ปี่พาทย์อยุธยา 5


ปี่พาทย์อยุธยา 5

วิถีวัฒนธรรมปี่พาทย์อยุธยา ๕ : อาชีพปี่พาทย์มีโอกาสมืดมนจริงหรือ?

………………………………….

กนก  คล้ายมุข

 

   ชาวไทยในอดีต ยึดอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก โดยเฉพาะการทำนา ในยามว่างงานนา จึงมักประกอบอาชีพอื่น ๆ เป็นอาชีพเสริม เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว  ปี่พาทย์ เป็นอาชีพที่คนกลุ่มหนึ่งประกอบเป็นอาชีพเสริม ควบคู่ไปกับวิถีชีวิตแบบเกษตรกรรม  ซึ่งศักดิ์ศรีของนักดนตรีในอดีตมีมาก ในฐานะศิลปินผู้สร้างสรรค์ความบันเทิงให้กับสังคม บุคคลทั่วไปให้ความยกย่องในความสามารถอันนี้ จึงมีผู้สนใจศึกษาดนตรีเพื่อยึดเป็นอาชีพเสริมกันมาก เป็นอาชีพเสริมที่มีคุณค่า สร้างรายได้ให้อย่างต่อเนื่อง อีกทั้งสังคมไทยมีความผูกพันธ์กับดนตรีไทยมาก  ในวิถีชีวิตจึงเหมือนขาดดนตรีไทยไม่ได้  ด้วยพิธีกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต การแสดงการละเล่นต่าง ๆ ตลอดจนการขับกล่อม ดนตรีไทยเข้าไปมีบทบาทอย่างมากมาย

   ปัจจุบัน ลักษณะการประกอบอาชีพของชาวพระนครศรีอยุธยาเปลี่ยนแปลงไป ความเจริญทางเทคโนโลยี และการพัฒนาทางด้านอุตสาหกรรมมีมากขึ้น  เกิดโรงงานอุตสาหกรรมกระจัดกระจายไปทั่วพื้นที่  สังคมเกษตรกรรมเดิมถูกมองว่าไม่ก่อให้เกิดรายได้ ผู้คนวัยทำงาน  ต่างพากันมุ่งหน้าสู่โรงงานอุตสาหกรรม และอาชีพอื่น ๆ มากกว่า ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรรมจึงเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ดูเหมือนจะไม่ใช่อาชีพหลักของชาวพระนครศรีอยุธยาอีกต่อไป  สิ่งเหล่านี้มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงในการประกอบอาชีพหลักของกลุ่มนักดนตรีปี่พาทย์ด้วย ทำให้นักดนตรีไทยในวงปี่พาทย์ปัจจุบัน หันไปประกอบอาชีพหลักอื่น ๆ โดยยึดอาชีพปี่พาทย์เป็นอาชีพเสริม  เปลี่ยนแปลงไปจากอดีต  จากการศึกษาภาคสนาม พบว่า นักดนตรีปี่พาทย์ประกอบอาชีพหลัก ดังนี้

 

อาชีพ

จำนวน

ร้อยละ

รับจ้างทั่วไป

๓๘๘

๓๓.๒๒

นักเรียน, นักศึกษา

๓๒๙

๒๘.๑๗

นักดนตรี

๑๕๘

๑๓.๕๓

เกษตรกร

๑๑๙

๑๐.๑๙

รับราชการ

๑๐๐

.๕๖

ธุรกิจส่วนตัว

๕๕

.๗๑

อื่น ๆ

๑๙

.๖๓

รวม

,๑๖๔

๑๐๐

 

ตาราง  แสดงอาชีพหลักของนักดนตรีไทยของวงปี่พาทย์อยุธยา

 

 

 

   ความเปลี่ยนแปลงในด้านอาชีพหลัก ส่งผลต่อวิถีการประกอบอาชีพปี่พาทย์ ของนักดนตรีไทยปัจจุบัน  การประกอบอาชีพอื่น เช่น รับราชการ รับจ่าง (โรงงานอุตสาหกรรม)  นักเรียน นักศึกษา ทำให้นักดนตรีส่วนใหญ่เหล่านี้ มีเวลาเพื่อดนตรีปี่พาทย์น้อยลง ส่งผลต่อจำนวนนักดนตรี และดูเหมือนจะวิกฤตมากขึ้น และเป็นเหตุผลสำคัญที่เกิดจากการอยู่รอด ที่ต้องทำ ท่ามกลางความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม ปัจจุบัน แต่มิได้เลวร้ายเสียทั้งหมด  ยังคงพบว่า นักดนตรีไทยกลุ่มหนึ่ง ยังสามารถยึดอาชีพปี่พาทย์เป็นอาชีพหลักได้ แม้ว่าจะเป็นเพียงส่วนน้อยมาก โดยทำในสภาพของการเป็นนักดนตรีรับจ้าง ด้วยปัจจัยเอื้อที่สภาพ ของวงปี่พาทย์มีจำนวนนักดนตรีไทยลดน้อยลง ความต้องการนักดนตรีต่างวงมีมากขึ้น และรูปแบบการรวมวงปี่พาทย์ไม่ผูกขาดตายตัวด้วย

   สภาพการประกอบอาชีพปี่พาทย์ จะเกิดจากความสัมพันธ์ ของผู้มีส่วนร่วม ๒ กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้ให้บริการ ได้แก่ โต้โผปี่พาทย์ ที่ต้องมีเครื่องดนตรีไทยเป็นของตนเองครบทั้งวง ทำหน้าที่ควบคุมวง จัดหาผู้บรรเลง กำหนดราคา เป็นต้น และนักดนตรีไทย  ทำหน้าที่รับผิดชอบการบรรเลง และกลุ่มผู้รับบริการ ได้แก่ เจ้าภาพ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ช่วยสร้างรายได้ ให้กับผู้ประกอบการและนักดนตรี  กลุ่มผู้ให้บริการ ทั้งโต้โผปี่พาทย์และนักดนตรี เป็นกลุ่มที่เกี่ยวพันกับวิถีดนตรี  ปี่พาทย์โดยตรง แต่มีบทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบ และรายได้ แตกต่างกันดังนี้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพ นักดนตรีไทย

 

             โต้โผวงปี่พาทย์  ในการก่อตั้งวงต้องมีรายจ่ายในการจัดหา จัดทำ ซึ่งเป็นรายจ่ายที่ค่อนข้างสูง การเลือกซื้อเครื่องดนตรี ในคุณภาพกลาง จะมีราคาดังนี้

 

 

 

ตาราง แสดงราคาเครื่องดนตรีไทยในวงปี่พาทย์ไทย(เครื่องคู่) และวงปี่พาทย์มอญ (เครื่องคู่)

 

ที่

วงปี่พาทย์ไทย

ราคา(บาท)

วงปี่พาทย์มอญ

ราคา(บาท)

.

.

.

.

.
.

.

.

๑๐.

๑๑.

๑๒.

๑๓.

๑๔.

ระนาดเอก ๑ ชุด

ระนาดทุ้ม ๑ ชุด

ฆ้องวงใหญ่ ๑ วง

ฆ้องวงเล็ก ๑ วง

ปี่ใน ๑ เลา

กลองทัด ๑ คู่

ตะโพนไทย ๑ ลูก

กลองแขก ๑ คู่

ฉิ่ง ๑ คู่

กรับ ๑ คู่

ฉาบเล็ก ๑ คู่

  ,๕๐๐

  ,๕๐๐

๑๕,๐๐๐

๑๕,๐๐๐

  ,๕๐๐

 ๑๐,๐๐๐

  ,๕๐๐

๑๐,๐๐๐

    ๓๐๐

    ๒๐๐

    ๓๐๐

ระนาดเอก ๑ ชุด

ระนาดทุ้ม ๑ ชุด

ฆ้องมอญวงใหญ่ ๑ วง

ฆ้องมอญวงเล็ก ๑ วง

ปี่มอญ ๑ เลา

ตะโพนมอญ ๑ ลูก

เปิงมางคอก ๑ คอก

ซุ้มโหม่ง ๑ ชุด

กลองแขก ๑ คู่

ฉิ่ง ๑ คู่

กรับ ๑ คู่

ฉาบใหญ่ ๑ คู่

ฉาบเล็ก ๑ คู่

๒๘,๐๐๐

๒๕,๐๐๐

๓๒,๐๐๐

๓๒,๐๐๐

  ,๕๐๐

๑๕,๐๐๐

๒๐,๐๐๐

๑๘,๐๐๐

 ๑๐,๐๐๐

    ๓๐๐

    ๒๐๐

  ,๕๐๐

    ๓๐๐

รวม

๗๑,๘๐๐

รวม

๑๘๔,๘๐๐

 

หมายเหตุ  เครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไทยกำหนดราคาตามรูปลักษณ์แบบเดิม เครื่องดนตรีในวง

     ปี่พาทย์มอญกำหนดราคาตามรูปลักษณ์     สมัยนิยม

ที่มา         ร้านจำหน่ายเครื่องดนตรีไทย สังคีตประดิษฐ์

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


ภาพ ร้านสังคีตประดิษฐ์ อยุธยา

   ราคาเครื่องดนตรีสูงหรือต่ำยังมีปัจจัยอื่น ๆ เป็นตัวกำหนด เช่น  แหล่งผลิตเครื่องดนตรีในพื้นที่ คุณลักษณะเครื่องดนตรี ได้แก่ คุณภาพของวัสดุ  คุณภาพเสียง  กรรมวิธีการผลิต  ขนาดของเครื่องดนตรี ความสวยงาม หรือแม้แต่เครื่องดนตรีที่หายาก เช่น เครื่องดนตรีประกอบงาช้าง เครื่องดนตรีฝังมุก เป็นต้น ภูมิปัญญาช่างทำเครื่องดนตรีในพื้นที่ เช่น  ช่างแกะสลักเครื่องดนตรี ช่างทำกลอง ช่างทำระนาด ช่างทำปี่ เป็นต้น และแหล่งผลิตเครื่องดนตรีในพื้นที่ใกล้เคียง

   รายได้ของโต้โผปี่พาทย์

             รายได้ของโต้โผปี่พาทย์ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความสามารถในการเรียกร้องราคา  ค่าบริการ  โดยขึ้นกับปัจจัย สำคัญ คือ

             . ระยะทาง  สามารถใช้กำหนดราคาค่าบริการได้ โดยที่วงปี่พาทย์จะใช้ระยะทางจากบ้านปี่พาทย์ถึงที่ตั้งของงานที่แสดง เป็นตัวกำหนด ทั้งวงปี่พาทย์ไทยและวงปี่พาทย์มอญ จะปฏิบัติในลักษณะเดียวกัน โดยมีหลักในการนำระยะทางมากำหนดราคา ดังนี้

                     บ้านปี่พาทย์®สถานที่แสดงในหมู่บ้านใกล้เคียง(ใกล้)

คำสำคัญ (Tags): #ปี่พาทย์อยุธยา 5
หมายเลขบันทึก: 252499เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2009 14:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 มิถุนายน 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท