na_nu
ดร. สุวรรณา ถาวรรุ่งโรจน์

ความชุกของโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่เป็น metabolic syndrome ซึ่งออกกำลังกายด้วยระดับความหนักที่แตกต่างกัน


โรคหัวใจและหลอดเลือด,metabolic syndrome, ออกกำลังกาย,

ตีพิมพ์ในวารสารสถาบันประสาทวิทยา ปีที่ 8 ฉบับที่ 2 กรกฎาคม-ธันวาคม 2549 และ ปีที่ 9 ฉบับที่ 1 มกราคม-มิถุนายน 2550 หน้า 60-67

ความชุกของโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่เป็น Metabolic syndrome

ซึ่งออกกำลังกายด้วยระดับความหนักที่ต่างกัน

 

สุวรรณา ถาวรรุ่งโรจน์ วทม.

 

Abstract

 

Objective

                To determine the prevalence of cardiovascular event in metabolic syndrome (MS) who expensed various energy in exercise.

Method

                This study is a longitudinal research design using secondary data from the Electricity Generating Authority of Thailand (EGAT) studied in 1985, and 2002. The subjects in 1985 were divided to three groups according to exercise intensity by tertile: low, moderate and heavy levels. The researcher used the criteria of American Heart Association/National Heart Lung Blood Institute (AHA/NHLBI) for diagnosis MS. These subjects were follow-up in 2002 for the prevalence of cardiovascular events.

Result

                The incidence of cardiovascular events in men who were diagnosed MS and exercised with heavy intensity was 3.9%, but the prevalence in the low intensity was 7.9%. The variable related to the disease in low intensity groups were age, smoking and BMI. The cardiovascular events in women were too few to analyze with statistic.

Conclusion

                The exercise can reduce the risk factors of MS and cardiovascular disease, even in the MS group. The more energy expenditure was used in exercise, the less incidence of cardiovascular events was found. In addition, the low intensity group have more risk for cardiovascular if they smoke and obese.

Keywords

                Metabolic syndrome, exercise

 

บทคัดย่อ

 

วัตถุประสงค์

                เพื่อศึกษาความชุกของโรคหัวใจและหลอดเลือดในผู้ที่เป็น metabolic syndrome ซึ่งออกกำลังกายด้วยความหนักแตกต่างกัน

วิธีการ

                การศึกษานี้เป็นการศึกษาระยะยาว โดยใช้ข้อมูลของกลุ่มพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บางกรวย นนทบุรี ในปี พ.ศ. 2528 และ พ.ศ. 2545 แบ่งกลุ่มตัวอย่างในปี พ.ศ. 2528 เป็น 3 กลุ่มตามความหนักของการออกกำลังกาย ด้วย tertile: ระดับเบา ระดับปานกลาง และระดับหนัก ผู้วิจัยใช้เกณฑ์ของ American Heart Association/National Heart Lung Blood Institute (AHA/NHLBI) วินิจฉัยผู้ที่เป็น metabolic syndrome แล้วติดตามกลุ่มนี้จนถึงปี พ.ศ. 2545 เพื่อศึกษาความชุกของโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผลการศึกษา

                ความชุกของโรคหัวใจและหลอดเลือดในเพศชายกลุ่มที่เป็น metabolic syndrome และออกกำลังกายระดับหนักในปี พ.ศ. 2528 คือ 13.64% แต่ความชุกในกลุ่มที่ออกกำลังกายระดับเบาคือ 21.35%  และตัวแปรที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคในกลุ่มที่ออกกำลังกายระดับเบา คือ อายุ การสูบบุหรี่ และ BMI สำหรับเพศหญิงพบผู้ที่เป็นโรคน้อยมากจึงไม่สามารถวิเคราะห์ด้วยสถิติได้

สรุป

                การออกกำลังกายสามารถลดปัจจัยเสี่ยงของ metabolic syndrome และโรคหัวใจและหลอดเลือด แม้ในกลุ่มที่เป็น metabolic syndrome  หากใช้พลังงานในการออกกำลังกายที่หนักมากขึ้นจะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคและการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากนี้ในผู้ที่ออกกำลังกายระดับเบาหากสูบบุหรี่หรือมีภาวะอ้วนโอกาสเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือดจะมากขึ้นอีก

คำสำคัญ

                การออกกำลังกาย Metabolic syndrome

 

 

บทนำ

 

       Metabolic syndrome เป็นกลุ่มของอาการที่ประกอบด้วยปัจจัยเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดตั้งแต่ 3 ปัจจัยขึ้นไป ได้แก่ น้ำตาลในเลือดสูง ภาวะดื้อต่อการออกฤทธิ์ของ insulin, อ้วนลงพุง triglyceride สูง ระดับ HDL-C ต่ำและความดันโลหิตสูง (Lakka et al., 2002, 1071-1077)  แต่ละปัจจัยเสี่ยงของ metabolic syndrome นั้น เพิ่มโอกาสเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดอยู่แล้ว หากพบหลายปัจจัยเสี่ยงร่วมกันโอกาสเสี่ยงจะเพิ่มมากขึ้นอีก (Kaplan, 1989, pp 1514-1520) จึงทำให้ผู้ป่วยที่มีกลุ่มของปัจจัยเสี่ยงเหล่านี้มีความเสี่ยงต่อการป่วยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด (Isomaa et al., 2001, pp.683-689) มากกว่าคนไม่เป็น 3 เท่า และเสี่ยงต่อการเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด (Trevisan et al., 1998, pp.958-966) มากกว่าคนไม่เป็น 2 เท่า สำหรับข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าโรคหัวใจและหลอดเลือด เป็น 1 ใน 3 สาเหตุการป่วยและเสียชีวิตของคนไทย ในปี พ.ศ. 2546  สาเหตุสำคัญสาเหตุหนึ่งคือการขาดการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายสามารถลดอัตราการเสียชีวิตจากทุกสาเหตุ และจากโรคหัวใจและหลอดเลือด (Taylor et al., 2004, pp. 682-692) โดยการออกกำลังกายสม่ำเสมอช่วยลดความดันโลหิต ลดการหนาตัวของกล้ามเนื้อหัวใจห้องล่างซ้าย (Hinderliter et al., 2002, pp.1333-1339) เพิ่มการทำงานของ nitric oxide และทำให้กระบวนการ metabolism โดยรวมดีขึ้น (Roberts, et al., 2002, pp. 2530-2532) มีผลดีต่อ prothrombotic state, hemostasis และ platelet function (Lee & Lip, 2003, pp. 2368-2392;  Lee & Lip, 2004, pp.416-419) ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะศึกษาความชุกของโรคหัวใจและหลอดเลือด ในคนที่เป็น metabolic syndrome ซึ่งใช้พลังงานในการออกกำลังกายระดับความหนักต่างกัน

วัตถุประสงค์

  เพื่อศึกษาความชุกของโรคหัวใจและหลอดเลือด ในคนที่เป็น metabolic syndrome ซึ่งใช้พลังงานในการออกกำลังกายระดับความหนักต่างกัน

วัสดุ (ผู้ป่วย) และวิธีการ

รูปแบบการวิจัยเป็นการติดตามผลระยะยาว (Longitudinal study) โดยใช้ข้อมูลของกลุ่มพนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย บางกรวย นนทบุรี ในปี พ.ศ. 2528, และ พ.ศ. 2545 โดยมีขั้นตอนการศึกษา ดังนี้

1.       ใช้ข้อมูลการออกกำลังกายในประชากรนี้ในการแบ่งเป็น 3 กลุ่มตามความหนักของการใช้พลังงานในการออกกำลังกาย แยกเพศชายและหญิง เป็นกลุ่มที่ใช้พลังงานระดับเบา ระดับปานกลาง และระดับหนัก ด้วย tertile

2.       ใช้เกณฑ์วินิจฉัย metabolic syndrome ของ American Heart Association and National Heart Lung Blood Institute (AHA/NHLBI) ซึ่งมีเกณฑ์การวินิจฉัยผู้ที่เป็นโรค คือ ต้องพบปัจจัยตั้งแต่ 3 ปัจจัยขึ้นไป ได้แก่ รอบเอวในเพศชายมากกว่าหรือเท่ากับ 90 cm. ในเพศหญิงมากกว่าหรือเท่ากับ 80 cm., ระดับน้ำตาลในเลือดมากกว่าหรือเท่ากับ 100 mg/dl, ระดับ triglyceride สูงมากกว่าหรือเท่ากับ 150 mg/dl, ระดับ HDL-C ในเพศชายน้อยกว่าหรือเท่ากับ 40 mg/dl และในเพศหญิงน้อยกว่าหรือเท่ากับ 50 mg/dl, และ ความดันโลหิตสูงมากกว่าหรือเท่ากับ 130/85 mmHg (Grundy et al, 2005, pp.2735-2752)

3.       ติดตามผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดและผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในปี พ.ศ. 2545 ในผู้ที่ได้รับวินิจฉัยว่าเป็น metabolic syndrome ในปี พ.ศ .2528

ผลการศึกษา

                 พนักงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย นนทบุรีที่เข้าร่วมวิจัย ในปี พ.ศ. 2528 มีจำนวน 3,499 คน เป็นเพศชาย 2,702 คน (77.2%) เพศหญิง 797 คน (22.8%) อายุระหว่าง 34-54 ปี อายุเฉลี่ย 43.01±5.1 ปี โดยมีสถานภาพสมรส 1,953 คน (84.3%) ส่วนใหญ่มีการศึกษาในระดับปริญญาตรี (34.3%) ดัชนีมวลกาย (BMI) เฉลี่ย 23.08±3.14 กิโลกรัมต่อตารางเมตร สูบบุหรี่ 43.34% เมื่อติดตามในปี พ.. 2545 เหลือ 2,358 คน เป็นเพศชาย 1,771 คน (75.1%) และเพศหญิง 587 คน (24.9%) ผู้วิจัยใช้ประชากรที่มีข้อมูลในปัจจัยที่เป็นเกณฑ์วินิจฉัยโรคครบถ้วน แล้วแบ่งประชากรเป็น 3 กลุ่มตามปริมาณพลังงานที่ใช้ในการออกกำลังกายในแต่ละสัปดาห์ โดยใช้ tertile แยกเพศชายและเพศหญิง (ตารางที่ 1 และ2) และเมื่อติดตามประชากรปี พ.ศ.2528 นาน 17 ปี มีการออกจากการศึกษาและเสียชีวิต จำนวนประชากรในปี พ.ศ. 2545 จึงลดลง ดังแสดงในตารางที่ 1 และ 2

 

ตารางที่ 1 แสดงจำนวนเพศชายในกลุ่มระดับพลังงาน 3 ระดับ

 

กลุ่มแบ่งตาม

ปริมาณพลังงาน

จำนวนเพศชายปี พ.ศ.2528 (คน)

(เพศชายทั้งหมด 2,677 คน)

จำนวนเพศชายปี พ.ศ.2545 (คน)

(เพศชายทั้งหมด 1,438 คน)

ระดับเบา

(<12 METs ต่อสัปดาห์)

890 (33.3%)

478 (33.2%)

(53.7% ของ 890)

ระดับปานกลาง

(12-24 METs ต่อสัปดาห์)

898 (33.5%)

480 (33.4%)

(53.5% ของ 898)

ระดับหนัก

(>24 METs ต่อสัปดาห์)

889 (33.2%)

480 (33.4%)

(53.9% ของ 889)

ตารางที่ 2 แสดงจำนวนเพศหญิงในกลุ่มระดับพลังงาน 3 ระดับ

 

กลุ่มแบ่งตาม

ปริมาณพลังงาน

จำนวนเพศหญิง พ.ศ.2528 (คน)

(เพศหญิงทั้งหมด 790 คน)

จำนวนเพศหญิง พ.ศ.2545 (คน)

(เพศหญิงทั้งหมด 353 คน)

ระดับเบา

(<7 METs ต่อสัปดาห์)

267 (33.8%)

113 (32%)

(42.3% ของ 267)

ระดับปานกลาง

(7-16 METs ต่อสัปดาห์)

260 (32.9%)

121 (34.3%)

(46.8% ของ 260)

ระดับหนัก

(>16 METs ต่อสัปดาห์)

263 (33.3%)

119 (33.7%)

(45.2% ของ 263)

 

จากตารางที่ 1 และ 2 พบว่าประชากรในปี พ.ศ. 2545 ลดลง โดยสัดส่วนจำนวนที่เหลือในแต่ละกลุ่มเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนในปี พ.ศ. 2528 ในแต่ละกลุ่มระดับพลังงาน 3 ระดับไม่พบความแตกต่างกันทางสถิติ ที่ P-value >.05 เมื่อวิเคราะห์ด้วย Chi-square test และจำนวนคนในแต่ละระดับในปี พ.ศ. 2545ไม่แตกต่างกันที่ P-value >.05 เมื่อวิเคราะห์ด้วย Chi-square test

ผู้วิจัยใช้เกณฑ์วินิจฉัย metabolic syndrome ของ AHA/NHLBI เพื่อวินิจฉัยประชากรในปี พ.ศ.2528 แล้วติดตามกลุ่มที่เป็น metabolic syndrome ถึงจำนวนผู้ที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดและผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือด ในปี พ.ศ. 2545 ซึ่งใช้พลังงานในการออกกำลังกาย 3 ระดับ (ตารางที่ 3 และ 4) จำนวนผู้เป็น metabolic syndrome ในปี พ.ศ.2545 จะเป็นกลุ่มที่เป็น metabolic syndrome ในปี พ.ศ.2528 และเป็นกลุ่มที่ใช้พลังงานในการออกกำลังกายที่ระดับความหนักเดียวกับปี พ.ศ.2528 เพื่อติดตามผลระยะยาวของการออกกำลังกาย

  

ตารางที่ 3 แสดงจำนวนเพศชายที่เป็นและผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดในกลุ่มที่เป็น

              metabolic syndrome

 

เพศชาย

เป็น MS พ.ศ.

หมายเลขบันทึก: 251664เขียนเมื่อ 29 มีนาคม 2009 10:05 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 07:47 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท