่สองของงาน จะเริ่มด้วยพิธีทอดกฐินในช่วงแรก โดยนิมนต์พระสงฆ์ฉันภัตตาหารเช้า ถวายกฐิน และแสดงพระธรรมเทศนาอานิสงค์กฐิน เป็นอันเสร็จพิธีกฐิน  หลังจากนั้นต่อด้วยพิธีทำบุญอัฐิ โดยนิมนต์พระฉันภัตตาหารเพลง และมาติกาบังสุกุล วงปี่พาทย์ บรรเลงประกอบแต่ละส่วนโดยใช้เพลงดังตาราง

 

ตาราง  แสดงรูปแบบการบรรเลงปี่พาทย์มอญ ประกอบพิธีทอดกฐินและทำบุญอัฐิ

 

เวลา

พิธีกรรม/เหตุการณ์

เพลงที่บรรเลง

หมายเหตุ

วันที่หนึ่ง

๑๕.๐๐ น.

 

  ไม่มี

 

  โหมโรงเย็น

  เพลงช้า

 

  แบบแผนปี่พาทย์ไทย

๑๖.๐๐ น.

  พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์

  เพลงเร็ว

  กราวใน

  รับพระ

  ส่งพระ

๑๗.๐๐ น.

  ไม่มี

  ประจำวัด

  เพลงมอญ

  เพลงนางหงส์

  แบบแผนปี่พาทย์มอญ

๑๙.๓๐ น.

  สวดพระอภิธรรม

  เพลงเร็วมอญ

 

  รับพระ

  ส่งพระ

๒๒.๐๐ น.

  ไม่มี

  เพลงลา 

  เพลงประจำบ้าน

  สิ้นสุดการบรรเลง

  วันแรก  ของงาน

วันที่สอง

๐๖.๐๐ น.

 

  ไม่มี

 

  โหมโรงเช้า

  เพลงช้า

 

  แบบแผนปี่พาทย์ไทย

๐๗.๐๐ น.

  พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์

  เพลงเร็ว

  รับพระ

๐๘.๐๐ น.

  ถวายภัตตาหารเช้า

  เพลงเถา

 

๐๙.๐๐ น.

  ถวายผ้ากฐิน

  พระครองผ้ากฐิน

 

  สาธุการ

 

  แบบแผนพิธีกรรม

๑๐.๐๐ น.

  เทศน์อานิสงค์กฐิน

  เพลงเร็ว 

   สาธุการ

  กราวรำ

  รับพระ

  พระขึ้นเทศน์

  พระเทศน์จบ

๑๑.๐๐ น.

  ถวายภัตตาหารเพลงพระ

  มาติกา บังสุกุล

  เพลงเร็ว

  เพลงเถา

  เพลงเร็ว

   ประจำบ้าน

  รับพระ

  พระฉัน

  ส่งพระ

  แบบแผนปี่พาทย์มอญ

 

   แม้ว่าวัฒนธรรมการใช้วงปี่พาทย์มอญ นิยมใช้ในงานอวมงคล แต่การทอดกฐินในลักษณะนี้มีงานทำบุญอัฐิของผู้ล่วงลับไปแล้วร่วมด้วย นิยมใช้ปี่พาทย์มอญบรรเลงประกอบ รูปแบบการบรรเลงด้วยปี่พาทย์มอญ  ทั้งเพลงสำเนียงไทยและมอญ จึงเป็นวงดนตรีที่สามารถเอื้อประโยชน์ ให้กับพิธีกรรมที่บูรณาการ ระหว่างงานพิธีทางศาสนาและงานอวมงคลไว้ได้เป็นอย่างดี

   วิถีชีวิตของชาวพระนครศรีอยุธยาในสถานการณ์ปัจจุบัน มีความเปลี่ยนแปลง ทั้งสภาพเศรษฐกิจและสังคม รูปแบบวัฒนธรรมในส่วนพิธีกรรมต่าง ๆ ถูกปรับลดลง ตัดทอนให้รวดเร็ว กระชับขึ้น เหมาะกับสภาพปัจจุบัน พิธีกรรมต่าง ๆ ที่เคยทำอย่างโบราณ เช่นงานบวชนาค ทอดกฐิน ทอดผ้าป่า ซึ่งเคยว่าจ้างวง  ปี่พาทย์ไปบรรเลงมีน้อยลง มีเพียงงานศพเท่านั้นที่ยังอุดหนุนอาชีพปี่พาทย์ วงปี่พาทย์ จึงเป็นเพียงเครื่องประดับสำหรับงานพิธีกรรม เท่านั้น ภาวะการดำรงชีพของชาวดนตรีปี่พาทย์ จึงต้องปรับเปลี่ยนบทบาทของตัวเอง โดยบูรณาการให้สอดคล้องตามกระแสความนิยมของสังคมปัจจุบัน

คำสำคัญ (Tags): #ปี่พาทย์อยุธยา 7
หมายเลขบันทึก: 252501เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2009 14:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 มิถุนายน 2012 12:10 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท