ปี่พาทย์อยุธยา 3


ปี่พาทย์อยุธยา 3

วิถีวัฒนธรรมปี่พาทย์อยุธยา ๓ : ผู้สืบสานดนตรีไทยฝั่งพระนคร

สายหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง)ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

…………………………………………….

กนก  คล้ายมุข

 

   ในอดีตความนิยมในการแข่งขันดนตรีโดยเฉพาะวงปี่พาทย์มีสูง การแข่งขันของนักดนตรีมีมาก  และพัฒนาจนสามารถแยกได้ตามลักษณะการบรรเลงดนตรี  และผลงานการประพันธ์ดนตรี ที่มีลักษณะเฉพาะเป็นสำนักดนตรีได้ถึง ๔ สำนัก คือ สำนักของพระยาเสนาะดุริยางศ์ (แช่ม  สุนทรวาทิน) สำนักของพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) สำนักจางวางทั่ว พาทยโกศล และสำนักหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

             เมื่อ พ.. ๒๔๖๖  มีการประชันวงปี่พาทย์ที่วังบางขุนพรหม การแบ่งสำนักต่าง ๆ ชัดเจนมากขึ้น โดยเรียกขานสำนักดนตรีใหญ่ ๆ ออกเป็น ๒ ทางคือ ทางฝั่งธนบุรี  มีสำนักดนตรีที่เป็นหลักใหญ่คือ บ้านพาทยโกศล และทางฝั่งพระนคร มีสำนักใหญ่ ๆ ได้แก่ สายพระยาเสนาะดุริยางค์ (แช่ม  สุนทรวาทิน) สายพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) และสายหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง)

             ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สามารถแยกสาย ดนตรีที่สำคัญได้ 3 กลุ่มดังนี้

   กลุ่มที่ ๑ สายปี่พาทย์พื้นบ้าน เป็นกลุ่มนักดนตรีที่สืบทอดรูปแบบดนตรีปี่พาทย์มาจากวงปี่พาทย์ในพื้นที่เดิม โดยไม่ได้รับอิทธิพลของนักดนตรีสายใด  คงสภาพความเป็นดนตรีแบบพื้นบ้าน  พัฒนาความเป็นดนตรีโดยไม่ยึดติดว่าเป็นสายดนตรีใด ด้วยพระนครศรีอยุธยา เป็นเมืองหลวงมายาวนาน วัฒนธรรมดนตรีของอยุธยาเดิม ที่ได้รับการสืบทอดต่อ ๆ มา แม้ว่าจะต้องกระจัดกระจายด้วยผลกระทบจากสงคราม แต่เมื่อยามบ้านเมืองสงบลง การดนตรีของคนไทยของคนในพื้นที่คงดำเนินสืบทอดเรื่อยมา ตลอดทั้งสมัยธนบุรี และรัตนโกสินทร์ ตามสภาพที่จะคงอยู่ได้  ส่งผลให้นักดนตรีพื้นบ้าน ได้รับการพัฒนาฝีมือจากกลุ่มนี้เป็นจำนวนมาก

   กลุ่มที่ ๒ สายฝั่งธนบุรี เป็นกลุ่มนักดนตรีที่ได้รับอิทธิพลดนตรีแบบดั้งเดิม ของจางวางทั่ว พาทยโกศล แห่งสำนักวัดกัณยาณมิตร การได้รับอิทธิพลดนตรีนัยนี้ เนื่องจาก นักดนตรีไทยในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวนหนึ่ง ได้แก่ นายสำราญ  เกิดผล นายผวน  บุญจำเริญ  นายเกษม  สุขสมผล เป็นต้น  ได้เข้าเรียนดนตรีไทยในสำนักของครูจางวางทั่ว  พาทยโกศล แม้ว่าการเรียนจะเกิดภายหลังจากครูท่านนี้มรณะกรรมแล้วก็ตาม ความรู้ทางดนตรีไทย ทั้งด้านรูปแบบดนตรี  บทเพลง  แกนหลักของการอนุรักษ์ดนตรีในสายฝั่งธนบุรี ในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เด่นชัดที่สุด คือวงปี่พาทย์คณะพาทยรัตน์ ของนายสำราญ เกิดผล และคณะบ้านใหม่ ของนายวิเชียร  เกิดผล การอนุรักษ์ทางเพลง ที่เป็นแบบดั้งเดิมในสายฝั่งธนบุรี ของนายสำราญ  เกิดผล ทำให้ได้รับความไว้วางพระราชหฤทัยจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี โดยจัดตั้งเป็นศูนย์ส่งเสริมและเผยแพร่ดนตรีไทย ในพระราชูปถัมภ์ เพื่ออนุรักษ์ ส่งเสริม รูปแบบดนตรีแบบดั้งเดิมนี้ด้วย

   กลุ่มที่ ๓ สายฝั่งพระนคร  เป็นกลุ่มนักดนตรีไทยกลุ่มใหญ่ที่สุด และได้รับอิทธิพลดนตรีไทย สายหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร ศิลปบรรเลง) มากที่สุด เด่นชัดกว่าสายพระยาประสานดุริยศัพท์ (แปลก ประสานศัพท์) และพระยาเสนาะดุริยางศ์ (แช่ม  สุนทรวาทิน) ด้วยช่วงระยะเวลาที่หลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) มีชื่อเสียง และเปิดสำนักดนตรีของท่านให้ความรู้กับผู้สนใจดนตรีเข้าไปศึกษาหาความรู้นั้น นักดนตรีในจังหวัดพระนครศรีอยุธยาจำนวนหลายท่าน ได้เข้าเรียนดนตรีกับครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) บุคคลกลุ่มนี้ จึงเป็นแกนหลักสำคัญในการนำอิทธิพลดนตรีสายฝั่งพระนคร ของครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เข้าสู่พื้นที่ ในลักษณะทางตรง วงปี่พาทย์ปัจจุบันจำนวนมากได้รับอิทธิพลในสายนี้ด้วย  ซึ่งเห็นได้จาก วงปี่พาทย์กลุ่มหนึ่ง ใช้นามคณะว่า ศิษย์ศรทองด้วยคำว่า ศรทองเป็นชื่อคณะปี่พาทย์ของครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง)  เช่น วงปี่พาทย์ของ นายทองหล่อ เกตุจิตร นายสังเวียน พงษ์ดนตรี เป็นต้น และอีกกลุ่มหนึ่งจะใช้คำว่า ศรนำหน้าชื่อคณะปี่พาทย์ของตนเอง เช่น คณะศรทอง ของนายแสวง  คล้ายทิม คณะศรมีชัย ของนายชลอ  สุขีลักษณ์ คณะศรประดิษฐ์ ของนางโสภณ  สุขีลักษณ์ คณะศรสุวรรณ  ของนายสุชิน  คล้ายมุข ซึ่งการใช้คำว่า ศร นำหน้าชื่อนั้น ปี่พาทย์กลุ่มหนึ่งได้รับการตั้งชื่อจากครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ในสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่ อีกกลุ่มหนึ่ง ใช้คำว่า ศรนำหน้าชื่อคณะโดยมีวัตถุประสงค์สำคัญ เพื่อเป็นการยกย่องเชิดชูครูท่านนี้ด้วยความเคารพ  โดยมีบุคคลสำคัญที่เป็นแกนหลักในการสืบทอดสายดนตรีกลุ่มนี้ ได้แก่

 

นายสนิท   ลัดดาอ่อน

             นายสนิท  เป็นบุตร นายคล้าม นางเยื้อน  ลัดดาอ่อน มีพี่น้อง ๔ คน เป็นนักดนตรีไทยทั้งสิ้น ได้แก่ นายสนิท  ลัดดาอ่อน  นายเสน่ห์  ลัดดาอ่อน  นายเสนียม  ลัดดาอ่อน และนายเสนอ   ลัดดาอ่อน

             นายสนิท  สมรสกับ นางเฉลียว  มีบุตร ๔ คน เป็น ชาย  ๑ หญิง ๓ คนได้แก่ นางจิ๋ว  ลัดดาอ่อน นายอนันต์ ลัดดาอ่อน นางอ๊อด ลัดดาอ่อน และนางสานิตย์ ลัดดาอ่อน

             นายสนิทเริ่มเรียนกับครูดนตรีท่านใดไม่ปรากฏ  แต่ท่านผู้นี้ได้เรียนกับครูหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร  ศิลปบรรเลง) อยู่ถึง ๑๑ ปี โดยพักอาศัยอยู่ที่บ้านครูโองการ  กลีบชื่น หลังจากนั้น จึงได้กับมาประกอบอาชีพและถ่ายทอดความรู้ทางดนตรีในสายนี้  อยู่ที่อำเภอท่าเรือ มีศิษย์คนสำคัญได้แก่  นายพินิจ  ฉายสุวรรณ  นายเสนอ  ลัดดาอ่อน เป็นต้น

 

นายทวี  พิณพาทย์เพราะ

             นายทวี พิณพาทย์เพราะ เกิดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.. ๒๔๖๕ เริ่มเรียนดนตรีกับบิดา เมื่ออายุ ๗ ปี และฝึกระนาดเอกกับอาชื่อ ไสว จนอายุ ๑๙ ปีจึงไปเรียนดนตรีกับครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) โดยอาชื่อประเสริฐ(เป็นลิเก) เป็นเพื่อนกับ ครูประเทียบ (เป็นนักดนตรีฝรั่ง) และครูประเทียบเป็นเพื่อนกับ ครูเผือด นักระนาด นำไปฝากเรียนอีกต่อหนึ่ง โดยไปพักอาศัยอยู่ที่บ้านครูขำ กลีบชื่น (บิดา ครูโองการ กลีบชื่น) เรียนดนตรีอยู่บ้านบาตรจนครูวาระสุดท้ายที่ครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ถึงแก่มรณกรรม

   นายทวี สมรสกับนางบุญนาค มีบุตร ๑๑ คน เป็นชาย ๔ คน หญิง ๗ คน แต่บุตรชายเสียชีวิต ๒ คนตั้งแต่อายุน้อย เมื่อมีบุตรชายคนต่อมาจึงมอบให้ญาติข้างภรรยาเป็นบุตรบุญธรรม จึงใช้นามสกุลอื่น และไม่ได้เรียนดนตรีไทยเลย ปัจจุบันคงมีแต่บุตรชายคนเล็กแต่เพียงผู้เดียวที่สืบสกุล พิณพาทย์เพราะ และไม่สามารถสืบทอดมรดกด้านดนตรีไทยได้มากเท่าที่ควร โดยประกอบอาชีพรับราชการครู

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


             ปัจจุบัน นายทวี พิณพาทย์เพราะ เสียชีวิตแล้ว มรดกดนตรีของท่านผู้นี้ คงอยู่ ณ บ้านเลขที่ ๔๑ หมู่ ๓ ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

นายแสวง   คล้ายทิม

             นายแสวง  คล้ายทิม  เกิดเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.. ๒๔๖๖ (ตรงกับปี กุน) เป็นบุตรนายวงษ์  นางแช่ม  คล้ายทิม ซึ่งเป็นโต้โผปี่พาทย์พื้นบ้าน ในพื้นที่ตำบลบ้านคลัง  อำเภอบางบาล  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพี่น้องรวม ๑๐ คน  ได้แก่ นายแสวง   คล้ายทิม  นางถวิล   คล้ายทิม  นางประเสริฐ  เกิดชนะ นางทองหยิบ  สุพรรณกาล  นายเฉลิม    คล้ายทิม  นายธงชัย    คล้ายทิมนายดำรง  คล้ายทิม  นายอุดม  คล้ายทิม  นายประดิษฐ์  คล้ายทิม  นายอำนวย   คล้ายทิม ด้วยเหตุที่นายวงษ์  คล้ายทิม มีวงปี่พาทย์ ประกอบอาชีพปี่พาทย์  จึงสนับสนุน บุตร โดยเฉพาะบุตรชาย  ให้สืบทอดวิชาความรู้ด้านปี่พาทย์ เพื่อประกอบอาชีพแต่คงเป็นเฉพาะบุตรชาย  โดยมีบุตร ๓ คน ที่สืบทอดวิชาด้านดนตรีไทย  ได้แก่  นายแสวง  นายเฉลิม  และนายธงชัย

   นายแสวง คล้ายทิม เริ่มเรียนดนตรีกับบิดา เมื่ออายุราว ๗-๘ ปี โดยเรียนฆ้องวงใหญ่  ตามแบบแผนการเรียน  ดนตรีไทยแบบดั้งเดิม  นอกจากนี้ยังได้เรียนฆ้องวงใหญ่  เพิ่มเติมกับครูสังเวียน พิณพาทย์เพราะ นักดนตรีแห่งบ้านเกาะเริ่ง  อำเภอบางประหัน  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จนมีความสามารถด้านฆ้องวงใหญ่ ตั้งแต่อายุยังน้อย  หลังจากนั้นเมื่ออายุได้ประมาณ ๑๓ ปี ราว พ.. ๒๔๗๙ ได้มีโอกาสเรียนดนตรีไทยในสำนักดนตรีไทยบ้านบาตร ของครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) เรียนอยู่ราว ๑๐ ปี เศษ

   ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ ๒ ระหว่าง พ.. ๒๔๘๔๒๔๘๘ นักดนตรีในสำนักบ้านบาตรต่างแยกย้ายกลับภูมิลำเนา ด้วยหนีภัยจากสงคราม  แต่นายแสวง เป็นศิษย์ที่ยังอยู่ปรนนิบัติ และเรียนดนตรีอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นที่รัก และไว้วางใจของครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) คนหนึ่ง และได้รับการถ่ายทอดวิชาความรู้ต่าง ๆ ทางดนตรีอย่างมากมาย  ทำให้เป็นผู้มีฝีมือทางระนาดเอก  เมื่ออายุราว ๑๖ ปี  สามารถตีระนาดประชันวงได้เป็นอย่างดี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


             นายแสวง  คล้ายทิม  นับเป็นศิษย์สายดนตรีของหลวงประดิษฐไพเราะ(ศร  ศิลปบรรเลง) ที่มีผลงานในการถ่ายทอดทางดนตรี ในสายนี้ได้เป็นอย่างดี  สร้างนักดนตรีไทย วงปี่พาทย์ จำนวนมาก เช่น นายประเสริฐ  สดแสงจันทร์  นายสุชิน  คล้ายมุข  นายบำรุง พยัคฆสันต์ เป็นต้น

   ท่านผู้นี้เสียชีวิตด้วยโรคเบาหวาน เมื่อวันที่ 18  ธันวาคม ๒๕๒๔  รวมอายุได้ ๕๘ ปี  วงปี่พาทย์ของท่านยังคงดำเนินกิจกรรมทางดนตรีไทย อยู่ที่บ้านเลขที่ ๑ หมู่ ๙ ตำบลกบเจา  อำเภอบางบาล  จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

นายทองหล่อ  เกตุจิตร

             นายทองหล่อ  เกตุจิตร  เกิดเมื่อปีมะโรง พ.. ๒๔๗๑  เป็นบุตรนายโต  นางตลิบ เกตุจิตร เป็นนักดนตรีไทยพื้นบ้าน มีพี่น้อง ๔ คน พี่สาวทั้งสองคน คือ นางทองชุบ และนางทองเชื่อมไม่เป็นดนตรี ส่วนนายทองใบ น้องชาย เป็นนักดนตรีไทย

             นายทองหล่อ เริ่มเรียนดนตรีไทย ญาติผู้พี่ ชื่อ ทองหล่อ  โดยเรียนตามแบบแผนดั้งเดิม  เรียนฆ้องวงใหญ่เพลงสาธุการ โหมโรงเย็น โหมโรงเช้า  หลังจากแต่งงานแล้ว เห็นว่าความรู้ทางดนตรีไทย ควรจะพัฒนาขึ้นจึงเป็นสมัครเรียนดนตรีไทยกับ  ครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) ที่บ้านบาตร เป็นเวลา ๕ ปี โดยเรียนฆ้องวงใหญ่เป็นหลัก ต่อเพลงเถา  เพลงเดี่ยวฆ้องวงใหญ่ต่าง ๆ เช่น เพลงเดี่ยวสุดสงวน  เพลงเดี่ยวลาวแพน เพลงเดี่ยวพญาโศก เป็นต้น

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


             ปัจจุบัน นายทองหล่อ  เกตุจิตร อยู่บ้านเลขที่ ๑๘ หมู่ที่ ๗ ตำบล ตาลาน อำเภอผักไห่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ควบคุมวงปี่พาทย์ที่รับสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ และใช้ชื่อคณะว่า ศิษย์ศรทองนอกจากนี้ยังได้ ถ่ายทอดความรู้ด้านดนตรีไทย ทางเพลงสายครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) ให้กับผู้สนใจทั่วไป ทั้งในและนอกพื้นที่อำเภอผักไห่

 

นายระเบียบ  วงครุฑ

   นายระเบียบ วงครุฑ เกิดเมื่อเดือน พฤศจิกายน พ.. ๒๔๗๘  เป็นบุตร นายคล้อย นางสวง วงครุฑ (นายคล้อยเป็นนักดนตรีไทย ประจำวังบูรพาภิรมย์ ของสมเด็จเจ้าฟ้าภาณุพันธุวงวรเดช) มีพี่น้องทั้งสิ้น ๙ คน พี่น้องทุกคนเสียชีวิตทั้งหมด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

   เริ่มเรียนจบการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ เริ่มเรียนดนตรีเมื่ออายุประมาณ ๘-๙ ปี โดยเรียนฆ้องวงใหญ่ เพลงสาธุการ กับบิดาด้วยบิดาเคยเป็นนักดนตรีในวงวังบูรพาภิรมย์ เมื่อโตขึ้นจึงได้มีโอกาสเข้าเรียน ในสำนักดนตรีบ้านบาตรของครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) โดยเรียนระนาดเอก ได้เรียนเพลงแสงคำนึงเป็นเพลงแรก หลังจากนั้นได้เรียนเพลงต่าง ๆ อีกมามาย ทั้งเพลงเถา และเพลงหน้าพาทย์ทั่วไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

นายระเบียบ วงครุฑ อยู่บ้านเลขที่ ๔๒ หมู่ ๓ อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สืบทอดปี่พาทย์จากบรรพบุรุษ และเป็นผู้ดูแลควบคุมวงปี่พาทย์ คณะศรนารายณ์

 

นายวิเชียร  สารเดช

             นายวิเชียร  สารเดช เกิดเมื่อวันที่ ๑๙ มิถุนายน ๒๔๗๑  ตรงกับปีเถาะ  เป็นบุตรนายเลื่อน  นางพยอม สารเดช  มีพี่น้อง ๓ คน ได้แก่ นายวิเชียร สาระเดช นายไพฑูรย์  สารเดช และนางอารีย์ ประพฤติธรรม ทุกคนเป็นนักดนตรีไทยทั้งสิ้น  นายเลื่อน เป็นนักดนตรีไทยพื้นบ้าน แห่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา สืบทอดวิชาดนตรีจาก ครูกลิ่น (ไม่ทราบนามสกุล) ครูเภา (ไม่ทราบนามสกุล) และครูเพชร  จรรย์นาฏ

             นายวิเชียร จบการศึกษาชั้นมัธยม ๓ จากโรงเรียนวัดสุทัศน์  ส่วนด้านดนตรีไทย เริ่มเรียนดนตรีกับบิดา เรียนฆ้องวงใหญ่ เพลงสาธุการ โหมโรงเช้า โหมโรงเย็น เพลงเรื่อง เพลงเถา ตามแบบฉบับการเรียนดนตรีไทย  จนมีความสามารถบรรเลงระนาดเอกกออกงานได้  หลังจากนั้นได้เรียนดนตรีกับครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) โดยมีนายเผือด  นักระนาด เป็นผู้นำไปฝาก ได้ต่อเพลงเดี่ยวมุล่ง เป็นเพลงแรก  ได้รับความเมตตาจากครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง) มอบไม้ตีระนาดประจำตัวให้ และใช้มาถึงปัจจุบัน

             นอกจากนี้ยังได้รับมอบโองการไหว้ครูดนตรีไทย จากครูหลวงประดิษบไพเราะ (ศร ศิลปบรรเลง) เมื่อคราวที่ท่านมาร่วมงานอุปสมบทตนเองที่บ้าน เกาะเริ่ง อำเภอบางปะหัน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


             ปัจจุบัน นายวิเชียร  สารเดช อยู่บ้านเลขที่ ๘๐ หมู่ ๗ บ้านดาบ ตำบลบ่อโพง อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้ควบคุมวงปี่พาทย์ คณะวิเชียร  สารเดช

 

 

 

นายสังเวียน  พงษ์ดนตรี

             นายสังเวียน  พงษ์ดนตรี เกิดวันพฤหัส เดือน ๑๑  ปีกุน เป็นบุตรนายดัด นางเปล่ง พงษ์ดนตรี มีพี่น้อง ๓ คน แต่มีเพียงนายสังเวียนคนเดียวเท่านั้น ที่สืบทอดดนตรีจากครอบครัว นายดัด  เรียนดนตรีกับครูอรุณ (ไม่ทราบนามสกุล) ครูจางวางทั่ว พาทยโกศล และครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร  ศิลปบรรเลง)

             ด้านการศึกษาดนตรีนั้น  เริ่มเรียนดนตรีไทยครั้งแรกกับบิดา  โดยเรียนฆ้องวงใหญ่ เพลงสาธุการ โหมโรงเย็น เพลงเรื่อง  เพลงเถา จนมีความสามารถทางดนตรีระดับหนึ่ง เมื่ออายุได้ ๑๓ ปี ปลัดฟ้อย  ทองอินทร์ นำไปฝากเรียนดนตรีกับครูหลวงประดิษฐไพเราะ (ศร 

คำสำคัญ (Tags): #ปี่พาทญ์อยุธยา 3
หมายเลขบันทึก: 252496เขียนเมื่อ 1 เมษายน 2009 14:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 21:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ผมเป็นคนกรุงเก่าโดยกำเนิด เรียนดนตรีกับครูสนิท ครูเสน่ห์ และครูเสนอ ลัดดาอ่อน มีโอกาสได้ศึกษาแนวต่างๆจากครูทั้งสามท่านมาจนถึงปัจจุบัน นึกถึงทีไรน้ำตามันจะไหลทุกที(ดีใจที่ได้เป็นลูกศิษย์ของครู / ผมเป็นครูสุพรรณบุรี กำลังจะทำวิทยานิพนธ์ เรื่อง"ประวัติและผลงาน:ครูเสนอ ลัดดาอ่อน วงปี่พาทย์วัดไก่จ้น" อาจารย์มีข้อแนะนำหรือเปล่าครับ!

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท